พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 315/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาปราณีประนอมสมบูรณ์ แม้ไม่ได้ตกลงเรื่องแบ่งแยกโฉนด ศาลสั่งแบ่งนาตามสัญญา
สามีภรรยาทำสัญญาแบ่งที่ดินต่อกัน เมื่อยังไม่มีการบอกล้างสัญญานั้นก็คงสมบูรณ์โจทก์ฟ้องว่าได้ทำสัญญาแบ่งที่ดินกับจำเลย แล้วจำเลยบุกรุกส่วนของโจทก์ให้ห้ามและแบ่งแยกโฉนดจำเลยต่อสู้ว่า โจทก์เป็นภรรยา ในที่สุดคู่ความตกลงขอให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อเดียวว่า สัญญานั้นสมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่ ดังนี้ย่อมหมายความว่าเมื่อสัญญาใช้ได้แล้ว ก็ต้องบังคับตามสัญญานั้นด้วย แต่การแบ่งแยกโฉนดไม่มีสัญญาและไม่มีคำท้า
ศาลจะให้แบ่งแยกโฉนดด้วยไม่ได้
ศาลจะให้แบ่งแยกโฉนดด้วยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6862/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับจำนองที่ดินหลังแบ่งแยก: แม้แบ่งแยกโฉนดจำนองยังคงครอบคลุมทุกแปลง
คำฟ้องโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญากู้เงินโจทก์ โดยจำเลยที่ 3 นำที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 68776 ที่พิพาท (ปัจจุบันได้แบ่งแยกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 103578, 103579 และ 103580) มาจดทะเบียนจำนองไว้ต่อโจทก์ และคำขอบังคับตามคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 โจทก์ขอให้บังคับจำนองโฉนดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้โจทก์ ปัญหาการแบ่งแยกโฉนดที่ดินพิพาท จึงเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่รับวินิจฉัยอ้างว่าโจทก์เพิ่งหยิบยกและส่งสำเนาโฉนดที่ดินพิพาทฉบับที่มีการแยกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 103578, 103579 และ 103580 ในชั้นอุทธรณ์จึงไม่ชอบ
ภายหลังจำเลยที่ 1 และที่ 3 จำนองที่ดินพิพาทแล้วมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินที่พิพาทออกเป็นแปลงย่อยอีก 3 แปลง ซึ่งที่ดินที่แบ่งแยก บุคคลใดรับโอนไปผู้รับจำนองติดตามไปบังคับจำนองได้ เพราะเป็นทรัพย์สินซึ่งจำนองอยู่เดิม แม้จะแบ่งออกเป็นหลายส่วนจำนองยังครอบไปถึงส่วนเหล่านั้นหมดทุกส่วน นอกจากนี้ไม่ปรากฏว่าที่ดินโฉนดที่ดินพิพาทโจทก์ผู้รับจำนองยินยอมจดทะเบียนปลอดจำนอง
เมื่อคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 เป็นคำขอให้บังคับจำนองที่ดินโฉนดที่ดินที่พิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบังคับจำนองที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 68776 ที่พิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 717
ภายหลังจำเลยที่ 1 และที่ 3 จำนองที่ดินพิพาทแล้วมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินที่พิพาทออกเป็นแปลงย่อยอีก 3 แปลง ซึ่งที่ดินที่แบ่งแยก บุคคลใดรับโอนไปผู้รับจำนองติดตามไปบังคับจำนองได้ เพราะเป็นทรัพย์สินซึ่งจำนองอยู่เดิม แม้จะแบ่งออกเป็นหลายส่วนจำนองยังครอบไปถึงส่วนเหล่านั้นหมดทุกส่วน นอกจากนี้ไม่ปรากฏว่าที่ดินโฉนดที่ดินพิพาทโจทก์ผู้รับจำนองยินยอมจดทะเบียนปลอดจำนอง
เมื่อคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 เป็นคำขอให้บังคับจำนองที่ดินโฉนดที่ดินที่พิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบังคับจำนองที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 68776 ที่พิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 717
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7780/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้มีสัญญาซื้อขายแต่ไม่ดำเนินการแบ่งแยกโฉนด และที่ดินใช้เป็นสุสาน
แม้หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตอนท้ายระบุว่า ผู้จะขายจะไปยื่นคำขอแบ่งขายให้แก่ผู้จะซื้อที่สำนักงานที่ดินภายในกำหนดสองปีนับแต่วันทำหนังสือก็ตาม แต่โจทก์ที่ 2 และ บ. กับจำเลยทั้งห้าปล่อยเวลาล่วงเลยไปนานโดยมิได้ดำเนินการเพื่อแบ่งแยกโฉนด แสดงว่าคู่กรณีไม่ได้คำนึงถึงการที่จะทำการแบ่งแยกโฉนดที่ดินให้ถูกต้องตามกฎหมายกันต่อไป ก่อนทำหนังสือสัญญาดังกล่าวจำเลยทั้งห้านำศพมารดาและบิดาไปฝังไว้ในบริเวณที่ดินพิพาท ต่อมาโจทก์ที่ 2 และ บ. นำศพญาติของโจทก์ทั้งสองจำนวน 15 ศพ ไปฝังไว้เป็นแนวเดียวกัน ตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทข้อ 1 ระบุไว้ชัดว่าจำเลยทั้งห้าแบ่งขายที่ดินทางด้านทิศใต้ตามที่ทำฮวงซุ้ยไว้แล้วอยู่ตรงกลางใกล้กับทางด้านทิศตะวันตก (ไม่สุดแนวเขต) จำนวน 2 ไร่ถ้วน แสดงว่าก่อนหน้านี้จำเลยทั้งห้าใช้บริเวณที่ดินพิพาทเป็นสุสานฝังศพบิดามารดาจำเลยทั้งห้าอยู่แล้ว ทั้งตามลักษณะบริเวณที่ดินพิพาทซึ่งทำฮวงซุ้ยไว้แล้วนั้นเป็นที่ฝังศพเฉพาะคนตระกูลของโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งห้า โดยฝังศพไว้ในลักษณะถาวร บนหลุมฝังศพมีการก่อปูนซีเมนต์ไว้อย่างมั่นคงแข็งแรง เมื่อถึงวันเช็งเม้งอันเป็นวันเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ญาติผู้ตายคือฝ่ายโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งห้าต่างไปเคารพศพทุกปี อันเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ชาวจีนทั่วไปต้องปฏิบัติตลอดไป โดยสภาพย่อมไม่มีการขุดศพออกจากที่ดินพิพาทแต่อย่างใด จึงไม่อาจให้ความยินยอมหรืออนุญาตกันได้ เพราะหากเจ้าของที่ดินไม่ยินยอมหรือไม่อนุญาตเมื่อใดก็จะต้องขุดศพออกจากที่ดินเมื่อนั้น ซึ่งจำเลยทั้งห้ารู้ข้อเท็จจริงดังกล่าวอยู่แล้ว การที่จำเลยทั้งห้ารับเงินค่าซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่ 2 และ บ. ครบถ้วนแล้วในวันทำสัญญา และยินยอมให้โจทก์ที่ 2 และ บ. นำศพญาติของโจทก์ที่ 2 และ บ. ฝังไว้ในที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2506 ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าจำเลยทั้งห้าสละการครอบครองที่ดินพิพาทแก่โจทก์ที่ 2 และ บ. โดยเด็ดขาด โจทก์ที่ 2 และ บ. ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ เมื่อ บ. ถึงแก่ความตาย โจทก์ที่ 1 ร่วมกับโจทก์ที่ 2 ครอบครองที่ดินพิพาทโดยใช้เป็นสุสานฝังศพหรือฮวงซุ้ยติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382