พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดพิจารณา & เอกสารขีดฆ่าใช้เป็นหลักฐานได้หากปิดแสตมป์ครบ
ประมวลรัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติเพียงว่า ตราสารใดที่ไม่ปิดแสตมป์ครบจำนวนและได้ขีดฆ่าแล้วจะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ ไม่ได้บังคับถึงเวลาทีปิดหรือบุคคลผู้ปิดและขีดฆ่า
ศาลกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบ พยานโจทก์จำเลยไม่มาศาล ถือว่า จำเลยขาดนัดพิจารณาความประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 วรรค 2 และมาตรา 202
ศาลกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบ พยานโจทก์จำเลยไม่มาศาล ถือว่า จำเลยขาดนัดพิจารณาความประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 วรรค 2 และมาตรา 202
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1907/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพ.ร.บ.สุรา แม้ไม่ใช่ผู้ผลิต: การเจือปนและจำหน่ายสุราโดยไม่ปิดแสตมป์
เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าจำเลยได้เอาน้ำเจือปนสุราแล้วนำออกวางขายในร้านโดยรู้ว่าต้องปิดแสตมป์สุราแต่ไม่ได้ปิด ดังนี้แม้จำเลยจะไม่ใช่เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ทำสุราก็ตาม จำเลยก็ไม่พ้นความผิดตามความในมาตรา 33 แห่ง พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ.2493
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2026/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขรก.ไม่มีหน้าที่ดูแลทรัพย์สิน จึงไม่ต้องรับผิดตาม ม.132 แม้รับเงินค่าแสตมป์แล้วนำแสตมป์ใช้แล้วมาปิด
บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีหน้าที่แต่เพียงเชิญชวนแนะนำให้ผู้ร้องปิดแสตมป์ ก.ศ.ส.ในคำร้องเท่านั้นแม้จะได้ความจริงก็หาลงโทษจำเลยได้ไม่ เพราะจำเลยไม่มีหน้าที่จัดซื้อหรือทำหรือปกครองรักษาทรัพย์สิ่งใด ๆ ตามความหมายใน ม.132.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2499)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2499)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาสูบไม่ปิดแสตมป์เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ยาสูบ แม้โจทก์มิได้อ้างบทลงโทษในฟ้อง
มียาสูบตั้งแต่สองกิโลกรัมไว้ในครอบครองโดยไม่ปิดแสตมป์ยาสูบเป็นผิดตามพระราชบัญญัติยาสูบ มาตรา 36 และ40
โจทก์ฟ้องบรรยายความผิดอันต้องด้วยบทห้ามตามกฎหมายแม้มิได้อ้างบทห้ามมาในฟ้องเป็นแต่อ้างบทกำหนดโทษมาศาลก็ลงโทษได้
โจทก์กล่าวหาจำเลยรับบางข้อปฏิเสธบางข้อ ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษในความผิด ซึ่งจำเลยให้การปฏิเสธแต่มีได้ข้อสืบพยานดังนี้ ศาลฎีกาย่อมพิจารณาเฉพาะตามฟ้องและคำให้การ
โจทก์ฟ้องบรรยายความผิดอันต้องด้วยบทห้ามตามกฎหมายแม้มิได้อ้างบทห้ามมาในฟ้องเป็นแต่อ้างบทกำหนดโทษมาศาลก็ลงโทษได้
โจทก์กล่าวหาจำเลยรับบางข้อปฏิเสธบางข้อ ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษในความผิด ซึ่งจำเลยให้การปฏิเสธแต่มีได้ข้อสืบพยานดังนี้ ศาลฎีกาย่อมพิจารณาเฉพาะตามฟ้องและคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2488 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดแสตมป์ยาสูบไม่สมบูรณ์ ไม่ถือเป็นความผิด ยาสูบไม่เป็นของผิดกฎหมาย
ปิดแสตมป์ยาสูบบนภาชนะที่บรรจุแล้ว แต่แสตมป์หลุดหายไปไม่มีความผิด และจะริบยาสูบของกลางไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2487
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเส้นเพื่อจำหน่ายโดยมิได้ปิดแสตมป์: ไม่ถือเป็นความผิด
จำเลยมียาเส้นไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย 80 เข่ง แต่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบ 2 เข่งซึ่งมีน้ำหนักเพียง 2 กิโลกรัม ดังนี้ไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาสูบมิได้ปิดแสตมป์เกิน 1 กก. ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาสูบ
มียาสูบมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบเลยเป็นจำนวนไม่เกิน 1 กิโลกรัมไว้ในครอบครองอันมิใช่มีไว้ขายไม่มีความผิดตามมาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีไว้เพื่อจำหน่ายยาสูบที่มีแสตมป์ครบถ้วน แม้ไม่มีใบอนุญาต ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาสูบ
การมียาสูบซึ่งปิดแสตมป์ยาสูบครบถ้วนแล้วไว้ในเขตต์จำหน่ายยาสูบโดยเพื่อจะจำหน่ายแม้มีไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานก็ไม่มีผิดตาม พ.ร.บ.ยาสูบ มาตรา 10,26,27,28
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สัญญากู้ยืมเงินเป็นพยานหลักฐาน แม้สำเนาไม่ติดแสตมป์ แต่ต้นฉบับติดแสตมป์แล้ว ย่อมใช้ได้
ป.รัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติเพียงว่า ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้เท่านั้น ไม่ได้บังคับถึงเวลาที่ปิด ดังนั้น แม้สำเนาสัญญากู้ยืมเงินซึ่งเป็นฉบับภาพถ่ายที่โจทก์แนบมาเป็นเอกสารท้ายคำฟ้องจะไม่ปรากฏการปิดแสตมป์ แต่เมื่อต้นฉบับสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้ปิดแสตมป์ครบถ้วนบริบูรณ์มาก่อนแล้วขณะโจทก์อ้างส่งเป็นพยานต่อศาล จึงย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ทั้งนี้ โดยโจทก์ไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลให้ปิดแสตมป์อีก เพราะมิใช่เป็นกรณีขออนุญาตปิดแสตมป์ภายหลังอ้างส่งเอกสารเป็นพยานโดยเอกสารนั้นยังไม่ได้ปิดแสตมป์ ที่ศาลล่างทั้งสองรับฟังสัญญากู้ยืมเงินเป็นพยานหลักฐานจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5162/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่ปิดแสตมป์ไม่ครบก่อนฟ้องคดี ยังใช้เป็นหลักฐานได้ และดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายเป็นโมฆะ
ป.รัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติเพียงว่า ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์ครบจำนวนและได้ขีดฆ่าแล้วว่าจะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้เท่านั้น หาได้บังคับถึงเวลาที่ปิดและได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ในขณะทำสัญญาไม่ ดังนี้ เมื่อหนังสือสัญญากู้ยืมเงินและหนังสือสัญญาค้ำประกันเงินกู้ได้ปิดอากรแสตมป์ครบจำนวนและขีดฆ่าแล้วก่อนฟ้องคดีย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ ส่วนโจทก์จะปฏิบัติการแก้ไขข้อบกพร่องในการปิดอากรแสตมป์ชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 113 หรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหากจากการปิดอากรแสตมป์
แม้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินจะระบุว่า ให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1.25 บาทต่อเดือน หรือเท่ากับร้อยละ 15 ต่อปี ถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 654 แต่โจทก์และจำเลยตกลงเรียกดอกเบี้ยสัญญากู้ยืมเงินกันในอัตราร้อยละ 3 บาทต่อเดือน หรือร้อยละ 36 ต่อปี อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 654 ข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยจึงเป็นการไม่ชอบและตกเป็นโมฆะ เสียเปล่ามาตั้งแต่ต้น ผลเท่ากับไม่เคยมีข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยอยู่ในสัญญา แต่กรณีเป็นหนี้เงินโจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 ได้
แม้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินจะระบุว่า ให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1.25 บาทต่อเดือน หรือเท่ากับร้อยละ 15 ต่อปี ถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 654 แต่โจทก์และจำเลยตกลงเรียกดอกเบี้ยสัญญากู้ยืมเงินกันในอัตราร้อยละ 3 บาทต่อเดือน หรือร้อยละ 36 ต่อปี อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 654 ข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยจึงเป็นการไม่ชอบและตกเป็นโมฆะ เสียเปล่ามาตั้งแต่ต้น ผลเท่ากับไม่เคยมีข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยอยู่ในสัญญา แต่กรณีเป็นหนี้เงินโจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 ได้