พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาความผิดตามฟ้องเดิมและการแก้ไขโทษที่เหมาะสมในคดีอาวุธปืนและการยิงในชุมชน
โจทก์ฟ้องเป็นข้อ ค. ว่า จำเลยบังอาจใช้อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่มีไว้และพาไปอันเป็นความผิดตามฟ้องข้อ ก. และ ข. ซึ่งเป็นอาวุธปืนและกระสุนปืนที่ใช้ดินระเบิดยิงขึ้นฟ้า ในที่ชุมนุมชนที่จัดให้มีขึ้นในงานรื่นเริงมงคลสมรสและขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 376 ด้วย จำเลยให้การรับสารภาพผิดตามฟ้องทุกข้อหาซึ่งหมายถึงรวมทั้งความผิดตามฟ้องโจทก์ข้อ ค. ด้วย แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดข้อหาอื่นเท่านั้น มิได้พิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดข้อหานี้ด้วย จึงไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 376 ซึ่งโจทก์ฟ้องและขอให้ลงโทษมาโดยมิได้กำหนดโทษความผิดข้อหานี้อีกเป็นเพียงการพิพากษาให้ถูกต้องครบถ้วนเท่านั้น จึงมิใช่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7511/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษในคดีอาญา: ศาลอุทธรณ์แก้เล็กน้อย ห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
การที่จะถือว่าเป็นการแก้ไขมากตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง นั้น จะต้องเป็นการแก้ทั้งบทลงโทษและจำนวนโทษที่ลง ซึ่งการแก้บทลงโทษนั้นมีความหมายถึงการเปลี่ยนบทลงโทษจากบทหนึ่งไปเป็นอีกบทหนึ่ง หรือเป็นการแก้วรรคในบทเดิม ซึ่งความผิดแต่ละวรรคมีโทษขั้นต่ำและขั้นสูงแตกต่างกันมาก และลักษณะความผิดในแต่วรรคนั้นแตกต่างกัน เช่น ความผิดในวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้และอีกวรรคหนึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน เป็นต้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม), 66 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) เป็นเพียงการบังคับใช้กฎหมายเดิมและกฎหมายใหม่ในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 บัญญัติไว้เท่านั้น จึงไม่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์แก้บทลงโทษ ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์เพียงแต่แก้จำนวนโทษ มิได้แก้บทลงโทษจึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย ให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7308/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเรา, หน่วงเหนี่ยวกักขัง, กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท, การแก้ไขโทษ, การบรรยายฟ้องไม่ครบองค์ประกอบ
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ครบองค์ประกอบความผิดดังกล่าว แม้คำขอท้ายฟ้องจะขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 371 ก็ไม่อาจลงโทษในความผิดฐานนี้ได้
สำหรับความผิดในข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังแม้ศาลล่างทั้งสองจะพิพากษายืนกันมาให้จำคุก 1 ปี แต่ความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำกรรมเดียวกับความผิดในข้อหาข่มขืนกระทำชำเราซึ่งศาลล่างทั้งสองจำคุก 16 ปี อันไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงทำให้ข้อหาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไปด้วย
จำเลยกับพวกพาผู้เสียหายที่ 2 ไปบังคับข่มขืนกระทำชำเราคนละหลายครั้งเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคสอง และ 310 วรรคแรก เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ครบองค์ประกอบความผิดดังกล่าว แม้คำขอท้ายฟ้องจะขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 371 ก็ไม่อาจลงโทษในความผิดฐานนี้ได้
สำหรับความผิดในข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังแม้ศาลล่างทั้งสองจะพิพากษายืนกันมาให้จำคุก 1 ปี แต่ความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำกรรมเดียวกับความผิดในข้อหาข่มขืนกระทำชำเราซึ่งศาลล่างทั้งสองจำคุก 16 ปี อันไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงทำให้ข้อหาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไปด้วย
จำเลยกับพวกพาผู้เสียหายที่ 2 ไปบังคับข่มขืนกระทำชำเราคนละหลายครั้งเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคสอง และ 310 วรรคแรก เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4870/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษฐานช่วยเหลือตำรวจค้นยาเสพติดและการแก้ไขโทษตามกฎหมายใหม่
เมื่อจำเลยที่ 1 ถูกจับ เจ้าพนักงานตำรวจย่อมนำจำเลยที่ 1 ไปค้นหายาเสพติดให้โทษที่บ้านจำเลยที่ 1 อยู่แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ให้ข้อมูลและพาเจ้าพนักงานตำรวจไปยึดเมทแอมเฟตามีนที่บ้านจำเลยที่ 1 ดังกล่าว ไม่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ จึงไม่มีเหตุที่จะลงโทษจำเลยที่ 1 สถานเบาตามบทบัญญัติ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4292/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเมื่อศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษไม่เกินกรอบที่กฎหมายกำหนด โจทก์ฎีกาขอเพิ่มโทษจึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยให้จำคุกกระทงละ 2 เดือน รวม 4 กระทง จำคุก 8 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 4 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำคุกกระทงละ 1 เดือน และปรับกระทงละ 2,000 บาท รวม 4 กระทง เป็นจำคุก 4 เดือน ปรับ 8,000 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 2 เดือน ปรับ 4,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำเลยไม่เกินกำหนดดังกล่าว คดีนี้จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 การที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงเท่ากับว่าเป็นการฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลยและไม่รอการลงโทษ ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลว่าสมควรลงโทษจำเลยเพียงใด จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3956/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับและรางวัลเจ้าหน้าที่ในคดีร่วมกันนำเข้าสินค้าผิดกฎหมาย ศาลฎีกาแก้ไขการบังคับโทษปรับและยกเลิกการจ่ายรางวัลซ้ำซ้อน
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 27 การลงโทษปรับผู้กระทำความผิดไม่ว่าจะมีผู้ร่วมกระทำความผิดจำนวนกี่คน ศาลจะต้องลงโทษสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ ไม่เกินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งต้องลงโทษปรับจำเลยที่ร่วมกระทำความผิดทุกคนรวมกันเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วเมื่อจำเลยคดีนี้กระทำความผิดตามฟ้องร่วมกับ จ. แม้จะปรากฏว่าความผิดครั้งเดียวกันนี้ศาลได้ลงโทษปรับ จ. เป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วไปแล้วในคดีก่อนก็ตาม ความผิดของจำเลยคดีนี้ก็หาระงับลงไม่ ต้องลงโทษปรับจำเลยคดีนี้ด้วย โดยปรับจำเลยคดีนี้รวมกับ จ. เป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตามบทกฎหมายดังกล่าว โดยต้องถือว่าค่าปรับจำเลยคดีนี้เป็นจำนวนเดียวกับค่าปรับ จ. แต่ต้องกำหนดเงื่อนไขในการบังคับโทษปรับคดีนี้ว่า หาก จ. ชำระค่าปรับหรือถูกกักขังแทนค่าปรับไปแล้วในคดีก่อนเพียงใดก็ให้นำมาหักออกจากโทษปรับของจำเลยคดีนี้ได้ ทั้งนี้เพื่อมิให้เป็นการลงโทษปรับจำเลยทั้งสองคดีรวมกันเป็นเงินเกินกว่าสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว และต้องกำหนดเงื่อนไขในการบังคับโทษปรับด้วยว่า ในกรณีที่ต้องกักขังจำเลยคดีนี้แทนค่าปรับก็ให้แบ่งกักขังจำเลยคดีนี้ได้ไม่เกิน 1 ปี เนื่องจากความผิดตามฟ้องมีผู้ร่วมกระทำผิด 2 คน
บุคคลสองคนร่วมกันกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 27 เมื่อคนหนึ่งถูกศาลพิพากษาลงโทษ โดยศาลสั่งริบของกลางและจ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมร้อยละยี่สิบของราคาของกลางไปแล้ว ของกลางในคดีก่อนกับของกลางในคดีนี้เป็นทรัพย์สิ่งเดียวกัน เมื่อคดีก่อนศาลสั่งริบของกลางแล้วและไม่ปรากฏว่าของกลางที่สั่งริบนั้นไม่อาจขายได้ จึงต้องจ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบของราคาของกลางตาม พ.ร.บ. ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดฯ มาตรา 7 และ 8 วรรคสองให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่จับกุมเพียงครั้งเดียว
การจ่ายรางวัลซ้ำซ้อนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
(ประชุมใหญ่)
บุคคลสองคนร่วมกันกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 27 เมื่อคนหนึ่งถูกศาลพิพากษาลงโทษ โดยศาลสั่งริบของกลางและจ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมร้อยละยี่สิบของราคาของกลางไปแล้ว ของกลางในคดีก่อนกับของกลางในคดีนี้เป็นทรัพย์สิ่งเดียวกัน เมื่อคดีก่อนศาลสั่งริบของกลางแล้วและไม่ปรากฏว่าของกลางที่สั่งริบนั้นไม่อาจขายได้ จึงต้องจ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบของราคาของกลางตาม พ.ร.บ. ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดฯ มาตรา 7 และ 8 วรรคสองให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่จับกุมเพียงครั้งเดียว
การจ่ายรางวัลซ้ำซ้อนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
(ประชุมใหญ่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3751/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษโดยศาลอุทธรณ์และข้อจำกัดในการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ปรับบทกฎหมายที่ใช้ในภายหลังในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยและแก้โทษจำคุกให้น้อยลงสำหรับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจาก 6 ปี เป็น 5 ปี และความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจาก 5 ปี เป็น 4 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 แก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำเลยแต่ละกระทงจำคุกไม่เกิน 5 ปี คดีจึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาโต้แย้งว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดหรือหากศาลเห็นว่าจำเลยจะทำความผิดก็ขอให้ลงโทษสถานเบาเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงทั้งสิ้น ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 217/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายยาเสพติดกระทบต่อโทษอาญา ศาลฎีกาแก้ไขโทษตามกฎหมายใหม่
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)ฯ มาตรา 8 มาตรา 26 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 มาตรา 67 และมาตรา 91 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และให้ใช้ข้อความใหม่แทน ซึ่งความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนตามมาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ตามกฎหมายเดิมมีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันถึงหนึ่งแสนบาท จะเห็นได้ว่าโทษจำคุกขั้นสูงตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เบากว่าโทษจำคุกตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 91 เดิม แม้ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะได้กำหนดให้มีโทษปรับสูงกว่าโทษปรับตามกฎหมายเดิม แต่ก็เป็นการบัญญัติให้ลงโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับแต่กต่างจากบทบัญญัติเดิมที่กำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับเท่านั้น จึงต้องถือว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด และกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด เป็นคุณมากกว่าในส่วนที่เกี่ยวกับโทษซึ่งมีหลายสถานที่จะลงได้ กรณีโทษจำคุกจึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 ส่วนความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง ทั้งตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่คงใช้ข้อความทำนองเดียวกัน ดังนั้น กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายเดิมบังคับแก่จำเลยในส่วนนี้
ส่วนกำหนดโทษนั้น ตามกฎหมายเดิมมาตรา 67 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท สำหรับกฎหมายที่แก้ไขใหม่ มาตรา 67 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ จะเห็นได้ว่า แม้ตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะมีระวางโทษจำคุกเท่ากันและตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะมีระวางโทษปรับสูงกว่าโทษปรับตามกฎหมายเดิม แต่ก็เป็นการบัญญัติให้ลงโทษจำคุกหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับแตกต่างจากกฎหมายเดิมที่กำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับเท่านั้น จึงต้องถือว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิด และกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่าในส่วนที่เกี่ยวกับโทษซึ่งมีหลายสถานที่จะลงได้แต่โทษปรับตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง รวมทั้งแก้ไขโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับกฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้ด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
ส่วนกำหนดโทษนั้น ตามกฎหมายเดิมมาตรา 67 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท สำหรับกฎหมายที่แก้ไขใหม่ มาตรา 67 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ จะเห็นได้ว่า แม้ตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะมีระวางโทษจำคุกเท่ากันและตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะมีระวางโทษปรับสูงกว่าโทษปรับตามกฎหมายเดิม แต่ก็เป็นการบัญญัติให้ลงโทษจำคุกหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับแตกต่างจากกฎหมายเดิมที่กำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับเท่านั้น จึงต้องถือว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิด และกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่าในส่วนที่เกี่ยวกับโทษซึ่งมีหลายสถานที่จะลงได้แต่โทษปรับตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง รวมทั้งแก้ไขโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับกฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้ด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2547 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขโทษยาเสพติด: ใช้กฎหมายใหม่ย้อนหลังได้ หากเป็นคุณแก่จำเลย และศาลล่างลงโทษไม่ตรงตามกฎหมายเดิม
ศาลล่างทั้งสองวางโทษจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ไม่ต้องตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 66 วรรคสอง (เดิม) โดยลงโทษต่ำกว่าอัตราโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้ แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ จึงไม่อาจแก้ไขกำหนดโทษให้เป็นไปตามบทกฎหมายได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)ฯ มาตรา 19 ที่ยกเลิกความในมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และให้ใช้ข้อความใหม่แทน โดยมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่แตกต่างจากมาตรา 66 วรรคหนึ่งตามกฎหมายเดิม โทษจำคุกตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง รวมทั้งแก้ไขโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับกฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)ฯ มาตรา 19 ที่ยกเลิกความในมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และให้ใช้ข้อความใหม่แทน โดยมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่แตกต่างจากมาตรา 66 วรรคหนึ่งตามกฎหมายเดิม โทษจำคุกตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง รวมทั้งแก้ไขโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับกฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษข้าราชการในคดียาเสพติด: การพิจารณาโทษทวีคูณและการแก้ไขโทษที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง (เดิม) , 66 วรรคสอง (เดิม) ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการ ซึ่ง พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติให้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น แต่เมื่อบทบัญญัติของกฎหมายมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตแล้ว จึงไม่อาจวางโทษเป็นสามเท่าได้อีก ทั้งไม่อาจนำมาตรา 10 แห่งบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมาปรับด้วยได้ จำเลยที่ 1 คงมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง (เดิม) , 66 วรรคสอง (เดิม) เท่านั้น คงวางโทษจำเลยที่ 1 ได้เพียงจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วางโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย 50 ปี และที่ศาลล่างทั้งสองวางโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ในความผิดดังกล่าวมีกำหนด 45 ปี นั้น ไม่ต้องตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคสอง (เดิม) โดยลงโทษต่ำกว่าอัตราโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้ แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ จึงไม่อาจแก้ไขกำหนดโทษให้เป็นไปตามบทกฎหมายดังกล่าวได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225