พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1819/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเอกสารราชการเพื่อประโยชน์ตนเอง ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265
จำเลยยอมรับต่อเจ้าพนักงานตำรวจที่กองกำลังพล กรมตำรวจว่าจำเลยเป็นผู้แก้ไขตำแหน่งและเลขประจำตำแหน่งในบันทึกการขอบรรจุข้าราชการตำรวจที่ผู้บังคับบัญชาของจำเลยเสนอแต่งตั้งให้จำเลยดำรงตำแหน่งรองสารวัตรปกครองป้องกันสถานีตำรวจนครบาลประชาชื่นเป็นตำแหน่งรองสารวัตรปกครองป้องกันสถานีตำรวจนครบาลชนะสงครามแม้คำรับดังกล่าวจะเป็นคำบอกเล่าก็ตาม แต่ก็เป็นคำบอกเล่าที่ทำให้ตนเองเสียประโยชน์ จึงรับฟังได้ จำเลยปลอมเอกสารบันทึกการขอบรรจุข้าราชการตำรวจอันเป็นเอกสารราชการขณะเอกสารดังกล่าวถูกส่งไปตามสายงานจากกองบัญชาการตำรวจนครบาลถึงอธิบดีกรมตำรวจและยังคงค้างอยู่ที่กองกำลังพล กรมตำรวจย่อมเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่กองกำลังพลกรมตำรวจ ที่จะเสนอเอกสารดังกล่าวไปตามลำดับจนถึงอธิบดีกรมตำรวจอยู่แล้ว จำเลยจึงมิใช่เป็นผู้ใช้หรืออ้างเอกสารดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่กองกำลังพล กรมตำรวจ โดยวิธีแนบเรื่องไปตามลำดับจนถึงอธิบดีกรมตำรวจดังโจทก์ฟ้อง จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเรียกรับเงินเพื่อช่วยเหลือคดี แก้ไขเอกสารแจ้งความ ทำให้โทษเบาลง มีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ
จำเลยได้นำหนังสือมอบอำนาจของผู้ช่วยหัวหน้าเขตซึ่งมีถึงสารวัตรใหญ่สถานีตำราจนครบาลขอให้ดำเนินคดีแก่ ม. ตามพระราชบัญญัติควรคุมทอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 70 ไปแจ้งความและมอบหนังสือมอบอำนาจให้แก่พนักงานสอบสวนแล้ว จำเลยย่อมหมดหน้าที่ การที่จำเลยเรียกและรับเงินจาก ม. และแก้ไขเอกสารดังกล่าวในภายหลังเป็นการกระทำนอกตำแหน่งหน้าที่ราชการ มิใช่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ต้องปฏิบัติหรือละเว้นหน้าที่โดยมิชอบจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149
หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นหนังสือราชการของผู้บังคับบัญชาของจำเลยไม่ใช่หนังสือของจำเลย จำเลยไม่มีอำนาจที่จะแก้ไขจากมาตรา 70 เป็นมาตรา 65 ซึ่งมีอัตราโทษน้อยกว่า กรณีอาจเกิดความเสียหายแก่พนักงานสอบสวนหรือทางราชการกรุงเทพมหานครดังนี้ จำเลยมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 265.
หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นหนังสือราชการของผู้บังคับบัญชาของจำเลยไม่ใช่หนังสือของจำเลย จำเลยไม่มีอำนาจที่จะแก้ไขจากมาตรา 70 เป็นมาตรา 65 ซึ่งมีอัตราโทษน้อยกว่า กรณีอาจเกิดความเสียหายแก่พนักงานสอบสวนหรือทางราชการกรุงเทพมหานครดังนี้ จำเลยมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 265.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2188/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเอกสารท้ายฟ้องหลังพิจารณาคดี ศาลอนุญาตได้หากเป็นรายละเอียดที่ถูกต้องตามเอกสารอ้าง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเอกสารท้ายฟ้องเกี่ยวกับวันที่ซื้อหุ้น จากวันที่ 26 เมษายน 2521 เป็น วันที่ 26 พฤษภาคม 2521 โดยขอแก้ไขภายหลังเสร็จการพิจารณาแล้ว ดังนี้ เป็นการขอแก้ไขรายละเอียดที่โจทก์นำสืบ ตามข้อความที่ถูกต้องในเอกสารที่โจทก์อ้างได้ โดยไม่จำเป็น ต้องขอแก้ไขคำฟ้อง คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือยินยอมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: หน้าที่ของผู้ให้ยินยอมในการยืนยันแก้ไขเอกสารเพื่อให้บรรลุผล
โจทก์ จำเลยทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินกันในสัญญาข้อ 8 ระบุว่า จำเลยจะเซ็นหนังสือยินยอมให้โจทก์ไปขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารวม 4 คำขอ และจำเลยได้เซ็นหนังสือยินยอมให้โจทก์ตามสัญญา โดยแยกทำหนังสือยินยอม 1 ฉบับ ต่อคำขอของโจทก์ 1 คำขอ โจทก์ได้นำหนังสือยินยอมดังกล่าวไปยื่นประกอบคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ต่อเจ้าหน้าที่กองเครื่องหมายการค้า หลังจากนั้นโจทก์ได้ขอยืมหนังสือยินยอมของจำเลยจากเจ้าหน้าที่มาจัดการขูดลบ แก้ไข เพิ่มเติมจากเดิมเป็นระบุหมายเลขคำขอของโจทก์ 4 เลขหมายที่จำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ตามสัญญาต่อหนังสือยินยอมของจำเลย 1 ฉบับ โดยมิได้เพิ่มเติมเลขหมายคำขอให้มีจำนวนมากขึ้นและมิได้เปลี่ยนแปลงเนื้อความอื่นให้ผิดไปจากเดิมอันจะทำให้จำเลยเสียหายแต่อย่างใด ซึ่งโจทก์ได้ทำไปโดยพลการปราศจากการรู้เห็นยินยอมของจำเลย แล้วโจทก์นำหนังสือยินยอมของจำเลยที่แก้ไขนั้นไปยื่นใหม่ เจ้าหน้าที่เห็นว่ามีรอยขูดลบ แก้ไข จึงมีหนังสือให้โจทก์นำจำเลยไปยืนยันและเซ็นชื่อกำกับข้อความที่แก้ไขเพราะสงสัยว่าจะไม่ใช่หนังสือยินยอมอันแท้จริงของจำเลย ดังนี้จำเลยมีหน้าที่ต้องทำหนังสือยืนยันและไปลงชื่อกำกับรอยแก้ไขในหนังสือยินยอมให้ถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติของเจ้าหน้าที่นั้น จำเลยจะอ้างว่าได้เซ็นหนังสือยินยอมให้โจทก์แล้ว จึงหมดความผูกพันตามสัญญาได้ไม่ เพราะการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เจ้าหน้าที่ไม่ยอมรับพิจารณาหนังสือยินยอมของจำเลย เท่ากับว่ายังขาดหนังสือยินยอมของจำเลยนั่นเอง คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงยังไม่บรรลุผลสำเร็จตามที่ตกลงกันในสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือยินยอมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: หน้าที่ของจำเลยในการยืนยันแก้ไขเอกสารเพื่อให้บรรลุผลตามสัญญา
โจทก์ จำเลยทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินกันในสัญญาข้อ 8 ระบุว่า จำเลยจะเซ็นหนังสือยินยอมให้โจทก์ไปขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารวม 4 คำขอ และจำเลยได้เซ็นหนังสือยินยอมให้โจทก์ตามสัญญา โดยแยกทำหนังสือยินยอม 1 ฉบับ ต่อคำขอของโจทก์ 1 คำขอโจทก์ได้นำหนังสือยินยอมดังกล่าวไปยื่นประกอบคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ต่อเจ้าหน้าที่กองเครื่องหมายการค้า หลังจากนั้นโจทก์ได้ขอยืมหนังสือยินยอมของจำเลยจากเจ้าหน้าที่มาจัดการขูดลบ แก้ไขเพิ่มเติมจากเดิมเป็นระบุหมายเลขคำขอโจทก์ 4 เลขหมายที่ จำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ตามสัญญาต่อหนังสือยินยอมของจำเลย 1 ฉบับ โดยมิได้เพิ่มเติมเลขหมายคำขอให้มีจำนวนมากขึ้นและมิได้เปลี่ยนแปลงเนื้อความอื่นให้ผิดไปจากเดิมอันจะทำให้จำเลยเสียหายแต่อย่างใดซึ่งโจทก์ได้ทำไปโดยพลการปราศจากการรู้เห็นยินยอมของจำเลย แล้วโจทก์นำหนังสือยินยอมของจำเลยที่แก้ไขนั้นไปยื่นใหม่ เจ้าหน้าที่เห็นว่ามีรอยขูดลบ แก้ไข จึงมีหนังสือให้โจทก์นำจำเลยไปยืนยันและเซ็นชื่อกำกับข้อความที่แก้ไขเพราะสงสัยว่าจะไม่ใช่หนังสือยินยอมอันแท้จริงของจำเลย ดังนี้จำเลยมีหน้าที่ต้องทำหนังสือยืนยันและไปลงชื่อกำกับรอยแก้ไขในหนังสือยินยอมให้ถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติของเจ้าหน้าที่นั้น จำเลยจะอ้างว่าได้เซ็นหนังสือยินยอมให้โจทก์แล้ว จึงหมดความผูกพันตามสัญญาหาได้ไม่ เพราะการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เจ้าหน้าที่ไม่ยอมรับพิจารณาหนังสือยินยอมของจำเลย เท่ากับว่ายังขาดหนังสือยินยอมของจำเลยนั่นเอง คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่บรรลุผลสำเร็จตามที่ตกลงกันในสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2346/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานเพื่อพิสูจน์จำนวนเงินกู้ที่ได้รับจริง ไม่ถือเป็นการแก้ไขเอกสาร และข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อย
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามจำนวนในสัญญากู้ 8,000 บาท แม้โจทก์ไม่ได้กล่าวมาในคำฟ้องว่าจำเลยได้รับเงินจำนวนนี้ไปแล้ว แต่พอเข้าใจตามคำฟ้องนั้นได้ว่าจำเลยได้รับเงินตามสัญญากู้แล้ว จำเลยให้การว่ากู้ไปเพียง 300 บาท แต่โจทก์ตกลงให้มารับเงินกู้ไปจนครบจำนวนที่ลงไว้ในสัญญากู้ จำเลยได้รับเงินกู้ไปหลายครั้ง เป็นเงินรวมทั้งหมด 3,300 บาท เห็นได้ว่าจำเลยสู้คดีว่าสัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องไม่สมบูรณ์ เพราะโจทก์ส่งมอบเงินตามสัญญากู้ให้จำเลยไม่ครบจำนวนที่ตกลงกัน จำเลยมีสิทธิ์นำสืบตามข้อต่อสู้ของจำเลยได้ว่าได้รับเงินจากโจทก์ไปแล้วเป็นจำนวนเท่าใด ไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารอันเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย
โจทก์ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีโดยมิได้นำข้อความในเอกสารบางข้อที่อ้างอิงขึ้นมาวินิจฉัย แต่นำข้อความบางข้อมาวินิจฉัยในทางที่เป็นผลร้ายแก่โจทก์ เป็นการมิชอบ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานในการวินิจฉัยคดีของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่เกิน 50,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
โจทก์ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีโดยมิได้นำข้อความในเอกสารบางข้อที่อ้างอิงขึ้นมาวินิจฉัย แต่นำข้อความบางข้อมาวินิจฉัยในทางที่เป็นผลร้ายแก่โจทก์ เป็นการมิชอบ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานในการวินิจฉัยคดีของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่เกิน 50,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเอกสาร ภ.บ.ท.๖ ไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร หากเอกสารใหม่แสดงข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.6) ไว้ต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านที่ได้รับมอบหมายให้รับแจ้งแบบสำรวจเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันแก้ไขแบบ ภ.บ.ท.6 นี้ โดยลบชื่อโจทก์ในช่องผู้ชี้เขตออก แล้วจำเลยที่ 2 เขียนชื่อจำเลยที่ 1 ลงแทนชื่อโจทก์ และลบลายมือชื่อโจทก์ที่ลงไว้ในช่องผู้ชี้เขต - ผู้ยื่นออก แล้วจำเลยที่ 1 พิมพ์ลายนิ้วมือของตนลงแทน เมื่อดูเอกสารที่ถูกแก้ไขนี้แล้ว ย่อมเห็นได้ว่า เอกสารฉบับนี้ได้เปลี่ยนสภาพเป็น ภ.บ.ท.6 ที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ยื่น ซึ่งตรงกับลายพิมพ์นิ้วมือที่แท้จริงที่จำเลยที่ 1 ได้ลงเป็นผู้ยื่นไว้ไม่มีทางให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อในเรื่องชื่อและลายพิมพ์นิ้วมือของจำเลยที่ 1 เป็นอย่างอื่นไปได้ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีบำรุงท้องที่โดยลบชื่อผู้ยื่นเดิมและใส่ชื่อใหม่ ไม่ถือเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร หากเอกสารใหม่แสดงข้อมูลที่ถูกต้องและตรงกับลายพิมพ์นิ้วมือ
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.6)ไว้ต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านที่ได้รับมอบหมายให้รับแจ้งแบบสำรวจเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันแก้ไขแบบ ภ.บ.ท.6 นี้ โดยลบชื่อโจทก์ในช่องผู้ชี้เขตออก แล้วจำเลยที่ 2 เขียนชื่อจำเลยที่ 1 ลงแทนชื่อโจทก์ และลบลายมือชื่อโจทก์ที่ลงไว้ในช่องผู้ชี้เขต ผู้ยื่น ออก แล้วจำเลยที่ 1พิมพ์ลายนิ้วมือของตนลงแทน เมื่อดูเอกสารที่ถูกแก้ไขนี้แล้ว ย่อมเห็นได้ว่า เอกสารฉบับนี้ได้เปลี่ยนสภาพเป็น ภ.บ.ท.6 ที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ยื่น ซึ่งตรงกับลายพิมพ์นิ้วมือที่แท้จริงที่จำเลยที่ 1 ได้ลงเป็นผู้ยื่นไว้ ไม่มีทางให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อในเรื่องชื่อและลายพิมพ์นิ้วมือของจำเลยที่ 1 เป็นอย่างอื่นไปได้ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2829/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาซื้อขายด้วยพยานบุคคลขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
สัญญาจะซื้อขายระบุว่า ส. ขายที่พิพาทให้โจทก์ในราคา 14,000 บาท เงินจำนวนนี้ผู้ขายได้รับจากโจทก์ไปครบถูกต้องแล้วแต่วันทำสัญญา การที่จำเลยนำสืบว่าในวันทำสัญญาจะซื้อขายผู้ขายได้รับเงินค่าที่พิพาทเพียง 2,500 บาท รวมกับเงินที่ผู้ขายและจำเลยที่ 1 กู้โจทก์ไปสองคราวจำนวน 1,300 บาท เป็นเงินเพียง 3,800บาทนั้น เป็นการนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาที่แท้จริงของสัญญา: สัญญาซื้อขายแฝงในสัญญาเงินกู้ การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
จำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์เพราะโจทก์ตกลงซื้อสวนมะพร้าวจำเลย จำเลยรับเงินไปจากโจทก์จำนวนหนึ่งซึ่งจะถือเป็นค่าสวนมะพร้าวต่อเมื่อจำเลยสามารถโอนสวนมะพร้าวให้โจทก์ได้ มิใช่โจทก์จำเลยเจตนากู้เงินกัน 60,000 บาท การทำสัญญากู้จึงเป็นการเอาหนี้ตามสัญญาซื้อขายสวนมะพร้าวมาทำเป็นสัญญากู้เงิน มิใช่รับเงินเนื่องจากการกู้เงินกันโดยแท้จริง ในขณะทำสัญญากู้ยังไม่รู้ว่าจำเลยจะต้องคืนเงินหรือไม่ แล้วแต่หนี้ที่จะเกิดจากสัญญาซื้อขายสวนมะพร้าวอีกส่วนหนึ่ง เจตนาอันแท้จริงของคู่กรณีในการทำสัญญากู้ที่ให้บังคับกันได้ก็คือให้ใช้เงินคืนแก่กันในลักษณะกู้เงินตามจำนวนที่จะต้องคืนโดยอาศัยหนี้ตามสัญญาซื้อขายสวนมะพร้าวซึ่งหากจะต้องมีการคืนหรือหักเงินกันต่อไปข้างหน้า จำเลยจึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบว่าความจริงจำเลยรับเงินไปจากโจทก์เพียง 10,000 บาท มิใช่การนำสืบแปลหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร หากแต่เป็นการนำสืบหักล้างตามข้อต่อสู้ของจำเลยว่าจำนวนหนี้ตามที่กล่าวในฟ้องนั้นไม่สมบูรณ์ เพราะไม่ใช่เจตนาที่แท้จริง จำเลยมีสิทธิจะนำสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 วรรคสุดท้าย.