พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้ไม่มีเหตุตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ต้องพิจารณาความจำเป็นและผลกระทบ
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123
แม้ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 จะกำหนดเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้เพียง 5 ประการ แต่ก็มิได้หมายความว่าเมื่อมีเหตุจำเป็นนอกเหนือจากเหตุแห่งการเลิกจ้าง 5 ประการดังกล่าวแล้ว นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างไม่ได้ กรณีเช่นนี้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างที่จะไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม จึงต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างเป็นประการสำคัญ
จำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 เป็นลูกจ้างโจทก์โดยทำงานในแผนกข้อมูลข่าวสารซึ่งมีลูกจ้างทั้งหมด 8 คน จำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานและเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง จำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 ถูกโจทก์เลิกจ้างเนื่องจากโจทก์ยุบแผนกที่จำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 ทำงาน แม้ขณะโจทก์ยุบแผนกดังกล่าวเนื่องจากผลประกอบการในแผนกขาดทุน แต่ผลประกอบการโดยรวมของโจทก์ยังมีกำไร นอกจากนี้โจทก์ย้ายลูกจ้างคนหนึ่งในแผนกดังกล่าวไปทำงานในแผนกอื่น แล้วโจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 กับพวก หลังจากนั้นโจทก์ได้รับลูกจ้างใหม่เข้าทำงานอีก 7 คนและยังได้รับสมัครลูกจ้างเข้าทำงานทดแทนลูกจ้างที่ออกจากงานตลอดมาเช่นนี้ กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในการเลิกจ้างจำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 การที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 เนื่องจากเหตุดังกล่าวก็ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 123 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
แม้ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 จะกำหนดเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้เพียง 5 ประการ แต่ก็มิได้หมายความว่าเมื่อมีเหตุจำเป็นนอกเหนือจากเหตุแห่งการเลิกจ้าง 5 ประการดังกล่าวแล้ว นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างไม่ได้ กรณีเช่นนี้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างที่จะไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม จึงต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างเป็นประการสำคัญ
จำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 เป็นลูกจ้างโจทก์โดยทำงานในแผนกข้อมูลข่าวสารซึ่งมีลูกจ้างทั้งหมด 8 คน จำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานและเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง จำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 ถูกโจทก์เลิกจ้างเนื่องจากโจทก์ยุบแผนกที่จำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 ทำงาน แม้ขณะโจทก์ยุบแผนกดังกล่าวเนื่องจากผลประกอบการในแผนกขาดทุน แต่ผลประกอบการโดยรวมของโจทก์ยังมีกำไร นอกจากนี้โจทก์ย้ายลูกจ้างคนหนึ่งในแผนกดังกล่าวไปทำงานในแผนกอื่น แล้วโจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 กับพวก หลังจากนั้นโจทก์ได้รับลูกจ้างใหม่เข้าทำงานอีก 7 คนและยังได้รับสมัครลูกจ้างเข้าทำงานทดแทนลูกจ้างที่ออกจากงานตลอดมาเช่นนี้ กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในการเลิกจ้างจำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 การที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 เนื่องจากเหตุดังกล่าวก็ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 123 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเกษียณอายุ กรณีเลิกจ้างไม่ใช่เพราะครบเกษียณอายุ
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเรื่องเงินบำเหน็จกำหนดไว้ว่า พนักงานมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเมื่อทำงานครบเกษียณอายุ โดยต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติงานในฐานะพนักงานเป็นเวลาอย่างน้อย15 ปี ติดต่อกัน (2) มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และ(3) ทำงานให้จำเลยด้วยความขยันหมั่นเพียรและปราศจากข้อตำหนิในประวัติการทำงาน เห็นได้ว่าตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวมีเจตนารมณ์ที่จะจ่ายเงินบำเหน็จหรือเงินค่าเกษียณอายุเมื่อพนักงานทำงานครบเกษียณอายุเท่านั้น แต่การเลิกจ้างของจำเลยตามหนังสือแจ้งการเลิกจ้าง มิใช่เป็นการให้โจทก์ออกจากงานโดยเหตุครบเกษียนอายุ แต่เป็นกรณีที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วย เหตุที่จำเลยประสบปัญหาการขาดทุนและจำเป็นต้องลดอัตรากำลังคน ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมีเจตนาไม่ให้โจทก์ได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จหรือเงินค่าเกษียณอายุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2701/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องอ้างเหตุตามสัญญา หากมิได้อ้างเหตุตามสัญญา ย่อมไม่อาจยกเหตุอื่นมาต่อสู้ได้
จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างเหตุเกี่ยวกับความสามารถในการทำงานของโจทก์ทั้งสิ้น มิได้อ้างสิทธิตามสัญญาจ้าง เมื่อจำเลยมิได้ใช้สิทธิดังกล่าวย่อมไม่อาจยกสิทธิมาต่อสู้เพื่อให้พ้นความรับผิดได้ สิทธิในการเลิกจ้างโจทก์ตามสัญญาจำเลยจะมีอยู่หรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดี
เมื่อปัญหาที่จะต้องพิจารณามีเพียงว่า เหตุที่จำเลยหยิบยกมาเลิกจ้างโจทก์มีหรือไม่ และเพียงพอที่จะเลิกจ้างได้หรือไม่ เพื่อนำมาวินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่เท่านั้น และเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ปรากฏเหตุตามสัญญาที่จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ตามที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้และยกขึ้นอุทธรณ์การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เมื่อปัญหาที่จะต้องพิจารณามีเพียงว่า เหตุที่จำเลยหยิบยกมาเลิกจ้างโจทก์มีหรือไม่ และเพียงพอที่จะเลิกจ้างได้หรือไม่ เพื่อนำมาวินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่เท่านั้น และเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ปรากฏเหตุตามสัญญาที่จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ตามที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้และยกขึ้นอุทธรณ์การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2701/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องพิสูจน์เหตุเลิกจ้างที่สมเหตุสมผล หากมิได้อ้างสิทธิในสัญญา ก็ไม่อาจใช้สิทธินั้นมาต่อสู้ได้
จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างเหตุเกี่ยวกับความสามารถในการทำงานของโจทก์ทั้งสิ้น มิได้อ้างสิทธิตามสัญญาจ้าง เมื่อจำเลยมิได้ใช้สิทธิดังกล่าวย่อมไม่อาจยกสิทธิมาต่อสู้เพื่อให้พ้นความรับผิดได้ สิทธิในการเลิกจ้างโจทก์ตามสัญญาจำเลยจะมีอยู่หรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดี
เมื่อปัญหาที่จะต้องพิจารณามีเพียงว่า เหตุที่จำเลยหยิบยกมาเลิกจ้างโจทก์มีหรือไม่ และเพียงพอที่จะเลิกจ้างได้หรือไม่ เพื่อนำมาวินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่เท่านั้น และเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ปรากฏเหตุตามสัญญาที่จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ตามที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้และยกขึ้นอุทธรณ์การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เมื่อปัญหาที่จะต้องพิจารณามีเพียงว่า เหตุที่จำเลยหยิบยกมาเลิกจ้างโจทก์มีหรือไม่ และเพียงพอที่จะเลิกจ้างได้หรือไม่ เพื่อนำมาวินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่เท่านั้น และเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ปรากฏเหตุตามสัญญาที่จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ตามที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้และยกขึ้นอุทธรณ์การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2599/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการยกเหตุเลิกจ้างนอกประกาศ และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับบริษัทในคดีแรงงาน
ตามประกาศของจำเลยที่ปลดโจทก์ออกจากงาน จำเลยอ้างเหตุเพียงว่าโจทก์ละทิ้งการปฏิบัติงานเท่านั้น เท่ากับจำเลยประสงค์จะถือเอาเฉพาะเหตุที่ระบุในประกาศเพียงประการเดียวเป็นเหตุเลิกจ้าง ไม่ได้ถือเอาเหตุอื่นเป็นเหตุเลิกจ้างด้วย ดังนี้เมื่อจำเลยถูกฟ้องก็ชอบที่จะยกเหตุตามที่ระบุในประกาศดังกล่าวเป็นข้อต่อสู้เท่านั้น จำเลยจะยกเหตุอื่นนอกเหนือจากที่ระบุในประกาศดังกล่าวเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ ดังนั้นจำเลยจะยกเหตุว่าโจทก์จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในชั้นพิจารณาของศาลเพื่อที่จะไม่จ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่ แม้ประเด็นข้อนี้ศาลแรงงานวินิจฉัยไว้ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยได้กำหนดโทษร้ายแรงถึงขั้นไล่ออกโดยไม่จ่ายค่าชดเชยไว้ ได้แก่ 1.เล่นการพนัน 2.ดื่มสุราในโรงงาน 3.ทะเลาะวิวาทในโรงงาน 4.ปั๊มบัตรบันทึกเวลาแทนกัน ดังนั้น การที่โจทก์ทั้งแปดละทิ้งหน้าที่ไปดื่มสุราที่บ้านพักของโจทก์ที่ 5 โดยโจทก์ทั้งแปดมิได้ดื่มสุราในโรงงาน จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน อันเป็นกรณีที่ร้ายแรง ดังนี้จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ทั้งแปดโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไม่ได้
คดีแรงงานเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากคดีแพ่งโดยทั่วไปการดำเนินคดีจะต้องเป็นไปโดยสะดวก ประหยัดและรวดเร็ว เมื่อจำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การเป็นหนังสือก่อนวันเวลาที่ศาลแรงงานนัดให้มาศาลก็ได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 37 วรรคท้าย กรณีจึงนำ ป.วิ.พ.มาตรา 178 มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้
ศาลแรงงานนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ ในวันนัดดังกล่าวจำเลยยื่นคำให้การและฟ้องแย้ง โจทก์รับสำเนาคำให้การและฟ้องแย้ง แต่ศาลแรงงานมิได้สืบพยานโจทก์ ทั้งได้เปลี่ยนหน้าที่นำสืบเป็นกำหนดให้จำเลยนำสืบพยานก่อน โดยเลื่อนคดีไปนัดสืบพยานจำเลย ครั้นถึงวันนัดโจทก์จึงได้ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง แม้โจทก์ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งหลังจากครบ 15 วัน นับแต่วันรับสำเนาคำให้การและฟ้องแย้งก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งได้
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยได้กำหนดโทษร้ายแรงถึงขั้นไล่ออกโดยไม่จ่ายค่าชดเชยไว้ ได้แก่ 1.เล่นการพนัน 2.ดื่มสุราในโรงงาน 3.ทะเลาะวิวาทในโรงงาน 4.ปั๊มบัตรบันทึกเวลาแทนกัน ดังนั้น การที่โจทก์ทั้งแปดละทิ้งหน้าที่ไปดื่มสุราที่บ้านพักของโจทก์ที่ 5 โดยโจทก์ทั้งแปดมิได้ดื่มสุราในโรงงาน จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน อันเป็นกรณีที่ร้ายแรง ดังนี้จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ทั้งแปดโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไม่ได้
คดีแรงงานเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากคดีแพ่งโดยทั่วไปการดำเนินคดีจะต้องเป็นไปโดยสะดวก ประหยัดและรวดเร็ว เมื่อจำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การเป็นหนังสือก่อนวันเวลาที่ศาลแรงงานนัดให้มาศาลก็ได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 37 วรรคท้าย กรณีจึงนำ ป.วิ.พ.มาตรา 178 มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้
ศาลแรงงานนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ ในวันนัดดังกล่าวจำเลยยื่นคำให้การและฟ้องแย้ง โจทก์รับสำเนาคำให้การและฟ้องแย้ง แต่ศาลแรงงานมิได้สืบพยานโจทก์ ทั้งได้เปลี่ยนหน้าที่นำสืบเป็นกำหนดให้จำเลยนำสืบพยานก่อน โดยเลื่อนคดีไปนัดสืบพยานจำเลย ครั้นถึงวันนัดโจทก์จึงได้ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง แม้โจทก์ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งหลังจากครบ 15 วัน นับแต่วันรับสำเนาคำให้การและฟ้องแย้งก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2599/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุเลิกจ้างต้องชัดเจนตามประกาศ ศาลไม่อนุญาตให้จำเลยยกเหตุอื่นที่ไม่แจ้งไว้เพื่อหลีกเลี่ยงค่าชดเชย
ตามประกาศของจำเลยที่ปลดโจทก์ออกจากงาน จำเลยอ้างเหตุ เพียงว่าโจทก์ละทิ้งการปฏิบัติงานเท่านั้น เท่ากับจำเลยประสงค์จะถือเอาเฉพาะเหตุที่ระบุในประกาศเพียงประการเดียวเป็นเหตุเลิกจ้าง ไม่ได้ถือเอาเหตุอื่นเป็นเหตุเลิกจ้างด้วย ดังนี้เมื่อจำเลยถูกฟ้องก็ชอบที่จะยกเหตุตามที่ระบุในประกาศดังกล่าวเป็นข้อต่อสู้เท่านั้น จำเลยจะยกเหตุอื่นนอกเหนือจากที่ระบุในประกาศดังกล่าวเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ ดังนั้นจำเลยจะยกเหตุว่าโจทก์จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในชั้นพิจารณาของศาลเพื่อที่จะไม่จ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่ แม้ประเด็นข้อนี้ศาลแรงงานวินิจฉัยไว้ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้ ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยได้กำหนดโทษร้ายแรงถึงขั้นไล่ออกโดยไม่จ่ายค่าชดเชยไว้ได้แก่ 1. เล่นการพนัน 2. ดื่มสุราในโรงงาน3. ทะเลาะวิวาทในโรงงาน 4. ปั๊มบัตรบันทึกเวลาแทนกันดังนั้น การที่โจทก์ทั้งแปดละทิ้งหน้าที่ไปดื่มสุราที่บ้านพักของโจทก์ที่ 5 โดยโจทก์ทั้งแปดมิได้ดื่มสุราในโรงงานจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นกรณีที่ร้ายแรง ดังนี้จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ทั้งแปดโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไม่ได้ คดีแรงงานเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากคดีแพ่งโดยทั่วไปการดำเนินคดีจะต้องเป็นไปโดยสะดวก ประหยัดและรวดเร็ว เมื่อจำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การเป็นหนังสือก่อนวันเวลาที่ศาลแรงงานนัดให้มาศาลก็ได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 37 วรรคท้าย กรณีจึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 178มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้ ศาลแรงงานนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ ในวันนัดดังกล่าวจำเลยยื่นคำให้การและฟ้องแย้ง โจทก์รับสำเนาคำให้การและฟ้องแย้ง แต่ศาลแรงงานมิได้สืบพยานโจทก์ ทั้งได้เปลี่ยนหน้าที่นำสืบเป็นกำหนดให้จำเลยนำสืบพยานก่อนโดยเลื่อนคดีไปนัดสืบพยานจำเลย ครั้นถึงวันนัดโจทก์จึงได้ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง แม้โจทก์ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งหลังจากครบ 15 วัน นับแต่วันรับสำเนาคำให้การและฟ้องแย้งก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4715/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เหตุทะเลาะวิวาทนอกสถานที่ทำงานและนอกเวลา
คำให้การของจำเลยอ้างแต่เพียงว่าเหตุที่เลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ทะเลาะวิวาททำร้ายผู้อื่นในสถานที่ทำงานของจำเลย อันเป็นเหตุเลิกจ้างตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ข้อ 3.9.1 เท่านั้น หาได้อ้างเหตุเลิกจ้างอื่นตามข้อ 3.9.8 และข้อ 3.9.9 ด้วยไม่ การที่จำเลยอุทธรณ์อ้างเหตุเลิกจ้างตามข้อ3.9.8 และข้อ 3.9.9 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงาน ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
แม้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยข้อ 3.9.1 จะมีข้อความว่า "พนักงานต้องไม่ทำการทะเลาะวิวาท หรือใช้กำลังประทุษร้ายซึ่งกันและกันในบริเวณบริษัทฯ..." แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ทำร้ายร่างกาย ส.ที่ถนนในบริเวณบริษัท มิใช่ภายในอาคารที่ทำงานหรือที่เก็บสินค้าของจำเลย ขณะเกิดเหตุเป็นเวลาประมาณ 17 นาฬิกา หลังจากเลิกงานแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่า ส.ได้รับบาดเจ็บพฤติการณ์และการกระทำของโจทก์จึงยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีที่ร้ายแรงที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4)
แม้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยข้อ 3.9.1 จะมีข้อความว่า "พนักงานต้องไม่ทำการทะเลาะวิวาท หรือใช้กำลังประทุษร้ายซึ่งกันและกันในบริเวณบริษัทฯ..." แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ทำร้ายร่างกาย ส.ที่ถนนในบริเวณบริษัท มิใช่ภายในอาคารที่ทำงานหรือที่เก็บสินค้าของจำเลย ขณะเกิดเหตุเป็นเวลาประมาณ 17 นาฬิกา หลังจากเลิกงานแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่า ส.ได้รับบาดเจ็บพฤติการณ์และการกระทำของโจทก์จึงยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีที่ร้ายแรงที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2893/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุเลิกจ้างต้องพิจารณา ณ ขณะเลิกจ้าง ข้อกล่าวหาหลังเกิดเหตุไม่มีผล
การเลิกจ้างที่นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ จะต้องพิจารณาถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างในขณะที่เลิกจ้างเป็นสำคัญ กรณีที่จำเลยอุทธรณ์เป็นการพิพาทกันระหว่างโจทก์กับ จ.เกี่ยวกับการบริหารงานของ จ.ในตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทจำเลย มิใช่ปัญหาว่าการบริหารงานของโจทก์ที่ผ่านมาไม่เป็นที่น่าพอใจและไม่น่าไว้วางใจตามที่จำเลยได้ยกขึ้นมาเป็นข้อกล่าวอ้างเพื่อเลิกจ้างโจทก์ ดังนั้น ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงไม่เป็นเหตุแห่งการเลิกจ้างในขณะเลิกจ้างที่จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ แม้ศาลแรงงานได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยไว้ก็ไม่เป็นประโยชน์แก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยการทำร้ายร่างกาย ถือเป็นเหตุเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุไว้ว่าห้ามเล่นการพนัน ก่อการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย ลักทรัพย์หรือก่อกวนความสงบสุขหรือก้าวก่ายการปฏิบัติงานของพนักงานอื่นซึ่งหากคนงานกระทำผิดข้อบังคับดังกล่าว จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้การที่โจทก์มิได้เป็นผู้บังคับบัญชาของ อ. ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบงานของ อ.และอ. จะตอบคำถามของโจทก์หรือไม่ก็ได้ เมื่อ อ.ไม่ยอมพูดด้วยโจทก์ก็น่าจะรู้ว่าอ.ไม่ต้องการให้โจทก์ไปรบกวนเวลาที่กำลังทำงานระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานก็ระบุห้ามไว้ซึ่งโจทก์ต้องปฏิบัติตาม แต่โจทก์กลับหาเรื่องชกต่อย อ.ถึง 2 ที เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายไปก่อเหตุขึ้นก่อน จะอ้างว่าได้กระทำไปเพราะบันดาลโทสะเนื่องจาก อ. แสดงอาการยียวนหาได้ไม่ การกระทำของโจทก์เป็นการจงใจฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย และเป็นความผิดทางอาญาด้วย จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4) และเป็นการกระทำความผิดอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ด้วยจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10292/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุเลิกจ้างต้องเป็นไปตามที่ระบุในหนังสือเลิกจ้าง ศาลแรงงานงดสืบพยานได้หากจำเลยไม่ต่อสู้
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยทำเป็นหนังสือและระบุเหตุเลิกจ้างไว้ชัดแจ้งแสดงว่าจำเลยประสงค์จะถือเอาเหตุนั้นเป็นข้ออ้างในการเลิกจ้างหาได้ถือเอาเหตุอื่นด้วยไม่จำเลยจะยกเอาเหตุเลิกจ้างอื่นนอกเหนือจากหนังสือเลิกจ้างเป็นข้อต่อสู้หาได้ไม่ เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าศาลแรงงานกลางงดสืบพยานโดยมิได้สอบข้อเท็จจริงถือลักษณะงานว่าต้องตามที่ระบุไว้ในข้อ 46 วรรคท้ายแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานหรือไม่ การงดสืบพยานดังกล่าวเป็นดุลพินิจของศาล จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามอุทธรณ์