พบผลลัพธ์ทั้งหมด 279 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากสัญญากู้ยืมเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน ไม่ถือเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยหากเป็นการแปลงหนี้โดยชอบ
จำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงิน ยังมิได้ชำระหนี้การที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้แปลงหนี้เป็นหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวนหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจึงเป็นหนี้ใหม่ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ในสัญญาขายลดและในตั๋วสัญญาใช้เงินได้ ไม่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยซึ่งต้องห้ามตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2887/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 และขอบเขตการวินิจฉัยนอกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกู้เงินโจทก์ตามหนังสือสัญญากู้เงินท้ายฟ้องและได้ชำระคืนบางส่วนแล้ว จำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ที่เหลือให้โจทก์ จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กู้เงินโจทก์และไม่ได้รับเงินจากโจทก์ ทั้งไม่เคยชำระเงินให้โจทก์ตามฟ้อง ที่จำเลยเขียนสัญญากู้เงินตามฟ้องให้โจทก์เพราะโจทก์ทวงถามให้ผู้กู้รายอื่นหลายคนชำระหนี้และมีการโต้เถียงกัน จึงได้เขียนสัญญากู้เงินตามฟ้องเพื่อตัดปัญหาความยุ่งยากและเดือดร้อน คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินตามหนังสือสัญญากู้เงินให้แก่โจทก์หรือไม่ เพียงใด การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า จำเลยได้ทำหนังสือสัญญากู้เงินฉบับพิพาทให้ไว้ต่อโจทก์แทนลูกหนี้คนอื่นหลายราย กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยยอมตนเข้าเป็นลูกหนี้เงินกู้แทนลูกหนี้รายอื่นหลายรายและไม่ปรากฏว่ามีการขืนใจลูกหนี้เดิม การทำหนังสือสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์และจำเลยมีลักษณะเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ เป็นการวินิจฉัยว่าหนังสือสัญญากู้เงินฉบับพิพาทมีมูลหนี้มาจากการที่จำเลยยอมตนเข้าเป็นลูกหนี้เงินกู้แทนลูกหนี้รายอื่นหลายรายโดยไม่ปรากฏว่ามีการขืนใจลูกหนี้เดิม จึงเป็นการวินิจฉัยไปตามประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี หาเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2887/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350 ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกู้เงินโจทก์และได้ชำระคืนบางส่วนแล้วจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ที่เหลือให้โจทก์ จำเลยให้การว่า ไม่ได้กู้เงินโจทก์ ที่จำเลยเขียนสัญญากู้เงินให้โจทก์เพราะโจทก์ทวงถามให้ผู้กู้เงินรายอื่นหลายคนชำระหนี้และมีการโต้เถียงกันเพื่อตัดปัญหาความยุ่งยากและเดือดร้อน คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยจะต้องชำระเงินตามสัญญากู้เงินให้แก่โจทก์หรือไม่ เพียงใดการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยได้ทำหนังสือสัญญากู้เงินให้ไว้ต่อโจทก์ เป็นเรื่องที่จำเลยยอมตนเข้าเป็นลูกหนี้เงินกู้แทนลูกหนี้รายอื่นและไม่ปรากฏว่ามีการขืนใจลูกหนี้เดิม การกู้เงินระหว่างโจทก์และจำเลยมีลักษณะเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350 จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น เป็นการวินิจฉัยถึงที่มาแห่งมูลหนี้ของการทำหนังสือสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์จำเลย จึงเป็นการวินิจฉัยไปตามประเด็นข้อพิพาท ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ หากไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับหนี้เดิมที่เกิดขึ้นก่อนทำสัญญา
++ เรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิ์ ++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ - ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งงดสืบพยานและวินิจฉัยว่า การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ ทป.18/2541 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง แต่การที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ทำให้หนี้ตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงระงับ พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
++
++ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว
++ ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังได้ว่าเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2535 จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายประเทือง เทียนสุวรรณ ได้ทำสัญญาขายลิขสิทธิ์เพลงในกองมรดกของนายประเทือง จำนวน 484 เพลง ให้แก่โจทก์ โดยมีบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งผลประโยชน์ค่าลิขสิทธิ์เพลงว่า หากโจทก์ได้ขายหรือให้เช่าลิขสิทธิ์เพลงของนายประเทือง โจทก์จะแบ่งผลประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 1 กึ่งหนึ่งของจำนวนเงินที่ได้จากการขายหรือให้เช่า ต่อมาวันที่ 27 มีนาคม 2540 จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยกล่าวหาว่าปฏิบัติผิดข้อตกลงแบ่งผลประโยชน์ลิขสิทธิ์ดังกล่าว ครั้นวันที่ 24 สิงหาคม2541 โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอมตามคดีหมายเลขแดงที่ ทป.18/2541 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ต่อมาโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2542 โดยกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์และปฏิบัติผิดสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงดังกล่าวข้างต้น โดยเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2539 จำเลยที่ 1มอบให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาอนุญาตให้บริษัทเวิลด์ มิวสิก เรคคอร์ดจำกัด ใช้ลิขสิทธิ์เพลงที่เคยขายให้โจทก์แล้วจำนวน 120 เพลง โดยให้มีสิทธินำทำนองเพลงไปดัดแปลงได้ไม่เกิน 4 ต้นแบบ รวมทั้งเปลี่ยนตัวนักร้อง นักดนตรีและประเภทเครื่องดนตรีได้ตามความเหมาะสมและจำเลยทั้งสองได้รับค่าตอบแทนเป็นเงิน 1,200,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า หนี้ตามฟ้องได้ระงับโดยการแปลงหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวหรือไม่
++ ศาลฎีกาเห็นว่าตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงกันว่าทั้งสองฝ่ายไม่มีสิทธินำลิขสิทธิ์เพลงจำนวน 484 เพลง ตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลง ฉบับลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2535 ไปโอนขายให้แก่บุคคลภายนอก แต่ให้ทั้งสองฝ่ายมีสิทธิที่จะอนุญาตให้แก่บุคคลอื่นนำไปทำสิ่งบันทึกเสียงทุกชนิดและแถบบันทึกภาพพร้อมเสียงทุกชนิดเป็นครั้งคราวไม่เกินครั้งละ 1 ต้นแบบ โดยผู้รับอนุญาตไม่มีสิทธิดัดแปลงหรือแก้ไขเสียงร้อง เสียงดนตรีจากต้นแบบเดิมที่ได้รับอนุญาต และตกลงยกเลิกบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งผลประโยชน์ค่าลิขสิทธิ์เพลงฉบับลงวันที่16 กรกฎาคม 2535 โดยให้ใช้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความนี้แทน
++ ดังนี้ สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมีผลเป็นเพียงการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงและบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งผลประโยชน์ค่าลิขสิทธิ์เพลงฉบับลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2535 ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นต้นไปเท่านั้น โดยมิได้เป็นการเลิกสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ดังกล่าว และไม่ปรากฏว่าสัญญาประนีประนอมยอมความได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับหนี้ตามคำฟ้องคดีนี้ที่เกิดขึ้นแล้วก่อนทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
++ กรณียังไม่มีข้อเท็จจริงและเหตุผลที่จะวินิจฉัยได้ว่า หนี้ตามฟ้องซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นหนี้ที่เกิดจากการละเมิดลิขสิทธิ์และผิดสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ก่อนมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ระงับไปโดยการแปลงหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางด่วนมีคำสั่งงดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องเป็นการไม่ชอบ ชอบที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่คู่ความจะนำสืบต่อไป ++
++ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานต่อไป จึงเป็นการอุทธรณ์คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิใช่เสียตามทุนทรัพย์ที่พิพาท แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์จำนวน 30,000 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกิน 200 บาท แก่โจทก์ ++
++ พิพากษายกคำสั่งงดสืบพยานและคำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดีค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรวมสั่งเมื่อมีคำพิพากษาใหม่ คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกิน200 บาท ให้แก่โจทก์ ++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ - ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งงดสืบพยานและวินิจฉัยว่า การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ ทป.18/2541 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง แต่การที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ทำให้หนี้ตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงระงับ พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
++
++ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว
++ ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังได้ว่าเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2535 จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายประเทือง เทียนสุวรรณ ได้ทำสัญญาขายลิขสิทธิ์เพลงในกองมรดกของนายประเทือง จำนวน 484 เพลง ให้แก่โจทก์ โดยมีบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งผลประโยชน์ค่าลิขสิทธิ์เพลงว่า หากโจทก์ได้ขายหรือให้เช่าลิขสิทธิ์เพลงของนายประเทือง โจทก์จะแบ่งผลประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 1 กึ่งหนึ่งของจำนวนเงินที่ได้จากการขายหรือให้เช่า ต่อมาวันที่ 27 มีนาคม 2540 จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยกล่าวหาว่าปฏิบัติผิดข้อตกลงแบ่งผลประโยชน์ลิขสิทธิ์ดังกล่าว ครั้นวันที่ 24 สิงหาคม2541 โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอมตามคดีหมายเลขแดงที่ ทป.18/2541 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ต่อมาโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2542 โดยกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์และปฏิบัติผิดสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงดังกล่าวข้างต้น โดยเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2539 จำเลยที่ 1มอบให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาอนุญาตให้บริษัทเวิลด์ มิวสิก เรคคอร์ดจำกัด ใช้ลิขสิทธิ์เพลงที่เคยขายให้โจทก์แล้วจำนวน 120 เพลง โดยให้มีสิทธินำทำนองเพลงไปดัดแปลงได้ไม่เกิน 4 ต้นแบบ รวมทั้งเปลี่ยนตัวนักร้อง นักดนตรีและประเภทเครื่องดนตรีได้ตามความเหมาะสมและจำเลยทั้งสองได้รับค่าตอบแทนเป็นเงิน 1,200,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า หนี้ตามฟ้องได้ระงับโดยการแปลงหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวหรือไม่
++ ศาลฎีกาเห็นว่าตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงกันว่าทั้งสองฝ่ายไม่มีสิทธินำลิขสิทธิ์เพลงจำนวน 484 เพลง ตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลง ฉบับลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2535 ไปโอนขายให้แก่บุคคลภายนอก แต่ให้ทั้งสองฝ่ายมีสิทธิที่จะอนุญาตให้แก่บุคคลอื่นนำไปทำสิ่งบันทึกเสียงทุกชนิดและแถบบันทึกภาพพร้อมเสียงทุกชนิดเป็นครั้งคราวไม่เกินครั้งละ 1 ต้นแบบ โดยผู้รับอนุญาตไม่มีสิทธิดัดแปลงหรือแก้ไขเสียงร้อง เสียงดนตรีจากต้นแบบเดิมที่ได้รับอนุญาต และตกลงยกเลิกบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งผลประโยชน์ค่าลิขสิทธิ์เพลงฉบับลงวันที่16 กรกฎาคม 2535 โดยให้ใช้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความนี้แทน
++ ดังนี้ สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมีผลเป็นเพียงการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงและบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งผลประโยชน์ค่าลิขสิทธิ์เพลงฉบับลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2535 ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นต้นไปเท่านั้น โดยมิได้เป็นการเลิกสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ดังกล่าว และไม่ปรากฏว่าสัญญาประนีประนอมยอมความได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับหนี้ตามคำฟ้องคดีนี้ที่เกิดขึ้นแล้วก่อนทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
++ กรณียังไม่มีข้อเท็จจริงและเหตุผลที่จะวินิจฉัยได้ว่า หนี้ตามฟ้องซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นหนี้ที่เกิดจากการละเมิดลิขสิทธิ์และผิดสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ก่อนมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ระงับไปโดยการแปลงหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางด่วนมีคำสั่งงดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องเป็นการไม่ชอบ ชอบที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่คู่ความจะนำสืบต่อไป ++
++ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานต่อไป จึงเป็นการอุทธรณ์คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิใช่เสียตามทุนทรัพย์ที่พิพาท แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์จำนวน 30,000 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกิน 200 บาท แก่โจทก์ ++
++ พิพากษายกคำสั่งงดสืบพยานและคำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดีค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรวมสั่งเมื่อมีคำพิพากษาใหม่ คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกิน200 บาท ให้แก่โจทก์ ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ถือเป็นการแปลงหนี้เดิม กรณีพิพาทสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์
จำเลยทำสัญญาขายลิขสิทธิ์เพลงให้แก่โจทก์โดยมีบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งผลประโยชน์ค่าลิขสิทธิ์ว่าหากโจทก์ได้ขายหรือให้เช่าสิทธิ์เพลงตามสัญญา โจทก์จะแบ่งผลประโยชน์ให้แก่จำเลยกึ่งหนึ่ง ต่อมาจำเลยฟ้องโจทก์ในคดีนี้กล่าวหาว่าผิดข้อตกลงแบ่งผลประโยชน์ลิขสิทธิ์และโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันซึ่งศาลพิพากษาตามยอมไปแล้ว ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ กล่าวหาว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์และปฏิบัติผิดสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงดังกล่าวโดยโจทก์ได้ทำสัญญาให้ ว. ใช้ลิขสิทธิ์เพลงบางส่วนก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีแรก ดังนี้ สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นการตกลงให้ทั้งสองฝ่ายมีสิทธิที่จะอนุญาตให้บุคคลอื่นนำไปทำสิ่งบันทึกเสียงและแถบบันทึกภาพพร้อมเสียงเป็นครั้งคราวและตกลงยกเลิกบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งผลประโยชน์ค่าลิขสิทธิ์ฉบับเดิม โดยให้ใช้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความนี้แทนสัญญาประนีประนอมยอมความจึงมีผลเป็นเพียงการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงเดิมเท่านั้น โดยมิได้เป็นการเลิกสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ดังกล่าวและไม่ปรากฏว่าสัญญาประนีประนอมยอมความได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับหนี้ตามคำฟ้องคดีนี้ที่เกิดขึ้นก่อน กรณียังไม่มีข้อเท็จจริงและเหตุผลที่จะวินิจฉัยได้ว่าหนี้ตามฟ้องซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นหนี้ที่เกิดก่อนมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ระงับไปโดยการแปลงหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางด่วนมีคำสั่งงดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องเป็นการไม่ชอบ
เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานต่อไป จึงเป็นการอุทธรณ์คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิใช่เสียตามทุนทรัพย์ที่พิพาท
เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานต่อไป จึงเป็นการอุทธรณ์คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิใช่เสียตามทุนทรัพย์ที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่และการพิสูจน์ภาระหน้าที่ของจำเลยในคดีสัญญากู้ยืมเงิน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับชำระหนี้เงินตามสัญญากู้ยืมเงินและคืน น.ส.3 ก. ที่ให้เป็นประกัน ดังนี้ เมื่อจำเลยยอมรับว่าโจทก์ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องจริง แต่อ้างว่าได้เปลี่ยนสัญญากู้ยืมเงินกันใหม่อีก 2 ครั้ง จึงเป็นการกล่าวอ้างว่า คู่กรณีได้ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้คือจำนวนเงินที่กู้ยืม หากเป็นจริงตามที่จำเลยกล่าวอ้าง หนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องย่อมระงับสิ้นไปด้วยแปลงหนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 โจทก์ย่อมขอชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวอีกมิได้ เหตุนี้ จำเลยจึงมีภาระการพิสูจน์ว่ามีการแปลงหนี้ใหม่จริงหรือไม่
เมื่อกรณีเป็นที่ยุติแล้วว่า หากโจทก์ชนะคดีก็ได้เพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ของตนคืนเท่านั้น โจทก์จึงไม่อาจให้จำเลยส่งมอบที่นาและห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่นาโจทก์รวมทั้งไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในกรณีจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา เพราะมิใช่การฟ้องขับไล่จำเลยที่โจทก์ต้องดำเนินการเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
เมื่อกรณีเป็นที่ยุติแล้วว่า หากโจทก์ชนะคดีก็ได้เพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ของตนคืนเท่านั้น โจทก์จึงไม่อาจให้จำเลยส่งมอบที่นาและห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่นาโจทก์รวมทั้งไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในกรณีจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา เพราะมิใช่การฟ้องขับไล่จำเลยที่โจทก์ต้องดำเนินการเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8911/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แปลงหนี้ค่าแชร์เป็นหนี้เงินกู้ การชำระหนี้โดยหักกลบ และการนำสืบการชำระหนี้
เมื่อจำเลยมีมูลหนี้ที่จะต้องชำระค่าแชร์แก่โจทก์ และโจทก์จำเลยตกลงเปลี่ยนจากมูลหนี้ค่าแชร์มาเป็นหนี้เงินกู้ จึงเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ หนี้ค่าแชร์จึงเป็นอันระงับสิ้นไปด้วยแปลงหนี้ใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 วรรคหนึ่ง และถือได้ว่าเป็นการส่งมอบเงินกู้แล้วด้วยการแปลงหนี้ใหม่ทำให้สัญญากู้ยืมเงินชอบด้วยกฎหมาย มีผลบังคับโดยสมบูรณ์ โจทก์จำเลยจึงมีความผูกพันต่อกันในลักษณะหนี้กู้ยืม การที่จำเลยให้การและนำสืบว่าโจทก์ ได้หักเงินค่าแชร์ของจำเลยชำระหนี้แทนหนี้เงินกู้ของจำเลยแล้ว เป็นการอ้างว่าจำเลยได้ชำระหนี้อย่างอื่นโดยการ หักกลบลบหนี้แทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง จึงไม่ต้องห้ามมิให้นำสืบตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8911/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แปลงหนี้จากค่าแชร์เป็นกู้ยืม การหักกลบลบหนี้ และการนำสืบการชำระหนี้
โจทก์กับจำเลยที่ 1 เล่นแชร์กันโดยโจทก์เป็นนายวงแชร์ เมื่อจำเลยที่ 1ประมูลแชร์ได้รับเงินไปแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ส่งค่าแชร์และดอกเบี้ยแก่โจทก์โจทก์ต้องชำระค่าแชร์ให้ผู้ประมูลได้แทนจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 128,500 บาทโจทก์จึงระบุยอดเงินจำนวนดังกล่าวในสัญญากู้ยืมเงินให้จำเลยที่ 1ลงลายมือชื่อในสัญญาแล้วให้จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อค้ำประกันเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้จากหนี้ค่าแชร์เป็นหนี้เงินกู้ หนี้ค่าแชร์ระงับสิ้นไปด้วยแปลงหนี้ใหม่ ทำให้สัญญากู้ยืมเงินชอบด้วยกฎหมายมีผลบังคับโดยสมบูรณ์
ส่วนที่จำเลยทั้งสองให้การและนำสืบว่าโจทก์หักเงินค่าแชร์ของจำเลยที่ 2 ชำระหนี้แทนหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 แล้ว เป็นการอ้างว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้อย่างอื่นโดยการหักกลบลบหนี้แทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับการนำสืบการใช้เงินของจำเลยทั้งสองโดยเห็นว่าต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสองจึงไม่ชอบ
ส่วนที่จำเลยทั้งสองให้การและนำสืบว่าโจทก์หักเงินค่าแชร์ของจำเลยที่ 2 ชำระหนี้แทนหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 แล้ว เป็นการอ้างว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้อย่างอื่นโดยการหักกลบลบหนี้แทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับการนำสืบการใช้เงินของจำเลยทั้งสองโดยเห็นว่าต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสองจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3242/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้ของทายาทผู้จัดการมรดก ไม่ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ และจำกัดความรับผิดเฉพาะทรัพย์มรดก
จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทของ ด. ยอมรับสภาพหนี้ของ ด. ต่อโจทก์ มีผลผูกพันกองมรดกของ ด. เท่านั้นที่จะต้องรับผิดในหนี้สินตามที่ปรากฏในหนังสือรับสภาพหนี้ ไม่อาจถือได้ถึงขนาดว่าจำเลยยอมเข้าผูกพันตนเป็นลูกหนี้แทนในลักษณะแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ จำเลยจึงมิใช่ลูกหนี้โดยตรงของโจทก์
แม้จำเลยจะเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกแต่ก็รับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่อาจก้าวล่วงไปบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่มิใช่ทรัพย์มรดก ประกอบกับหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่ ด. ก่อขึ้นเอง หาก ด. ยังคงมีชีวิตอยู่ ด. อาจถูกฟ้องขอให้ล้มละลายได้ ด. จึงมีหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายล้มละลายต่อโจทก์และเป็นหน้าที่และความรับผิดโดยเฉพาะของ ด. ไม่ใช่เป็นมรดกที่จะตกทอดแก่จำเลยผู้เป็นทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ ด. โจทก์จึงนำหนี้ตามฟ้องมาฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด. ให้ล้มละลายไม่ได้แต่ชอบที่จะฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ด. ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 82
แม้จำเลยจะเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกแต่ก็รับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่อาจก้าวล่วงไปบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่มิใช่ทรัพย์มรดก ประกอบกับหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่ ด. ก่อขึ้นเอง หาก ด. ยังคงมีชีวิตอยู่ ด. อาจถูกฟ้องขอให้ล้มละลายได้ ด. จึงมีหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายล้มละลายต่อโจทก์และเป็นหน้าที่และความรับผิดโดยเฉพาะของ ด. ไม่ใช่เป็นมรดกที่จะตกทอดแก่จำเลยผู้เป็นทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ ด. โจทก์จึงนำหนี้ตามฟ้องมาฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด. ให้ล้มละลายไม่ได้แต่ชอบที่จะฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ด. ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 82
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเหมาช่วงและแปลงหนี้: สิทธิเรียกร้องหนี้ที่ค้างชำระ และขอบเขตการพิพากษาของศาล
ตามสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลย แม้ขณะทำสัญญาโจทก์ยังไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล แต่อยู่ระหว่างการจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท ซึ่งผู้เริ่มก่อการสามารถดำเนินการก่อหนี้หรือทำสัญญาใด ๆ ได้ยกเว้นกรณีตาม มาตรา 1102 และเมื่อจดทะเบียนบริษัทเสร็จจนมีสภาพเป็นนิติบุคคลแล้ว โจทก์ก็ยอมรับผลแห่งสัญญาโดยเข้าทำงานจนเสร็จ จึงเป็นการให้สัตยาบันแก่สัญญาที่ผู้เริ่มก่อการได้ทำไว้ตามมาตรา 1108 (2) สัญญาดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆะ ขณะเดียวกันสัญญาที่ทำขึ้นก็ไม่ใช่นิติกรรมอำพราง เพราะสัญญาทำขึ้นตรงกับเจตนาของคู่กรณี แม้ตอนแรกโจทก์จะใช้ชื่อจำเลยเป็นตัวแทนในการประมูลงานและทำสัญญาดังกล่าวต่อกรมทรัพยากรธรณี แต่ต่อมาโจทก์จำเลยประสงค์จะแปลงหนี้ใหม่เปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญจากการใช้ชื่อแทนหรือจากตัวการตัวแทนมาเป็นผู้รับจ้างและผู้ว่าจ้าง โดยโจทก์และจำเลยต่างยอมรับเอาข้อกำหนดตามสัญญารับจ้างดังกล่าวปฏิบัติต่อกันตลอดมา เป็นต้นว่า การทวงถามให้ชำระหนี้และปฏิบัติการชำระหนี้อันมีลักษณะทำนองเดียวกันกับข้อกำหนดในแบบสัญญาจ้างระหว่างกรมทรัพยากรธรณีกับจำเลย สัญญารับจ้างดังกล่าวจึงมีผลบังคับได้ในรูปของการที่ได้แปลงหนี้มาใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 วรรคหนึ่ง และมาตรา 351 โดยอนุโลม
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (2) บัญญัติว่า "ในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์ใด ๆ เป็นของตนทั้งหมด แต่พิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่ง เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งนั้นก็ได้" อันถือเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 142 วรรคหนึ่ง ที่ว่าศาลต้องตัดสินตามข้อหาในคำฟ้องทุกข้อ แต่ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ดังนั้น ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ซึ่งลูกหนี้หรือจำเลยอาจจะยังคงค้างชำระอยู่บางส่วน เจ้าหนี้หรือโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้ตามมูลหนี้ที่ยังค้างอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 194 ได้ ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจวินิจฉัย และพิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระหนี้แต่เพียงบางส่วนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (2) ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (2) บัญญัติว่า "ในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์ใด ๆ เป็นของตนทั้งหมด แต่พิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่ง เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งนั้นก็ได้" อันถือเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 142 วรรคหนึ่ง ที่ว่าศาลต้องตัดสินตามข้อหาในคำฟ้องทุกข้อ แต่ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ดังนั้น ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ซึ่งลูกหนี้หรือจำเลยอาจจะยังคงค้างชำระอยู่บางส่วน เจ้าหนี้หรือโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้ตามมูลหนี้ที่ยังค้างอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 194 ได้ ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจวินิจฉัย และพิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระหนี้แต่เพียงบางส่วนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (2) ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง