พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 907/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมเทียบเท่าคำพิพากษา แก้ไขได้เฉพาะข้อผิดพลาดเล็กน้อย การเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญไม่อาจแก้ไขได้
สัญญาประนีประนอมยอมความถือว่าเป็น ส่วนหนึ่งของคำพิพากษาจะแก้ไขข้อผิดพลาดได้ต่อเมื่อเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5217-5218/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับ-การชำระหนี้-การปฏิเสธการรับมอบ-สัญญาซื้อขาย-การแก้ไขสัญญา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา383วรรคแรกที่บัญญัติว่าเมื่อได้ใช้เงินตามเบี้ยปรับแล้วสิทธิเรียกร้องขอลดก็เป็นอันขาดไปหมายความว่าถ้าผู้ที่จะถูกเรียกให้ใช้เบี้ยปรับยินยอมชำระเบี้ยปรับจำนวนที่เรียกร้องให้แก่ผู้เรียกร้องแล้วย่อมหมดสิทธิที่จะขอลดเบี้ยปรับที่ได้ชำระแล้ว แม้โจทก์จะส่งมอบรถลากและรถหัวลากทั้งสองคันที่มีช่วงห่างระหว่างล้อหน้าและล้อหลังไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในสัญญาแต่ก็เป็นไปตามประกาศประกวดราคาซื้อวัสดุและประกาศผลการประกวดราคาซื้อพัสดุของจำเลยเมื่อโจทก์ส่งมอบให้จำเลยแล้วจำเลยก็ไม่ได้ปฏิเสธที่จะไม่รับมอบรถลากและรถหัวลากทั้ง2คันเสียทีเดียวแต่ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพของรถดังกล่าวซึ่งคณะกรรมการมีความเห็นว่าไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการตรวจรับและสามารถใช้งานได้แต่เนื่องจากนิติกรของจำเลยเห็นว่าไม่อาจแก้ไขสัญญาได้จำเลยจึงแจ้งให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาแสดงให้เห็นว่าหากนิติกรของจำเลยเห็นว่าให้มีการแก้ไขสัญญาในส่วนที่เกี่ยวกับช่วงห่างระหว่างล้อหน้าและล้อหลังได้จำเลยก็คงแก้ไขสัญญาและยอมรับมอบรถลากและรถหัวลากทั้งสองคันที่โจทก์ส่งมอบให้แล้วซึ่งโจทก์ก็จะไม่ผิดสัญญาเช่นนี้ต้องถือว่าก่อนที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาจำเลยยังไม่ได้ปฏิเสธที่จะไม่ยอมรับมอบรถลากและรถหัวลากทั้งสองคันเท่ากับจำเลยยังไม่ถือว่าโจทก์ผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ: พยานบุคคลสืบแก้ข้อความในสัญญาได้, แก้ไขข้อผิดพลาดคำพิพากษา
สัญญาจ้างทำของกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงจึงอาจนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อความในสัญญาจ้างทำของได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา94 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์รวมเป็นเงิน248,625บาทแต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเบี้ยปรับจำนวน249,625บาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็น248,625บาทเพื่อให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7009/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาด้วยพยานบุคคลขัดต่อหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ตามสัญญาจะซื้อจะขายไม่มีข้อความว่าจำเลยต้องจัดการให้ผู้เช่าขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินภายใน 2 เดือน นับแต่วันที่1 กันยายน 2533 การที่โจทก์อ้างและนำสืบว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญา เพราะไม่จัดการให้ผู้เช่าออกไปจากที่ดินพิพาท จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งโจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงทำสัญญาเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสองการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารเช่นนี้ จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)ไม่อาจรับฟังตามที่โจทก์นำสืบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6232/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหน้าท่า การใช้สิทธิโดยสุจริต และการแก้ไขสัญญาเพื่อป้องกันความเสียหายต่อเศรษฐกิจ
ก่อนปี2530จำเลยที่1ไม่เคยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการยกตู้สินค้าขึ้นลงจากเรือบรรทุกสินค้าหรือที่เรียกว่าสิทธิหน้าท่าเรือบรรทุกสินค้าที่เข้ามาขนถ่ายสินค้าที่ท่าเรือกรุงเทพฯในขณะนั้นหากมีปั้นจั่นประจำเรือก็จะใช้ปั้นจั่นของตนยกตู้สินค้าหากเรือลำใดไม่มีหรือมีไม่เพียงพอก็จะใช้ปั้นจั่นของจำเลยที่1หรือของเอกชนซึ่งได้รับอนุญาตจากจำเลยที่1ให้เข้าไปรับจ้างยกตู้สินค้าโดยเสียค่าธรรมเนียมการเข้าออกด้วยต่อมาจำเลยที่1มีนโยบายที่จะริเริ่มประกาศสิทธิหน้าท่าจึงได้สั่งซื้อปั้นจั่นเคลื่อนที่ชนิดเดินบนรางจำนวน6คัน จากประเทศยูโกสลาเวีย กำหนดติดตั้งแล้วเสร็จภายใน520วันได้มีบริษัทเอกชนมีหนังสือไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอขอเข้าทำการการรับจ้างขนถ่ายตู้สินค้าขึ้นลงจากเรือบรรทุกสินค้าในช่วงเวลาที่รอการติดตั้งปั้นจั่นของจำเลยที่1ดังกล่าวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจึงส่งเรื่องให้จำเลยที่1พิจารณาจำเลยที่1ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาตรวจวิเคราะห์ถึงผลได้ผลเสียแล้วเห็นชอบให้มีการประกาศสิทธิหน้าที่โดยให้เอกชนเข้ามารับจ้างเหมาขนถ่ายตู้สินค้าครั้งวันที่26พฤศจิกายน2530โจทก์กับจำเลยที่1จึงได้ทำสัญญาจ้างเหมายกตู้สินค้าขึ้นลงจากเรือณท่าเรือกรุงเทพฯโดยใช้ปั้นจั่นเคลื่อนที่เริ่มลงมือทำงานภายใน90วันนับแต่วันทำสัญญาเมื่อโจทก์เริ่มปฏิบัติงานก็มีสมาคมเจ้าของและตัวแทนเรือกรุงเทพฯได้ร้องเรียนต่อจำเลยที่1รัฐบาลและคณะกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐบาลและเอกชนว่าการที่จำเลยที่1ประกาศสิทธิหน้าท่าและจ้างเหมาให้โจทก์ยกตู้สินค้านั้นทำให้ตู้สินค้าแออัดที่หน้าท่าความสามารถในการยกตู้สินค้าของโจทก์ไม่เพียงพอชมรมเดินเรือต่างประเทศจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมความคับคั่งที่ท่าเรือกรุงเทพฯอันจะนำความเสียหายทางเศรษฐกิจมาสู่ประเทศชาติกระทรวงคมนาคมได้มีหนังสือสั่งการให้จำเลยที่1พิจารณาหาทางยกเลิกสัญญาที่ทำกับโจทก์และให้จำเลยที่1พิจารณาอนุญาตให้เรือบรรทุกสินค้าใช้ปั้นจั่นของเรือยกสินค้าขั้นลงได้ต่อมาวันที่31พฤษภาคม2531จำเลยที่1ได้ประกาศสิทธิการยกตู้สินค้าหน้าท่าอนุญาตให้เรือสินค้าใช้ปั้นจั่นของเรือยกสินค้าขึ้นลงในบริเวณหน้าท่าเรือกรุงเทพฯได้เมื่อได้เสียค่าธรรมเนียมให้แก่จำเลยที่1ในอัตราร้อยละ25ของค่าธรรมเนียมการใช้ปั้นจั่นยกสินค้าของจำเลยที่1แล้วดังนี้สิทธิหน้าที่จำเลยที่1ประกาศไว้แต่แรกโดยพื้นฐานของสิทธิจำเลยที่1ซึ่งเป็นผู้ทรงเอกสิทธิดังกล่าวย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกได้เสมอและต้องสันนิษฐานไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา6ว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริตโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าจำเลยที่1กระทำการโดยไม่สุจริตมีภาระที่จะต้องพิสูจน์ให้ได้ความตามข้อกล่าวอ้างเช่นนั้นแต่จากข้อเท็จจริงที่ปรากฎในทางพิจารณาได้ความว่าการประกาศสิทธิหน้าท่าของจำเลยที่1เป็นเหตุโดยตรงก่อให้เกิดข้อท้วงติงและร้องเรียนจากบรรดาผู้มีส่วนเกี่ยวข้องว่าจะก่อปัญหาให้เกิดผลเสียหายเป็นการล่วงหน้าแล้วที่โจทก์อ้างว่าเป็นพฤติการณ์วางแผนต่อต้านเพื่อล้มการประกาศสิทธิหน้าท่าโดยไม่สุจริตแต่จากเอกสารหมายจ.60ซึ่งเป็นหนังสือของบรรดาเจ้าของเรือขออนุญาตจำเลยที่2ใช้ปั้นจั่นของเรือทำการขนถ่ายสินค้าเองรวม105ฉบับด้วยเหตุขัดข้องล่าช้าอันเกิดจากการทำงานของโจทก์ที่สืบเนื่องจากการประกาศเอกสิทธิหน้าท่าของจำเลยที่1ทั้งสิ้นและยังปรากฎตามเอกสารหมายล.26ถึงล.51อันเป็นใบเสร็จรับเงินค่าจ้างของโจทก์จากจำเลยและบันทึกรายงานการตรวจการจ้างของบริษัทโจทก์ปรากฎว่าโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติงานถูกต้องครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ตามสัญญาจ้างเอกสารหมายจ.20ข้อ16,17และ18ต้องถูกหักเงินค่าจ้างเป็นค่าปรับและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยที่1ตั้งแต่วันเริ่มสัญญาคือวันที่25กุมภาพันธ์2531ตลอดมาจนถึงสิ้นเดือนมกราคม2532เป็นข้อเท็จจริงที่ชี้ชัดว่าการประกาศสิทธิหน้าท่าของจำเลยที่1และความล่าช้าในการทำงานของโจทก์ได้ก่อให้เกิดความแออัดคับคั่งที่หน้าท่าเป็นผลเสียหายดังที่ได้มีการร้องเรียนก่อนหน้านั้นจริงการร้องเรียนต่อต้านล่วงหน้าของบรรดาผู้เกี่ยวข้องดังกล่าวจึงเป็นการคาดการณ์โดยสุจริตและถูกต้องตามความจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียกร้องให้แก้ไขซึ่งปรากฎรายละเอียดตามบันทึกรายงานการประชุมเรื่องการแก้ไขปัญหาจากการประกาศเอกสิทธิหน้าท่าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยวันที่13พฤษภาคม2531มีการแสดงข้อเท็จจริงและเหตุผลตลอดจนผลเสียหายที่เกิดแก่บรรดาผู้เกี่ยวข้องทุกแง่มุมโดยละเอียดจากผู้แทนของหน่วยราชการต่างๆตลอดจนผู้แทนองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องสรุปได้ชัดว่าหากไม่มีการแก้ไขจะเกิดผลกระทบเสียหายต่อเนื่องถึงเศรษฐกิจของชาติโดยรวมรุนแรงต่อไปด้วยดังนี้การประกาศยกเลิกสิทธิหน้าท่าณท่าเรือกรุงเทพฯและอนุญาตให้เรือสินค้าที่มีปั้นจั่นบนเรือยกตู้สินค้าขึ้นลงได้เองนั้นจำเลยที่1ได้กระทำสืบเนื่องจากผลการประชุมดังกล่าวเป็นการกระทำที่เกิดจากการรับฟังพิเคราะห์ความเห็นและเหตุผลของทุกฝ่ายโดยรอบคอบแล้วเป็นการใช้อำนาจในการบริหารตามเอกสิทธิของตนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งข้อเท็จจริงและเหตุผลเพื่อระงับและป้องกันมิให้เกิดผลเสียหายต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องตลอดจนความเสียหายต่อเศรษฐกิจของชาติโดยรวมโดยสุจริตและเป็นการกระทำเพื่อแก้ไขมิให้เกิดความเสียหายอันสืบเนื่องมาจากเหตุที่โจทก์มีส่วนก่อขึ้นโดยตรงด้วยจึงหาใช่การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา421ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5932/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขสัญญากู้ยืมเงิน การรับรองลายมือชื่อ และผลต่อการต่อสู้คดี
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ตามสัญญากู้เอกสารท้ายฟ้องจำนวน 20,200 บาท จำเลยให้การต่อสู้เรื่องสัญญากู้เป็นเอกสารปลอมเป็นประเด็นสำคัญ โดยอ้างเหตุว่าที่เป็นเอกสารปลอมเนื่องจากโจทก์ได้แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ฝ่ายเดียว แม้จำเลยจะอ้างในคำให้การด้วยว่าจำเลยไม่เคยกู้เงินจากโจทก์ตามฟ้องก็ตาม แต่จำเลยก็หาได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าลายมือชื่อในช่องผู้กู้มิใช่ลายมือชื่อของจำเลยไม่ทั้งที่เป็นข้อสาระสำคัญที่จำเลยอาจยกขึ้นปฏิเสธในคำให้การได้ จึงเท่ากับจำเลยอ้างเหตุตั้งประเด็นไว้เฉพาะสัญญากู้ตามฟ้องเป็นเอกสารที่ทำปลอมขึ้นบางส่วนเท่านั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าลายมือชื่อผู้กู้ในสัญญากู้มิใช่ลายมือชื่อของจำเลย จึงต้องถือว่าจำเลยรับว่าลายมือชื่อในช่องผู้กู้เป็นลายมือชื่อของจำเลย จำเลยย่อมไม่มีประเด็นที่จะนำสืบว่าลายมือชื่อผู้กู้เป็นลายมือชื่อปลอม และที่จำเลยนำสืบว่าได้ชำระเงินกู้ตามสัญญาโดยมีการเวนคืนเอกสารแล้วนั้น จำเลยก็ให้การว่า วันดังกล่าวจำเลยไม่เคยกู้และรับเงินจากโจทก์ หาได้ให้การเป็นประเด็นว่า มีการกู้เงินและชำระเงินกู้คืนแล้วไม่ จำเลยจึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบเช่นเดียวกัน
การที่โจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้โดยการขีดฆ่าตัวเลขและตัวอักษรจากจำนวน 25,700 บาท เป็นจำนวน 20,200 บาท และลงชื่อกำกับไว้เพื่อให้ตรงกับความเป็นจริง ไม่น่าจะเกิดความเสียหายแก่จำเลย และคดีนี้โจทก์แก้ไขจำนวนเงินที่กู้ให้ลดลงจากเดิม กลับจะเป็นประโยชน์แก่จำเลย สัญญากู้จึงไม่เป็นเอกสารปลอมและเป็นเอกสารที่สมบูรณ์รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้
การที่โจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้โดยการขีดฆ่าตัวเลขและตัวอักษรจากจำนวน 25,700 บาท เป็นจำนวน 20,200 บาท และลงชื่อกำกับไว้เพื่อให้ตรงกับความเป็นจริง ไม่น่าจะเกิดความเสียหายแก่จำเลย และคดีนี้โจทก์แก้ไขจำนวนเงินที่กู้ให้ลดลงจากเดิม กลับจะเป็นประโยชน์แก่จำเลย สัญญากู้จึงไม่เป็นเอกสารปลอมและเป็นเอกสารที่สมบูรณ์รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5932/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ยืมหลังทำสัญญาไม่ทำให้สัญญาเป็นเอกสารปลอม หากไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ตามสัญญากู้เอกสารท้ายฟ้องจำนวน 20,200 บาท จำเลยให้การต่อสู้เรื่องสัญญากู้เป็นเอกสารปลอมเป็นประเด็นสำคัญ โดยอ้างเหตุว่าที่เป็นเอกสารปลอมเนื่องจากโจทก์ได้แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ฝ่ายเดียว แม้จำเลยจะอ้างในคำให้การ ด้วยว่าจำเลยไม่เคยกู้เงินจากโจทก์ตามฟ้องก็ตาม แต่จำเลยก็หาได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าลายมือชื่อ ในช่องผู้กู้มิใช่ลายมือชื่อของจำเลยไม่ทั้งที่เป็นข้อสาระสำคัญ ที่จำเลยอาจยกขึ้นปฏิเสธในคำให้การได้ จึงเท่ากับจำเลยอ้างเหตุตั้งประเด็นไว้เฉพาะสัญญากู้ตามฟ้องเป็นเอกสารที่ทำปลอมขึ้น บางส่วนเท่านั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าลายมือชื่อผู้กู้ในสัญญากู้มิใช่ลายมือชื่อของจำเลยจึงต้องถือว่าจำเลยรับว่าลายมือชื่อในช่องผู้กู้เป็นลายมือชื่อของจำเลย จำเลยย่อมไม่มีประเด็นที่จะนำสืบว่าลายมือชื่อผู้กู้เป็นลายมือชื่อปลอม และที่จำเลยนำสืบว่าได้ชำระเงินกู้ตามสัญญาโดยมีการเวนคืนเอกสารแล้วนั้น จำเลยก็ให้การว่า วันดังกล่าวจำเลยไม่เคยกู้และรับเงินจากโจทก์ หาได้ให้การเป็นประเด็นว่ามีการกู้เงินและชำระเงินกู้คืนแล้วไม่ จำเลยจึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบเช่นเดียวกัน การที่โจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้โดยการขีดฆ่าตัวเลขและตัวอักษรจากจำนวน 25,700 บาท เป็นจำนวน20,200 บาท และลงชื่อกำกับไว้เพื่อให้ตรงกับความเป็นจริงไม่น่าจะเกิดความเสียหายแก่จำเลย และคดีนี้โจทก์แก้ไขจำนวนเงินที่กู้ให้ลดลงจากเดิม กลับจะเป็นประโยชน์แก่จำเลย สัญญากู้จึงไม่เป็นเอกสารปลอม และเป็นเอกสารที่สมบูรณ์รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานบุคคลเพื่ออธิบายความหมายของสัญญาเช่า ไม่ถือเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา
สัญญาเช่าและหนังสือต่อท้ายสัญญาเช่าระบุไว้แต่เพียงว่าจำเลยจะต้องสร้างตึกแถวอาคารพาณิชย์เท่านั้นการที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่ามีข้อตกลงด้วยวาจาว่าจำเลยจะต้องสร้างตึกแถวอาคารพาณิชย์3ชั้นและ2ชั้นหน้ากว้าง4เมตรลึก14ถึง16เมตรเป็นการนำสืบอธิบายความหมายของคำว่าตึกแถวอาคารพาณิชย์ในสัญญาไม่ใช่เป็นการสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าและหนังสือต่อท้ายสัญญาเช่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)โจทก์จึงนำพยานบุคคลมาสืบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5532/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลไม่สามารถแก้ไขข้อผิดพลาดได้ ต้องร้องขอให้บังคับคดีตามที่ถูกต้อง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา 142 คำพิพากษานั้นกฎหมายห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้ในสิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎในคำฟ้อง แต่กรณีที่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งกระทำต่อหน้าศาลและศาลพิพากษาตามยอมมิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอย่างคดีธรรมดาที่ต้องพิจารณาสืบพยานกัน ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงอาจมีผลไม่ตรงหรือเกินกว่าที่ปรากฎในคำฟ้องก็ได้ ส่วนที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมไปแล้วมีข้อความผิดพลาดไม่ถูกต้องนั้น เมื่อโจทก์บังคับคดี จำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะร้องขอให้ศาลบังคับคดีโดยถูกต้อง โดยอ้างว่าการคิดต้นเงินหรือดอกเบี้ยไม่ถูกต้องตามคำขอท้ายฟ้องอย่างใด ที่ถูกต้องควรเป็นจำนวนเท่าใดแล้วขอให้บังคับคดีไปตามนั้นได้ เพราะคำพิพากษาตามยอมต้องบังคับไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่แท้จริง ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1จะต้องดำเนินการตามลำดับชั้นศาล ในชั้นนี้ศาลฎีกายังวินิจฉัยบังคับให้ไม่ได้เพราะไม่ใช่เรื่องที่ได้ว่ากล่าวกันมาตั้งแต่่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5413/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกวดราคาซื้อเครื่องจักร: ความล่าช้าในการทำสัญญาและการแก้ไขข้อตกลง ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
การประกวดราคาซื้อเครื่องจักรพิพาทมีการเปิดซองประกวดราคาตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2528 แต่คณะกรรมการโจทก์เพิ่งประชุมและมีมติให้จัดซื้อจากจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2528ก่อนสิ้นกำหนดการยืนราคาสินค้าที่จำเลยที่ 1 แจ้งไว้ในการประกวดราคาเพียง 2 วัน และข้อกำหนดต่าง ๆ ในสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำขึ้นฝ่ายเดียวก็ไม่ได้มีอยู่ในเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคา จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิขอให้แก้ไขข้อสัญญาเหล่านั้นได้ เมื่อโจทก์แก้ไขสัญญาล่าช้า จนกระทั่งเลยกำหนดเวลาในการยื่นราคาสินค้าที่จำเลยที่ 1 ขยายให้และผู้ขายต่างประเทศบอกเลิกการขายแก่จำเลยที่ 1 โจทก์ก็ยังแก้ไขสัญญาไม่เสร็จความล่าช้าในการทำสัญญาจึงไม่ใช่ความผิดของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1จึงไม่ผิดเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคา โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ยื่นซองประกวดราคาขายเครื่องจักรให้โจทก์ แล้วไม่ยอมทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์ เป็นการผิดเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคา จำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคา แต่โจทก์เป็นฝ่ายผิดเงื่อนไขและข้อตกลงเองซึ่งตรงประเด็นตามคำฟ้อง และเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่ 1 ผิดเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคาขายเครื่องจักรให้โจทก์หรือไม่ โดยไม่ได้นำคำให้การของที่ 1 ที่ปฏิเสธว่าไม่ได้ยื่นซองประกวดราคามากำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทเพราะเห็นว่าเป็นข้อต่อสู้ที่ไม่เป็นสาระ โจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านการชี้สองสถานไว้ ที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 1 นำสืบตามประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวและรับฟังพยานของจำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว หาใช่กรณีที่คำให้การจำเลยที่ 1 ขัดแย้งกันจึงไม่มีประเด็นที่จำเลยที่ 1จะนำสืบตามที่โจทก์ฎีกาแต่อย่างใดไม่