พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3099/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งสิทธิการแบ่งแยกที่ดินอ้างอิงข้อตกลงประกันหนี้ การปฏิเสธข้ออ้างชัดแจ้งชอบตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินพิพาท เนื้อที่ 15 ไร่เศษ โดยโจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ 8 ไร่นอกนั้นเป็นของจำเลย โจทก์ขอแบ่งแยกที่ดินพิพาท จำเลยเพิกเฉยจึงขอบังคับจำเลยให้แบ่งที่ดินพิพาทตามส่วนแก่โจทก์ จำเลยให้การว่าเดิมโจทก์จำเลยมีหนี้สินกันอยู่ ต่อมาปี 2529 จำเลยตกลงโอนที่ดินพิพาทบางส่วนเพื่อประกันการชำระหนี้โดยมีภาระผูกพันว่าหากจำเลยหาเงินที่เป็นหนี้พร้อมดอกเบี้ยชำระคืนโจทก์ โจทก์ยอมโอนที่ดินพิพาทคืนแก่จำเลย จำเลยขอชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์โจทก์กลับปฏิเสธ โจทก์ไม่สุจริต ไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้ คำให้การจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ว่า โจทก์ไม่มีสิทธิขอแบ่งแยกที่ดินพิพาท เพราะมีข้อตกลงโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ แต่มีภาระผูกพันว่าหากจำเลยชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ โจทก์จะโอนที่ดินพิพาทคืนแก่จำเลย และจำเลยได้ขอชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยต่อโจทก์แล้วแต่โจทก์ไม่ยอม จึงเป็นคำให้การที่ปฏิเสธโดยชัดแจ้ง รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น เป็นคำให้การที่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสองส่วนจำเลยเป็นหนี้โจทก์ค่าอะไร จำนวนเท่าใดดอกเบี้ยอัตราเท่าใดและมีข้อตกลงเรื่องหนี้สินกันจริงดังจำเลยอ้างเป็นเหตุปฏิเสธต่อโจทก์จริงหรือไม่ เป็นเรื่องรายละเอียดที่จำเลยมีสิทธินำสืบในชั้นพิจารณาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม ไม่ต้องแสดงเจตนาครอบครองเกิน 10 ปี หากมีการครอบครองเป็นส่วนสัดแล้ว
คำฟ้องขอแบ่งแยกที่ดินกรรมสิทธิ์รวม เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมและได้ครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดแล้ว โจทก์ไม่จำต้องบรรยายฟ้องอีกว่าได้ครอบครองที่ดินโดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาเกิน 10 ปี เพื่อให้เห็นว่าได้เปลี่ยนเจตนาการครอบครอง และในคำขอท้ายฟ้องก็ไม่ต้องขอให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ หรือขอให้นำทรัพย์ออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งกันหากจำเลยไม่ยินยอมแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมแต่อย่างใด ที่ดินส่วนของโจทก์ เจ้าของเดิม ได้เคยยื่นคำร้องขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ให้เป็นของ ห.ไว้แล้วแต่ยังไม่ได้ดำเนินการห.ก็นำมาขายให้โจทก์เสียก่อนเมื่อโจทก์เข้าครอบครองก็ได้ปลูกบ้านทำรั้วเป็นส่วนสัดตลอดมา จำเลยทุกคนซึ่งเป็นเจ้าของรวมไม่คัดค้านดังนี้ เมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถือโฉนดที่ดินพิพาทไปแบ่งแยก และไม่ปรากฏว่าการแบ่งแยกดังกล่าวได้กระทำในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควร ถึงแม้โจทก์จะมิได้บอกกล่าวแก่จำเลยอื่นก่อนฟ้องโจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยทุกคนได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม: สิทธิครอบครองเป็นสัดส่วนและการไม่จำเป็นต้องแสดงเจตนาใหม่
ในคดีฟ้องขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม เมื่อโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์รวมมาโดย ล.เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมเดิมได้โอนขายเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ และโจทก์ได้เข้าครอบครองเป็นสัดส่วนตลอดมา เช่นนี้ หาใช่เป็นการกล่าวอ้างว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์มาด้วยการครอบครองปรปักษ์ไม่ ดังนั้น โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าได้เปลี่ยนเจตนาการครอบครอง และคำขอท้ายฟ้องก็ไม่จำต้องขอให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ หรือขอให้นำทรัพย์ออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งปันกันแต่อย่างใด โจทก์ฟ้องอ้างว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยในที่ดินมีโฉนดตามฟ้อง และได้ครอบครองเป็นสัดส่วนตลอดมาตามรูปที่ดินท้ายฟ้อง โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยไปทำการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมแล้ว จำเลยไม่ยินยอม ขอให้ศาลพิพากษาแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมจำเลยให้การว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยจริงแต่ปฏิเสธว่าโจทก์มิได้ครอบครองเป็นสัดส่วน รูปที่ดินท้ายฟ้องไม่ถูกต้อง และจำเลยไม่เคยได้รับคำบอกกล่าวให้ไปแบ่งแยก ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า "โจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินตามเส้นสีดำ หมายสีเขียว หมายเลข 4 ในแผนที่พิพาทหรือไม่" จึงเป็นการถูกต้อง มิได้ทำให้จำเลยเสียเปรียบแต่อย่างใด ส่วนประเด็นว่าโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยไปแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมแล้วหรือไม่ นั้น แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้กำหนดเป็นประเด็นพิพาทไว้ก็ตาม แต่ก็ได้ความว่าก่อนที่ ล. จะโอนกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ ล. ได้เคยมีการยื่นคำร้องขอแบ่งแยกที่ดินทางทิศเหนือเป็นของ ล. แล้ว แต่ยังไม่ได้ดำเนินการ ล.ก็ขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนที่ขอแบ่งแยกให้แก่โจทก์เสียก่อน และโจทก์ได้เข้าครอบครองโดยปลูกบ้านและทำรั้วเป็นสัดส่วนตามรูปที่ดินในแผนที่พิพาทตลอดมาโดยจำเลยมิได้คัดค้าน เมื่อโจทก์ยืนยันว่าได้บอกกล่าวให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ถือโฉนดที่ดินไปแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมแล้ว และไม่ปรากฏว่าการขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมนี้ได้กระทำในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควร โจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมและศาลชั้นต้นพิพากษาไปตามรูปคดีได้ ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษานอกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5963/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินจากคำพิพากษาและมรดก: ไม่ต้องจดทะเบียนมรดกก่อนแบ่งแยกได้
สิทธิในที่ดินที่โจทก์ทั้งสองได้มาในฐานะเป็นผู้ชนะคดีตามคำพิพากษาอันถึงที่สุด และข้อตกลงในชั้นบังคับคดีระหว่างโจทก์ทั้งสองกับผู้แพ้คดีนั้นเป็นการได้สิทธิโดยผลของคำพิพากษา จึงแตกต่างกับสิทธิในที่ดินที่โจทก์ทั้งสองได้มาโดยทางมรดกในฐานะที่เป็นทายาท ซึ่งถือว่าโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของที่ดินแทนที่เจ้ามรดก แม้การได้สิทธิในที่ดินดังกล่าวตามคำพิพากษาโจทก์ทั้งสองจะอ้างว่าเป็นทายาทของเจ้ามรดกก็หาใช่การได้มาซึ่ง สิทธิในที่ดินโดยทางมรดกโดยทั่วไปอันจะต้องดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามลำดับขั้นตอนตาม ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 81 ประกอบด้วยกฎกระทรวงฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2516) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 และระเบียบของกรมที่ดินว่าด้วยการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก พ.ศ. 2516 ให้เสร็จสิ้นเสียชั้นหนึ่งก่อนไม่ โจทก์ทั้งสองชอบที่จะขอจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมได้ทันที
แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็เห็นสมควรไม่หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ได้
แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็เห็นสมควรไม่หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 227/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินโดยอาศัยสิทธิของผู้อื่น แม้ครอบครองเกิน 10 ปี ก็ไม่ทำให้ได้กรรมสิทธิ์
จำเลยที่ ๑ ทำหนังสือสัญญายกที่ดินมีโฉนด ให้โจทก์ และรับรองว่าจะจัดการแบ่งแยกให้ในภายหน้า หากไม่แบ่งให้ตาม สัญญา ยอมให้โจทก์ฟ้องบังคับตาม สัญญา ข้อสัญญาดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ ๑ประสงค์จะยกที่ดินให้โจทก์โดย การทำนิติกรรมและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ หาใช่เป็นกรณีสละการครอบครองไม่เมื่อการให้รายนี้ยังไม่ได้จดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่นิติกรรมให้ก็ย่อมไม่สมบูรณ์ตาม กฎหมาย การที่โจทก์เข้าครอบครองที่พิพาทจึงเป็นการครอบครองโดย อาศัยสิทธิของจำเลยที่ ๑ อันเป็นการยึดถือที่พิพาทแทนจำเลยที่ ๑ มิใช่เป็นการยึดถือในฐานะ เป็นเจ้าของ แม้โจทก์ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาเกินสิบปี โจทก์ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๖๒ ที่ห้ามฟ้องบุพการีของตน เป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาเป็นบทกฎหมายที่จำกัดสิทธิต้อง ตีความโดย เคร่งครัด จึงห้ามเฉพาะ บุตรที่ชอบด้วย กฎหมายฟ้องบุพการีของตน เท่านั้น.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๖๒ ที่ห้ามฟ้องบุพการีของตน เป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาเป็นบทกฎหมายที่จำกัดสิทธิต้อง ตีความโดย เคร่งครัด จึงห้ามเฉพาะ บุตรที่ชอบด้วย กฎหมายฟ้องบุพการีของตน เท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1950/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ร่วม: การครอบครองปรปักษ์ การยกสิทธิ และการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์มีชื่อในโฉนดร่วมกับจำเลยและผู้มีชื่อตามที่ระบุไว้ในคำฟ้องโดยโจทก์ได้รับการยกให้จากมารดา และโจทก์ได้เข้าครอบครองที่พิพาทปรากฏเขตตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้องเป็นส่วนสัดมากกว่า 10 ปี จำเลยไม่ยอมแย่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่โจทก์ครอบครองให้โจทก์ดังนี้เป็นฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม
แม้ฟ้องโจทก์จะบรรยายว่า โฉนดที่พิพาทมีชื่อโจทก์จำเลยล. และ ท. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน แต่ในทางพิจารณาได้ความว่ามีชื่อ ร. ในโฉนดที่พิพาทด้วย ก็ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงที่ได้ความในทางพิจารณาแตกต่างไปจากฟ้องเพราะ ร. ซึ่งมีชื่อในโฉนดที่พิพาทด้วยเป็นที่จำเลยได้รับมรดกที่พิพาทจากบิดามารดาเช่นเดียวกับจำเลยแต่บวชเป็นพระภิกษุ ไม่เคยครอบครองที่พิพาทและได้ยกกรรมสิทธิ์ส่วนของตนให้จำเลยก่อนโจทก์ฟ้องแล้ว ดังนั้นจึงหาเกี่ยวกับที่พิพาทในส่วนที่โจทก์ได้รับการยกให้และครอบครองมากกว่า 10 ปีไม่จึงไม่ทำให้ฟ้องเสียไปแต่อย่างใด เมื่อจำเลยคัดค้านการแบ่งแยกโฉนดพิพาท ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.
แม้ฟ้องโจทก์จะบรรยายว่า โฉนดที่พิพาทมีชื่อโจทก์จำเลยล. และ ท. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน แต่ในทางพิจารณาได้ความว่ามีชื่อ ร. ในโฉนดที่พิพาทด้วย ก็ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงที่ได้ความในทางพิจารณาแตกต่างไปจากฟ้องเพราะ ร. ซึ่งมีชื่อในโฉนดที่พิพาทด้วยเป็นที่จำเลยได้รับมรดกที่พิพาทจากบิดามารดาเช่นเดียวกับจำเลยแต่บวชเป็นพระภิกษุ ไม่เคยครอบครองที่พิพาทและได้ยกกรรมสิทธิ์ส่วนของตนให้จำเลยก่อนโจทก์ฟ้องแล้ว ดังนั้นจึงหาเกี่ยวกับที่พิพาทในส่วนที่โจทก์ได้รับการยกให้และครอบครองมากกว่า 10 ปีไม่จึงไม่ทำให้ฟ้องเสียไปแต่อย่างใด เมื่อจำเลยคัดค้านการแบ่งแยกโฉนดพิพาท ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209-210/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแย่งการครอบครองที่ดิน น.ส.3ก อายุความฟ้องคืนการครอบครอง และหน้าที่ในการจดทะเบียนแบ่งแยก
การแย่งการครอบครองที่ดินที่มี น.ส.3 ก. แม้ผู้ถูกแย่งการครอบครองจะหมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองแล้วก็ตาม ผู้ถูกแย่งการครอบครองก็ไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมที่จะต้องจดทะเบียนแบ่งแยกให้ จึงฟ้องบังคับขอให้ผู้ถูกแย่งการครอบครองจดทะเบียนให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3619/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีบุกรุกมรดก: ทายาทมีสิทธิฟ้องได้แม้ไม่ได้รับมอบอำนาจจากทายาทอื่น หากมรดกยังไม่ได้แบ่งแยก
บิดาโจทก์ถึงแก่กรรมโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ที่พิพาทส่วนของบิดาโจทก์จึงเป็นมรดกตกได้แก่ทายาท แม้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกผู้หนึ่งจะมิได้รับมอบอำนาจจากทายาทอื่น แต่ที่พิพาทยังมิได้แบ่งแยกให้เป็นของผู้ใด โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้บุกรุกที่พิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2058/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบหักล้างเอกสารสัญญาซื้อขาย กรณีอ้างหลงเชื่อคำกล่าวอ้างเพื่อความสะดวกในการแบ่งแยกโฉนด
จำเลยต่อสู้ว่า การที่ยอมลงชื่อในสัญญาซื้อขายที่ดินเพราะหลงเชื่อคำของโจทก์ที่อ้างว่าเพื่อสะดวกแก่การแบ่งแยกซึ่งเท่ากับเป็นการอ้างว่าหนี้ตามสัญญาไม่สมบูรณ์ จำเลยมีสิทธิที่จะนำสืบหักล้างเอกสารนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความในที่ดินแปลงเดียวกัน แม้ยังมิได้แบ่งแยก
โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนหนึ่งของโฉนดโดยการครอบครองที่ดินนอกนั้นเป็นของจำเลยล้อมรอบที่ดินส่วนของโจทก์อยู่ แม้ที่ดินของโจทก์จำเลยอยู่ในโฉนดเดียวกันแต่เมื่อโจทก์จำเลยแยกครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินคนละแปลงเป็นส่วนสัดทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินส่วนของจำเลยย่อมตกเป็นทางภารจำยอม แก่ที่ดินส่วนของโจทก์โดยอายุความได้