คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เอกชน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 644/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ไม้และการคุ้มครองป่าไม้: การเผาไม้ของตนเองไม่ผิดกฎหมาย
พ.ร.บ.ป่าไม้มุ่งหมายคุ้มครองฉะเพาะของอยู่ในป่ามิได้มุ่งหมายคุ้มครองของอันเป็นกรรมสิทธิของเอกชน
การเผาไม้ของตนเองไม่มีกฎหมายห้าม
การเผาไม้ป่าเป็นถ่านจะต้องขออนุญาตฉะเพาะแต่การเผาไม้ประเภทหวงห้าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 856/2487

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สุเหร่าไม่เป็นนิติบุคคล เอกชนโอนที่ดินสุเหร่าไม่ได้
สุเหร่าของชาวอิสลามไม่ใช่นิติบุคคล เอกชนจะทำสัญญาเพื่อโอนที่ดินสุเหร่าตามลำพังคนเดียวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2480

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทาง – เอกชนไม่มีอำนาจฟ้องให้ศาลแสดงว่าเป็นทางสาธารณะ เว้นแต่เสียหายเป็นพิเศษ หรือมีสิทธิเนื่องจากการถูกล้อม
เอกชนไม่มีอำนาจขับไล่ผู้ปกครองทางสาธารณ หรือขอให้ศาลแสดงว่าทางรายพิพาทเป็นทางสาธารณเว้นแต่จะนำสืบได้ว่าตนเสียหายเป็นพิเศษเนื่องในการปิดทางสาธารณนั้น เพียงแต่ที่ดินของตนมีทางออกทางนั้นทางเดียวเท่านั้นไม่ถือว่าเป็นผู้เสียหายอันจะให้เกิดอำนาจฟ้องบ้านโจทก์อยุ่ในที่ล้อมไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณได้นอกจากจะใช้ทางรายพิพาทดังนี้โจทก์ย่อมมีสิทธิใช้ทางนี้ไปมาสู่บ้านโจทก์เจ้าของทางจะปิดมิได้
ประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 248 ในคดีฟ้องขอให้เปิดทางเดินเมื่อ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นคู่ความ ฎีกาได้ ฉะเพาะแต่ปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8771/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการฟ้องคดีความผิด พ.ร.บ.เสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ สงวนไว้สำหรับรัฐเท่านั้น เอกชนผู้เสนอราคมิใช่ผู้เสียหาย
ความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 3, 7, 12 รัฐเท่านั้นที่จะเป็นผู้เสียหายในการฟ้องคดีต่อผู้กระทำความผิด โจทก์ซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมเสนอราคาซึ่งเป็นเอกชนมิได้อยู่ในฐานะผู้เสียหายที่จะฟ้องร้องคดีเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สาธารณสมบัติของแผ่นดิน: การโอนกรรมสิทธิ์จากเอกชนทำให้ที่ดินตกเป็นสาธารณสมบัติ, ครอบครองปรปักษ์ใช้ไม่ได้
ป.พ.พ. มาตรา 1304 บัญญัติว่า สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น รวมทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่น (1) ที่ดินรกร้างว่างเปล่าและที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน... การที่บริษัทเครดิตฟองซิเอร์กรุงเทพเคหะ จำกัด โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ ที่ดินพิพาทจึงกลับมาเป็นของแผ่นดินตามกฎหมายที่ดิน จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนับแต่วันนั้น ผู้ร้องจึงไม่อาจอ้าง ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง ขึ้นต่อสู้ได้ แม้การจดทะเบียนดังกล่าวรัฐผู้รับโอนจะมิได้เสียค่าตอบแทนก็ตาม และ ป.พ.พ. มาตรา 1306 มิได้บัญญัติให้ใช้บังคับเฉพาะสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่มีอยู่เดิม ไม่ใช้บังคับกับที่รับโอนมาจากเอกชนแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2300/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี พ.ร.บ.ธุรกิจคนต่างด้าว: รัฐเป็นผู้เสียหายโดยตรง ไม่ใช่เอกชน
ตามเหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ก็เพื่อส่งเสริมให้มีการแข่งขันในการประกอบธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศไทยโดยส่วนรวม บทบัญญัติดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์มุ่งคุ้มครองส่วนที่เป็นส่วนรวม ซึ่งรัฐเป็นผู้มีหน้าที่ในการดูแลให้มีการแข่งขันในการประกอบธุรกิจของเอกชนภายในรัฐ โดยมิได้มุ่งประสงค์ที่จะคุ้มครองเอกชนคนใดคนหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจง รัฐเท่านั้นจึงเป็นผู้เสียหายในความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวนี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยซึ่งเป็นคนต่างด้าวประกอบธุรกิจขายที่ดินในสวนปาล์มน้ำมันหรือทำสวนปาล์มน้ำมันอันเป็นธุรกิจต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าวก็ตาม ก็ไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยตรง และแม้จะปรากฏด้วยว่าจำเลยประกอบธุรกิจต้องห้ามดังกล่าวในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยจากกรมป่าไม้โดยชอบ ก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปว่ากล่าวแก่จำเลยในทางแพ่ง ไม่ถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษอันเนื่องมาจากการกระทำของจำเลยตามฟ้อง อันจะทำให้โจทก์เป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องในความผิดตามบทบัญญัตินี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18574-18577/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาทางปกครองระหว่างรัฐวิสาหกิจกับเอกชน ไม่เป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือตัวแทน
สัญญาร่วมดำเนินกิจการให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัท ท. จำกัด เป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชน โดยมีวัตถุประสงค์แห่งสัญญาเป็นการให้เอกชนเข้าร่วมใช้ความถี่สื่อสาร โดยในขณะทำสัญญาจำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2520 มีวัตถุประสงค์หลักในการประกอบกิจการสื่อสารมวลชน ใช้กิจการสื่อสารมวลชนเป็นสื่อในการเผยแพร่ความรู้ สร้างความเข้าใจเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากร ส่งเสริมคุณภาพและจริยธรรมของคนในชาติและรักษาความมั่นคงของรัฐ ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีโอกาสในการรับรู้ข่าวที่ถูกต้องและรวดเร็ว ตลอดจนสาระความรู้และสาระบันเทิงที่มีประโยชน์ จึงเป็นการให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมและปัจเจกชนอันเป็นบริการสาธารณะ การให้บริษัท ท. จำกัด ดำเนินการจึงต้องอยู่ในวัตถุประสงค์ดังกล่าวด้วย และสัญญายังเป็นการมอบหมายให้บริษัท ท. จำกัด ซึ่งเป็นเอกชนดำเนินการรับผิดชอบและเสี่ยงภัยในกิจการนั้นตลอดระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาโดยได้รับค่าตอบแทนจากผู้รับบริการซึ่งเป็นสมาชิกที่รับบริการปลายทางในรูปแบบของการสัมปทานเพื่อจัดการบริการสาธารณะในลักษณะเดียวกันกับการให้สัมปทานตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 26 มกราคม 2515 อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น และให้อำนาจหน่วยงานของรัฐที่จะต้องเห็นชอบหรืออนุญาตให้กระทำการใดหรือไม่ให้กระทำการใด รวมทั้งมีอำนาจควบคุมการดำเนินงานและบอกเลิกสัญญาได้ฝ่ายเดียวตามสัญญาดังกล่าวในข้อ 7 อันเป็นข้อกำหนดในสัญญาที่มีลักษณะพิเศษที่แสดงถึงเอกสิทธิของหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้การดำเนินงานดังกล่าวอันเป็นบริการสาธารณะบรรลุผล อีกทั้งเมื่อหมดเวลาตามที่กำหนดในสัญญาแล้วบริษัท ท. จำกัด ยังต้องส่งมอบทรัพย์สินทั้งหมดคืนให้แก่จำเลยที่ 1 ตามสัญญาในข้อ 8 ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัท ท. จำกัด ตามสัญญาร่วมดำเนินกิจการให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก จึงมีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครอง มิใช่การตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกันในลักษณะแห่งความเสมอภาคของคู่สัญญาในการก่อให้เกิดสัญญา การปฏิบัติตามสัญญา การแก้ไขและการเลิกสัญญาในลักษณะของคู่สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
ข้อสัญญาที่กำหนดให้บริษัท ท. จำกัด ต้องจ่ายค่าตอบแทนในการเข้าร่วมดำเนินกิจการตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นเงินร้อยละ 6.5 ของรายได้ทั้งหมดแต่ละปีก่อนหักค่าใช้จ่ายใด ๆ ตลอดอายุสัญญา หากชำระล่าช้าจะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ทั้งต้องนำหลักประกันจำนวน 5,000,000 บาท มอบให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา เป็นการกำหนดค่าตอบแทนจากการที่ร่วมดำเนินกิจการตามสัญญาเท่านั้น ไม่ว่าการดำเนินกิจการของบริษัท ท. จำกัด จะมีกำไรหรือไม่ก็ยังต้องจ่ายค่าตอบแทนตามสัญญาดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 ข้อตกลงตามสัญญาดังกล่าวจึงมิได้เป็นการตกลงเข้ากันด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น ส่วนการที่บริษัท ท. จำกัด จะต้องโอนหุ้นซึ่งชำระมูลค่าหุ้นครบถ้วนแล้วจำนวนร้อยละ 7 ของหุ้นทั้งหมดให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือหุ้น หรือที่จะต้องให้จำเลยที่ 1 หรือผู้แทนเข้าร่วมเป็นกรรมการของบริษัท ท. จำกัด ตลอดเวลาที่จำเลยที่ 1 ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ก็เป็นเพียงการกำหนดค่าตอบแทนเพิ่มเติมนอกจากเงินร้อยละ 6.5 ของรายได้ทั้งหมดแต่ละปี และเพื่อให้มีผู้แทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐคอยควบคุมการดำเนินงานในลักษณะของความมีอำนาจเหนือกว่าคู่สัญญาฝ่ายเอกชนนั่นเอง สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัท ท. จำกัด ตามสำเนาสัญญาร่วมดำเนินกิจการให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก จึงมิใช่สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนตามความสัมพันธ์ทางแพ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 22 หุ้นส่วนและบริษัท
การที่จำเลยที่ 1 มอบหมายให้บริษัท ท. จำกัด จัดการบริการสาธารณะในรูปแบบของการสัมปทาน ซึ่งบริษัท ท. จำกัด จะต้องจัดทำบริการสาธารณะดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐภายในระยะเวลาที่กำหนดด้วยทุนทรัพย์และความเสี่ยงภัยของบริษัท ท. จำกัด โดยจำเลยที่ 1 ยอมให้บริษัท ท. จำกัด ใช้ความถี่สื่อสารที่ได้รับจัดสรรจากคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติเพื่อดำเนินการเองในนามของจำเลยที่ 1 อันเป็นลักษณะของสัญญาทางปกครองแล้วเช่นนี้ สัญญาดังกล่าวจึงมิใช่ตัวแทนหรือตัวแทนเชิดตามความสัมพันธ์ทางแพ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 15 ตัวแทน ด้วยเช่นกัน จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องร่วมรับผิดตามสัญญาจ้างแรงงานกับบริษัท ท. จำกัด ซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งสี่ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6641-6642/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาจากการปฏิบัติหน้าที่มิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำให้เอกชนเสียประโยชน์
โจทก์ที่ 1 มีวัตถุประสงค์รับเหมาก่อสร้างทุกชนิด ยื่นใบเสนอราคางานรับจ้างในราคาต่ำสุดทุกโครงการ แต่ไม่ได้รับการพิจารณาอนุมัติงานจ้าง โดยจำเลยในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหารหน่วยงานผู้มีอำนาจอนุมัติกลับอนุมัติให้ร้าน ซ. และห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ซึ่งเสนอราคาสูงกว่าโจทก์ที่ 1 เข้าเป็นคู่สัญญากับเทศบาลตำบลบึงโขงหลง หากได้ความว่าการกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ย่อมทำให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเสนอราคาตามเงื่อนไขของเทศบาลตำบลบึงโขงหลงได้รับความเสียหายไม่ได้รับงานจ้างซึ่งเป็นกิจการตามวัตถุประสงค์ ทั้งที่เป็นการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมตามเจตนารมณ์ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535 ซึ่งนับเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นในเบื้องต้นแล้ว นอกจากนี้การเสนอราคาเพื่อเข้าเป็นคู่สัญญาในการรับจ้างเหมาทุกชนิด ตามวิสัยของวิญญูชนย่อมเห็นได้ชัดว่าหากงานจ้างเหมามีแต่การขาดทุน ย่อมไม่มีผู้ใดเสนอราคาเพื่อเข้าเป็นคู่สัญญาอย่างแน่นอน ดังนั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 เสียโอกาสไม่ได้เข้ารับเหมาทำงาน ย่อมทำให้โจทก์ที่ 1 สูญเสียรายได้จากงานจ้างซึ่งเป็นกิจการตามวัตถุประสงค์ โจทก์ที่ 1 ย่อมเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้องในส่วนที่มีการกระทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 ได้ แต่ไม่มีอำนาจฟ้องในส่วนที่มีการกระทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ
of 3