พบผลลัพธ์ทั้งหมด 241 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9100/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งงดบังคับคดีนอกเหนือจากเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 ได้ หากสมควรและไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย
อำนาจของศาลในการมีคำสั่งงดการบังคับคดีมิใช่มีได้เฉพาะเมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องขอโดยอาศัยเหตุและเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 เท่านั้นหากมีกรณีอื่นใดที่เป็นการสมควรและไม่ก่อให้เกิดผลได้เสียแก่เจ้าหนี้และลูกหนี้ยิ่งหย่อนกว่ากัน ศาลก็มีอำนาจสั่งให้งดการบังคับคดีได้ทั้งนี้โดยอาศัยอำนาจตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 292(2)
โจทก์ถูกจำเลยฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลจังหวัดนนทบุรีเรียกเงินยืมจำนวน 460,062 บาท คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา โจทก์นำเงินไปวางต่อสำนักงานวางทรัพย์เพื่อชำระหนี้แก่จำเลยตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นรายเดือน เดือนละ 7,000 บาท รวมเป็นเงิน 168,000 บาทแต่จำเลยยังไม่ได้รับเงินไปเพราะถือว่าโจทก์ผิดนัดและประสงค์จะรับชำระหนี้ทั้งหมด คดีนี้ศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ 182,000 บาท จำเลยมีหนังสือแจ้งขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ แม้คดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ต่อศาลจังหวัดนนทบุรียังไม่ถึงที่สุดแต่โจทก์ก็ยอมรับว่ายืมเงินจำเลยไปตามฟ้อง เพียงแต่ต่อสู้ว่าโจทก์มีสิทธิผ่อนชำระ และแม้โจทก์ยังไม่ต้องชำระหนี้ทั้งหมดแก่จำเลยแต่อย่างน้อยโจทก์ก็ต้องรับผิดตามจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระแก่จำเลยเป็นรายเดือน และยอดเงินที่โจทก์ต้องรับผิดแก่จำเลยมีจำนวนมากกว่าที่จำเลยต้องชำระหนี้แก่โจทก์ในคดีนี้ ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292(2)โดยมีคำสั่งงดการบังคับคดีนี้ไว้จนกว่าคดีแพ่งของศาลจังหวัดนนทบุรีจะถึงที่สุด หรือมีเหตุเปลี่ยนแปลงประการอื่นให้คู่ความแถลงเพื่อพิจารณาสั่งต่อไปนั้นชอบแล้ว
โจทก์ถูกจำเลยฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลจังหวัดนนทบุรีเรียกเงินยืมจำนวน 460,062 บาท คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา โจทก์นำเงินไปวางต่อสำนักงานวางทรัพย์เพื่อชำระหนี้แก่จำเลยตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นรายเดือน เดือนละ 7,000 บาท รวมเป็นเงิน 168,000 บาทแต่จำเลยยังไม่ได้รับเงินไปเพราะถือว่าโจทก์ผิดนัดและประสงค์จะรับชำระหนี้ทั้งหมด คดีนี้ศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ 182,000 บาท จำเลยมีหนังสือแจ้งขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ แม้คดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ต่อศาลจังหวัดนนทบุรียังไม่ถึงที่สุดแต่โจทก์ก็ยอมรับว่ายืมเงินจำเลยไปตามฟ้อง เพียงแต่ต่อสู้ว่าโจทก์มีสิทธิผ่อนชำระ และแม้โจทก์ยังไม่ต้องชำระหนี้ทั้งหมดแก่จำเลยแต่อย่างน้อยโจทก์ก็ต้องรับผิดตามจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระแก่จำเลยเป็นรายเดือน และยอดเงินที่โจทก์ต้องรับผิดแก่จำเลยมีจำนวนมากกว่าที่จำเลยต้องชำระหนี้แก่โจทก์ในคดีนี้ ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292(2)โดยมีคำสั่งงดการบังคับคดีนี้ไว้จนกว่าคดีแพ่งของศาลจังหวัดนนทบุรีจะถึงที่สุด หรือมีเหตุเปลี่ยนแปลงประการอื่นให้คู่ความแถลงเพื่อพิจารณาสั่งต่อไปนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8717/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: เหตุผลความไว้วางใจในความซื่อสัตย์สุจริตเป็นเหตุสมควรในการเลิกจ้าง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ซึ่งหมายถึงการที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดหรือ ลูกจ้างกระทำความผิดแต่เป็นความผิดเพียงเล็กน้อย ยังไม่สมควรที่จะเลิกจ้างหรือไม่มีเหตุอันสมควรอื่นใดที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างได้ ประเด็นแห่งคดีเรื่องนี้ ศาลต้องพิเคราะห์ข้อเท็จจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ว่า กรณีมีเหตุสมควรที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างโจทก์จะเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้หรือไม่ ศาลแรงงานกลางได้พิเคราะห์พยาน หลักฐานต่าง ๆ ทั้งพยานโจทก์และพยานจำเลยแล้วฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้ปล่อยปละละเลยให้ผู้ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบว่าด้วยการนำรถเข้าไปในบริเวณอู่นำอะไหล่เก่าขึ้นรถบรรทุกก่อนผ่านการตรวจสอบอนุมัติ การกระทำของโจทก์เป็นเหตุให้จำเลยขาดความไว้วางใจในความซื่อสัตย์สุจริต กรณีมีเหตุผลอันสมควรที่จำเลยจะ เลิกจ้างโจทก์ได้ มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จึงเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นแห่งคดีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7402-7403/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตอบแทนการทำงาน (ค่าน้ำมัน/โทรศัพท์) ถือเป็นค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน การเลิกจ้างต้องมีเหตุสมควร
จำเลยจ่ายค่าน้ำมันรถและค่าโทรศัพท์ให้แก่โจทก์ทั้งสองในลักษณะเหมาจ่ายเป็นรายเดือน เป็นเงินเดือนละ 6,000 บาท เท่า ๆ กันทุกเดือน โดยไม่คำนึงว่าโจทก์ทั้งสองจะได้ใช้จ่ายเงินเป็นค่าน้ำมันรถและค่าโทรศัพท์หรือไม่ หรือได้ใช้จ่ายไปจำนวนมากน้อยเท่าใด และโจทก์ทั้งสองไม่ต้องแสดงใบเสร็จค่าน้ำมันรถหรือใบเสร็จค่าโทรศัพท์เป็นหลักฐานในการรับเงินดังกล่าวด้วยเงินค่าน้ำมันรถและค่าโทรศัพท์ดังกล่าวจึงเป็นเงินที่จำเลยเป็นนายจ้างตกลงจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานให้แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างตามสัญญาจ้างระหว่างจำเลยและโจทก์ทั้งสองถือว่าเป็นค่าจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5
แม้จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองโดยไม่ได้ระบุเหตุผลของการเลิกจ้างไว้ในหนังสือเลิกจ้าง ซึ่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯมาตรา 17 วรรคสามกำหนดว่า ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง ถ้านายจ้างไม่ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างนายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้ก็ตามแต่ข้อห้ามดังกล่าวไม่รวมถึงข้อต่อสู้ในการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมด้วยเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 49 นั้น ศาลจะต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างของนายจ้างว่ามีเหตุอันสมควรหรือไม่ ซึ่งอาจไม่ใช่เหตุตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 ก็ได้ ศาลแรงงานกลางจึงต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสองและจำเลยในส่วนนี้ก่อน
แม้จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองโดยไม่ได้ระบุเหตุผลของการเลิกจ้างไว้ในหนังสือเลิกจ้าง ซึ่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯมาตรา 17 วรรคสามกำหนดว่า ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง ถ้านายจ้างไม่ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างนายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้ก็ตามแต่ข้อห้ามดังกล่าวไม่รวมถึงข้อต่อสู้ในการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมด้วยเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 49 นั้น ศาลจะต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างของนายจ้างว่ามีเหตุอันสมควรหรือไม่ ซึ่งอาจไม่ใช่เหตุตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 ก็ได้ ศาลแรงงานกลางจึงต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสองและจำเลยในส่วนนี้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7362/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องหลังชี้สองสถาน และการระบุพยานเพิ่มเติมหลังสืบพยาน: เหตุสมควรและความชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนสืบพยานเสร็จสิ้นวันที่ 29เมษายน 2539 หลังจากนั้นมีการสืบพยานจำเลยต่ออีกหลายนัดโจทก์เพิ่งยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2540 อ้างความพลั้งเผลอหรือผิดหลงเล็กน้อย โดยไม่ได้อ้างเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องก่อนวันชี้สองสถานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอเพิ่มการเรียกร้องค่าเสียหายที่เป็นตัวเงิน หากไม่ได้ที่ดินตามฟ้องเดิมนั้น ไม่ใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ทั้งไม่ใช่เป็นการแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอแก้ไขคำฟ้อง
จำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว ขออ้างสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยอ้างเหตุผลว่าเพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาที่จะอ้างเป็นพยานภายหลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วซึ่งคำพิพากษาดังกล่าวศาลมีคำพิพากษาหลังจากสืบพยานโจทก์คดีนี้เสร็จและจ่าศาลศาลชั้นต้นเพิ่งรับรองสำเนาคำพิพากษาในวันเดียวกันกับที่จำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าวกรณีจึงมีเหตุอันสมควรที่จำเลยไม่สามารถระบุพยานดังกล่าวก่อนหน้านี้ได้ ทั้งคำพิพากษาคดีดังกล่าวเป็นประเด็นโดยตรงกับคดีนี้ตามที่จำเลยให้การไว้ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมจึงเป็นการชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสาม แล้ว
จำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว ขออ้างสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยอ้างเหตุผลว่าเพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาที่จะอ้างเป็นพยานภายหลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วซึ่งคำพิพากษาดังกล่าวศาลมีคำพิพากษาหลังจากสืบพยานโจทก์คดีนี้เสร็จและจ่าศาลศาลชั้นต้นเพิ่งรับรองสำเนาคำพิพากษาในวันเดียวกันกับที่จำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าวกรณีจึงมีเหตุอันสมควรที่จำเลยไม่สามารถระบุพยานดังกล่าวก่อนหน้านี้ได้ ทั้งคำพิพากษาคดีดังกล่าวเป็นประเด็นโดยตรงกับคดีนี้ตามที่จำเลยให้การไว้ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมจึงเป็นการชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสาม แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องมีเหตุสมควร การปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อความอยู่รอดถือเป็นเหตุสมควรที่ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะจำเลยมีการเปลี่ยนแปลงหน่วยงานในองค์กรเพื่อความเหมาะสมและความอยู่รอดของจำเลยโดยรวมคลังสินค้าและพนักงานกับบริษัท บ. จนเหลือคลังสินค้าแห่งเดียว และมีตำแหน่งผู้จัดการคลังสินค้าเพียงตำแหน่งเดียว เมื่อจำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่า ร. มีความรู้เกี่ยวกับการบริหารคลังสินค้าและคอมพิวเตอร์เหมาะสมกว่าโจทก์ จึงคัดเลือก ร. ไว้ทำงานต่อไป แล้วเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ปรากฏว่าเป็นการเลือกปฏิบัติหรือกลั่นแกล้งโจทก์ จึงนับว่ามีเหตุจำเป็นอันสมควรในการเลิกจ้างจึงมิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2390/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของทนาย, เหตุสมควรยกฟ้อง, การไม่แจ้งศาล, และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
ทนายโจทก์ทราบวันนัดสืบพยานโจทก์โดยชอบแล้วแต่มาถึงศาลชั้นต้นซึ่งเป็นเวลาอันเลยกำหนดนัดไปแล้วหนึ่งชั่วโมงครึ่งเนื่องจากรถยนต์ของทนายโจทก์มีเหตุขัดข้อง ทนายโจทก์สามารถจอดรถไว้ข้างทางแล้วรีบโทรศัพท์แจ้งศาลทราบทันที หรือมิฉะนั้นก็รีบเดินทางมาศาลด้วยรถยนต์รับจ้างได้ แต่ทนายโจทก์มิได้ดำเนินการดังกล่าวแต่อย่างใด แสดงให้เห็นว่าทนายโจทก์ไม่เอาใจใส่หรือเล็งเห็นถึงความสำคัญในเวลานัดของศาล กรณีไม่มีเหตุสมควรให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลยเมื่อจำเลยทราบวันนัดแต่ไม่มาศาลโดยไม่มีเหตุสมควร มิชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยได้ทราบวันนัดฟังคำพิพากษา แต่จำเลยไม่มาศาลเพียงแต่ทนายความของจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายความนำคำร้องมาขอเลื่อนการฟังคำพิพากษาโดยอ้างว่าจำเลยไปต่างประเทศ เป็นกรณีที่จำเลยไม่มาศาลโดยไม่มีเหตุสมควร และสงสัยได้ว่าจำเลยหลบหนีหรือจงใจไม่มาฟังคำพิพากษา การที่ศาลชั้นต้นให้ออกหมายจับจำเลยมาเพื่อฟังคำพิพากษา และให้นัดฟังคำพิพากษาใหม่ และเมื่อถึงวันนัดซึ่งพ้นหนึ่งเดือนนับแต่วันออกหมายจับและไม่ได้ตัวจำเลยมาศาล ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลยไป จึงเป็นการอ่านคำพิพากษาโดยชอบด้วยกฎหมายและถือว่าจำเลยได้ฟังคำพิพากษาในวันดังกล่าวแล้ว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 182 วรรคสาม กรณีจึงไม่มีเหตุให้ไต่สวนเพื่อเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นและอ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6888/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำให้การหลังชี้สองสถาน: ศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาเหตุสมควรประกอบกับประเด็นที่ได้กำหนดไว้แล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180เป็นบทบัญญัติให้อำนาจโจทก์หรือจำเลยที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องหรือคำให้การของตน หาได้เป็นบทบัญญัติบังคับ ศาลที่จะต้องอนุญาตตามคำร้องของโจทก์จำเลยเสมอไปเมื่อศาลพิจารณาคำร้องโจทก์จำเลยแล้วเมื่อมีเหตุอันสมควรศาลก็สามารถใช้ดุลพินิจอนุญาตหรือไม่อนุญาตได้ ซึ่งศาลจะพิจารณาคำร้องเป็นเรื่อง ๆ ไป
จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การภายหลังการชี้สองสถานแม้จะอ้างเหตุว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยเกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า"จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด" โจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก็ต้องนำสืบถึงยอดหนี้และดอกเบี้ยที่โจทก์คิดจากจำเลยตามประเด็นดังกล่าว และจำเลยก็สามารถสืบหักล้างว่าดอกเบี้ยที่ถูกต้องตามกฎหมายที่โจทก์มีสิทธิคิดจากจำเลยมีเพียงใด กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การตามคำร้องอีก
จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การภายหลังการชี้สองสถานแม้จะอ้างเหตุว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยเกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า"จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด" โจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก็ต้องนำสืบถึงยอดหนี้และดอกเบี้ยที่โจทก์คิดจากจำเลยตามประเด็นดังกล่าว และจำเลยก็สามารถสืบหักล้างว่าดอกเบี้ยที่ถูกต้องตามกฎหมายที่โจทก์มีสิทธิคิดจากจำเลยมีเพียงใด กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การตามคำร้องอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5476/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายจำเลยไม่มาศาลตามนัดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ไม่อาจอ้างเหตุติดว่าความอื่นเพื่อขอเลื่อนคดีได้
การที่ทนายจำเลยได้ลงลายมือชื่อรับทราบวันนัดพร้อมของศาลซึ่งเป็นการนัดพร้อมเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินคดีตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 แต่เมื่อถึงกำหนดนัดดังกล่าว ทนายจำเลยไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่มาศาลไม่ได้ให้ศาลทราบก่อนวันนัด อีกทั้งไม่ได้มอบฉันทะให้ผู้ใดมาแจ้งในวันนัด คงมีแต่ทนายโจทก์มาศาล ย่อมเห็นได้ว่าเป็นความผิดของทนายจำเลยเอง ดังนั้นจำเลยจะยกเอาเหตุที่ตนติดว่าความที่ศาลอื่นซึ่งได้นัดไว้ก่อนแล้วว่าเป็นเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ตาม มาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาเพื่อขอเลื่อนคดีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3778/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของทนายจำเลยในการจำวันนัดไต่สวน มิอาจยกเป็นเหตุสมควรขอไต่สวนใหม่ได้
ทนายจำเลยทราบวันนัดในคดีนี้เป็นอย่างดีแล้ว ทั้งเมื่อถึงวันนัดไต่สวนดังกล่าว ทนายโจทก์มาศาลตามนัดและศาลชั้นต้นก็ออกนั่งพิจารณาตามเวลาที่นัดแต่ฝ่ายจำเลยกลับไม่มาศาล การจำวันนัดหรือลงวันนัดผิดพลาดเป็นความประมาทเลินเล่อของทนายจำเลยเอง ซึ่งมิได้ใช้ความละเอียดรอบคอบให้สมกับเป็นผู้ประกอบวิชาชีพที่เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ซึ่งหากทนายจำเลยบันทึกวันเวลาที่นัดหมายลงในสมุดนัดความโดยตรวจสอบจากรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นก่อนข้อผิดพลาดเช่นนี้ย่อมไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นได้ ความผิดพลาดอันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของทนายจำเลยเองเช่นนี้ มิใช่เหตุสมควรที่จะยกขึ้นอ้างเพื่อขอให้มีการยกคดีขึ้นไต่สวนได้อีก