พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทผิดและขอบเขตการแก้โทษ: โจทก์ไม่โต้แย้งบทที่ศาลชั้นต้นใช้ จึงไม่อาจฎีกาขอให้ลงโทษตามบทอื่นได้
ในกรณีปล้นโดยมีอาวุธ แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคหนึ่งให้จำคุก15 ปีนั้น เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์จะแก้เป็นลงโทษจำคุกเพียง 10 ปี ตามมาตรา 340 วรรคหนึ่ง ก็เป็นการแก้โทษให้ตรงกับบทเท่านั้น โจทก์จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 340 วรรคสองมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 978/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอแก้โทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3(1) ต้องเกิดก่อนใช้กฎหมายใหม่
ที่จำเลยจะร้องขอให้ศาลกำหนดโทษจำเลยเสียใหม่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3(1) นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ศาลพิพากษาลงโทษจำเลย และคดีถึงที่สุดไปแล้วก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายอาญา คือ วันที่ 1 ม.ค. 2500 ถ้าคดีของจำเลยมาถึงที่สุดลงเมื่อประมวลกฎหมายอาญาได้ออกใช้เสียแล้วกรณีก็ไม่อยู่ในบังคับ มาตรา 3(1) แห่งประมวลกฎหมายอาญาที่ศาลจะแก้กำหนดโทษเสียใหม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยถึงความหนักเบาของโทษตามกฎหมายเก่าใหม่แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1881-1885/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้โทษจำคุกเป็นรอการลงโทษ และอำนาจศาลฎีกาในการแก้โทษจำเลยที่ไม่ฎีกา
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่าจำเลยได้ทำผิดจริง ศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลย แต่ศาลอุทธรณ์ให้รอการลงโทษไว้ ถือว่าเป็นการแก้มากโจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงได้ ไม่ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
จำเลยที่ 5 ได้สมคบกับจำเลยอีก 4 คนกระทำความผิดอันเป็นเหตุในลักษณะคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 89 โทษที่ศาลอุทธรณ์วางแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นโทษเบากว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนด แม้จำเลยที่ 5 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้โทษจำเลยที่ 5 ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 เพราะเป็นคุณแก่จำเลย
จำเลยที่ 5 ได้สมคบกับจำเลยอีก 4 คนกระทำความผิดอันเป็นเหตุในลักษณะคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 89 โทษที่ศาลอุทธรณ์วางแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นโทษเบากว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนด แม้จำเลยที่ 5 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้โทษจำเลยที่ 5 ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 เพราะเป็นคุณแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบหลังพ.ร.บ.ล้างมลทิน: ศาลฎีกาแก้โทษจำคุกเหลือตามเดิม
ต้องคำพิพากษาให้ลงโทษก่อน 8 พ.ย. 2499 และพ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ.ล้างมลทินในโอกาศครบ25พุทธศตวรรษ พ.ศ.2499 ใช้บังคับ (13 พ.ค. 2500) ดังนี้ ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำผิดในคดีนั้นคดีมีฎีกาและศาลฎีกาพิพากษาหลังวันที่ 13 พ.ค.2500ศาลฎีกาย่อมพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลล่างว่าจะเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริง: คดีอาญาแก้โทษเบาลง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 249 ฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา จำคุก 9 ปี ศาลอุทธรณ์คงพิพากษาว่าจำเลยผิดตามมาตรา 251 แต่แก้โทษจำคุกเป็นจำคุก 5 ปี ดังนี้ ถือว่าแก้น้อย ฎีกาข้อเท็จจริงได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 601/2475
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์แก้โทษจำคุก แม้ไม่มีการอุทธรณ์จากคู่ความ
คดีที่ศาลเดิมส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ตรวจตา พ.ร.บ. วิธีพิจารณาอาชญาม. 38 นั้น ศาลอุทธรณ์ให้อำนาจแก้โทษจำเลยให้เบาลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 60/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาจากการถูกข่มเหง ศาลฎีกาแก้โทษตามความร้ายแรง
ทำโดยบรรดาลโทษะวิธีพิจารณาอาญาศาลล่างวางโทษไม่สมแก่เหตุอุถฉกรรจ์และความยุติธรรม ศาลฎีกาแก้โทษได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล้นทรัพย์ที่นำไปสู่การฆ่า: ศาลฎีกาแก้โทษจากสมคบปล้นฆ่าเป็นฆ่าผู้อื่นเพื่อทรัพย์
จำเลยได้ฆ่าคนตายในการปล้นทรัพย์เพราะโกรธว่าต่อสู้ และใช้ให้งมปืนที่ตกน้ำไม่ได้ แต่การปล้นมิได้อะไรต้องมีผิดตาม ม.249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 806-807/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลฎีกาแก้โทษจำเลยร่วม แม้ไม่ได้ฎีกา คดีอาญาเกี่ยวกับความร่วมมือในการทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย
อำนาจศาลฎีกาที่จะแก้บทลงโทษจำเลยที่ไม่ได้ฎีกาขึ้นมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15073/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาแก้โทษในคดีป่าไม้: ศาลอุทธรณ์แก้โทษเล็กน้อย ไม่ถือเป็นการแก้บทความผิด ฎีกาขอรอการลงโทษต้องห้าม
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง, 73 วรรคหนึ่ง, วรรคสอง (1) การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงไป ฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 3 เดือน ฐานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 3 เดือน ฐานมีไม้สักและไม้เหียงแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 1 ปี รวมจำคุก 1 ปี 6 เดือน ลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่ง คงจำคุก 9 เดือน บวกโทษจำคุก 18 เดือน ที่รอการลงโทษไว้แล้ว เป็นจำคุก 27 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า ฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้เหียงและไม้สักโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้สักโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 1 ปี ฐานแปรรูปไม้เหียงและไม้สักโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานแปรรูปไม้สักโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 1 ปี อันเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษจำเลยฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตและฐานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง และ 73 วรรคหนึ่ง ทั้งสองฐานความผิด เป็นลงโทษจำเลยฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้สักโดยไม่ได้รับอนุญาตและฐานแปรรูปไม้สักโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง และ 73 วรรคสอง (1) ทั้งสองฐานความผิด จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้วรรคของความผิดในบทมาตราเดียวกัน ไม่ถือเป็นการแก้บทความผิด แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 แก้ไขโทษด้วยก็เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และคงให้ลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 5 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว