พบผลลัพธ์ทั้งหมด 72 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหาความผิดอาญา พนักงานสอบสวนไม่จำเป็นต้องแจ้งทุกข้อหาหากแจ้งความผิดหลักแล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 กำหนดให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งข้อหาแก่ผู้ต้องหาก็เพื่อประสงค์ให้ผู้ต้องหาทราบว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิด และให้ผู้ต้องหาเข้าใจถึงการกระทำของผู้ต้องหาซึ่งเป็นความผิดโดยไม่ต้องระบุตัวบทกฎหมายที่ผู้ต้องหากระทำผิด ในกรณีการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทก็ไม่ต้องระบุกฎหมายที่เป็นความผิดทุกบททุกมาตรา หากได้แจ้งข้อหาอันเป็นหลักความผิดทั่วไปแล้วไม่จำต้องแจ้งข้อหาความผิดอันเกี่ยวพันกันด้วย พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนได้ทุกข้อหา พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาว่าจำเลยพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควร โดยไม่แจ้งว่าจำเลยมิได้รับใบอนุญาตด้วย ก็มีอำนาจสอบสวนความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3288/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหาและการสอบสวนความผิดฐานอื่น - อำนาจฟ้องของโจทก์
การแจ้งข้อหาแก่จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 นั้น หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่แม้เดิมจะตั้งข้อหาหนึ่งแต่เมื่อสอบสวนไปแล้ว ปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานอื่นด้วยก็เรียกว่าได้มีการสอบสวนในความผิดดังกล่าวด้วยแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3288/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหาและการสอบสวนความผิดฐานรับของโจร แม้แจ้งข้อหาลักทรัพย์ก่อน โจทก์มีอำนาจฟ้องได้หากสอบสวนพบหลักฐาน
ภายหลังจากวีดีโอเทปของผู้เสียหายได้หายไปแล้ว ทางสืบสวนของเจ้าพนักงานตำรวจทราบว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองวีดีโอเทปดังกล่าว พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาลักทรัพย์แก่จำเลยก็เนื่องจากได้ข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นผู้ครอบครองวีดีโอเทป แต่การที่จำเลยมีวีดีโอเทปไว้ในครอบครองอาจเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ซึ่งพนักงานสอบสวนก็ได้สอบสวนถึงการกระทำนั้นของจำเลยแล้ว ทั้งการแจ้งข้อหาแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 นั้น หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ แม้เดิมจะตั้งข้อหาหนึ่งแต่เมื่อสอบสวนไปแล้ว ปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานอื่นด้วย ก็เรียกว่าได้มีการสอบสวนในความผิดดังกล่าวด้วยแล้ว ดังนั้นแม้ชั้นแรกพนักงานสอบสวนจะตั้งข้อหาลักทรัพย์แก่จำเลย แต่เมื่อสอบสวนพยานหลักฐานเสร็จสิ้นแล้ว พนักงานอัยการโจทก์เห็นว่าการกระทำของจำเลยน่าจะเป็นความผิดฐานรับของโจรและฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดฐานรับของโจรด้วย ก็ถือว่าได้มีการสอบสวนความผิดฐานรับของโจรตามมาตรา 120 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดฐานรับของโจรด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2608/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน: การที่เจ้าพนักงานไม่ได้แสดงตนและแจ้งข้อหา ทำให้การจับกุมไม่ชอบธรรม
ขณะที่ ส.ต.ต. บ. กับ ส.ต.ท. บ. จะเข้าจับกุมกลุ่มเด็กวัยรุ่นพวกของจำเลยนั้น บุคคลทั้งสองไม่ได้แต่งเครื่องแบบตำรวจและไม่ได้แสดงตนว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งจะปฏิบัติตามหน้าที่ทั้งไม่ได้แจ้งข้อหาแก่เด็กวัยรุ่นคนใดว่าเป็นผู้ดูหมิ่นตนและจะต้องถูกจับ จึงถือไม่ได้ว่ามีการจับกุมในข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงานโดยชอบ ฉะนั้น แม้หากจำเลยจะต่อสู้ขัดขวางมิให้ ส.ต.ต. บ.กับ ส.ต.ท. บ. เข้าจับกุมพวกของจำเลย ก็ไม่มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหาบุกรุกที่ดินและการพิสูจน์การรับทราบคำสั่งเจ้าหน้าที่ตามระเบียบ
สำหรับจำเลยที่ 6 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 108,108ทวิ และ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่ามีความผิดตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิและประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 ซึ่งมีผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 6 ในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 108 แล้ว เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ข้อหาความผิดดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ไม่อาจฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 6 ในข้อหาความผิดนั้นได้อีก ที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 6 ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยส่วนฎีกาที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 6 ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 108 ทวิ โจทก์กล่าวในฎีกาเพียงว่าขอให้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเท่านั้น มิได้กล่าวว่าการกระทำของจำเลยที่ 6 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ เพราะเหตุใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่แจ้งชัด ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติมาตราทั้งสองดังกล่าวเช่นกัน ตามระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 3(พ.ศ. 2515) ว่าด้วยวิธีปฏิบัติในการแจ้งและออกคำสั่งแก่ผู้ฝ่าฝืนมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์พุทธศักราช 2515 ใช้บังคับกำหนดให้เจ้าหน้าที่ผู้นำส่งหนังสือแจ้งบันทึกเหตุการณ์และเหตุผลในการไม่ยอมรับหนังสือแจ้งไว้และให้มีพยานอย่างน้อย 2 คน ลงชื่อรับรองไว้ในบันทึกนั้นด้วยเมื่อผู้นำส่งหนังสือแจ้งได้ปฏิบัติการดังกล่าวนั้นแล้ว ให้ถือว่าผู้ฝ่าฝืนได้รับหนังสือแจ้งแล้ว แต่ตามบันทึกข้อความของเจ้าหน้าที่ผู้นำหนังสือแจ้งและคำสั่งให้ออกจากที่ดินไปส่งแก่จำเลยที่ 1ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 7 นอกจากจะไม่ปรากฏเหตุผลที่ผู้ฝ่าฝืนไม่ยอมรับหนังสือแจ้งแล้ว ยังไม่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ผู้นำส่งได้สอบถามเหตุผลเอาจากผู้ฝ่าฝืนแล้วบันทึกไว้ และไม่ปรากฏว่าบันทึกดังกล่าวเป็นเอกสารที่อ้างอิงเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4ถึงที่ 7 ว่าเป็นผู้เข้าไปยึดถือครอบครองก่อสร้างที่ดินของรัฐอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 9 แห่ง ประมวลกฎหมายที่ดินแต่อย่างใดบันทึกข้อความนั้นจึงยังไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่ระเบียบดังกล่าวกำหนด ดังนั้น จะถือว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 7ได้รับหนังสือแจ้งอันเป็นคำสั่งเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้และทราบคำสั่งนั้นแล้วหาได้ไม่ จำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 4 ถึงที่ 7 ยังไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 368และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 7 ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3117/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหาบริษัทและการไม่มีสิทธิได้รับรางวัลเนื่องจากไม่มีการจับกุมจริง
กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไม่มีการจับกุมนิติบุคคลนั้น เพราะนิติบุคคลไม่อยู่ในสภาพที่จะให้จับกุมได้ คงให้ใช้วิธีออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลมาเพื่อสอบสวนหรือพิจารณาแล้วแต่กรณี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7 การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนออกหมายเรียกผู้จัดการบริษัทจำเลยให้ไปพบ แล้วแจ้งข้อหาว่าบริษัทจำเลยกระทำความผิดนั้น ไม่เป็นการจับกุม ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิได้รับรางวัลตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7, 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3117/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหาผู้จัดการนิติบุคคล ไม่ถือเป็นการจับกุม จึงไม่มีสิทธิได้รับรางวัลตาม พ.ร.บ.บำเหน็จปราบปราม
โจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดต่อ พ.ร.บ. ศุลกากรฯ คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดให้ปรับจำเลยและให้จ่ายรางวัลร้อยละ 20 ของเงินค่าปรับแก่เจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุม ดังนี้กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องดำเนินการตาม ป.วิ.อ.มาตรา 7 ซึ่งกำหนดให้ออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆของนิติบุคคลนั้น ให้ไปยังพนักงานสอบสวนหรือศาลแล้วแต่กรณีถ้า ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกจะออกหมายจับมาก็ได้ แต่จะขังหรือปล่อยชั่วคราว ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นไม่ได้ เพราะนิติบุคคลไม่อยู่ในสภาพที่จะให้จับกุมได้ คงให้ใช้วิธีออกหมายเรียกผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลมาเพื่อการสอบสวนหรือพิจารณาแล้วแต่กรณีการที่ผู้ร้องที่ 1 ออกหมายเรียกกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยมาแล้วแจ้งข้อหาว่าบริษัทจำเลยกระทำความผิด จึงไม่เป็นการจับกุมและผู้ร้องที่ 1 มิใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุมจำเลย ผู้ร้องที่ 1 จึงไม่มีสิทธิได้รับรางวัลตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิดฯ มาตรา 7 และ 8.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3117/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหาบริษัท ไม่ถือเป็นการจับกุม ไม่มีสิทธิรับรางวัล
กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไม่มีการจับกุมนิติบุคคลนั้น เพราะนิติบุคคลไม่อยู่ในสภาพที่จะให้จับกุมได้คงให้ใช้ วิธีออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลมาเพื่อสอบสวนหรือพิจารณาแล้วแต่กรณี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7 การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนออกหมายเรียกผู้จัดการบริษัทจำเลยให้ไปพบแล้วแจ้งข้อหาว่าบริษัทจำเลยกระทำความผิดนั้น ไม่เป็นการจับกุมผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิได้ รับรางวัลตาม พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 78.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4022/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาได้หลายกระทง แม้แจ้งข้อหาแรกไปแล้ว หากสอบสวนพบความผิดอื่นเพิ่มเติม โจทก์มีอำนาจฟ้องได้
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 นั้น หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ แม้เดิมตั้งข้อหาหนึ่ง แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาอื่นด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาหลังตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องข้อหาหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4022/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหาเพิ่มเติมหลังสอบสวน: โจทก์มีอำนาจฟ้องได้หากพบพยานหลักฐานใหม่
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 นั้น หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ แม้เดิมตั้งข้อหาหนึ่ง แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาอื่นด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาหลังตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องข้อหาหลัง.