คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โฆษณา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9733/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ต้องเริ่มนับจากวันที่โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาฉบับหลัง
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันก่อนแล้วจึงลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา การนับวันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจึงต้องถือเอาวันที่โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาซึ่งเป็นวันโฆษณาฉบับหลังเป็นเกณฑ์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ลงโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษาฉบับวันที่ 24 พฤษภาคม 2537 พร้อมทั้งในคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ได้แจ้งกำหนดให้เจ้าหนี้เสนอ คำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาดังกล่าวและได้มีการจัดส่งเล่มแรก ให้แก่สมาชิกที่ไปรับด้วยตนเองเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2537 แต่ในหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเอกสารหมาย ร.2 นอกจากจะมีข้อความว่าได้จัดส่งราชกิจจานุเบกษาเล่มแรกให้แก่สมาชิกที่มารับด้วยตนเองเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2537 แล้วยังมีข้อความระบุไว้ด้วยว่า สำนักงานราชกิจจานุเบกษาไม่อาจตรวจสอบได้ว่าราชกิจจานุเบกษาเล่มดังกล่าวพิมพ์เสร็จเมื่อใดส่วนการส่งให้แก่สมาชิกโดยทางไปรษณีย์นั้น น่าจะดำเนินการในเวลาก่อนหรือหลังจากวันที่ 23 มิถุนายน 2537 ในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ดังนี้ จึงยังไม่อาจรับฟังเป็นยุติว่าได้มีการเผยแพร่ ราชกิจจานุเบกษาเล่มดังกล่าวแก่บุคคลทั่วไปเป็นครั้งแรกเมื่อ วันที่ 23 มิถุนายน 2537 เมื่อหนังสือที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีถึงกรมบังคับคดีลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2537 มีข้อความว่า สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ดำเนินการประกาศเรื่องคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 111 ตอนที่ 41 ลง วันที่ 24 พฤษภาคม 2537 แล้วจึงฟังได้ว่า ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2537 ได้มีการโฆษณาเผยแพร่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดคดีนี้โดยราชกิจจานุเบกษาเล่มดังกล่าวแก่บุคคลทั่วไปแล้ว การนับระยะเวลา 2 เดือนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา91 จึงต้องเริ่มนับแต่วันที่30 พฤษภาคม 2537 ไม่ใช่เริ่มนับแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2537อันเป็นวันที่จัดส่งราชกิจจานุเบกษาเล่มแรกให้แก่ สมาชิกประเภทที่ไปรับด้วยตนเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9733/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลารับคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ต้องนับจากวันที่โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาฉบับหลัง
หนังสือที่นร0209/9728วันที่30พฤษภาคม2537ที่สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีถึงกรมบังคับคดีมีข้อความว่า"ตามหนังสือกรมบังคับคดีที่ยธ0409/947/829ลงวันที่26เมษายน2537ส่งประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์(คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด)ในคดีล้มละลายของศาลแพ่งหมายเลขแดงที่ล.103/2537เพื่อขอให้ดำเนินประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษานั้นสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ดำเนินการประกาศเรื่องดังกล่าวในหนังสือราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศทั่วไปเล่ม111ตอนที่41วันที่24พฤษภาคม2537แล้ว"จึงฟังได้ว่าณวันที่30พฤษภาคม2537ได้มีการโฆษณาเผยแพร่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดคดีนี้โดยราชกิจจานุเบกษาเล่มดังกล่าวแก่บุคคลทั่วไปแล้วการนับระยะเวลา2เดือนตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา91จึงต้องเริ่มนับแต่วันที่30พฤษภาคม2537ไม่ใช่เริ่มนับแต่วันที่23มิถุนายน2537อันเป็นวันที่จัดส่งราชกิจจานุเบกษาเล่มแรกให้แก่สมาชิกประเภทที่ไปรับด้วยตนเองเมื่อผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อผู้คัดค้านเมื่อวันที่16สิงหาคม2537จึงล่วงพ้นกำหนดเวลา2เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2709/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติตามคำพิพากษา: การโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ แม้มีข้อจำกัดด้านพื้นที่
ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันจัดให้มีการโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์รายวัน ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสี่ได้ย่อคำพิพากษาโดยย่อคำฟ้องได้ใจความถูกต้องตรงกับคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองและมีข้อความระบุว่าศาลพิพากษาว่าจำเลยทั้งสี่มีความผิดตามที่โจทก์ทั้งสองฟ้องตลอดจนบทลงโทษและโทษคนละเท่าใดตรงตามเนื้อความในต้นฉบับคำพิพากษาแล้ว เมื่อผู้อ่านอ่านแล้วจะเข้าใจได้ทันทีถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่ได้ปฏิบัติถูกต้องตามคำพิพากษาแล้ว
ที่หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ไม่สามารถจะโฆษณาคำพิพากษาได้เนื่องจากมีการลดหน้าหนังสือพิมพ์ลง ประกอบกับใกล้สิ้นปีมีโฆษณามาก ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าถ้าพ้นสิ้นปีไปแล้วหนังสือพิมพ์ดังกล่าวก็สามารถจะโฆษณาคำพิพากษาให้ได้จึงไม่เป็นการพ้นวิสัย ส่วนหนังสือพิมพ์ไทยรัฐไม่สามารถจะโฆษณาคำพิพากษาได้เนื่องจากเนื้อที่ในการลงโฆษณาได้เปิดจำหน่ายล่วงหน้าไปจนถึงปีหน้า จำเลยทั้งสี่ย่อมจองสิทธิลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวต่อจากผู้ลงโฆษณาล่วงหน้าคนสุดท้ายได้ดังนั้นการโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐจึงยังอยู่ในวิสัยที่จะทำได้ ประกอบกับคำพิพากษามิได้บังคับว่าจะต้องจัดให้มีการโฆษณาในหนังสือพิมพ์ทั้งสองฉบับดังกล่าวข้างต้นเมื่อใด ดังนั้น การลงโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ทั้งสองฉบับดังกล่าวยังไม่เป็นการพ้นวิสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาจากลายลักษณ์อักษร การใช้จริง และการโฆษณา ทั้งในและต่างประเทศ
ในปัญหาที่ว่าโจทก์กับจำเลยใครมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าLANCEL รายพิพาทดีกว่ากันนั้น จะต้องพิจารณาถึงการได้จดทะเบียน การใช้ และการโฆษณาเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย และอาจจะนำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการได้จดทะเบียน การใช้และการโฆษณาเครื่องหมายการค้านั้นในต่างประเทศมาพิจารณาประกอบด้วย การจดทะเบียน การใช้ และการโฆษณาเครื่องหมายการค้านั้น ไม่ว่าจะเป็นการจดทะเบียน การใช้ และการโฆษณาสำหรับสินค้าจำพวกหรือประเภทอื่นใด ในบางกรณีก็นำมาพิจารณาประกอบกันได้ หาใช่ว่าจะต้องพิจารณาเฉพาะการจดทะเบียน การใช้ และการโฆษณาในประเทศไทย และจะต้องพิจารณาเฉพาะในสินค้าจำพวกที่เป็นปัญหาเท่านั้นไม่
สำหรับในประเทศไทย ทั้งโจทก์และจำเลยต่างยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า LANCEL ที่พิพาทสำหรับสินค้าจำพวกที่ 39 ด้วยกันทั้งสองฝ่ายต่างฝ่ายจึงไม่อาจจะอ้างสิทธิในการจดทะเบียนในสินค้าจำพวกนี้ต่ออีกฝ่ายหนึ่งได้ แต่จำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้าจำพวกที่ 8, 37 และ 50ตั้งแต่ปี 2528 ทั้งได้โฆษณาเครื่องหมายการค้านี้ในสินค้าประเภทแว่นตา โดยลงโฆษณาในสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง ส่วนโจทก์ไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้าจำพวกใดและไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้านี้กับสินค้าใดเลย เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ได้ใช้ในประเทศไทย-กลับ-เป็นเครื่องหมายการค้า LANCER ซึ่งเป็นคนละเครื่อง-หมายการค้ากัน ส่วนในต่างประเทศนั้น จำเลยก็ได้ประกอบกิจการค้าขายโดยใช้ชื่อLANCEL มาตั้งแต่ปี 2519 โดยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้านานาชนิด รวมทั้งปากกาและอุปกรณ์การเขียนและเครื่องเขียนด้วย ได้จดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกอื่นนอกจากเครื่องเขียนในหลายประเทศ ทั้งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้สำหรับอุปกรณ์การเขียน ปากกาและเครื่องเขียนในหลายประเทศ และได้โฆษณาสินค้าต่าง ๆของจำเลยและเครื่องหมายการค้านี้ในหนังสือโฆษณาสินค้าหลายเล่ม ส่วนโจทก์มิได้ใช้โฆษณาหรือจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า LANCEL ในต่างประเทศเลย คงแต่ได้ใช้เครื่องหมายการค้า LANCER ในประเทศใกล้เคียงซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าคนละเครื่องหมายการค้า ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้เครื่องหมายการค้า LANCELก่อนโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อน, การจดทะเบียน, และการโฆษณาเป็นสำคัญ
ปัญหาที่ว่าโจทก์กับจำเลยใครมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่ากันจะต้องพิจารณาถึงการได้จดทะเบียน การใช้ และการโฆษณาเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย และอาจนำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการได้จดทะเบียนการใช้และการโฆษณาเครื่องหมายการค้านั้นในต่างประเทศมาพิจารณาประกอบด้วย การจดทะเบียนการใช้ และการโฆษณาเครื่องหมายการค้านั้น ไม่ว่าจะเป็นการจดทะเบียน การใช้ และการโฆษณาสำหรับสินค้าจำพวกหรือประเภทอื่นใด ในบางกรณีก็นำมาพิจารณาประกอบกันได้มิใช่ว่าจะต้องพิจารณาเฉพาะการจดทะเบียน การใช้ และการโฆษณา ในประเทศไทยและจะต้องพิจารณาเฉพาะในสินค้าจำพวกที่ เป็นปัญหาเท่านั้น โจทก์และจำเลยต่างยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าLANCEL ที่พิพาทสำหรับสินค้าจำพวกที่ 39 ในประเทศไทย ต่างฝ่ายจึงไม่อาจจะอ้างสิทธิในการจดทะเบียนสินค้าจำพวกนี้ต่ออีกฝ่ายหนึ่งได้แต่จำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้าจำพวก 8,37 และ 50 ตั้งแต่ปี 2528 ทั้งได้โฆษณาเครื่องหมายการค้านี้ในสินค้าประเภทแว่นตา โดยลงโฆษณาในสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง ส่วนโจทก์ไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้าจำพวกใดและไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้านี้กับสินค้าใดเลย เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ได้ใช้ในประเทศไทยกลับเป็นเครื่องหมายการค้า LANCER ซึ่งเป็นคนละเครื่องหมายการค้ากันส่วนในต่างประเทศนั้นจำเลยก็ได้ประกอบกิจการค้าโดยใช้ชื่อ LANCEL มาตั้งแต่ปี 2419 โดยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้านานาชนิดรวมทั้งปากกาและอุปกรณ์การเขียนและเครื่องเขียนด้วยได้จดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกอื่นนอกจากเครื่องเขียนในหลายประเทศ ทั้งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า นี้สำหรับอุปกรณ์การเขียน ปากกาและเครื่องเขียนในหลายประเทศและได้โฆษณาสินค้าต่าง ๆ ของจำเลยและเครื่องหมายการค้านี้ในหนังสือโฆษณาสินค้าหลายเล่ม ส่วนโจทก์มิได้ใช้ โฆษณาหรือ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า LANCEL ในต่างประเทศเลยคงแต่ได้ใช้เครื่องหมายการค้า LANCER ในประเทศใกล้เคียงซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าคนละเครื่องหมายการค้า ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้เครื่องหมายการค้า LANCEL ก่อนโจทก์จำเลยจึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาการจดทะเบียน, การใช้, และการโฆษณา ทั้งในและต่างประเทศ
ในปัญหาที่ว่าโจทก์กับจำเลยใครมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าLANCEL รายพิพาทดีกว่ากันนั้น จะต้องพิจารณาถึงการได้จดทะเบียนการใช้ และการโฆษณาเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย และอาจจะนำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการได้จดทะเบียน การใช้และการโฆษณาเครื่องหมายการค้านั้นในต่างประเทศมาพิจารณาประกอบด้วย การจดทะเบียนการใช้ และการโฆษณาเครื่องหมายการค้านั้น ไม่ว่าจะเป็นการจดทะเบียน การใช้ และการโฆษณาสำหรับสินค้าจำพวกหรือประเภทอื่นใดในบางกรณีก็นำมาพิจารณาประกอบกันได้ หาใช่ว่าจะต้องพิจารณาเฉพาะการจดทะเบียน การใช้ และการโฆษณาในประเทศไทย และจะต้องพิจารณาเฉพาะในสินค้าจำพวกที่เป็นปัญหาเท่านั้นไม่ สำหรับในประเทศไทย ทั้งโจทก์และจำเลยต่างยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า LANCEL ที่พิพาทสำหรับสินค้าจำพวกที่ 39 ด้วยกันทั้งสองฝ่าย ต่างฝ่ายจึงไม่อาจจะอ้างสิทธิในการจดทะเบียนในสินค้าจำพวกนี้ต่ออีกฝ่ายหนึ่งได้ แต่จำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้าจำพวกที่ 8,37 และ 50ตั้งแต่ปี 2528 ทั้งได้โฆษณาเครื่องหมายการค้านี้ในสินค้าประเภทแว่นตา โดยลงโฆษณาในสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง ส่วนโจทก์ไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้าจำพวกใดและไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้านี้กับสินค้าใดเลย เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ได้ใช้ในประเทศไทยกลับเป็นเครื่องหมายการค้า LANCER ซึ่งเป็นคนละเครื่องหมายการค้ากัน ส่วนในต่างประเทศนั้น จำเลยก็ได้ประกอบกิจการค้าขายโดยใช้ชื่อ LANCEL มาตั้งแต่ปี 2519 โดยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้านานาชนิด รวมทั้งปากกาและอุปกรณ์การเขียนและเครื่องเขียนด้วย ได้จดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกอื่นนอกจากเครื่องเขียนในหลายประเทศ ทั้งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้สำหรับอุปกรณ์การเขียน ปากกาและเครื่องเขียนในหลายประเทศ และได้โฆษณาสินค้าต่าง ๆ ของจำเลยและเครื่องหมายการค้านี้ในหนังสือโฆษณาสินค้าหลายเล่ม ส่วนโจทก์มิได้ใช้โฆษณาหรือจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า LANCEL ในต่างประเทศเลย คงแต่ได้ใช้เครื่องหมายการค้า LANCER ในประเทศใกล้เคียงซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าคนละเครื่องหมายการค้า ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้เครื่องหมายการค้า LANCEL ก่อนโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7318/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายตามคำพรรณนา: จำเลยมีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์สินตรงตามที่โฆษณาไว้ แม้ไม่ได้ระบุในสัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยก่อสร้างตึกแถวรุกล้ำเข้าในเขตแนวถนนที่จำเลยมีข้อตกลงตามสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์และตามแผนผังที่ได้โฆษณาไว้ในแนวถนน 2 เมตร ซึ่งหากข้อเท็จจริงเป็นดังข้ออ้างของโจทก์ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง โจทก์เข้าทำสัญญากับจำเลยโดยเชื่อคำโฆษณา จึงเข้าลักษณะเป็นการซื้อขายตามคำพรรณา จำเลยจึงมีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายให้ตรงตามคำพรรณนา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2995/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ป้ายทะเบียนรถจักรยานยนต์ที่ไม่ใช่เอกสารปลอม หากมีเจตนาเพื่อโฆษณาและไม่ใช่แผ่นโลหะ
จำเลยได้นำแผ่นกระดาษซึ่งมีข้อความ และตัวเลขว่าเหมือนกับแผนป้ายทะเบียนกรุงเทพมหานคร 9 ง - 9999 ของทางราชการ แล้วนำไปใส่กรอบโลหะติดไว้กับรถจักรยานยนต์ของจำเลย ซึ่งจำเลยอยู่ในระหว่างดำเนินการขอหมายเลขทะเบียนจากทางราชการ เมื่อแผ่นป้ายดังกล่าวมิได้ทำขึ้นด้วยแผ่นโลหะเช่นของทางราชการ ทั้งยังปรากฏข้อความอย่างอื่นในแผ่นกระดาษนั้นว่า คุ้มครองป้ายทะเบียนและ ห.จ.ก.รวมการช่าง ผู้ถือสิทธิบัตรอยู่ด้วย แสดงให้เห็นว่าเป็นป้ายที่ใช้เป็นตัวอย่างในการโฆษณา การจัดทำป้ายทะเบียนรถจักรยานยนต์เพื่อจำหน่ายของห้างดังกล่าว กรณีจึงมิใช่การทำเอกสารปลอมเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง เอกสารแผ่นป้ายดังกล่าวจึงมิใช่เอกสารปลอม แม้จำเลยจะนำไปติดไว้กับรถจักรยานยนต์ของจำเลย จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานใช้เอกสาร-ปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2995/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารปลอมต้องมีเจตนาทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารจริง การติดแผ่นกระดาษโฆษณาป้ายทะเบียนไม่ถือเป็นเอกสารปลอม
จำเลยได้นำแผ่นกระดาษซึ่งเขียนข้อความให้เหมือนกับแผ่นป้ายทะเบียนหมายเลข กรุงเทพมหานคร 9ง-9999 ที่ทางราชการได้ทำขึ้นแล้วนำไปใส่กรอบโลหะติดไว้กับรถจักรยานยนต์ของจำเลย ซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินการขอหมายเลขทะเบียนจากทางราชการ เมื่อแผ่นป้ายดังกล่าวมิได้ทำขึ้นด้วยแผ่นโลหะเช่นของทางราชการ ทั้งยังปรากฏข้อความว่า คุ้มครองป้ายทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัดรวมการช่างผู้ถือสิทธิบัตรเลขที่ 1091 อยู่ด้วย อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าเป็นป้ายที่ใช้เป็นตัวอย่างในการโฆษณาการจัดทำป้ายทะเบียนรถจักรยานยนต์เพื่อจำหน่ายของห้างร้านผู้จัดทำจำหน่าย กรณีจึงมิใช่การทำเอกสารปลอมเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่า เป็นเอกสารที่แท้จริง เอกสารดังกล่าวจึงมิใช่เอกสารปลอม แม้จำเลยจะนำเอกสารนั้นไปติดไว้กับรถจักรยานยนต์ จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานใช้เอกสารปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2995/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารปลอม – ป้ายทะเบียนรถ – โฆษณา – ไม่เข้าข่าย – ยกฟ้อง
จำเลยได้นำแผ่นกระดาษซึ่งมีข้อความ และตัวเลขว่าเหมือนกับแผ่นป้ายทะเบียนกรุงเทพมหานคร 9ง-9999 ของทางราชการ แล้วนำไปใส่กรอบโลหะติดไว้กับรถจักรยานยนต์ของจำเลย ซึ่งจำเลยอยู่ในระหว่างดำเนินการขอหมายเลขทะเบียนจากทางราชการ เมื่อแผ่นป้ายดังกล่าวมิได้ทำขึ้นด้วยแผ่นโลหะเช่นของทางราชการ ทั้งยังปรากฎข้อความอย่างอื่นในแผ่นกระดาษนั้นว่า คุ้มครองป้ายทะเบียนและห.จ.ก.รวมการช่าง ผู้ถือสิทธิบัตรอยู่ด้วย แสดงให้เห็นว่าเป็นป้ายที่ใช้เป็นตัวอย่างในการโฆษณา การจัดทำป้ายทะเบียนรถจักรยานยนต์เพื่อจำหน่ายของห้างดังกล่าว กรณีจึงมิใช่การทำเอกสารปลอมเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงเอกสารแผ่นป้ายดังกล่าวจึงมิใช่เอกสารปลอม แม้จำเลยจะนำไปติดไว้กับรถจักรยานยนต์ของจำเลย จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานใช้เอกสารปลอม
of 11