คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แสวงหาประโยชน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสวงหาประโยชน์จากผู้มีอรรถคดีในศาล ละเมิดอำนาจศาล
ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 และที่ 2 เป็นนายหน้าให้แก่ผู้ที่มายื่นประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ศาลชั้นต้น ย่อมจะทราบกระบวนการและขั้นตอนต่างๆ ดีกว่าผู้กล่าวหาซึ่งเป็นเพียงชาวบ้าน หากผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 และที่ 2 มีความสุจริตใจที่จะช่วยเหลือผู้กล่าวหาเพียงขอค่าตอบแทนจากการช่วยดำเนินการดังกล่าว ก็ไม่ควรที่จะเรียกเอาค่าตอบแทนเป็นจำนวนที่สูงจนเกินสมควร ทั้งควรที่จะพาผู้กล่าวหาไปติดต่อขอใช้บริการประกันอิสรภาพจากบริษัท ว. ซึ่งก็อยู่ที่ศาลชั้นต้นด้วยตนเอง แต่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 และที่ 2 หาได้กระทำไม่ อันมีลักษณะเป็นการปกป้องด้วยเกรงว่าผู้กล่าวหาจะทราบค่าใช้จ่ายที่เป็นจริงนั่นเอง ทำให้ผู้กล่าวหาที่ไม่ทราบความจริงต้องยอมจ่ายเงินไปในจำนวนสูงเกินสมควร โดยผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 และที่ 2 ได้รับเงินส่วนต่างหลังหักชำระค่าเบี้ยประกันภัยจากผู้กล่าวหาถึง 16,232 บาท จึงมิใช่เป็นเพียงให้ค่าตอบแทนจากการที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 และที่ 2 ให้ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกอย่างธรรมดาทั่วไป การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 และที่ 2 ถือได้ว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่ไม่ควรได้จากผู้มีอรรถคดีและได้กระทำในศาลชั้นต้นจึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล อันเป็นการกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1), 33 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสวงหาประโยชน์จากผู้มีอรรถคดีในศาล ละเมิดอำนาจศาล
ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 และที่ 2 เป็นนายหน้าให้แก่ผู้ที่มายื่นประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ศาลชั้นต้น ย่อมจะทราบกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ ดีกว่าผู้กล่าวหาซึ่งเป็นเพียงชาวบ้าน หากผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 และที่ 2 มีความสุจริตใจที่จะช่วยเหลือผู้กล่าวหาเพียงขอค่าตอบแทนจากการช่วยดำเนินการดังกล่าว ก็ไม่ควรที่จะเรียกเอาค่าตอบแทนเป็นจำนวนที่สูงจนเกินสมควร ทั้งควรที่จะพาผู้กล่าวหาไปติดต่อขอใช้บริการประกันอิสรภาพจากบริษัท ว. ซึ่งก็อยู่ที่ศาลชั้นต้นด้วยตนเอง แต่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 และที่ 2 หาได้กระทำไม่ อันมีลักษณะเป็นการปกป้องด้วยเกรงว่าผู้กล่าวหาจะทราบค่าใช้จ่ายที่เป็นจริง ทำให้ผู้กล่าวหาที่ไม่ทราบความจริงต้องยอมจ่ายเงินไปในจำนวนสูงเกินสมควร โดยผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 และที่ 2 ได้รับเงินส่วนต่างหลังจากหักชำระค่าตอบแทนจากการชำระค่าเบี้ยประกันภัยถึง 16,232 บาท ซึ่งมิใช่เป็นเพียงการให้ค่าตอบแทนจากการให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกอย่างธรรมดาทั่วไป การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 และที่ 2 ถือได้ว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่ไม่ควรได้จากผู้มีอรรถคดีและได้กระทำในศาลชั้นต้นจึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล อันเป็นการกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1), 33 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5469/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เพลงในภาพยนตร์เป็นการแสวงหาประโยชน์ทางการค้า ละเมิดลิขสิทธิ์ แม้จะใช้เพียงบางส่วน และการแสดงตนเป็นผู้สร้างสรรค์
การนำส่วนที่เป็นสาระสำคัญ (Substantial part) ของเพลง "สายชล" ไปใช้ในภาพยนตร์ หากจะมีการนำไปใช้เพื่อแสวงหาประโยชน์ในทางการค้า ย่อมจะต้องดำเนินการขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย การนำเพลง "สายชล" ไปใช้ในภาพยนตร์เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยมีจุดประสงค์ในการหากำไรและมีการจัดทำโสตทัศนวัสดุในรูปแบบบวีซีดีและดีวีดีเพื่อจำหน่ายในเวลาต่อมา นับเป็นการแสวงหาประโยชน์ทางการค้าของจำเลยทั้งสองแล้ว จึงไม่เข้าข่ายที่จะได้รับยกเว้นตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 32
นอกจากนี้ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 18 กำหนดว่า ผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. นี้มีสิทธิที่จะแสดงว่าตนเป็นผู้สร้างสรรค์งานดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงเป็นอันยุติว่า โจทก์เป็นผู้ประพันธ์ทำนองเพลง "สายชล" โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะแสดงว่าโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์ทำนองเพลง "สายชล" ดังกล่าว
ส่วนคำขออื่นของโจทก์ที่ให้จำเลยทั้งสองยุติการจำหน่ายและเผยแพร่ต่อสาธารณชน การเก็บแผ่นวีซีดีและดีวีดีออกจากตลาดรวมทั้งการลงประกาศในหนังสือพิมพ์นั้น เห็นว่า แม้งานดนตรีกรรมของโจทก์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญจะถูกนำไปใช้ แต่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของภาพยนตร์ ทั้งการทำให้ปรากฏข้อความว่านางสาว จ. เป็นผู้ประพันธ์คำร้องและทำนองเพลง "สายชล" ยังไม่ถือว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาละเมิดสิทธิของโจทก์ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบความเสียหายของโจทก์กับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินการดังกล่าว ตลอดจนค่าเสียหายที่ได้กำหนดให้แก่โจทก์แล้ว จึงเห็นควรไม่กำหนดให้จำเลยทั้งสองต้องดำเนินการต่างๆ อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4983/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพรากเด็กเพื่อการค้าประเวณี และแสวงหาประโยชน์จากเด็ก: องค์ประกอบความผิดและขอบเขตความรับผิด
แม้ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 มาทำงานเป็นพนักงานเสิร์ฟที่ร้านของจำเลยเองโดยจำเลยไม่ได้ชักชวน แต่ขณะอยู่กับจำเลยที่ร้านก็ถือว่าผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ยังอยู่ในอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 บิดาตลอดเวลา การที่จำเลยรู้เห็นยินยอมให้ลูกค้าใช้ร้านจำเลยเป็นสถานที่ติดต่อพาผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ออกจากร้านไปทำการค้าประเวณีเพื่อสำเร็จความใคร่ที่อื่น โดยจำเลยได้รับประโยชน์ตอบแทนโดยมิชอบจากค่าสุราอาหารที่ลูกค้าต้องสั่งเพิ่มพิเศษและลูกค้าต้องชำระค่าเสียเวลาให้แก่จำเลย ถือว่าจำเลยกระทำการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 จำเลยจึงมีความผิดฐานปราศจากเหตุอันสมควรพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดาเพื่อการอนาจาร
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณีเด็ก ก็ถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็กตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง (5) ครบถ้วนแล้ว เนื่องจากตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 4 (เดิม) การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบก็คือการแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณีนั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4014/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค้ามนุษย์จากแรงงานต่างด้าว: การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็กและแรงงานต่างด้าวที่ถูกบังคับใช้แรงงาน
"การอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล" ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 4 เป็นนิยามที่มุ่งหมายถึงการกระทำอย่างอื่นที่มีลักษณะของการบีบบังคับเพื่อหาผลประโยชน์ในรูปแบบอื่นของการเอารัดเอาเปรียบอย่างไม่เป็นธรรม
ผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กและเป็นลูกจ้างต้องทำงานตั้งแต่เวลา 2 หรือ 3 นาฬิกา จนถึง 18 นาฬิกา เฉลี่ยวันละ 15 ชั่วโมง ต่อวันทุกวัน และได้รับค่าจ้างเฉลี่ยแล้วไม่ถึง 200 บาท ต่อวัน ซึ่งเทียบกับเวลาทำงานแล้วถือว่าต่ำมาก ทั้งหากทำงานไม่ครบกำหนดเวลาก็จะไม่ได้ค่าจ้าง โดยไม่มีวันหยุดปกติและไม่ได้ค่าล่วงเวลาและค่าจ้างพิเศษ มีเวลาพักระหว่างทำงานในช่วงรับประทานอาหารเช้าและกลางวันครั้งละไม่เกิน 15 ถึง 30 นาที และต้องทำงานเหมือนผู้ใหญ่ แสดงให้เห็นถึงเจตนาเอารัดเอาเปรียบอย่างไม่เป็นธรรมและเป็นการขูดรีดโดยจำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์อันเป็นมูลค่าส่วนเกินจากการทำงานปกติของลูกจ้างโดยให้ทำงานเกินเวลาและเกินความคุ้มค่าการทำงานของลูกจ้างอย่างมาก แต่ลูกจ้างกลับได้รับค่าจ้างในอัตราค่าจ้างที่ต่ำกว่าปริมาณงานที่ทำ โดยอาศัยเงื่อนไขว่าหากทำงานไม่ครบเวลาทำงานต่อวันจะไม่ได้รับค่าจ้างในวันนั้นมาเป็นวิธีการบังคับให้ผู้เสียหายไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องยอมทำงานให้ได้ค่าจ้างครบ อันเป็นการบีบบังคับเอารัดเอาเปรียบอย่างไม่เป็นธรรมเข้าองค์ประกอบของเจตนาที่แสวงหาประโยชน์โดยวิธีการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานกระทำการค้ามนุษย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1377/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากเด็กเพื่อแสวงหาประโยชน์ทางเพศและค้ามนุษย์ จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
เมื่อข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบมามีน้ำหนักให้รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยเป็นผู้ชักชวนผู้เสียหายที่ 1 ให้ไปมีเพศสัมพันธ์กับ ส. พฤติการณ์ของจำเลยที่ชักชวนผู้เสียหายที่ 1 นับตั้งแต่ครั้งแรกในคืนที่จำเลยพบผู้เสียหายที่ 1 ในร้านอาหาร โดยการตามผู้เสียหายที่ 1 ไปที่ห้องน้ำเพื่อบอกว่า ส. ต้องการมีเพศสัมพันธ์กับผู้เสียหายที่ 1 และ ส. จะให้ทุกอย่างตามที่ต้องการ จนกระทั่งวันเกิดเหตุจำเลยไปหาผู้เสียหายที่ 1 ที่บ้านเพื่อนของผู้เสียหายที่ 1 และยังคงพูดจาชักชวนผู้เสียหายที่ 1 ไปมีเพศสัมพันธ์กับ ส. อีก จนผู้เสียหายที่ 1 ยอมตามที่จำเลยชักชวนและหลังจาก ส. พาผู้เสียหายที่ 1 ไปมีเพศสัมพันธ์ แล้วกลับมาที่ร้านอาหารดังกล่าว จำเลยได้รับเงินจากผู้เสียหายที่ 1 จำนวน 500 บาท นอกจากนี้ ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 ยังอยู่ในอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ปกครองหรือผู้ดูแล การที่จำเลยชักชวนผู้เสียหายที่ 1 ไปพบ ส. ที่ร้านอาหารเพื่อค้าประเวณีย่อมเป็นการล่วงอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 แม้ผู้เสียหายที่ 1 จะสมัครใจยินยอมไปกับจำเลยก็ถือไม่ได้ว่าได้รับความยินยอมเห็นชอบจากผู้เสียหายที่ 2 เช่นนี้แล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปเสียจากผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อหากำไรและเพื่อการอนาจาร ฐานเป็นธุระจัดหาซึ่งบุคคลใดเพื่อให้บุคคลนั้นกระทำการค้าประเวณีแม้บุคคลนั้นจะยินยอมก็ตาม และเป็นการกระทำต่อเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี เป็นธุระจัดหาเด็กเพื่อเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ อันเป็นการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ เพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เป็นธุระจัดหา หรือพาไปเพื่ออนาจาร แม้ผู้นั้นจะยินยอมก็ตาม และเป็นการกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี และชักจูงส่งเสริมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควร
สำหรับค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษายกคำร้อง แม้ผู้ร้องจะไม่ได้ฎีกาแต่คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ศาลฎีกามีอำนาจหยิกยกขึ้นวินิจฉัยเพื่อให้เป็นไปตามผลของคดีอาญาได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปเสียจากผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อหากำไรและเพื่อการอนาจาร การกระทำของจำเลยจึงเป็นการละเมิดและจำต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8824/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณีต้องมีเจตนาขูดรีดบุคคล การรับเงินค่าค้าประเวณีเพื่อส่งคืนให้ผู้เสียหายไม่ถือเป็นการแสวงหาประโยชน์
บทนิยาม "แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ" ตามมาตรา 4 (เดิม) แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 ที่ใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ หมายความว่า การแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี การผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก การแสวงหาประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น การเอาคนลงเป็นทาส การนำคนมาขอทาน การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ การบังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้า หรือการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล ไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม คดีคงได้ความว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันติดต่อเกี่ยวกับสถานที่และบุคคลให้ผู้เสียหายค้าประเวณี แต่งหน้าแต่งตาให้ผู้เสียหายและพาผู้เสียหายไปส่งเพื่อค้าประเวณีกับรับเงินค่าค้าประเวณีส่งมอบให้ผู้เสียหายเท่านั้น การที่จำเลยที่ 2 หักเงินเพียงเท่าที่ผู้เสียหายยืมจำเลยที่ 1 ไว้คืนแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นความชอบธรรมที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้โดยปกติทั่วไป เมื่อเหลือเงินเท่าใดจำเลยที่ 2 คืนแก่ผู้เสียหายทั้งสิ้น แต่ผู้เสียหายขอฝากส่วนที่เหลือนั้นไว้แก่จำเลยที่ 2 เอง โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้รับผลประโยชน์อื่นใดโดยตรงจากการค้าประเวณีของผู้เสียหาย จึงไม่มีลักษณะเป็นการแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณีของผู้เสียหาย อันเป็นการขูดรีดบุคคลตามบทนิยามดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งสองย่อมไม่เป็นความผิดฐานสมคบและร่วมกันค้ามนุษย์ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 6 (2) เดิม, 9, 52 (เดิม) และไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8791/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาแสวงหาประโยชน์จากเหยื่อต่างด้าว ไม่ถือว่าช่วยเหลือพ้นการจับกุม
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันกักขังผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 10 ไว้ที่บ้านเกิดเหตุเพื่อให้ติดต่อญาติของผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 10 เรียกเงินค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาทำงานในประเทศไทยเพิ่ม แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองกับพวกมีเจตนาจะแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายจากผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 10 โดยไม่ปรากฏพฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองว่ามีเจตนาที่จะช่วยเหลือผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 10 ให้พ้นจากการจับกุมและไม่อาจถือได้ว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันนำผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 10 เข้ามาในราชอาณาจักร การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันให้เข้าพักอาศัย ซ่อนเร้น หรือช่วยด้วยประการใด ๆ เพื่อให้ผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 10 ซึ่งเป็นคนต่างด้าวพ้นจากการจับกุมตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 64 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3197/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานค้ามนุษย์และแสวงหาประโยชน์จากเด็ก: เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท
จำเลยแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากการค้าประเวณีของเด็ก ย่อมเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็ก อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง (5) และเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง (2) ซึ่งลักษณะการกระทำความผิดทั้งสองฐานนี้ การค้าประเวณีของเด็กก็เป็นการประพฤติตนไม่สมควรตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง (3) อยู่ในตัวด้วย จำเลยจึงมีเจตนากระทำความผิดเพียงเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากการค้าประเวณีของเด็กเท่านั้น ถือว่ามีเพียงเจตนาเดียว เมื่อความผิดทั้งสองฐานต่างมีองค์ประกอบความผิดเหมือนกัน จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเพื่อแสวงหาประโยชน์ทางการค้า ถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
กรมป่าไม้และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างมีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยกรมป่าไม้มีอำนาจหน้าที่ ควบคุม กำกับดูแล ป้องกันการบุกรุก ทำลายป่าและการกระทำผิดในพื้นที่รับผิดชอบตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ กฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยพื้นที่เกิดเหตุในคดีนี้อยู่ภายในแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ การเข้าไปทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้และป่าสงวนแห่งชาตินั้นจะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรืออธิบดีกรมป่าไม้โดยการอนุมัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามมาตรา ๑๕ ถึง ๒๔ แห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ ทั้งยังต้องเสียค่าธรรมเนียม ค่าภาคหลวงและค่าบำรุงป่าแล้วแต่กรณีด้วย โดยกฎหมายและข้อกำหนดดังกล่าวมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงถือว่าจำเลยและประชาชนทั่วไปทราบถึงข้อบังคับตามกฎหมายดังกล่าวโดยทั่วกันแล้ว การที่จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครอง ก่อสร้าง แผ้วถาง ทำลายป่าสงวนแห่งชาติที่เกิดเหตุโดยไม่ได้รับอนุญาตและจำเลยยังตั้งและประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ ๓ โดยนำรถขุดไฮดรอลิก (แบ็กโฮ) ขุดหรือลอกกรวด ทรายหรือดินและบรรทุกดินทราย เพื่อประโยชน์ทางการค้าของจำเลย ที่บริเวณป่าสงวนแห่งชาติที่เกิดเหตุโดยไม่ได้รับอนุญาต จากนั้นจำเลยร่วมกันลักขุดทราย ๑๙๕,๙๘๙.๕๘ ลูกบาศก์เมตร ราคา ๕๗,๖๙๗,๓๖๖.๕๖ บาท ซึ่งเป็นทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ของกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้เสียหาย ไปโดยทุจริต โดยพฤติการณ์การกระทำความผิดดังกล่าวสร้างความเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมากและใช้ระยะเวลานานประมาณ ๓ ปี ๔ เดือน ลักษณะของการกระทำความผิดดังกล่าวไม่สามารถกระทำผิดแต่เพียงลำพังคนเดียว แสดงว่าจำเลยร่วมกับพวกกระทำความผิดขุดทรายจำนวนมากซึ่งเป็นทรัพย์สินของรัฐออกไปจากพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่เกิดเหตุอันเป็นที่ดินของรัฐและอยู่ในอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาตามกฎหมายของผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองและผู้อื่น จึงครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ตามฟ้อง และเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน จำเลยจึงต้องรับผิดคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหาย
of 4