คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แบ่งความรับผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อทางละเมิด: การแบ่งความรับผิดของผู้ขับขี่รถแทรกเตอร์และรถโดยสาร กรณีไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร
โจทก์ที่ 1 สามีผู้ตายขับรถแทรกเตอร์มีกระบะพ่วงท้ายผู้ตายนั่งมาด้วยในรถกระบะโดยมิได้ติดโคมไฟท้ายรถกระบะให้มีแสงสว่างสามารถมองเห็นได้ในระยะไกล จำเลยขับรถโดยสารแล่นตามหลังไม่อาจมองเห็นรถที่โจทก์ขับในระยะไกล จึงไม่อาจหยุดรถหรือหลบหลีกได้ทันเกิดชนกันเสียหาย ดังนี้ ถือว่าความเสียหายที่เกิดขึ้น โจทก์ที่ 1มีส่วนประมาทมากกว่าจำเลยจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 1 แต่จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 บุตรของผู้ตาย หนึ่งในสามส่วน(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 676/2524)
การที่จำเลยชดใช้ค่าทำศพให้ ส. ซึ่งมิใช่บิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เป็นการชำระให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าทำศพ ไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298 จำเลยจึงยังต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรผู้ตายที่มีสิทธิเรียกร้องค่าทำศพผู้ตายอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 834/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งความรับผิดในคดีละเมิด: พิจารณาจากการกระทำละเมิดเป็นหลัก ไม่ใช่ความเสียหาย
ในเรื่องละเมิด ข้อที่ว่าฝ่ายไหนจะต้องรับผิดเพียงใดนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442 ประกอบด้วยมาตรา 223 ให้พิจารณาถึงพฤติการณ์ด้วยว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร ต้องถือเอาการกระทำละเมิดมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา ไม่ถือความเสียหายมากน้อยเป็นเกณฑ์ ดังนั้น เมื่อต่างฝ่ายต่างกระทำละเมิดต่อกันและมีส่วนประมาทพอๆ กัน จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 34/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาททั้งสองฝ่ายและการแบ่งความรับผิดในความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
โจทก์ขับรถจักรยานยนต์ชนกับรถยนต์ที่จำเลยขับ ต่างขับด้วยความประมาทเท่ากันโจทก์ได้รับความเสียหาย 58,000 บาท ดังนี้ โจทก์จำเลยจะต้องรับผิดในความเสียหายคนละส่วนเท่ากัน โจทก์จึงควรได้รับค่าเสียจากจำเลยเป็นเงิน 29,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1552/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางแพ่งจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การแบ่งความรับผิดตามส่วน และผลของคำพิพากษาคดีอาญา
ในคดีส่วนแพ่ง ปัญหาที่ว่าคนขับรถของฝ่ายใดประมาทนั้นคู่ความตกลงกันให้ถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา หากศาลสูงพิจารณาคดีถึงที่สุดว่า จำเลยที่ 1 คนขับรถของจำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายผิด จำเลยที่ 2 ยอมใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีถึงที่สุดว่าทั้งสองฝ่ายมีความผิดและลงโทษจำคุก แม้คดีส่วนอาญาศาลพิพากษาว่าเคยขับรถทั้งสองฝ่ายมีความผิด ก็ยังแสดงว่า จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดด้วยอยู่นั่นเอง ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามที่คู่ความตกลงกันแต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 424 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 47 บัญญัติไว้ว่าในการพิพากษาคดีข้อความรับผิดเพื่อละเมิดและกำหนดค่าสินไหมทดแทนในคดีส่วนแพ่ง ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วย ความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งโดยไม่จำต้องคำนึงถึงว่าจำเลยต้อง คำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดทางอาญาหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 และคนขับรถของโจทก์ที่ 2 ต่างมีส่วนกระทำความผิดกรณีต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442 และ มาตรา 223 ซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนสูงต่ำตามส่วน แห่งความยิ่งหย่อนของผู้มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายโดยอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ แม้ในคดีส่วนอาญาพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1และคนขับรถของโจทก์ที่ 2 เท่ากัน ก็เป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษในความผิดทางอาญา จะถือเป็นหลักในการวินิจฉัยความรับผิดทางแพ่งว่าทั้งสองประมาทเท่ากันหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1546/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการขับรถประมาท ศาลแบ่งความรับผิดจำเลยได้ แม้ไม่ใช่ลูกหนี้ร่วม
จำเลยทั้งสองต่างขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ซึ่ง นั่งมาในรถจำเลยที่ 1 เสียหาย ไม่ใช่เป็นลูกหนี้ร่วมตาม มาตรา 432 แต่ศาลแบ่งความรับผิดให้เป็นส่วนของจำเลยแต่ละคนได้ตาม มาตรา 438

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1544/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การแบ่งความรับผิดหลายฝ่าย และขอบเขตความรับผิดของนายจ้าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ค่าเสียหายของโจทก์รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 1,980,000 บาท แต่โจทก์มิได้เรียกร้องเอาเต็มจำนวนดังกล่าว คงติดใจขอเพียง 700,000 บาท กับดอกเบี้ยอีก 45,125 บาท รวม 748,125 บาท ดังนี้ การคิดค่าขึ้นศาลต้องคิดจากจำนวนเงิน 748,125 บาท ตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง
ในคดีอาญาที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้อง ต. ฐานขับรถยนต์โดยประมาทชนรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับ เป็นเหตุให้สามีโจทก์ซึ่งโดยสารมากับรถคันนั้นถึงแก่ความตาย และศาลพิพากษาลงโทษจำคุก ต. คดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ร่วมรับผิดในมูลละเมิดที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ชนกับรถ ต. เป็นเหตุให้สามีโจทก์ถึงแก่ความตายเป็นคดีแพ่ง ดังนี้ ในคดีอาญาดังกล่าวมีประเด็นเพียงว่า ต.ขับรถด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังหรือไม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับจำเลยในคดีแพ่งนี้ซึ่งมิใช่คู่ความในคดีเดิม โจทก์จึงนำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ได้
ในกรณีที่จำเลยกับผู้อื่นต่างคนต่างทำละเมิด มิใช่ร่วมกันทำละเมิดนั้น ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้จำเลย รับผิดตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งความผิดของจำเลยได้
โจทก์ฟ้องจำเลยร่วมกับ ต.ทำละเมิด แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นว่าขอให้แบ่งส่วนความรับผิด แต่เรื่องค่าเสียหายนั้นศาลชอบที่จะกำหนดให้ชำระตามสมควรได้
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ว่าเป็นนายจ้าง ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้าง กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกาก็ตาม เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรให้จำเลยที่ 2 รับผิดน้อยลงศาลฎีกาก็พิพากษาให้มีผลตลอดถึงจำเลยที่ 1 ด้วยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1571/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อทางรถยนต์ - ความรับผิดทางละเมิด - การแบ่งความรับผิด
ผู้ขับรถยนต์ 2 ฝ่ายชนกันโดยต่างประมาทเลินเล่อ ทำให้ผู้นั่งมาในรถเสียหาย ศาลให้ผู้ขับรถทั้ง 2 ฝ่ายรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหายฝ่ายละกึ่ง เพราะมีส่วนแห่งความประมาททัดเทียมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1666/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการจอดรถกีดขวางจราจรและความประมาทของผู้ขับขี่ การแบ่งความรับผิดตามพฤติการณ์
จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นพนักงานของกรมทางหลวงจำเลยที่ 3 ได้ทำการซ่อมทางหลวงและนำรถเคี่ยวยางจอดไว้ในทางเวลากลางคืนโดยไม่จุดไฟไว้ ถือเป็นผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477มาตรา 23 เป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ละเว้นไม่กระทำการอันควรกระทำตามหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นเหตุให้รถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับขี่ไปชนเกิดความเสียหายขึ้น ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดร่วมในผลแห่งการละเมิดด้วย
จำเลยและผู้ตายต่างประมาทด้วยกัน ฝ่ายไหนจะรับผิดเพียงใดนั้นต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์ด้วยว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงใด โจทก์เป็นฝ่ายเสียหายมากแต่เป็นฝ่ายประมาทน้อยกว่า จำเลยเสียหายน้อยแต่ประมาทมากกว่า เห็นควรแบ่งค่าเสียหายออกเป็น 3 ส่วน ให้จำเลยรับผิด 2 ใน 3 ส่วน
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นนี้จะต้องพิจารณาตามสมควรตามความจำเป็นและตามฐานะของผู้ตาย ทั้งต้องพิจารณาถึงประเพณีการทำศพตามลัทธินิยมประกอบด้วย และต้องไม่ใช่รายการที่ฟุ่มเฟือยเกินไป หาใช่ว่าเมื่อจ่ายไปเท่าไรแล้วจะเรียกเอาได้หมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันลูกหนี้ร่วมกัน: ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดทั้งหมด ไม่สามารถแบ่งความรับผิดตามส่วนของลูกหนี้ได้
ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีละเมิดให้โจทก์ จำเลยทั้งสองจึงเป็นลูกหนี้ร่วมกัน มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์เสร็จสิ้นเชิง จำเลยจะแบ่งชำระให้โจทก์เป็นส่วน ๆ เฉพาะของจำเลยแต่ละคนหาได้ไม่ เมื่อความรับผิดร่วมกันของจำเลยทั้งสองต่อโจทก์มีอย่างนี้ ผู้ร้องกับ บ. ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์เสร็จสิ้นเชิงตามคำพิพากษาเช่นเดียวกัน จะให้ผู้ร้องกับ บ. รับผิดใช้ค่าสินไหมให้โจทก์เฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 โดยแบ่งคนละครึ่งกับจำเลยที่ 2 ไม่ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 432 วรรค 3 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยส่วนแบ่งความรับผิดในเมื่อมีการเรียกร้องในระหว่างผู้ที่ต้องรับผิดร่วมกัน คือ จำเลยทั้งสองด้วยกันเอง มิใช่บทบัญญัติให้จำเลยทั้งสองซึ่งต้องรับผิดร่วมกัน แบ่งแยกกันใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์รับไปตามส่วนของจำเลยแต่ละคน ดังนั้นผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 จะอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 432 วรรค 3 นี้มาอ้างว่าผู้ร้องมีความรับผิดเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การแบ่งความรับผิดตามส่วนจากพฤติการณ์ของคู่กรณี
เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นโดยประมาทเลินเล่อของโจทก์จำเลยด้วยกันทั้งสองฝ่ายแล้ว กฎหมายให้ศาลเป็นผู้กำหนดค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายตามส่วนโดยอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณว่า ความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร
ในการคำนวณค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนี้นั้น ให้เอาค่าเสียหายของทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมารวมกัน แล้วแย่งส่วนความรับผิดในค่าเสียหายตามส่วนที่ศาลเห็นว่าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร
of 4