พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6550/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืม: ศาลแก้ไขการคิดดอกเบี้ยให้เป็นไปตามอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป (ที่ไม่ผิดนัด)
การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนั้นมิได้มีข้อจำกัดตามกฎหมายว่าจะต้องมอบอำนาจให้ฟ้องบุคคลใดเป็นคดีเรื่องใดโดยเฉพาะเจาะจงเท่านั้น เมื่อหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมีข้อความระบุไว้ชัดว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจคือนาย ส. ฟ้องคดีแทนได้แล้ว นาย ส. ก็มีอำนาจที่จะฟ้องคดีต่าง ๆ แทนโจทก์ได้ รวมทั้งฟ้องจำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์เป็นคดีนี้ได้โดยชอบด้วย โดยโจทก์ไม่จำเป็นต้องทำหนังสือมอบอำนาจระบุเป็นการเฉพาะให้ฟ้องจำเลยทั้งห้าอีก
ตามสัญญาทรัสต์รีซีทซึ่งโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำกันไว้มีข้อตกลงว่า "...ข้าพเจ้า (จำเลยที่ 1) จะต้องนำเงินมาชำระค่าสินค้าในจำนวนและกำหนดเวลาที่ระบุไว้ตามรายละเอียดแนบท้ายให้แก่ธนาคาร โดยคำนวณเงินตราต่างประเทศที่ระบุไว้ในรายละเอียดแนบท้ายเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารต้องชำระค่าสินค้าแทนข้าพเจ้า หรือตามอัตราที่ตกลงกันไว้ หรือในอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคาร ณ วันครบกำหนดชำระเงินตามทรัสต์รีซีทหรือในอัตราที่ได้กำหนดไว้แนบท้ายหนังสือนี้ โดยข้าพเจ้ายินยอมให้ธนาคารเป็นผู้เลือกที่จะใช้อัตราใดแล้วแต่จะเห็นสมควร..." แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ตกลงกันไว้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินไทยจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนวันใดให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิเลือกตามแต่โจทก์จะเห็นสมควร ข้อตกลงเช่นนี้ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมใช้บังคับกันได้โดยชอบ การที่โจทก์คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามที่โจทก์จ่ายไปตามเลตเตอร์ออฟเครดิตเป็นเงินไทยในวันครบกำหนดที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระเงินคืนให้แก่โจทก์ตามที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญาทรัสต์ซีรีทนั้นจึงเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิที่มีอยู่ตามข้อตกลงในหนังสือสัญญาทรัสต์รีซีท
สัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 ระบุว่า กรณีจำเลยที่ 1 ได้ขายสินค้า หรือแม้มิได้นำสินค้าออกขายก็ตาม จำเลยที่ 1 จะต้องนำเงินมาชำระค่าสินค้าในจำนวนและในกำหนดเวลาที่ระบุไว้แนบท้ายแก่ธนาคารโจทก์ โดยคำนวณเงินตราต่างประเทศตามที่ตกลงไว้ โดยจำเลยที่ 1 ยอมให้ธนาคารโจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ระบุไว้ในอัตราสูงสุดที่ธนาคารโจทก์ประกาศกำหนดภายใต้ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด นับแต่วันที่ธนาคารโจทก์ได้ชำระค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 และ ข้อ 7 ระบุว่า ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ยอมให้ธนาคารโจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ระบุไว้แนบท้ายที่ค้างชำระดังกล่าวในอัตราสูงสุด ดังนี้ข้อความที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาทรัสต์รีซีทข้อ 4 ที่ระบุว่า "อัตราสูงสุด" ประกอบกับข้อความที่ขยายความคำว่า "อัตราสูงสุด" ว่า "ที่ธนาคาร (โจทก์)ประกาศกำหนดภายใต้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด" จึงมีความหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงกันโดยมีเจตนาให้เป็นอัตราสูงสุดที่ถูกต้องภายใต้หลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศกำหนดไว้ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับลงวันที่ 20 ตุลาคม 2536 อันได้แก่อัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป (ที่ไม่ผิดนัด) และเมื่อสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 7 ที่ตกลงกันว่าในกรณีผิดนัดให้คิดดอกเบี้ยใน "อัตราสูงสุด" ซึ่งย่อมมีความหมายเช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยตามข้อ 4 หรือเป็นอัตราเดียวกันดังที่วินิจฉัยไว้แล้วข้างต้น จึงถือได้ว่าสัญญาทรัสต์ซีรีทได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แน่นอนเป็นอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป (ที่ไม่ผิดนัด) ตามประกาศธนาคารโจทก์แล้ว โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราเพียงร้อยละ 18.50 ต่อปี และ 16.50 ต่อปี ซึ่งก็ล้วนเป็นอัตราที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป(ที่ไม่ผิดนัด) ตามประกาศธนาคารโจทก์ ที่มีผลบังคับในขณะคิดดอกเบี้ยนั้นเช่นกัน หลังจากนั้นจึงคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดลูกค้าทั่วไปที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข ซึ่งการคิดดอกเบี้ยดังกล่าวนอกจากจะไม่เกินกว่าอัตราที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทข้อ 4 ดังกล่าวแล้ว ยังกลับเป็นคุณแก่จำเลยทั้งห้าอีกด้วย แม้ต่อมาภายหลังปรากฏว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยสูงสุดลูกค้าทั่วไปที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขและปรับเปลี่ยนขึ้นลงตามอัตราดังกล่าวตามประกาศธนาคารโจทก์ที่มีผลใช้บังคับในแต่ละช่วงเวลาจนกระทั่งเป็นอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดลูกค้าทั่วไปที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขนับตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2542 เป็นต้นไปจนถึงวันฟ้อง อันทำให้เห็นเป็นว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราเพิ่มขึ้นในช่วงหลังจากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้โดยอ้างสิทธิตามสัญญาทรัสต์รีซีทข้อ 7 ทำนองเป็นเบี้ยปรับก็ตาม แต่ที่ถูกนั้นแม้ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้แล้ว โจทก์จะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ได้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทข้อ 7 ใน "อัตราสูงสุด" ซึ่งเป็นอัตราเดียวกันกับอัตราตามสัญญาข้อ 4 ซึ่งได้แก่อัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดตามประกาศธนาคารโจทก์ มิใช่อัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามประกาศธนาคารโจทก์การคิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นเพียงการคิดดอกเบี้ยที่ไม่ถูกต้อง ผิดจากข้อสัญญาเท่านั้น มิใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยตามข้อสัญญาที่ลูกหนี้ (จำเลยที่ 1) ตกลงให้คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในลักษณะเป็นการตกลงใช้เงินจำนวนหนึ่ง หรือค่าเสียหายเพราะเหตุที่ลูกหนี้ (จำเลยที่ 1) ไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระให้ถูกต้องสมควร อันเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลอาจพิพากษาให้ลดลงเป็นจำนวนพอสมควรตามมาตรา 383 ได้
ตามสัญญาทรัสต์รีซีทซึ่งโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำกันไว้มีข้อตกลงว่า "...ข้าพเจ้า (จำเลยที่ 1) จะต้องนำเงินมาชำระค่าสินค้าในจำนวนและกำหนดเวลาที่ระบุไว้ตามรายละเอียดแนบท้ายให้แก่ธนาคาร โดยคำนวณเงินตราต่างประเทศที่ระบุไว้ในรายละเอียดแนบท้ายเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารต้องชำระค่าสินค้าแทนข้าพเจ้า หรือตามอัตราที่ตกลงกันไว้ หรือในอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคาร ณ วันครบกำหนดชำระเงินตามทรัสต์รีซีทหรือในอัตราที่ได้กำหนดไว้แนบท้ายหนังสือนี้ โดยข้าพเจ้ายินยอมให้ธนาคารเป็นผู้เลือกที่จะใช้อัตราใดแล้วแต่จะเห็นสมควร..." แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ตกลงกันไว้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินไทยจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนวันใดให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิเลือกตามแต่โจทก์จะเห็นสมควร ข้อตกลงเช่นนี้ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมใช้บังคับกันได้โดยชอบ การที่โจทก์คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามที่โจทก์จ่ายไปตามเลตเตอร์ออฟเครดิตเป็นเงินไทยในวันครบกำหนดที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระเงินคืนให้แก่โจทก์ตามที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญาทรัสต์ซีรีทนั้นจึงเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิที่มีอยู่ตามข้อตกลงในหนังสือสัญญาทรัสต์รีซีท
สัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 ระบุว่า กรณีจำเลยที่ 1 ได้ขายสินค้า หรือแม้มิได้นำสินค้าออกขายก็ตาม จำเลยที่ 1 จะต้องนำเงินมาชำระค่าสินค้าในจำนวนและในกำหนดเวลาที่ระบุไว้แนบท้ายแก่ธนาคารโจทก์ โดยคำนวณเงินตราต่างประเทศตามที่ตกลงไว้ โดยจำเลยที่ 1 ยอมให้ธนาคารโจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ระบุไว้ในอัตราสูงสุดที่ธนาคารโจทก์ประกาศกำหนดภายใต้ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด นับแต่วันที่ธนาคารโจทก์ได้ชำระค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 และ ข้อ 7 ระบุว่า ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ยอมให้ธนาคารโจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ระบุไว้แนบท้ายที่ค้างชำระดังกล่าวในอัตราสูงสุด ดังนี้ข้อความที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาทรัสต์รีซีทข้อ 4 ที่ระบุว่า "อัตราสูงสุด" ประกอบกับข้อความที่ขยายความคำว่า "อัตราสูงสุด" ว่า "ที่ธนาคาร (โจทก์)ประกาศกำหนดภายใต้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด" จึงมีความหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงกันโดยมีเจตนาให้เป็นอัตราสูงสุดที่ถูกต้องภายใต้หลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศกำหนดไว้ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับลงวันที่ 20 ตุลาคม 2536 อันได้แก่อัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป (ที่ไม่ผิดนัด) และเมื่อสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 7 ที่ตกลงกันว่าในกรณีผิดนัดให้คิดดอกเบี้ยใน "อัตราสูงสุด" ซึ่งย่อมมีความหมายเช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยตามข้อ 4 หรือเป็นอัตราเดียวกันดังที่วินิจฉัยไว้แล้วข้างต้น จึงถือได้ว่าสัญญาทรัสต์ซีรีทได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แน่นอนเป็นอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป (ที่ไม่ผิดนัด) ตามประกาศธนาคารโจทก์แล้ว โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราเพียงร้อยละ 18.50 ต่อปี และ 16.50 ต่อปี ซึ่งก็ล้วนเป็นอัตราที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป(ที่ไม่ผิดนัด) ตามประกาศธนาคารโจทก์ ที่มีผลบังคับในขณะคิดดอกเบี้ยนั้นเช่นกัน หลังจากนั้นจึงคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดลูกค้าทั่วไปที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข ซึ่งการคิดดอกเบี้ยดังกล่าวนอกจากจะไม่เกินกว่าอัตราที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทข้อ 4 ดังกล่าวแล้ว ยังกลับเป็นคุณแก่จำเลยทั้งห้าอีกด้วย แม้ต่อมาภายหลังปรากฏว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยสูงสุดลูกค้าทั่วไปที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขและปรับเปลี่ยนขึ้นลงตามอัตราดังกล่าวตามประกาศธนาคารโจทก์ที่มีผลใช้บังคับในแต่ละช่วงเวลาจนกระทั่งเป็นอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดลูกค้าทั่วไปที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขนับตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2542 เป็นต้นไปจนถึงวันฟ้อง อันทำให้เห็นเป็นว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราเพิ่มขึ้นในช่วงหลังจากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้โดยอ้างสิทธิตามสัญญาทรัสต์รีซีทข้อ 7 ทำนองเป็นเบี้ยปรับก็ตาม แต่ที่ถูกนั้นแม้ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้แล้ว โจทก์จะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ได้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทข้อ 7 ใน "อัตราสูงสุด" ซึ่งเป็นอัตราเดียวกันกับอัตราตามสัญญาข้อ 4 ซึ่งได้แก่อัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดตามประกาศธนาคารโจทก์ มิใช่อัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามประกาศธนาคารโจทก์การคิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นเพียงการคิดดอกเบี้ยที่ไม่ถูกต้อง ผิดจากข้อสัญญาเท่านั้น มิใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยตามข้อสัญญาที่ลูกหนี้ (จำเลยที่ 1) ตกลงให้คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในลักษณะเป็นการตกลงใช้เงินจำนวนหนึ่ง หรือค่าเสียหายเพราะเหตุที่ลูกหนี้ (จำเลยที่ 1) ไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระให้ถูกต้องสมควร อันเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลอาจพิพากษาให้ลดลงเป็นจำนวนพอสมควรตามมาตรา 383 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2462/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องที่ไม่สมบูรณ์สามารถแก้ไขได้ก่อนมีคำพิพากษา และการพิสูจน์หนี้ตามเช็คพิพาท
การที่ใบแต่งทนายความของโจทก์ใช้ตราประทับของห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. แทนที่จะใช้ตราประทับของบริษัทโจทก์ เป็นผลมาจากการหยิบตราประทับผิด อันเป็นการผิดพลาดบกพร่องในตัวผู้แต่งทนายความไม่ใช่การพิจารณาผิดระเบียบ แม้โจทก์จะยื่นคำร้องขอแก้ไขพร้อมกับยื่นใบแต่งทนายความที่ถูกต้องเข้ามาใหม่พร้อมคำแก้อุทธรณ์ อันเป็นระยะเวลาภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว ก็ชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จะสั่งสอบสวนหรือยอมรับการแก้ไขนั้นได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ไม่ว่าฝ่ายจำเลยจะยกเอาข้อบกพร่องนี้ขึ้นอุทธรณ์ด้วยหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยว่าลายมือชื่อผู้แต่งทนายไม่เหมือนและไม่ใช่ลายมือชื่อของ บ. ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เพราะจำเลยอุทธรณ์ว่า บ. ลงลายมือชื่อและประทับตราของห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. เป็นการกระทำในนามของห้างไม่ใช่บริษัทโจทก์ นอกจากนี้บทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง ที่ว่าไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา... นั้น มิได้หมายความถึงก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา เพราะบทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติทั่วไปที่ใช้ได้ในทุกชั้นศาล เมื่อความสามารถในการฟ้องของโจทก์บกพร่องและโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขพร้อมทั้งยื่นใบแต่งทนายความฉบับใหม่เข้ามาพร้อมกับคำแก้อุทธรณ์และศาลชั้นต้นรับขึ้นมาแล้ว เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงเห็นสมควรอนุญาตยอมรับการแก้ไขนั้น ดังนี้อำนาจฟ้องที่ไม่สมบูรณ์จึงกลับเป็นอำนาจฟ้องที่สมบูรณ์มาแต่แรก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2462/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขความบกพร่องในการแต่งตั้งทนายความหลังศาลชั้นต้นพิพากษา ศาลฎีกาอนุญาตได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
การแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา?" นั้น เป็นบทบัญญัติทั่วไปที่ใช้ได้ในทุกชั้นศาลมิได้หมายความถึงก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา แต่อย่างใด
เมื่อความสามารถในการฟ้องของโจทก์ในการแต่งตั้งทนายความบกพร่องและโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขพร้อมทั้งยื่นใบแต่งทนายความฉบับใหม่เข้ามาพร้อมกับคำแก้อุทธรณ์และศาลชั้นต้นสั่งรับขึ้นมาแล้วเช่นนี้ ศาลฎีกา จึงเห็นสมควรอนุญาต อำนาจฟ้องจึงสมบูรณ์มาแต่แรก
เมื่อความสามารถในการฟ้องของโจทก์ในการแต่งตั้งทนายความบกพร่องและโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขพร้อมทั้งยื่นใบแต่งทนายความฉบับใหม่เข้ามาพร้อมกับคำแก้อุทธรณ์และศาลชั้นต้นสั่งรับขึ้นมาแล้วเช่นนี้ ศาลฎีกา จึงเห็นสมควรอนุญาต อำนาจฟ้องจึงสมบูรณ์มาแต่แรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อผิดพลาดในการพิมพ์คำพิพากษาโทษจำคุก ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขได้หากไม่เป็นผลร้ายต่อจำเลย
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2547 ศาลชั้นต้นได้พิจารณาพิพากษาคดีนี้โดยลงโทษจำคุกจำเลยเป็นเวลา 3 ปี และลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุก 1 ปี 6 เดือน ตามร่างคำพิพากษา เอกสารลำดับที่ 13/1 ที่ปรากฏอยู่ในสำนวน แต่เมื่อทำการจัดพิมพ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นตามร่างคำพิพากษาดังกล่าวได้พิมพ์จำนวนโทษจำคุกจำเลยภายหลังจากลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้ว คงจำคุกจำเลยเพียง 6 เดือน ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ลำดับที่ 13/2 ที่ปรากฏในสำนวนนั้น เป็นเรื่องพิมพ์ตัวเลขผิดพลาดตกระยะเวลาไป 1 ปี โทษจำคุกจำเลยจึงเหลือเพียง 6 เดือน ดังนั้น ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวให้ถูกต้องตามความจริงได้โดยไม่ต้องมีคู่ความฝ่ายใดร้องขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 190 ประกอบมาตรา 215 และไม่ถือเป็นผลร้ายแก่จำเลยแต่อย่างใด อีกทั้งไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์หรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4460/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการมีทนาย – กระบวนการไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่แก้ไขแล้ว ไม่ต้องดำเนินกระบวนการใหม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 มีเจตนารมณ์เพื่อเปิดโอกาสให้จำเลยสามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่เมื่อข้อหาที่โจทก์ฟ้องมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิตศาลชั้นต้นย่อมมีหน้าที่ต้องสอบถามจำเลยเกี่ยวกับทนายความเสียก่อนตามมาตรา 173 จะด่วนไปสอบถามคำให้การจำเลยโดยจำเลยยังไม่มีทนายความไม่มีผูกพันจำเลย ต้องถือเสมือนว่าจำเลยยังมิได้ให้การตามที่ศาลสอบถามและบันทึกไว้ อย่างไรก็ดี แม้กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นในเรื่องดังกล่าวจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ปรากฏว่าในวันสืบพยานโจทก์นัดแรกจำเลยได้แต่งทนายความเข้ามาว่าต่างให้ ทนายความของจำเลยยังแก้ต่างให้ทุกนัดจนเสร็จคดี กรณีไม่มีเหตุอันสมควรที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตามมาตรา 208(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยไม่ถูกต้อง ส่งผลให้กระบวนการพิจารณาเป็นโมฆะ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไข
โจทก์ยื่นคำแถลงขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสามด้วยวิธีปิดหมาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า "ปิดหมายเฉพาะจำเลยที่ 1" แต่เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยวิธีปิดหมายด้วย การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 76 วรรคหนึ่ง กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 และหลังจากนั้นต่อมาย่อมไม่มีผลตามกฎหมาย ไม่มีผลให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปในเหตุที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ ปัญหาเรื่องการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยไม่ชอบนั้นเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะมิได้ฎีกาในข้อนี้ แต่เมื่อความปรากฏแก่ศาลฎีกาศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247 กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายหรือไม่อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6764/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากไฟไหม้และการร่วมกระทำผิดฐานประมาท: ศาลแก้ไขโทษจำเลยฐานประมาทเลินเล่อ
การกระทำความผิดโดยประมาทเป็นการกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา จึงไม่อาจมีการร่วมกันกระทำในลักษณะที่เป็นตัวการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ได้ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 225 ประกอบมาตรา 83 นั้น ไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา แต่ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3826/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ การลงโทษต้องสอดคล้องกับพฤติการณ์และข้อกฎหมายที่ถูกต้อง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมและสิ่งบันทึกเสียงซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหาย ไม่ได้บรรยายว่า การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นการกระทำเพื่อการค้า การกระทำของจำเลยทั้งสี่ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 28 (1) , 69 วรรคหนึ่ง การที่ศาลทรัพย์สินฯ พิพากษาว่าจำเลยทั้งสี่มีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้า ลงโทษตาม มาตรา 28 (1) , 69 วรรคสอง จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสี่ไม่ได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ศาลต้องตรวจและแก้ไขก่อนรับพิจารณา หากไม่ทำเป็นการละเมิดสิทธิจำเลย
จำเลยยื่นอุทธรณ์โดย ก. ทนายความลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์แทนจำเลยแต่ในสำนวนไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แต่งตั้ง ก. เป็นทนายจำเลยไว้ อุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบ ซึ่งกรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะตรวจอุทธรณ์ของจำเลยโดยละเอียด และมีคำสั่งให้จำเลยแก้ไขข้อบกพร่องในการยื่นอุทธรณ์เสียให้ครบถ้วนและถูกต้องก่อนที่จะสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้ง ๆที่เป็นอุทธรณ์ไม่ชอบ จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาอันเป็นเหตุให้จำเลยต้องเสียสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาในเนื้อหาแห่งอุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้แก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 208(2) ประกอบด้วยมาตรา 225 แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้แต่งตั้ง ก. เป็นทนายจำเลยโดยให้มีอำนาจอุทธรณ์และฎีกาแทนจำเลยได้พร้อมกับยื่นฎีกาเข้ามาแล้วจึงไม่จำต้องสั่งให้แก้ไขและต้องถือว่าจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางค่าฤชาธรรมเนียมเพื่ออุทธรณ์: ศาลมีอำนาจสั่งให้แก้ไขก่อนพิจารณาอุทธรณ์ และคำสั่งนี้ไม่อุทธรณ์ได้
จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยนำเพียงค่าขึ้นศาลและค่าทนายความใช้แทนมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229ซึ่งศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที แต่เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยมิได้จงใจที่จะไม่ปฏิบัติตามบทกฎหมายนั้น และมีคำสั่งกำหนดเวลาให้จำเลยปฏิบัติเสียให้ถูกต้องครบถ้วน เท่ากับเปิดโอกาสให้จำเลยนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้ให้โจทก์มาวางศาลให้ถูกต้องอีกครั้งหนึ่งก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของจำเลยว่าจะให้ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ อันเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ตามมาตรา 232 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นโดยเฉพาะ มิใช่เป็นคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ซึ่งผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งศาลนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 234 ได้ ดังนั้น จำเลยจึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยมาก็เป็นการไม่ชอบ การที่จำเลยฎีกาต่อมา ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย