พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5183/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสเมื่อยังไม่ได้หย่า การแยกกันอยู่ไม่ได้ถือเป็นการแบ่งสินสมรส
คดีฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรสเป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัวไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่มาตรา 1533 บัญญัติว่า เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน การที่โจทก์จำเลยยังไม่ได้หย่ากันเพียงแต่เคยแยกกันอยู่ ถือไม่ได้มีแบ่งสินสมรสกันแล้วจึงต้องแบ่งสินสมรสให้โจทก์จำเลยได้ส่วนเท่ากันตามนัยมาตรา 1533 ดังกล่าว.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่มาตรา 1533 บัญญัติว่า เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน การที่โจทก์จำเลยยังไม่ได้หย่ากันเพียงแต่เคยแยกกันอยู่ ถือไม่ได้มีแบ่งสินสมรสกันแล้วจึงต้องแบ่งสินสมรสให้โจทก์จำเลยได้ส่วนเท่ากันตามนัยมาตรา 1533 ดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3875/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสเมื่อหย่าต้องแบ่งเท่ากันตามสัดส่วนทรัพย์สินทั้งหมด ไม่ใช่หักกลบลบกัน
การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภรรยาที่หย่ากันโดยคำพิพากษาต้องแบ่งตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 บัญญัติไว้ คือแบ่งสินสมรสให้ชายหญิงได้ส่วนเท่ากัน จะแบ่งโดยวิธีตีราคาสินสมรสทั้งหมด แล้วคิดคำนวณส่วนที่แต่ละฝ่ายจะได้รับแล้วนำมาหักกลบลบกันหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3875/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสเมื่อหย่าต้องแบ่งให้ได้ส่วนเท่ากันตามกฎหมาย ไม่ใช่วิธีหักกลบลบกัน
การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภรรยาที่หย่ากันโดยคำพิพากษาต้องแบ่งตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 บัญญัติไว้ คือแบ่งสินสมรสให้ชายหญิงได้ส่วนเท่ากัน จะแบ่งโดยวิธีตีราคาสินสมรสทั้งหมด แล้วคิดคำนวณส่วนที่แต่ละฝ่ายจะได้รับแล้วนำมาหักกลบลบกันหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3682/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสระหว่างภริยาหลวงและภริยาน้อยเมื่อสามีมีหลายภริยา โดยให้แบ่งเท่าเทียมตามหลักความยุติธรรม
สามียกที่ดินให้แก่ภริยาขณะยังอยู่กินฉันสามีภริยาอยู่ ทั้งตามพฤติการณ์ไม่พอฟังว่าฝ่ายภริยาไม่ต้องการส่วนแบ่งสินสมรสอีก ดังนี้ จะถือว่ามีการแบ่งสินสมรสเสร็จสิ้นแล้วหาได้ไม่
การแบ่งสินสมรสในกรณีชายมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายหลายคนและต่างมีสินเดิมด้วยกัน กฎหมายลักษณะผัวเมียมิได้มีบทบังคับว่าภริยาหลวงกับภริยาน้อยมีส่วนในสินสมรสต่างกันอย่างไร ตามความยุติธรรมภริยาหลวงและภริยาน้อยควรได้ส่วนแบ่งเท่ากัน (อ้างฎีกาที่ 495/2463 และที่ 1691/2509)
การแบ่งสินสมรสในกรณีชายมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายหลายคนและต่างมีสินเดิมด้วยกัน กฎหมายลักษณะผัวเมียมิได้มีบทบังคับว่าภริยาหลวงกับภริยาน้อยมีส่วนในสินสมรสต่างกันอย่างไร ตามความยุติธรรมภริยาหลวงและภริยาน้อยควรได้ส่วนแบ่งเท่ากัน (อ้างฎีกาที่ 495/2463 และที่ 1691/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสกรณีแต่งงานก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการตกตามพินัยกรรม
สมรสกันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ใช้บังคับ โดยฝ่ายหญิงมีสินเดิม ฝ่ายชายไม่มีสินเดิม ต่อมาผัวตายจากไปเมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้ว กรณีเช่นนี้ส่วนแบ่งสินสมรสได้แก่เมีย 2 ส่วน ได้แก่ผัว 1 ส่วนตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่ 68 เมื่อผัวทำพินัยกรรมยกทรัพย์ที่เป็นสินสมรสให้บุตร สินสมรสส่วนของผัวนั้นย่อมตกได้แก่บุตรตามพินัยกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคุ้มครองประโยชน์จากค่าเช่าในคดีหย่าและแบ่งสินสมรส ต้องฟ้องบังคับค่าเช่าก่อน
ฟ้องขอหย่าและแบ่งที่ดินสินสมรสและห้องแถว มิได้ขอบังคับ ค่าเช่าคำขอให้กำหนดวิธีการชั่วคราวให้นำเงินค่าเช่ามาวางศาล จึงไม่ใช่กรณีที่จะบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 205/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างทนายความ: พิจารณาจากผลสำเร็จของงาน แม้มีการฟ้องคดีอาญาควบคู่ไปด้วย
จำเลยตกลงว่าจ้างโจทก์เป็นทนายความฟ้อง อ.ขอหย่าและแบ่งสินสมรสทุนทรัพย์ 697,200 บาท ให้ดำเนินคดีจนถึงที่สุด โดยตกลงให้ค่าจ้าง 60,000 บาท ดังนี้ตามพฤติการณ์ที่โจทก์จำเลยปฏิบัติต่อกันเห็นได้ว่าจำเลยจะชำระค่าจ้าง 60,000 บาท ดังนี้ ตามพฤติการณ์ที่โจทก์จำเลยปฏิบัติต่อกันเห็นได้ว่าจำเลยจะชำระค่าจ้างว่าความให้โจทก์เมื่อจำเลยได้รับชำระเงินจาก อ. การที่โจทก์ยื่นฟ้อง อ. และคดียุติด้วยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยและ อ. ตกลงหย่าขาดจากกัน อ. ยอมแบ่งสินสมรสให้จำเลย 600,000 บาท ซึ่งศาลพิพากษาไปตามยอม ต่อมาเมื่อ อ. ผิดสัญญายอม โจทก์ดำเนินการบังคับคดี แก้ต่างในคดีร้องขัดทรัพย์และฟ้อง อ. เป็นคดีล้มละลาย แม้จำเลยจะมอบให้ ค. เป็นทนายฟ้อง อ. เป็นคดีอาญาเรื่องฉ้อโกงเจ้าหนี้ และ อ. ยอมชำระเงินให้จำเลย ก็ถือได้ว่าการทำงานของโจทก์มีส่วนเป็นผลให้งานสำเร็จเป็นส่วนใหญ่เพราะที่ ค. ฟ้องคดีอาญาก็มีส่วนให้อ. ชำระเงินตามยอมด้วย จึงสมควรกำหนดค่าจ้างให้โจทก์ 40,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1219/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำเรื่องแบ่งสินสมรส แม้ทรัพย์ต่างกัน หากประเด็นและเหตุวินิจฉัยเดิมคล้ายกัน ถือฟ้องซ้ำตามมาตรา 148
คดีแรกจำเลยฟ้องโจทก์ขอหย่าและแบ่งสินสมรส ศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้วให้หย่า และแบ่งสินสมรสตามบัญชีทรัพย์สินท้ายฟ้องไปแล้ว ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีที่สองว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสรวมอยู่ในโฉนดที่ดินสินสมรสแปลงหนึ่ง ซึ่งเจ้าหนี้ฟ้องบังคับจำนองขายทอดตลาดและโจทก์เป็นผู้ซื้อได้ ขอให้โอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทเป็นชื่อของโจทก์ ศาลวินิจฉัยว่า ที่พิพาทมิใช่ส่วนหนึ่งของที่ดินตามโฉนดที่เจ้าหนี้ฟ้องบังคับจำนอง ซึ่งโจทก์ซื้อมาพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด โจทก์จึงมาฟ้องคดีนี้ว่าที่พิพาทเป็นสินสมรส ที่โจทก์จำเลยร่วมกันซื้อมาระหว่างสมรส ยังมิได้แบ่งในคดีแรก ขอแบ่ง ดังนี้ ฟ้องคดีหลังนี้อ้างเหตุคนละอย่างกับคดีที่สอง จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีที่สอง แต่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแรก เพราะแม้ทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องคดีหลังนี้จะเป็นคนละอย่างกับคดีแรก แต่เป็นการเรียกทรัพย์จากจำเลยมาแบ่งเป็นสินสมรสเช่นเดียวกัน เป็นประเด็นเดียวกับคดีแรก ซึ่งได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุเดียวกัน จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นชี้ขาดได้
ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นชี้ขาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1476/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสเมื่อหย่า: การแบ่งที่ดินชำระแล้ว, สินเดิมสูญเสีย, หนี้ระหว่างสมรส
ภริยาทำสัญญาจะซื้อที่ดินชำระราคาแล้วบางส่วน เมื่อหย่ากันสิทธิตามสัญญานี้เป็นสินสมรสที่จะต้องแบ่งกันด้วย
สินเดิมของภริยาซึ่งสูญไประหว่างสมรส การเอาสินสมรสใช้ต้องคิดตามราคาเดิม ไม่ใช่ราคาเมื่อหย่ากัน
การแบ่งสินสมรสเมื่อหย่ากันไม่ต้องหักใช้หนี้ที่เกิดระหว่างสมรสและยังไม่ได้ชำระเสียก่อน เป็นเรื่องที่จะต้องรับผิดร่วมกันอยู่ และเป็นไปตามมาตรา 1518
สินเดิมของภริยาซึ่งสูญไประหว่างสมรส การเอาสินสมรสใช้ต้องคิดตามราคาเดิม ไม่ใช่ราคาเมื่อหย่ากัน
การแบ่งสินสมรสเมื่อหย่ากันไม่ต้องหักใช้หนี้ที่เกิดระหว่างสมรสและยังไม่ได้ชำระเสียก่อน เป็นเรื่องที่จะต้องรับผิดร่วมกันอยู่ และเป็นไปตามมาตรา 1518
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1409/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีแบ่งสินสมรสก่อนคดีหย่าถึงที่สุด แม้จำเลยอุทธรณ์คดีหย่าแต่ไม่แจ้งต่อศาลในคดีแบ่งสินสมรส
เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ขอแบ่งสินสมรสจากจำเลย ก็ได้อ้างถึงคดีอื่นที่โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยว่าศาลพิพากษาให้หย่ากันแล้วตามคดีแดงที่ 91/2512 ของศาลชั้นต้น แต่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้เลยว่า คดีฟ้องหย่าดังกล่าวจำเลยได้อุทธรณ์อยู่ คงต่อสู้แต่ในเรื่องทรัพย์และการแบ่งทรัพย์ และยังอ้างถึงสินสมรสอีก 3 รายการ ที่โจทก์มิได้ฟ้อง ว่าโจทก์ควรนำมาแบ่งกันให้เสร็จไป โดยมีคำขอให้ศาลเปรียบเทียบให้คดีเสร็จไปด้วย เมื่อศาลชั้นต้นสอบถามข้อเท็จจริง และโจทก์จำเลยตกลงกันได้ในทรัพย์บางรายการแล้ว ศาลจึงสั่งงดสืบพยาน และพิพากษาให้แบ่งทรัพย์ที่พิพาทกันนี้ ซึ่งถึงที่สุดแล้ว จำเลยจะมาขอให้งดการบังคับคดีโดยอ้างว่าขอให้รอคดีฟ้องหย่าถึงที่สุดเสียก่อนไม่ได้ กรณีไม่เข้าเหตุที่ศาลจะงดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292, 293, 294 หรือ มาตรา 296 ประการใด