คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โจทก์ร่วม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 236 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7241/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนตัวจากการเป็นโจทก์ร่วมมีผลเป็นการถอนฟ้องเสร็จเด็ดขาด สิทธิการอุทธรณ์จึงระงับ
การที่โจทก์ร่วมขอถอนตัวจากการเป็นโจทก์ร่วม โดยระบุว่ามีความเห็นหลายอย่างไม่ตรงกับความเห็นของโจทก์ หากโจทก์ร่วมดำเนินคดีนี้ต่อไปอีกอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่รูปคดีของโจทก์ การขอถอนตัวจากการเป็นโจทก์ร่วมดังกล่าวไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมจะไปดำเนินการอะไรอีก ถือได้ว่าโจทก์ร่วมไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป มีผลเท่ากับเป็นการถอนฟ้องในส่วนของโจทก์ร่วมเสร็จเด็ดขาดแล้ว โจทก์ร่วมจะไปขอเข้าร่วมเป็นโจทก์อีกไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 36

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7241/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนตัวจากการเป็นโจทก์ร่วมมีผลเสมือนถอนฟ้อง ทำให้สิทธิอุทธรณ์สิ้นสุด
เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ในครั้งแรก ก็แสดงว่าศาลชั้นต้นฟังว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหาย สามารถดำเนินคดีแก่จำเลยโดยอาศัยสิทธิตามฟ้องของพนักงานอัยการเสมือนโจทก์ร่วมฟ้องเองการที่โจทก์ร่วมขอถอนตัวจากการเป็นโจทก์ร่วมโดยระบุว่ามีความเห็นหลายอย่างไม่ตรงกับความเห็นของโจทก์ หากโจทก์ร่วมดำเนินคดีนี้ต่อไปอีกอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่รูปคดีของโจทก์การขอถอนตัวจากการเป็นโจทก์ร่วมดังกล่าวไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมจะไปดำเนินการอะไรอีก ถือได้ว่าโจทก์ร่วมไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป มีผลเท่ากับเป็นการถอนฟ้องในส่วนของโจทก์ร่วมเสร็จเด็ดขาดนั่นเอง เมื่อเป็นการขอถอนฟ้องเสร็จเด็ดขาดแล้ว โจทก์ร่วมจะไปขอเข้าร่วมเป็นโจทก์อีกไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการผู้เป็นโจทก์ในครั้งหลังจึงไม่ชอบ และเมื่อโจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์ไม่ได้แล้ว โจทก์ร่วมจึงมิได้เป็นโจทก์ของคดีนี้ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6744/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาของโจทก์ร่วม: ข้อจำกัดเฉพาะในฐานะผู้เสียหายในข้อหาที่ตนมีส่วนได้เสีย
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการหมายถึงอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ได้เฉพาะในข้อหาที่โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหาย
ข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 371 และความผิดต่อ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหาย แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ โจทก์ร่วมก็ไม่มีสิทธิฎีกาในข้อหาดังกล่าวนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6744/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโจทก์ร่วมในคดีอาญา: ข้อจำกัดในการฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษและมีเหตุต้องห้ามตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 364,365 ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 และความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ระหว่างพิจารณาผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ศาลอนุญาต ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานบุกรุกจำคุก 6 เดือน ในความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง ฯลฯจำคุก 3 เดือน ฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจำคุก 6 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้รอการลงโทษจำคุกไว้โจทก์ร่วมฎีกา ดังนี้ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีได้ น่าจะหมายถึงการอนุญาตเฉพาะในข้อหาบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 364,365 เท่านั้น ส่วนข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 และความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายจึงเป็นโจทก์ร่วมในข้อหาดังกล่าวไม่ได้ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษจำคุกให้จำเลยในข้อหาดังกล่าว
ความผิดในข้อหาบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 364,365 แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้ไขรอการลงโทษจำคุกจำเลยอันเป็นการแก้ไขมากแต่ก็ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน2 ปี และปรับไม่เกิน 40,000 บาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 219

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2250/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกทรัพย์จากพนักงานขายฝากขาย: โจทก์ร่วมมีอำนาจร้องทุกข์ได้
โจทก์ร่วมนำสินค้าไปฝากขายที่ห้างสรรพสินค้า เมื่อสินค้าไปถึงห้างสรรพสินค้าพนักงานขายของโจทก์ร่วมที่ประจำอยู่ที่ห้างสรรพสินค้า และพนักงานของห้างสรรพสินค้าจะตรวจสอบว่าสินค้าส่งมาตรงตามใบสั่งซื้อสินค้าหรือไม่ เสร็จแล้วจึงนำไปเก็บที่คลังเก็บสินค้ากลางของห้างสรรพสินค้า พนักงานขายของโจทก์ร่วมจะเบิกสินค้าซึ่งโจทก์ร่วมยังคงเป็นเจ้าของอยู่จากคลังสินค้ามาขายแก่ลูกค้า จำเลยซึ่งเป็นผู้ขายและพนักงานของโจทก์ร่วมเบียดบังเอาเงินค่าสินค้าของโจทก์ร่วมไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยทุจริต จึงมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 352 และการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหายไม่ได้รับเงินค่าสินค้าดังกล่าว โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) มีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1483/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดร่วมกัน: ธนาคาร, โจทก์, โจทก์ร่วม มีหน้าที่รับผิดชดใช้ค่าเสียหายร่วมกัน ศาลต้องพิจารณาเป็นกรณีร่วมกัน
จำเลยฟ้องแย้งและขอให้ศาลหมายเรียกธนาคาร ก.เข้ามาเป็นโจทก์ร่วมเพื่อให้รับผิดตามฟ้องแย้ง โดยกล่าวหาว่าโจทก์ ธนาคาร ก. และบริษัทโจทก์ร่วมได้โต้แย้งสิทธิของจำเลยด้วยการร่วมกันทำละเมิดต่อจำเลยโดยใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย เป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และ 421ดังนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทกันขึ้นว่าโจทก์ ธนาคาร ก. และ บริษัทโจทก์ร่วม ร่วมกันทำละเมิดต่อจำเลยตามฟ้องแย้งหรือไม่ จำเลยจึงมีอำนาจฟ้องธนาคาร ก.ได้ และลำพังตามคำฟ้องแย้งของจำเลยยังไม่อาจรับฟังได้ว่าธนาคาร ก. ไม่ได้ทำละเมิดต่อจำเลยโดยแน่ชัด การที่ศาลชั้นต้นด่วนวินิจฉัยว่าธนาคาร ก. เป็นเพียงเจ้าหนี้เสียงข้างมากของบริษัท อ. ที่หยุดการจำหน่ายเบียร์ให้จำเลย จำเลยไม่มีสิทธิฟ้องให้ธนาคาร ก. รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยได้จึงไม่ชอบคดีจึงมีเหตุสมควรหมายเรียกธนาคาร ก. เข้ามาในคดีนี้เพื่อพิจารณารวมกันไปว่าต้องร่วมกับโจทก์และบริษัทโจทก์ร่วมรับผิดต่อจำเลยตามฟ้องแย้งหรือไม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7233-7234/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของโจทก์ร่วม: กรณีบริษัทเป็นผู้รับประโยชน์จากเช็ค แต่โจทก์ร่วมลงนามในฐานะกรรมการบริษัท
ตามคำฟ้องของโจทก์บรรยายว่าจำเลยออกเช็คพิพาทมอบให้ผู้เสียหายซึ่งคือโจทก์ร่วม เพื่อชำระหนี้เงินกู้ ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย แต่โจทก์ร่วมเองกลับยืนยันรับข้อเท็จจริงในฎีกาของโจทก์ร่วมว่าโจทก์ร่วมลงนามในฐานะผู้ให้กู้แทนบริษัทลัวเซียร์-ไทย จำกัด จึงต้องถือว่าบริษัทลัวเซียร์ - ไทย จำกัด เป็นผู้ทรงและ มีสิทธิได้รับเงินตามเช็คพิพาทที่จำเลยออกเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ แม้ตามข้อเท็จจริงโจทก์ร่วมเพียงผู้เดียวเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทกระทำการแทนบริษัทลัวเซียร์-ไทย จำกัด ได้ ก็ไม่อาจแปลเจตนาว่ากระทำแทนผู้เสียหายในกรณีเช่นนี้ได้ โจทก์ร่วมในฐานะส่วนตัวจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีสิทธิจะเข้าเป็นโจทก์ร่วมและไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6516/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการลงชื่อยื่นอุทธรณ์/ฎีกาแทนโจทก์ร่วม และการขยายระยะเวลา
คดีอาญา เมื่อโจทก์ร่วมแต่งตั้งให้ ท.เป็นทนายความโดยให้มีอำนาจใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา ท.จึงลงชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์แทนโจทก์ร่วมได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 62 ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 โดยไม่จำต้องรอให้โจทก์ร่วมเป็นผู้ลงลายมือชื่อด้วยตนเอง ข้ออ้างของทนายโจทก์ร่วมที่ว่ายังไม่ได้รับแบบพิมพ์ท้ายอุทธรณ์ที่ให้โจทก์ร่วมลงลายมือชื่อกลับคืนมาจึงยังไม่สามารถยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษอันศาลจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้โจทก์ร่วมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการดำเนินคดีอาญาหลังโจทก์ร่วมถึงแก่ความตาย และการวินิจฉัยอุทธรณ์ที่เกินกรอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 288 โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาของผู้ตาย จึงเข้าจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 5 (2) แต่เมื่อโจทก์ร่วมถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา ทายาทของโจทก์ร่วมย่อมไม่มีสิทธิที่จะดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมผู้ถึงแก่ความตายต่อไปตามความหมายของบทบัญญัติมาตรา 29 แห่ง ป.วิ.อ.
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ ส.ทายาทของโจทก์ร่วมเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วม อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 29 การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส.ที่อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้น แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าอุทธรณ์ดังกล่าวฟังไม่ขึ้น ก็เป็นการไม่ชอบเช่นเดียวกัน ปัญหาข้อนี้แม้คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องโดยมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นและคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
จำเลยใช้อาวุธปืนของกลางยิงผู้ตาย ขณะผู้ตายวิ่งหนี การกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการดำเนินคดีของทายาทหลังโจทก์ร่วมถึงแก่ความตาย และการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 โจทก์ร่วม ซึ่งเป็นบิดาของผู้ตาย จึงเข้าจัดการแทนผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) แต่เมื่อโจทก์ร่วมถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา ทายาทของโจทก์ร่วมย่อมไม่มีสิทธิที่จะดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมผู้ถึงแก่ความตายต่อไปตามความหมายของบทบัญญัติมาตรา 29 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ ส. ทายาทของโจทก์ร่วมเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วม อันเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 29 การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส. ที่อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้น แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าอุทธรณ์ดังกล่าวฟังไม่ขึ้น ก็เป็นการไม่ชอบเช่นเดียวกัน ปัญหาข้อนี้แม้คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องโดยมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นและคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
จำเลยใช้อาวุธปืนของกลางยิงผู้ตาย ขณะผู้ตายวิ่งหนี การกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
of 24