คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แก้ไขบทลงโทษ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15590/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำซัดทอดที่มีเหตุผล, ตัวการร่วม, ลักทรัพย์, แก้ไขบทลงโทษ, รับของโจร
เหตุที่สิบตำรวจโท จ. เดินทางไปที่บ้านของจำเลย ก็เพราะ อ. ให้การในชั้นจับกุมและในชั้นสอบสวนว่าร่วมกับจำเลยลักรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย โดย อ. ให้จำเลยขับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายหลบหนีไปที่บ้านของจำเลย แม้คำให้การของ อ. นี้มีลักษณะเป็นคำซัดทอดซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 227/1 บัญญัติให้ศาลต้องใช้ความระมัดระวังในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานดังกล่าว และไม่ควรเชื่อพยานหลักฐานนั้นโดยลำพังเพื่อลงโทษจำเลยก็ตาม แต่คำซัดทอดของ อ. ก็มิใช่คำซัดทอดเพื่อให้ตนเองพ้นผิด เพราะมีรายละเอียดของการกระทำความผิดทั้งสอง อ. และของจำเลย ทั้งยังพาไปสู่การได้รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่จำเลยขับหลบหนีไปที่บ้านของจำเลยคืน นับว่าเป็นคำซัดทอดที่มีเหตุผล
พฤติการณ์ที่จำเลยรอ อ. อยู่นอกบ้านของผู้เสียหายซึ่งเป็นบริเวณใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุในลักษณะที่จะเข้าช่วยเหลือ อ. ได้ทันทีเมื่อมีเหตุขัดข้องในขณะที่ อ. เข้าไปลักรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายในบ้าน แล้ว อ. เดินจูงรถจักรยานยนต์นั้นออกมานอกบ้านให้จำเลยขับหลบหนีไปที่บ้านของจำเลยเช่นนี้ นับเป็นตัวการในการกระทำความผิดด้วยกัน
แม้การกระทำของจำเลยกับ อ. จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์โดยมีเหตุฉกรรจ์ตามฟ้องโจทก์ และโจทก์ไม่ได้ฎีกา แต่โดยที่ความผิดฐานรับของโจรที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาลงโทษจำเลยมา กับความผิดฐานลักทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้อง ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม บัญญัติมิให้ถือว่าเป็นข้อแตกต่างที่เป็นสาระสำคัญ ดังนั้น ศาลฎีกาจึงมีอำนาจแก้ไขบทลงโทษจำเลยในความผิดตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาเสียให้ถูกต้องได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว แต่ศาลฎีกาไม่อาจกำหนดโทษจำเลยให้สูงกว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษามา เพราะจะเป็นการพิจารณาเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13063/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วมาขอแก้ไขบทลงโทษในภายหลัง เป็นการขัดต่อหลักวิธีพิจารณาความอาญา
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยแล้ว หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยไม่ถูกต้องหรือจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวนน้อยกว่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 9 ในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 และมาตรา 198 แต่จำเลยมิได้ใช้สิทธิดังกล่าวกลับมายื่นคำร้องขอให้ศาลแก้ไขปรับบทลงโทษและกำหนดโทษจำเลยใหม่ โดยเลี่ยงอ้างว่าเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ดังนี้ หากศาลฟังตามที่จำเลยอ้างแล้ววินิจฉัยให้ใหม่ ย่อมมีผลเป็นการแก้ไข คำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 190 ที่บัญญัติห้ามมิให้แก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอ่านแล้ว นอกจากแก้ถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ศาลพิจารณาโทษและแก้ไขบทลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยและความเดือดร้อนของผู้อื่นและอ้างบทมาตรา 43 แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ อันเป็นบทห้ามกระทำความผิดมาด้วย แม้โจทก์จะมิได้อ้างบทลงโทษตามมาตรา 160 วรรคสาม ศาลก็ลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวได้ ซึ่งไม่ถือว่าเป็นเรื่องโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5095/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยในคดีขับรถขณะเมาสุราและหลบหนีขัดขวางเจ้าพนักงาน ศาลอุทธรณ์แก้ไขบทลงโทษได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (2), 160 ตรี วรรคหนึ่ง ป.อ. มาตรา 138 วรรคสอง ให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 138 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักสุดตาม ป.อ. มาตรา 90 เท่ากับศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43,160 ตรี ตามฟ้องโจทก์แล้ว และคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า การขับรถในขณะเมาสุราของจำเลยเป็นเหตุให้ น. ได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยให้การรับสารภาพ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 ตรี วรรคสอง เมื่อศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยผิด ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ย่อมปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ ทั้งบทบัญญัติให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยเป็นมาตรการทำนองเดียวกันกับวิธีการเพื่อความปลอดภัยในการที่จะคุ้มครองประชาชนทั่วไปมิให้ได้รับอันตรายที่อาจเกิดจากการกระทำของจำเลย และเป็นบทบัญญัติที่บังคับให้ศาลต้องมีคำสั่งดังกล่าว ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือมิได้กล่าวในฟ้องอุทธรณ์
การวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบในศาลชั้นต้น เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพและมิได้ยกปัญหาข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดขึ้นต่อสู้ในชั้นศาลชั้นต้น ดังนี้ ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดตามที่จำเลยยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามฟ้องว่า จำเลยขับรถในขณะเมาสุรา เมื่อถึงที่เกิดเหตุ ดาบตำรวจ ป. และ น. ผู้ซึ่งต้องช่วยเหลือเจ้าพนักงานตามกฎหมายกับพวก ตั้งจุดตรวจสกัดเพื่อป้องกันอาชญากรรม ดาบตำรวจ ป.ได้แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานเพื่อขอตรวจสอบ แต่จำเลยขับรถหลบหนีและพุ่งชนแผงกั้นถนนจนกระเด็นถูก น. ได้รับอันตรายแก่กาย การกระทำของจำเลยเป็นการขับรถในขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่แล้ว
of 3