คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แจ้งคำสั่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4820/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำสั่งศาล: ศาลต้องแจ้งคำสั่งเพิ่มเติมโดยตรงถึงจำเลย/ทนาย ไม่ถือว่าเสมียนทนายทราบและต้องแจ้งต่อ
การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้จดรายงานกระบวนพิจารณาสั่งให้จำเลยที่ 1นำส่งสำเนาคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาในวันอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 ฟัง แต่ได้มีคำสั่งในใบมอบฉันทะของทนายจำเลยที่ 1ที่ได้มอบฉันทะให้เสมียนทนายนำบัญชีพยานที่จะใช้ไต่สวนคำร้องดังกล่าวไปยื่นว่า "ให้จำเลยที่ 1 นำส่งสำเนาคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาให้แก่โจทก์ภายใน 7 วัน การส่งหากไม่มีผู้รับแทนให้ปิดหมาย" แม้ในใบมอบฉันทะดังกล่าวมีข้อความระบุว่าให้เสมียนทนายฟังและทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นก็ตาม จะถือว่าเสมียนทนายได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวด้วยไม่ได้ แม้ศาลชั้นต้นจะมีอำนาจสั่งในใบมอบฉันทะฉบับนั้นได้ก็ตาม แต่ก็เป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องแจ้งคำสั่งเพิ่มเติมนั้นให้แก่จำเลยที่ 1 หรือทนายจำเลยที่ 1 ทราบโดยตรง มิฉะนั้นจะถือว่าทราบคำสั่งนั้นแล้วไม่ได้เมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้แจ้งคำสั่งให้ทราบ ศาลชั้นต้นจะถือเอาเหตุที่เสมียนทนายจำเลยที่ 1 ไม่ได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ทนายจำเลยที่ 1ทราบมาเป็นเหตุแห่งความผิดของจำเลยที่ 1 แล้วสั่งว่าจำเลยที่ 1ทิ้งคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 329/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องฎีกา: ผลของการรับทราบวันนัดฟังคำสั่ง และการแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบ
ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3และให้จำเลยนำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ภายใน 7 วันมิฉะนั้นถือว่าทิ้งฎีกา ปรากฏว่าฎีกาของจำเลยที่ 2มีข้อความว่าให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 22 มีนาคม 2533ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว โดยจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อ ทราบวันนัดไว้ แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์โดยสั่งในวันที่ 21 มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยที่ 2 ยื่นฎีกาก็ตาม ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว ตั้งแต่ วันที่ 22 มีนาคม 2533 เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่นำส่งสำเนา ฎีกาในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้องฎีกา ส่วนจำเลยที่ 3 นั้น ปรากฏว่าฎีกาของจำเลยที่ 3มีข้อความว่าให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 23 มีนาคม 2533ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว แต่ผู้ลงลายมือชื่อทราบคำสั่งดังกล่าว มิใช่จำเลยที่ 3 หรือทนายจำเลยที่ 3แต่เป็นผู้อื่น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 3นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์โดยเป็นการสั่งในวันที่ 21มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยที่ 3ยื่นฎีกา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว แม้จำเลยที่ 3 ไม่นำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ก็ไม่เป็นการทิ้งฟ้องฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 329/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล การแสดงเจตนาและการแจ้งคำสั่ง
ฎีกาของจำเลยที่ 2 มีข้อความประทับด้วยตรายางของศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 22 มีนาคม 2533ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" โดยมีจำเลยที่ 2ลงลายมือชื่อไว้ และศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 2 นำ ส่งสำเนาให้โจทก์ใน 7 วัน แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งในวันที่ 21มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยที่ 2 ยื่นฎีกาก็ตามแต่การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อรับทราบวันนัดให้มาฟังคำสั่ง ศาลชั้นต้นนั้นเป็นการแสดงเจตนายอมรับว่าจะมาฟังคำสั่ง ในวันดังกล่าว ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้วจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2533 เมื่อจำเลยที่ 2 เพิกเฉย ไม่ จัดการนำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้จึงเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) ฎีกาของจำเลยที่ 3 มีข้อความประทับด้วยตรายางของ ศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 23 มีนาคม 2533ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" แต่ผู้ที่ลงลายมือชื่อ ไว้ ใต้ตราประทับดังกล่าวไม่ใช่จำเลยที่ 3 หรือทนายจำเลยที่ 3 ทั้งไม่ปรากฏว่าเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 3 หรือ ทนายจำเลยอย่างไร ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ให้ จำเลยที่ 3นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ใน 7 วัน แต่เป็นการสั่งในวันที่ 21 มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจาก จำเลยที่ 3 ยื่นฎีกา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ทราบคำสั่ง ศาลชั้นต้นแล้ว แม้จำเลยที่ 3 ไม่นำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลา ที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ก็ไม่เป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำสั่งออกจากที่ดินต้องถูกต้องตามระเบียบ หากไม่ถูกต้อง ถือว่าจำเลยไม่ได้รับแจ้งและไม่มีความผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108,108 ทวิและ ป.อ. 368 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่ามีความผิดตาม ป.ที่ดินมาตรา 108 ทวิ และ ป.อ. มาตรา 368 มีผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องในข้อหาความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 แล้ว เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ ข้อหาความผิดดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15และที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ โดยกล่าวในฎีกาเพียงว่าขอให้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมิได้กล่าวว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ เพราะเหตุใดก็เป็นฎีกาที่ไม่แจ้งชัดต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติมาตราทั้งสองดังกล่าวเช่นกัน ตามระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 3(พ.ศ. 2515) ว่าด้วยวิธีปฏิบัติในการแจ้งและออกคำสั่งแก่ผู้ฝ่าฝืนมาตรา 9 แห่ง ป.ที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิบัติฉบับที่ 96ใช้บังคับกำหนดให้เจ้าหน้าที่ผู้นำส่งหนังสือแจ้งบันทึกเหตุการณ์และเหตุผลในการไม่ยอมรับหนังสือแจ้งไว้ แต่ตามบันทึกข้อความของเจ้าหน้าที่ผู้นำหนังสือแจ้งและคำสั่งให้ออกจากที่ดินไปส่งแก่จำเลยนอกจากจะไม่ปรากฏเหตุผลที่ผู้ฝ่าฝืนไม่ยอมรับหนังสือแจ้งแล้วยังไม่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ผู้นำส่งได้สอบถามเหตุผลเอาจากผู้ฝ่าฝืนแล้วบันทึกไว้ บันทึกข้อความนั้นจึงยังไม่ถูกต้องครบถ้วน จะถือว่าจำเลยได้รับหนังสือแจ้งอันเป็นคำสั่งเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้และทราบคำสั่งนั้นแล้วหาได้ไม่ จำเลยจึงยังไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 368 และ ป.ที่ดิน มาตรา 108.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำสั่งออกจากที่ดินต้องเป็นไปตามระเบียบ หากไม่ถูกต้องครบถ้วน ถือว่าจำเลยยังไม่ได้รับคำสั่งและไม่มีความผิด
ตามระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 3(พ.ศ. 2515) ว่าด้วยวิธีปฏิบัติในการแจ้งและออกคำสั่งแก่ผู้ฝ่าฝืนมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2515 ใช้บังคับกำหนดให้เจ้าหน้าที่ผู้นำส่งหนังสือแจ้งบันทึกเหตุการณ์และเหตุผลในการไม่ยอมรับหนังสือแจ้งไว้ และให้มีพยานอย่างน้อย2 คน ลงชื่อรับรองไว้ในบันทึกนั้นด้วย เมื่อผู้นำส่งหนังสือแจ้งได้ปฏิบัติการดังกล่าวแล้วนั้นให้ถือว่าผู้ฝ่าฝืนได้รับหนังสือแจ้งแล้ว แต่ตามบันทึกข้อความของเจ้าหน้าที่ผู้นำหนังสือแจ้งและคำสั่งให้ออกจากที่ดินไปส่งแก่จำเลย นอกจากจะไม่ปรากฏเหตุผลที่ผู้ฝ่าฝืนไม่ยอมรับหนังสือแจ้งแล้ว ยังไม่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ผู้นำส่งได้สอบถามเหตุผลเอาจากผู้ฝ่าฝืนแล้วบันทึกไว้และไม่ปรากฏว่าบันทึกดังกล่าวเป็นเอกสารที่อ้างอิงเกี่ยวกับจำเลยว่าเป็นผู้เข้าไปยึดถือครอบครองก่นสร้างที่ดินของรัฐอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน บันทึกข้อความนั้นจึงไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่ระเบียบกำหนด จะถือว่าจำเลยได้รับหนังสือแจ้งอันเป็นคำสั่งเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่กฎหมายให้ไว้และทราบคำสั่งนั้นแล้วหาได้ไม่ จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 และประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 108

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 318/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งรับคำให้การและการแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบ จำเลยไม่ทราบคำสั่งเพิกถอน จึงไม่อาจคัดค้านได้
ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่สั่งรับคำให้การจำเลยที่ 2 ไว้ แล้วสั่งใหม่เป็นว่า ไม่รับคำให้การจำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การแต่ศาลชั้นต้นไม่ได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 ทราบ ทั้งพฤติการณ์ที่ปรากฏในสำนวนก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ทราบถึงคำสั่งดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจยกขึ้นคัดค้านได้ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ที่ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานโจทก์ต่อมาถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ให้สัตยาบันในคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2624/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำสั่งเงินทดแทนทางไปรษณีย์: การรับเอกสารโดยลูกจ้างถือเป็นการทราบแล้ว
การแจ้งคำสั่งเงินทดแทนตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าจะต้องปฏิบัติประการใด ดังนั้น การที่พนักงานเงินทดแทนส่งคำสั่งเงินทดแทนโดยทางไปรษณีย์ตอบรับไปให้โจทก์ทราบ ณ สำนักทำการงานของโจทก์ และลูกจ้างของโจทก์เป็นผู้ลงชื่อในใบตอบรับคำสั่งนั้นแทนโจทก์ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ทราบข้อความในเอกสารนั้นแล้วเพราะถ้าต้องรอให้โจทก์ลงชื่อรับเอกสารที่ส่งทางไปรษณีย์ด้วยตนเองแล้ว หากโจทก์ไม่อยู่หรือมีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่รับเอกสาร ก็จะไม่มีทางส่งเอกสารนั้นให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2624/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำสั่งเงินทดแทน การรับเอกสารโดยลูกจ้างถือเป็นการทราบของนายจ้าง หากอุทธรณ์เกิน 30 วัน ถือชอบแล้ว
การแจ้งคำสั่งเงินทดแทนตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าจะต้องปฏิบัติประการใด ดังนั้น การที่พนักงานเงินทดแทนส่งคำสั่งเงินทดแทนโดยทางไปรษณีย์ตอบรับไปให้โจทก์ทราบ ณ สำนักทำการงานของโจทก์ และลูกจ้างของโจทก์เป็นผู้ลงชื่อในใบตอบรับคำสั่งนั้นแทนโจทก์ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ทราบข้อความในเอกสารนั้นแล้วเพราะถ้าต้องรอให้โจทก์ลงชื่อรับ เอกสารที่ส่งทางไปรษณีย์ด้วยตนเองแล้ว หากโจทก์ไม่อยู่หรือมีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่รับเอกสาร ก็จะไม่มีทางส่งเอกสารนั้นให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 615/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจดำเนินคดีและการแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลต้องแจ้งคำสั่งให้ชัดเจนและให้โอกาสแก้ไข
โจทก์มอบอำนาจให้บุคคลซึ่งเป็นทนายความดำเนินคดีกับจำเลยได้ทุกอย่าง ผู้รับมอบอำนาจเป็นแต่ตัวแทนเฉพาะการและตั้งทนายความได้ไม่ใช่ตั้งตัวแทนช่วง แต่จะว่าความซักพยานเองอย่างทนายความไม่ได้แม้จำเลยยกขึ้นคัดค้านเมื่อพ้น 8 วันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 27 วรรคสอง ศาลเห็นสมควรก็สั่งแก้ไข โดยให้ผู้รับมอบอำนาจทำใบแต่งตั้งตัวเองเป็นทนายความก่อนพิพากษา ศาลชั้นต้นแจ้งให้โจทก์ทราบเพียงว่าให้นัดฟังผลปฏิบัติและฟังคำพิพากษา ไม่ชัดพอที่จะให้เข้าใจว่าให้โจทก์แก้ไขข้อที่ผิดระเบียบภายในกำหนดเวลาโจทก์ไม่ไปศาลตามนัด จึงถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ได้ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องไม่ชอบ ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลล่างให้พิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำสั่งศาลและการขาดนัด: ศาลมิอาจอ้างหมายเหตุในคำร้องโจทก์เป็นการรับทราบคำสั่งได้
ในคดีอาญา โจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีไปจนกว่า จะจับตัวจำเลยได้ และในท้ายคำร้อง ทนายโจทก์ได้เซ็นที่หมายเหตุว่า ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว ศาลได้มีคำสั่งในวันรุ่งขึ้นว่าให้เลื่อนคดีไป โดยโจทก์ยังไม่ทราบคำสั่งศาล ดังนี้ ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยถือว่าโจทก์ไม่มาตามกำหนดนัดตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166, 181 หาชอบไม่
of 4