คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เหตุสุดวิสัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยและพ้นวิสัยในการชำระหนี้จากสัญญาต่างตอบแทน กรณีไฟไหม้โรงสี
ปัญหาว่าการที่จำเลยส่งมอบข้าวสารไม่ได้เป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่ จำเลยเป็นผู้กล่าวอ้างภาระการพิสูจน์ในประเด็นนี้จึงตกแก่จำเลย
การที่โจทก์ส่งมอบข้าวเปลือกของโจทก์ให้จำเลยสีเป็นข้าวสาร แล้วส่งคืนข้าวสารแก่โจทก์ โดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนแก่จำเลยเป็นปลายข้าวและรำข้าวถือเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่งซึ่งจำเลยมีหน้าที่ตามสัญญาที่จะต้องนำข้าวเปลือกจำนวนที่ได้รับมอบจากโจทก์อันกำหนดไว้แน่นอนมาดำเนินการสีเป็นข้าวสารแล้วส่งมอบให้แก่โจทก์
ขณะไฟไหม้โรงสีมีแต่ข้าวสารที่จะต้องส่งมอบให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว การที่จำเลยไม่สามารถส่งมอบข้าวสารให้แก่โจทก์ได้เนื่องจากมาจากไฟไหม้โรงสีของจำเลยทำให้ข้าวสารเสียหายทั้งเหตุที่ไฟไหม้ไม่ปรากฏว่าเกิดจากการกระทำของผู้ใด จึงถือไม่ได้ว่าเหตุที่เกิดไฟไหม้เนื่องมาจากพฤติการณ์ที่จำเลยต้องรับผิดชอบ ดังนั้นการชำระหนี้ด้วยการส่งมอบข้าวสารจึงกลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิด ตามมาตรา 219 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ.
ตามทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่า เมื่อจำเลยสีข้าวเปลือกแล้วต้องส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์เมื่อใด ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยส่งมอบข้าวสารที่สีเสร็จแล้วแก่โจทก์ด้วย ทั้งได้ความจากคำเบิกความของจำเลยว่าในการส่งข้าวสารคืนโจทก์นั้นต้องรอคำสั่งจากโจทก์ว่าจะให้ส่งไปจำนวนเท่าใด เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เรียกให้จำเลยส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดในการส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ อันจะต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 217

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยทำให้ชำระหนี้ไม่ได้ และไม่มีการผิดนัดส่งมอบทรัพย์
การที่โจทก์ส่งมอบข้าวเปลือกให้จำเลยสีเป็นข้าวสารแล้วส่งคืนข้าวสารแก่โจทก์โดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนแก่จำเลยเป็นปลายข้าวและรำข้าวนั้น ถือว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่ง จำเลยมีหน้าที่จะต้องนำข้าวเปลือกจำนวนที่ได้รับมอบจากโจทก์อันกำหนดไว้แน่นอนมาดำเนินการสีเป็นข้าวสารส่งมอบให้แก่โจทก์ ต่อมาเกิดไฟไหม้โรงสีข้าวของจำเลยซึ่งขณะนั้นในโรงสีไม่มีข้าวเปลือกมีแต่ข้าวสารแสดงว่าข้าวสารที่จำเลยจะต้องส่งมอบแก่โจทก์นั้นเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว ฉะนั้น การที่จำเลยไม่สามารถส่งมอบข้าวสารดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้เพราะเหตุไฟไหม้ที่ไม่ปรากฏว่าเกิดจากการกระทำของผู้ใด จึงถือไม่ได้ว่าเหตุไฟไหม้นั้นเนื่องมาจากพฤติการณ์ที่จำเลยต้องรับผิดชอบ การชำระหนี้ของจำเลยด้วยการส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ย่อมกลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 219 วรรคหนึ่ง
ส่วนกรณีที่จำเลยผิดนัดในการส่งมอบข้าวสารแม้การชำระหนี้จะกลายเป็นพ้นวิสัยนั้น ปรากฏว่าการที่จำเลยจะต้องส่งข้าวสารคืนแก่โจทก์นั้นต้องรอคำสั่งจากโจทก์ว่าจะให้ส่งไปจำนวนเท่าใด เมื่อโจทก์ยังมิได้เรียกให้จำเลยส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดในการส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์อันจะต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 217

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยทำให้ชำระหนี้ไม่ได้ และไม่มีการผิดนัดส่งมอบทรัพย์
การที่โจทก์ส่งมอบข้าวเปลือกของโจทก์ให้จำเลยสีเป็นข้าวสารแล้วส่งคืนข้าวสารแก่โจทก์ โดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนแก่จำเลยเป็นปลายข้าวและรำข้าว ถือเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่ง เมื่อขณะที่ไฟไหม้โรงสีไม่มีข้าวเปลือกแล้วมีแต่ข้าวสาร แสดงว่าข้าวสารที่จำเลยจะต้องส่งมอบแก่โจทก์เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว เมื่อที่จำเลยไม่สามารถส่งมอบข้าวสารให้แก่โจทก์ได้เนื่องมาจากไฟไหม้โรงสีของจำเลย โดยไม่ปรากฏว่าเกิดจากการกระทำของผู้ใดจึงถือไม่ได้ว่าเหตุที่เกิดไฟไหม้โรงสีนั้นเนื่องมาจากพฤติการณ์ที่จำเลยต้องรับผิดชอบ การชำระหนี้ของจำเลยด้วยการส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ย่อมกลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์ซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 วรรคหนึ่ง
การส่งข้าวเปลือกให้จำเลยจะทยอยส่งเป็นงวด โดยกำหนดให้จำเลยสีข้าวเปลือกให้เสร็จตามระยะเวลา แต่ไม่ปรากฏว่าเมื่อจำเลยสีข้าวเปลือกเสร็จแล้วจะต้องส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์เมื่อใด โจทก์ก็มิได้ทวงถามให้จำเลยส่งมอบข้าวสารที่สีเสร็จแล้วแก่โจทก์และกลับได้ความว่า ในการส่งข้าวสารคืนโจทก์นั้นต้องรอคำสั่งจากโจทก์ว่าจะให้ส่งไปจำนวนเท่าใด เมื่อโจทก์ไม่ได้เรียกให้จำเลยส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์แล้ว จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดในการส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์อันจะต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 217

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6965/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาล ต้องมีพฤติการณ์พิเศษ หรือเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจยื่นคำขอได้ทันเวลา
การขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ เป็นกรณีที่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ที่ให้พึงกระทำได้ก็ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น ส่วนข้อความในบทบัญญัติดังกล่าวที่ว่า "เว้นแต่ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย" นั้น ใช้บังคับเฉพาะในกรณีที่มีเหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นเหตุสุดวิสัยที่ทำให้คู่ความฝ่ายนั้นไม่อาจมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้นและได้มีคำขอภายหลังเมื่อสิ้นระยะเวลาเช่นว่านั้นไปแล้ว ซึ่งกรณีเช่นว่านี้การขอขยายระยะเวลานอกจากจะพึงกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษแล้วยังจะต้องเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ซึ่งยังอยู่ภายในระยะเวลาที่ยังสามารถนำเงินมาชำระได้ คำร้องดังกล่าวจึงพึงกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษเท่านั้นไม่อยู่ในบังคับว่าต้องเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยด้วย ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยไปถึงว่าคำร้องของจำเลยที่ 2 มีเหตุสุดวิสัยหรือไม่ จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: เหตุสุดวิสัยที่ไม่สมเหตุผล การปฏิบัติภารกิจอื่นไม่ใช่เหตุขยายเวลา
โจทก์ซึ่งขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไว้ครั้งหนึ่งแล้ว และสามารถทำอุทธรณ์ยื่นต่อศาลได้ภายในระยะเวลาที่ศาลขยายให้ดังกล่าว แต่กลับไม่ทำ คงปฏิบัติภารกิจอื่นและเดินทางไปต่างจังหวัดจนถึงวันสุดท้ายที่ศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์จึงมีกำหนดกลับที่พัก แต่เดินทางกลับในเที่ยวบินช่วงเช้าไม่ได้เพราะเที่ยวบินเต็ม จึงเดินทางกลับในเที่ยวบินบ่าย ทำให้ไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ทัน ถือเป็นข้อบกพร่องของโจทก์เอง ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: เหตุสุดวิสัยต้องพิจารณาความประมาทเลินเล่อของผู้ฟ้อง
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้โจทก์ฟังเมื่อวันที่ 29ธันวาคม 2542 โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2543 ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2543 คดีของโจทก์ไม่มีข้อยุ่งยาก เอกสารที่อ้างมีจำนวนไม่มากนัก โจทก์ย่อมสามารถทำอุทธรณ์ยื่นต่อศาลได้ แต่โจทก์กลับไม่กระทำอ้างว่ามีงานอาจารย์อีกหลายอย่างที่จะต้องปฏิบัติ ทั้งโจทก์มีทนายความแม้ทนายความโจทก์จะอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่แต่โจทก์ก็สามารถให้ทนายความยื่นอุทธรณ์แทนโจทก์ได้การที่โจทก์เดินทางกลับจากการสอนเสริมในต่างจังหวัดโดยเครื่องบินเที่ยวเช้าในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2543 ไม่ได้จนต้องเดินทางโดยเครื่องบินเที่ยวบ่าย ทำให้ยื่นอุทธรณ์ไม่ทัน เป็นข้อบกพร่องของโจทก์เอง ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ที่ยื่นในวันที่ 29 กุมภาพันธ์2543 อีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5993/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาใหม่ต้องยื่นภายใน 15 วันนับจากวันที่ทราบฟ้อง หรือสิ้นสุดเหตุสุดวิสัย มิฉะนั้นคำขอไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่อันเป็นเวลาก่อนวันที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมป.วิ.พ. (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2543 ใช้บังคับ แบ่งการขอพิจารณาใหม่เป็น สองกรณี กรณีแรกเป็นเรื่องขอพิจารณาใหม่ในกรณีปกติ ให้ยื่นคำขอต่อศาลภายในสิบห้าวันนับจากวันที่ได้ส่ง คำบังคับตามคำพิพากษา กรณีที่สองเป็นเรื่องขอพิจารณาใหม่ในกรณีมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ให้ยื่นคำขอ
ให้พิจารณาใหม่ได้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง
จำเลยทราบฟ้องโจทก์แล้วตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2541 อันเป็นวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึดทรัพย์จำเลย แต่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2541 จึงล่วงพ้นกำหนดสิบห้าวันไปแล้ว ทั้งในกรณีปกติและกรณีที่อ้างว่ามีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม)
ปัญหาว่าคำขอให้พิจารณาใหม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ มาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5923/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา และเหตุผลความล่าช้าที่ไม่เข้าข่ายเหตุสุดวิสัย
วันนัดสืบพยาน จำเลยซึ่งต้องนำพยานเข้าสืบเป็นลำดับสุดท้ายไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ศาลชั้นต้นจึงถือว่าไม่มีพยานมาสืบ สั่งงดสืบพยานให้คดีเสร็จการพิจารณา รอฟังคำพิพากษาในวันเดียวกัน ถือได้ว่าจำเลยทราบคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้วในวันนั้น การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์พร้อมคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์หลังพ้นกำหนดเวลา โดยอ้างว่าเพิ่งทราบคำพิพากษาเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาอุทธรณ์ไปแล้ว ถือเป็นความบกพร่องของจำเลยเอง ไม่ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ส่วนที่อ้างว่าเมื่อทราบแล้วจึงไปติดต่อคัดสำนวนใช้เวลาร่วมเดือนเศษก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์แล้ว จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัย ที่จะทำให้จำเลยไม่สามารถยื่นคำร้อง ภายในกำหนดเวลาได้เช่นกัน ที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องนั้น ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5923/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายและเหตุสุดวิสัยในการยื่นอุทธรณ์: ศาลพิพากษายืนตามคำสั่งเดิม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 37 และ 133 วางหลักไว้ว่าศาลจะต้องทำการนั่งพิจารณาต่อเนื่องกันไปจนกว่าจะเสร็จการพิจารณาและพิพากษาคดี โดยให้ศาลมีคำพิพากษาในวันที่เสร็จสิ้นการพิจารณานั่นเอง ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีเสร็จการพิจารณาและรอฟังคำพิพากษาวันนี้ และในวันนั้นศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาชี้ขาดคดี ย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายแล้ว
เหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 หมายความว่ามีเหตุการณ์ใด ๆ เกิดขึ้นซึ่งจำเลยไม่สามารถป้องกันได้ ทำให้จำเลยไม่สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ จำเลยอ้างเหตุในคำร้องว่า จำเลยเพิ่งทราบคำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งล่วงเลยเวลาที่จำเลยจะยื่นอุทธรณ์แล้ว ข้ออ้างของจำเลยถือเป็นความบกพร่องของจำเลยเอง ไม่อาจถือว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยได้ ส่วนข้ออ้างที่ว่า เมื่อทราบคำพิพากษาแล้วได้ไปติดต่อขอคัดสำนวน กว่าจะคัดได้ก็เป็นเวลา 2 เดือน อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังเมื่อพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์แล้วจึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5923/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา และเหตุสุดวิสัย: ศาลพิพากษายืนตามคำสั่งเดิม
ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 4 นำพยานเข้าสืบเป็นลำดับสุดท้าย จำเลยที่ 4นำพยานเข้าสืบได้ 1 ปาก แล้วแถลงว่ายังติดใจสืบอีกเพียง 1 ปาก ขอเลื่อนคดีไปสืบพยานปากนี้ในนัดหน้า ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยที่ 4 ในวันที่ 19ธันวาคม 2540 เวลา 8.30 นาฬิกา แต่เมื่อถึงวันนัดจำเลยที่ 4 ไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ศาลชั้นต้นจึงถือว่าจำเลยที่ 4 ไม่มีพยานมาสืบให้งดสืบพยานจำเลยที่ 4 คดีเป็นอันเสร็จการพิจารณา นับเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามลำดับขั้นตอนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เพราะจำเลยที่ 4 เป็นคู่ความที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเป็นลำดับสุดท้าย เมื่อจำเลยที่ 4 ไม่มีพยานมาสืบแล้วต้องถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 37 และมาตรา 133 วางหลักไว้ว่า ศาลจะต้องทำการนั่งพิจารณาต่อเนื่องกันไปจนกว่าจะเสร็จการพิจารณาและพิพากษาคดี โดยให้ศาลมีคำพิพากษาในวันที่เสร็จสิ้นการพิจารณา ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันที่ 19 ธันวาคม 2540 ว่าคดีเสร็จการพิจารณาและรอฟังคำพิพากษา และในวันดังกล่าวศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาชี้ขาดคดีย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในวันที่ 19 ธันวาคม 2540 ซึ่งเป็นเสร็จการพิจารณาถือว่าจำเลยที่ 4 ได้ทราบคำพิพากษาตั้งแต่วันนั้น จำเลยที่ 4 จึงชอบที่จะต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 19 มกราคม 2541 หรือยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ก่อนสิ้นกำหนดเวลา หากยื่นภายหลังเมื่อพ้นกำหนดเวลาต้องเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 จำเลยที่ 4 ยื่นอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2541 โดยอ้างว่า จำเลยที่ 4เพิ่งทราบคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเมื่อปลายเดือนมกราคม 2541 ซึ่งล่วงเลยเวลาที่จำเลยที่ 4 จะยื่นอุทธรณ์ได้ ข้ออ้างของจำเลยที่ 4 ดังกล่าวเป็นความบกพร่องของจำเลยที่ 4 เอง ไม่อาจถือว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยได้ ส่วนการที่จำเลยที่ 4 อ้างว่า เมื่อทราบคำพิพากษาแล้วได้ไปติดต่อขอคัดสำนวน กว่าจะคัดได้ก็ถึงเดือนมีนาคม2541 นั้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังเมื่อพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์แล้ว จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่ทำให้จำเลยที่ 4 ไม่สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 19 มกราคม 2541
of 52