คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แก้ไขคำฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 190 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับรายละเอียดเล็กน้อย (หมายเลขทะเบียนรถ) ก่อนวันสืบพยาน ไม่ทำให้คู่ความเสียเปรียบ
การที่โจทก์ทั้งสองขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับหมายเลขทะเบียนรถยนต์คันที่โจทก์ที่ 1 ขับ โดยขอแก้หมายเลขทะเบียนเฉพาะเลขตัวท้ายตัวเดียว โดยให้เหตุผลว่าพิมพ์เลขผิดพลาดจึงขอแก้ไขให้ถูกต้องตามความเป็นจริงโดยยังเป็นรถยนต์คันเดิมอยู่ดังนี้ เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเกี่ยวกับรายละเอียดเพียงเล็กน้อยเพื่อให้ตรงตามความจริง และยังเป็นการขอแก้ไขก่อนวันสืบพยาน ไม่เป็นเหตุให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี ที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้โจทก์ทั้งสองแก้ไขคำฟ้องส่วนนี้ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องในคดีแรงงานต้องยื่นก่อนสืบพยาน หากเลยกำหนดหรือไม่เข้าเหตุยกเว้น ศาลไม่อนุญาต
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มิได้บัญญัติถึงวิธีการหรือหลักเกณฑ์ในการขอแก้ไขคำฟ้องไว้ จึงต้องนำป.วิ.พ. มาตรา 180 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ในคดีแรงงานถือได้ว่าไม่มีการชี้สองสถานเพราะการกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันสืบพยานเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ฉะนั้นโจทก์จะต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน เว้นแต่มีเหตุยกเว้นตามกฎหมายคดีนี้โจทก์ยื่นคำร้องวันที่ 7 กรกฎาคม 2543 ขอแก้ไขคำฟ้องภายหลังจากจำเลยสืบพยานเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งในขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้อง โจทก์ย่อมจะทราบถึงสิทธิที่โจทก์จะพึงได้รับดอกเบี้ยจากค่าชดเชย ค่าจ้างค้างจ่ายและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าซึ่งจำเลยผิดนัดไม่จ่ายให้โจทก์อยู่แล้วและคดีไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งมิใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยไม่จำต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องคดีแรงงานต้องยื่นก่อนวันสืบพยาน หากเลยกำหนดและไม่เข้าข้อยกเว้น ศาลไม่อนุญาต
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มิได้บัญญัติถึงวิธีการหรือหลักเกณฑ์ในการขอแก้ไขคำฟ้อง จึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 มาบังคับโดยอนุโลมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 31 แต่ในคดีแรงงานไม่มีการชี้สองสถานเพราะการกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันสืบพยานเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ฉะนั้น โจทก์ต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วันเว้นแต่มีเหตุยกเว้นตามบทบัญญัติข้างต้น ปรากฏว่าในขณะที่ยื่นคำฟ้อง โจทก์ย่อมจะทราบถึงสิทธิของตนอันจะพึงได้รับดอกเบี้ยจากค่าชดเชยค่าจ้างค้างจ่าย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าซึ่งจำเลยผิดนัดไม่จ่ายให้โจทก์อยู่แล้ว โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องหลังจากที่จำเลยสืบพยานเสร็จสิ้นแล้วและคดีไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งมิใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4835/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้อง, การรับคำฟ้องใหม่, และผลกระทบต่อการดำเนินคดี: กรณีทนายความไม่มีใบอนุญาต
แม้ ป. จะเรียงคำฟ้องและลงลายมือชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องในขณะที่ขาดจากการเป็นทนายความตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 แล้วก็ตาม แต่โจทก์ทั้งสองก็แต่ง ว. เป็นทนายความคนใหม่เข้ามาดำเนินคดีแทนโจทก์ทั้งสองหลังจากฟ้องเพียง 1 เดือนเศษ และ ว. ได้ดำเนินคดีแทนโจทก์ตลอดมาโดยที่ ป. ไม่ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับคดีโจทก์ทั้งสิ้น ป. จึงทำหน้าที่เป็นทนายความให้โจทก์ทั้งสองเพียงร่างคำฟ้องและลงชื่อในคำฟ้องเท่านั้น จำเลยทั้งเก้าก็มีโอกาสต่อสู้คดีตามคำฟ้องได้เต็มที่ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้แก้ไขคำฟ้องโดยให้โจทก์ทั้งสองทำคำฟ้องขึ้นใหม่และให้โจทก์ทั้งสองลงชื่อในคำฟ้องโดยมีเงื่อนไขให้คำฟ้องใหม่มีข้อความเช่นเดียวกับคำฟ้องเดิม โจทก์ทั้งสองก็ไม่ได้โต้แย้งว่าข้อความในคำฟ้องเดิมไม่ถูกต้องหรือไม่ตรงตามความประสงค์ของโจทก์ทั้งสอง ซึ่ง พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ. 2528 มุ่งให้ความ คุ้มครอง คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ก่อให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เปรียบหรือเสียเปรียบทางเชิงคดีอันจะทำให้ความยุติธรรมเสื่อมเสียไป เนื่องจากจำเลยทั้งเก้าซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนได้สืบพยานเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนโจทก์ทั้งสองก็สืบพยานจนเหลือพยานอีกเพียง 2 ปากเท่านั้น คดีก็จะเสร็จสิ้นการพิจารณา ตรงกันข้ามหากศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของโจทก์ตั้งแต่ยื่นคำฟ้องอันจะส่งผลให้โจทก์ต้องทำคำฟ้องใหม่ จำเลยทั้งเก้าทำคำให้การใหม่ และสืบพยานกันใหม่ซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดที่บังคับให้จำเลยทั้งเก้าต้องทำคำให้การและสืบพยานเหมือนเดิม จำเลยทั้งเก้าย่อมมีโอกาสแก้ไขปรับปรุงรูปคดีที่อาจเสียเปรียบให้กลับได้เปรียบได้ อันทำให้จำเลยทั้งเก้าได้เปรียบทางเชิงคดีซึ่งหาชอบด้วยความยุติธรรมไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 เห็นชอบด้วยคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่สั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาตามคำร้องของจำเลยที่ 7 และที่ 8 และให้แก้ไขคำฟ้องใหม่ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยความยุติธรรมตามเจตนารมณ์ของ ป.วิ.พ. มาตรา 27 แล้ว
คำสั่งรับคำฟ้องใหม่ของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับคดีที่เสนอคำฟ้องนั้น และไม่ใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 และมาตรา 228 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยทั้งเก้าไม่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้ จำเลยทั้งเก้าจึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 กรณีนี้จึงเท่ากับว่าฎีกาของจำเลยทั้งเก้าในข้อนี้เป็นข้อที่มิได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4835/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องหลังทนายความถูกเพิกถอน และผลกระทบต่อความยุติธรรมในการพิจารณาคดี
ป. เป็นผู้เรียงคำฟ้องและลงลายมือชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องในขณะที่ขาดจากการเป็นทนายความตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 แต่โจทก์ก็แต่ง ว. เป็นทนายความคนใหม่เข้ามาดำเนินคดีแทนโจทก์หลังจากฟ้องเพียง 1 เดือนเศษ และ ว. ดำเนินคดีแทนโจทก์ตลอดมาโดยที่ ป. ไม่ได้เข้ายุ่งเกี่ยวกับคดีทั้งสิ้น เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้แก้ไขคำฟ้องโดยให้โจทก์ทำคำฟ้องขึ้นใหม่และให้โจทก์ลงชื่อในคำฟ้องโดยมีเงื่อนไขให้คำฟ้องใหม่มีข้อความเช่นเดียวกับคำฟ้องเดิม คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ก่อให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้เปรียบหรือเสียเปรียบทางเชิงคดีอันจะทำให้ความยุติธรรมเสื่อมเสียไป จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยความยุติธรรมตามเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
คำสั่งรับคำฟ้องฉบับใหม่ของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับคดีที่เสนอคำฟ้องนั้นและไม่ใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 และมาตรา 228 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้จึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้ตามมาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4189/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ต้องยื่นก่อนวันสืบพยาน หากทราบราคาที่ดินเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นแล้วถือเป็นเหตุที่ควรทราบ
คดีไม่มีการชี้สองสถาน โจทก์จะต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่มีเหตุอันสมควรไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 180 เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทอันเป็นเวลาล่วงเลยมาถึงยี่สิบปี วิญญูชนทั่วไปย่อมทราบดีว่าราคาที่ดินต้องเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น ซึ่งโจทก์อาจกำหนดจำนวนทุนทรัพย์ตามราคาในขณะยื่นฟ้องได้อยู่แล้ว ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่า ขณะยื่นฟ้องโจทก์ไม่ทราบว่าราคาที่ดินสูงขึ้นกว่าวันที่โจทก์ซื้อที่ดินก็ดี หรือโจทก์เพิ่งคิดได้ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาว่าราคาที่ดินเพิ่มสูงขึ้นก็ดี ล้วนเป็นกรณีที่ไม่อาจถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ก่อนวันสืบพยาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4189/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ต้องกระทำก่อนสืบพยาน หากมิได้กระทำก่อนและไม่มีเหตุสมควร ศาลยกคำร้องได้
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเมื่อปี 2521 ในราคา 30,000 บาท โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อปี 2541 ซึ่งเป็นเวลาล่วงเลยมาถึงยี่สิบปี วิญญูชนทั่วไปย่อมทราบดีว่าราคาที่ดินต้องเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น ซึ่งโจทก์อาจกำหนดจำนวนทุนทรัพย์ตามราคาในขณะยื่นฟ้องได้อยู่แล้ว ข้ออ้างที่ว่า ขณะยื่นฟ้องโจทก์ไม่ทราบว่าราคาที่ดินสูงขึ้นกว่าวันที่โจทก์ซื้อที่ดินก็ดี หรือโจทก์เพิ่งคิดได้ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาว่าราคาที่ดินเพิ่มสูงขึ้นก็ดี ล้วนเป็นกรณีที่ไม่อาจถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ก่อนวันสืบพยาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2899/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้อง, นิติกรรมอำพราง, อายุความสัญญาเช่าซื้อ และการขายทอดตลาด
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 การแก้ไขคำฟ้องจะต้องกระทำเสียก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องว่า โจทก์ขอมอบอำนาจช่วงให้ ว. ดำเนินคดีแทน ซึ่งโจทก์มีอำนาจตามกฎหมายอยู่แล้ว และทำเมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องก็ได้ ส่วนที่โจทก์ขอแก้คำฟ้องว่าผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อ คือ น. มิใช่ ส. เป็นการแก้ไขให้ตรงต่อความเป็นจริงเพราะโจทก์ผิดหลงพิมพ์ผิดไป เป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงแก้ไขได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว
จำเลยที่ 1 ต้องการซื้อรถยนต์แต่ไม่มีเงินพอ จึงให้โจทก์ชำระราคารถยนต์แก่ผู้ขาย แล้วโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์เป็นของโจทก์ จากนั้น โจทก์จึงนำรถยนต์ดังกล่าวมาให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อ การกระทำดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการทำสัญญาเช่าซื้อเพื่ออำพรางการกู้ยืม
การที่โจทก์ขายทอดตลาดโดยให้บริษัท ส. ซึ่งประกอบกิจการด้านนี้เป็นผู้ดำเนินการ ไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินการโดยไม่สุจริต ราคารถยนต์ที่ขายได้เป็นการขายตามสภาพที่ยึดมา ทั้งมีการประกาศขายทอดตลาดทางหนังสือพิมพ์ให้บุคคลทั่วไปทราบ และในขณะที่ทำการขายทอดตลาดยังไม่มีกฎหมายหรือประกาศคณะกรรมการ ว่าด้วยสัญญาเรื่องให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2543 ออกมาใช้บังคับ โจทก์จึงไม่ต้องแจ้งเรื่องการขายทอดตลาดให้จำเลยที่ 1 ทราบเสียก่อน
ค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าขาดประโยชน์และค่าขาดราคา เป็นค่าเสียหายอันสืบเนื่องมาจากการผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 มิใช่ค่าเสียหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 562 เมื่อกฎหมายลักษณะเช่าซื้อมิได้บัญญัติอายุความในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ส่วนเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความนั้นเป็นเรื่องที่กฎหมายให้อำนาจศาลในการใช้ดุลพินิจ โดยพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ รวมถึงความสุจริตในการต่อสู้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2899/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: การแก้ไขคำฟ้อง, ฟ้องไม่เคลือบคลุม, ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา, และอายุความ
โจทก์ขอแก้คำฟ้องว่าผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อคือ น. มิใช่ ส. เป็นการแก้ไขให้ตรงต่อความเป็นจริงเพราะโจทก์ผิดหลงพิมพ์ผิดไป เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงแก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ไปในราคาและจะต้องผ่อนชำระงวดละเดือนละเท่าใด จำเลยที่ 1 ชำระเงินให้แก่โจทก์เพียง 6 งวด ผิดนัดตั้งแต่งวดที่ 7 เป็นต้นมาโจทก์จึงบอกเลิกสัญญาและยึดรถยนต์นำออกขายทอดตลาดได้ราคา 782,000 บาท เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจได้ว่า เหตุแห่งการบอกเลิกสัญญาสืบเนื่องมาจากเหตุใด และการขายทอดตลาดได้ในราคาดังกล่าวต่ำกว่าราคาที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อไป จึงเป็นความเสียหายที่โจทก์ได้รับ ส่วนสภาพของรถยนต์ในขณะขายทอดตลาดหรือสถานที่ ๆขายทอดตลาดเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบเท่านั้น ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 ซื้อรถยนต์จากห้างหุ้นส่วนจำกัด ข. แต่จำเลยที่ 1 มีเงินไม่เพียงพอจึงต้องหาธุรกิจเช่าซื้อมาช่วยดำเนินการให้ โดยให้โจทก์เป็นผู้ชำระราคารถยนต์ส่วนที่เหลือและโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์เป็นของโจทก์ จากนั้นโจทก์จึงนำรถยนต์มาให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อ การกระทำดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการทำสัญญาเช่าซื้อเพื่ออำพรางการกู้ยืมเงิน
จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อและโจทก์ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยชอบแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์ที่ไม่ได้ใช้รถยนต์ในระหว่างที่รถยนต์ยังอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 นับแต่วันผิดนัดจนถึงวันที่ยึดรถยนต์คืน
ค่าเสียหายอันเกิดจากโจทก์ขายรถยนต์แล้วยังขาดราคาค่าเช่าซื้ออยู่อีกจำนวนหนึ่ง เป็นค่าเสียหายโดยตรงอันเกิดจากการผิดสัญญา และเป็นค่าเสียหายคนละส่วนกับค่าขาดประโยชน์โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าขาดรายได้ ส่วนการกำหนดอัตราค่าปรับอีกร้อยละ 2 บาท ต่อเดือน จากจำนวนเงินดังกล่าว เป็นเบี้ยปรับที่คู่สัญญาอาจกำหนดไว้ได้ในกรณีที่อีกฝ่ายหนึ่งผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าขาดประโยชน์และค่าขาดราคา เป็นค่าเสียหายอันสืบเนื่องมาจากการผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 มิใช่ค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 562 เมื่อกฎหมายลักษณะเช่าซื้อมิได้บัญญัติอายุความในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8910/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการแก้ไขคำฟ้อง: ศาลฎีกาวินิจฉัยชอบด้วยกฎหมาย
ขณะศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับคำฟ้อง ทั้งคำฟ้องและหมายเรียกคดีแพ่งสามัญศาลกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ไว้ชัดเจน การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า หากไม่พบหรือไม่มีผู้รับแทนโดยชอบให้ปิดหมายและเจ้าหน้าที่ได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยโดยวิธีปิดหมาย ทนายจำเลยยื่นคำให้การภายในกำหนด ย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าจำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้โดยชอบและคดีมีเหตุผลเชื่อได้ว่าหมายเรียกที่ส่งพร้อมสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยจะต้องระบุวันนัดสืบพยานโจทก์ไว้เช่นกัน จำเลยจะปฏิเสธว่าไม่ทราบวันนัดสืบพยานโจทก์หาได้ไม่ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งคำให้การของจำเลยไม่ว่าจะในวันที่จำเลยยื่นคำให้การหรือในวันหลังจากนั้นและได้นัดสืบพยานโจทก์ตามที่กำหนดไว้ ย่อมไม่ลบล้างวันนัดสืบพยานโจทก์ที่กำหนดไว้ในคำฟ้องและหมายเรียก จำเลยย่อมไม่อาจอ้างได้ว่าจำเลยหรือทนายจำเลยไม่ทราบวันนัดสืบพยานโจทก์ เมื่อจำเลยไม่ไปศาลในวันนัดสืบพยานจึงเป็นการขาดนัดพิจารณา
โจทก์อ้างเหตุขอแก้ไขคำฟ้องว่าโจทก์พิมพ์ข้อความจำนวนสตางค์ผิดพลาด จึงขอแก้ไขจำนวนสตางค์ให้ตรงกับความจริงตามเอกสารท้ายฟ้อง อีกทั้งเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีฝ่ายเดียว ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องได้โดยไม่ต้องส่งสำเนาให้จำเลยทราบล่วงหน้าเพื่อให้โอกาสจำเลยมีโอกาสคัดค้านตาม ป.วิ.พ. มาตรา 181
of 19