พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 954/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการแก้ไขคำสั่งคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดี และการพิจารณาประโยชน์ที่โจทก์ได้รับจากทรัพย์สินพิพาท
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินรวมทั้งรายได้ที่ได้มาระหว่างเป็นสามีภริยาโดยมีชอบด้วยกฎหมาย ชั้นไต่สวนเพื่อให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างพิจารณาได้ความว่าโจทก์กับจำเลยเป็นสามีภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและอยู่ร่วมกันที่โรงแรมและบ้านเช่าอันเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินที่พิพาท ทั้งโรงแรมและบ้านเช่านั้นปลูกอยู่บนที่ดินซึ่งมีชื่อโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ ดังนี้ รายได้จากกิจการโรงแรมและบ้านเช่าเป็นประโยชน์แก่โจทก์ในระหว่างพิจารณาที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการคุ้มครองโดยให้นำมาวางต่อศาลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264
คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลที่ให้คุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างพิจารณา เมื่อข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่ศาลอาศัยเป็นหลักในการมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงไป ก็เป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่คดีอยู่ในระหว่างพิจารณามีคำสั่งแก้ไขหรือยกเลิกวิธีการนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 262 มิใช่เป็นอำนาจของศาลฎีกา เพราะยังถือไม่ได้ว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา
คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลที่ให้คุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างพิจารณา เมื่อข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่ศาลอาศัยเป็นหลักในการมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงไป ก็เป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่คดีอยู่ในระหว่างพิจารณามีคำสั่งแก้ไขหรือยกเลิกวิธีการนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 262 มิใช่เป็นอำนาจของศาลฎีกา เพราะยังถือไม่ได้ว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเกี่ยวกับการบังคับคดี ศาลมีอำนาจแก้ไขได้หากไม่ใช่คำวินิจฉัยชี้ขาดคดี
คำสั่งอันเกี่ยวกับการบังคับคดีนั้น หาใช่เป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดี หรือในประเด็นข้อใดแห่งคดีตามนัยแห่ง มาตรา 143,144 ป.ม.วิ.แพ่งไม่, ศาลอาจแก้ไขคำสั่งอันเกี่ยวกับการบังคับคดีนี้ได้ตามที่เห็นสมควร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8747/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำสั่งศาลหลังมีคำพิพากษาถึงที่สุด: ห้ามแก้ภาระความรับผิดนอกเหนือจากคำสั่งเดิม
คำร้องขอรับชำระหนี้จำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ซึ่งถือว่าเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยชี้ขาดคำร้องขอของผู้ร้องย่อมผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่ง นับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งจนถึงวันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรืองดเสียถ้าหากมี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 เมื่อคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองถึงที่สุดแล้ว และข้อที่ผู้ร้องขอแก้ไขคำสั่งของศาลขอให้มีคำสั่งให้ผู้ร้องได้รับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีของต้นเงิน 65,000,000 บาท นับถัดจากวันยื่นคำร้องจนกว่าจะชำระเสร็จนั้น เป็นการขอให้ศาลทำคำสั่งเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาระความรับผิดของจำเลย นอกเหนือไปจากคำสั่งของศาลซึ่งมีผลเป็นการแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาหรือคำสั่งเดิม จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคสอง กรณีมิใช่เรื่องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลมีข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ที่จะเพิ่มเติมแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามมาตรา 143 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13172/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลฎีกาพิจารณาค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญา และการแก้ไขคำสั่งค่าขึ้นศาล
แม้ผู้เสียหายมิได้ฎีกาในส่วนแพ่ง ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกคดีส่วนแพ่งขึ้นวินิจฉัยเพื่อให้เป็นไปตามผลแห่งคดีอาญาได้ เพราะเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และคดีนี้เป็นคดีอาญา จำเลยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 252 และ 253 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในส่วนคดีแพ่งจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5745/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งคืนค่าขึ้นศาลเมื่อศาลจำหน่ายคดี และอำนาจแก้ไขคำสั่งผิดระเบียบ
ป.วิ.พ. มาตรา 151 (เดิม) ไม่ได้กำหนดให้คืนค่าธรรมเนียมศาลในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตามมาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 132 (1) ศาลจึงไม่อาจสั่งคืนค่าฤชาธรรมเนียมศาลให้แก่ผู้ร้องได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งครั้งแรกให้คืนค่าขึ้นศาลให้ผู้ร้อง 190,000 บาท จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ เมื่อศาลชั้นต้นตรวจพบเหตุผิดระเบียบดังกล่าวแม้จะเกินกว่า 8 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งครั้งแรก ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจสั่งแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามมาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6515/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำสั่งศาลล้มละลายจากข้อผิดพลาดในการคำนวณหนี้ แม้จะเกินทุนทรัพย์ที่อุทธรณ์ได้
เจ้าหนี้อุทธรณ์ว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คำนวณจำนวนเงินที่เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ขาดไป 27,750.89 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท อุทธรณ์ของเจ้าหนี้จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 24 วรรคหนึ่ง แต่กฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายพิเศษมีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ให้ได้รับชำระหนี้หรือได้รับส่วนแบ่งอย่างเป็นธรรม เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แถลงยอมรับว่าคำนวณจำนวนเงินที่เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ขาดไป จึงมีกรณีจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาด สมควรรับอุทธรณ์ของเจ้าหนี้ไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 26 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4976/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ต้องมีใบอนุญาตก่อน และศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขคำสั่งที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายได้
โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีใบอนุญาตขับขี่ และไม่ได้ขอให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลย ดังนั้น จำเลยจึงไม่มีใบอนุญาตขับขี่ที่จะต้องพักใช้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่มีกำหนด 6 เดือน และศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน จึงไม่ถูกต้อง เพราะการสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 157 ทวิ วรรคสองนั้น ต้องปรากฏว่าจำเลยมีใบอนุญาตขับขี่ด้วย แม้ปัญหาดังกล่าวจะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์หรือฎีกาขึ้นมา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225