คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เหตุอันควร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพกพาอาวุธเข้าบ้านผู้อื่นยามวิกาล ไม่เป็นเหตุป้องกันตัวได้ แม้ถูกทำร้ายก่อน
การที่จำเลยพกอาวุธปืนเข้าไปในบริเวณรั้วบ้านผู้ตายในยามวิกาล นับได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นความผิดต่อกฎหมาย ผู้ตายเมื่อรู้ตัวว่าของหาย แลเห็นจำเลยก็เข้าใจว่าเป็นคนร้ายลักทรัพย์จึงฟันเอา แล้วจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย ดังนี้ ย่อมเห็นได้ว่าการที่จำเลยใช้ปืนยิงผู้ตาย เป็นผลจากการกระทำผิดกฎหมายดังกล่าว จำเลยหาอาจป้องกันภยันตรายที่เกิดขึ้นเพราะการกระทำของตนอันเป็นความผิดต่อกฎหมายได้ไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1741/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวจากภยันตรายที่ใกล้จะถึง แม้ผู้ตายยังไม่ได้ลงมือทำร้าย แต่มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะถูกทำร้าย
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288ให้จำคุก 12 ปี ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ประกอบมาตรา 72 ให้จำคุก 4 ปี ไม่ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ขณะที่ผู้ตายกำลังจับมือถือแขนคู่หมั้นของจำเลยอยู่นั้นพอผู้ตายเห็นจำเลย ผู้ตายก้มลงหยิบมีดพร้าที่วางใกล้ๆ มีดนี้มีคมยาวประมาณ 12 นิ้ว ด้ามยาว 12 นิ้ว เป็นมีดขนาดเดียวกับที่จำเลยถือติดตัวมา คดีมีเหตุผลแสดงว่าผู้ตายจะทำร้ายจำเลยถึงตายได้ในทันทีที่ผู้ตายหยิบมีดได้ แม้มือผู้ตายยังอยู่ห่างมีดประมาณ 1 คืบก็ตาม บุคคลที่อยู่ในฐานะอย่างจำเลยย่อมเข้าใจว่าผู้ตายจะทำร้ายตนแน่ พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง จำเลยได้ฟันผู้ตายไปที่ซอกคอ 1 ที เป็นการกระทำเพียงพอกับความจำเป็นในการป้องกันผลร้ายที่จะเกิดขึ้นแก่จำเลย เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกโดยมีเหตุอันควร: การเข้าเรือนโดยได้รับเชิญจากบุคคลใกล้ชิด แม้ผู้ปกครองไม่ยินยอม
จำเลยเข้าไปในเรือนของผู้เสียหายกลางคืนเวลา 1 นาฬิกาโดยบุตรีของผู้เสียหายซึ่งรักใคร่กับจำเลยมาก่อนนัดให้เข้าไปและพาขึ้นเรือนนั้น นับว่าจำเลยเข้าไปโดยมีเหตุอันควร แม้ว่าผู้เสียหายและภรรยาไม่อนุญาต ก็เป็นไปตามวิสัยของเรื่องเช่นนี้ที่ต้องปิดบัง ดังนี้ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 364ประกอบด้วยมาตรา 365(2)(3) (ตัดสินโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้เพื่อป้องกันตัวและช่วยเหลือผู้อื่นจากการถูกทำร้าย โดยมีเหตุมาจากผู้กระทำฉุดตัวบุคคลไป
ผู้ตายฉุดน้องสาวจำเลยไป จำเลยติดตามไปทัน ผู้ตายเข้าทำร้ายจำเลย ๆ จึงต้องต่อสู้และได้รับบาดเจ็บถึง 7 แห่ง เหตุที่เกิดขึ้นจึงมิใช่จำเลยหาเหตุสมัครใจเข้าทำร้ายผู้ตาย ในเมื่อมีเหตุที่จำเลยต้องติดตามมาเอาน้องสาวคืน จึงเป็นการจำต้องทำเพื่อป้องกันอันตราย ต่อร่างกายและชีวิตพอสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951-953/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของนิติบุคคล และการเพิ่มเติมฟ้องต้องมีเหตุอันควร
บุคคลที่จะจัดการแทนผู้เสียหายซึ่งเป็นนิติบุคคล คือผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นๆ ของนิติบุคคล ผู้แทนดังกล่าวจะมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้ฟ้องคดีอาญาแทนนิติบุคคลนั้นไม่ได้
การขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องคดีอาญานั้น โจทก์จะต้องอ้างถึงเหตุอันควรในการขอแก้หรือเพิ่มเติมด้วย (หมายเหตุ มาตรา 5(3) เทียบฎีกาที่ 229/2490,618/2490,2028/2499มาตรา 163 เทียบฎีกาที่ 533/2496)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 844/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตแก้ฟ้อง: เหตุอันควร, จำเลยไม่หลงผิด, แก้ฟ้องได้แม้หลังสืบพยาน
ศาลไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องเพราะไม่แสดงเหตุอันควร แต่ในวันเดียวกันนั้นเอง โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องอีกโดยอ้างเหตุอันควรแม้จะยื่นภายหลังที่สืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว เมื่อจำเลยมิได้หลงผิดข้อต่อสู้คดี ก็มีเหตุสมควรที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอแก้ฟ้องอาญาต้องมีเหตุอันควร การอ้างเพียงว่าฟ้องไม่สมบูรณ์ไม่พอ
โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องคดีอาญา แต่มิได้อ้างเหตุที่ขอแก้ฟ้องเสียเลย กล่าวแต่ว่า ฟ้องโจทก์ขาดข้อความบาง ประการ, ดังนี้ ย่อมไม่มีเหตุที่จะให้ศาลวินิจฉัยว่าควรให้แก้ฟ้องหรือไม่ ศาลย่อมยกคำร้องขอแก้ฟ้องนั้นได้เลยทีเดียว./
(อ้างฎีกาที่ 774/2481, และ ที่ 1110/2492).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 181/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอแก้ฟ้องคดีอาญาต้องมีเหตุอันควร ศาลไม่อนุญาตแก้ฟ้องหากไม่มีเหตุผลรองรับ
เดิมโจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยลักทรัพย์ จำเลยให้การรับแต่เพียงรับของโจร โจทก์จึงมายื่นคำร้องขอแก้ฟ้องเป็นว่า จำเลยรับของโจรโดยมิได้แสดงว่า "มีเหตุอันสมควร" ที่โจทก์จะขอแก้ฟ้องแต่ประการใดเลย ดังนี้ เป็นการไม่ชอบด้วย ป.ม.วิ.อาญามาตรา 163 จึงไม่มีทางที่ศาลจะพิจารณาอนุญาตได้ จึงต้อถือว่าคดีเป็นอันไม่มีข้อหาว่าจำเลยรับของโจรจะพิจารณาพิพากษาลงโทษจำเลยฐานรับของโจรไม่ได้ และข้อหาฐานลักทรัพย์ตามคำฟ้องเดิมโจทก์ก็สละเสียแล้ว ไม่มีทางจะลงโทษจำเลยได้เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 648/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอแก้ฟ้องต้องมีเหตุอันควร การฟ้องผิดวันไม่ใช่เหตุเข้าใจผิดเรื่องท้องที่
พฤตติการณ์ที่ถือว่า ไม่มีเหตุอันควรที่โจทก์จะขอแก้ฟ้องได้ ตามมาตรา 163 ป.ม.วิ.อาญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 648/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ฟ้องต้องมีเหตุอันควร: ฟ้องผิดวัน จำเลยเสียเปรียบ
พฤติการณ์ที่ถือว่า ไม่มีเหตุอันควรที่โจทก์จะขอแก้ฟ้องได้ ตามมาตรา 163 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
of 6