คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โต้แย้งคำสั่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบ - อุทธรณ์ฎีกา - การโต้แย้งคำสั่ง - ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เมื่อศาลสั่งให้คู่ความฝ่ายใดมีหน้าที่นำสืบก่อนแล้วถ้าคู่ความฝ่ายนั้น ไม่เห็นด้วยและประสงค์จะอุทธรณ์ฎีกาในเรื่องคำสั่งหน้าที่นำสืบแล้วคู่ความฝ่ายนั้นจะต้องโต้แย้งไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 มิฉะนั้นจะอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งศาลต้องมีการโต้แย้งคำสั่งในสำนวน การโต้เถียงทั่วไปไม่ถือเป็นการโต้แย้งคำสั่ง
สิทธิที่จะอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งศาลตาม ม.226 (2) นั้น ผู้อุทธรณ์หรือฎีกาจะต้องได้ทำการโต้แย้งคำสั่งศาลให้ปรากฏในสำนวน จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้
การที่คู่ความโต้เถียงคัดค้านกันในเรื่องหน้าที่นำสืบว่าใครต้องสืบก่อนสืบหลังดังปรากฏตามรายงานศาลนั้นเป็นเพียงคำคัดค้านโต้เถียงระหว่างคู่ความซึ่งแถลงต่อศาล เพื่อให้ศาลมีคำสั่งหาใช่เป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลตามมาตรา 226 (2) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 543/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลต้องมีการโต้แย้งในศาลชั้นต้น การแถลงก่อนมีคำสั่งไม่ใช่การโต้แย้ง
การอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณานั้น คู่ความจะต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ในศาลชั้นต้น จึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้
การที่คู่ความยกเหตุผลข้อโต้แย้งต่าง ๆ ขึ้นแถลงต่อศาลก่อนที่ศาลจะมีคำสั่ง ไม่เรียกว่าได้มีการโต้แย้งคำสั่งศาลตามความหมายในมาตรา 226 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2487

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตัดประเด็นในชั้นศาลและการมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้น ทำให้ประเด็นนั้นยุติในชั้นอุทธรณ์
ไนคดีที่มีข้อโต้เถียงระหว่างคู่ความพลายข้อ สาลชั้นต้นตัดประเด็นข้ออื่น ๆ หมดลงเหลือประเด็นข้อเดียวที่ทำการพิจารนาและประเด็นที่ถูกตัดเสียนั้นคู่ความมิได้โต้เถียงแย้งคำสั่งสาลชั้นต้นไว้ แต่กลับอุธรน์ไปประเด็นข้อเดียวที่สาลชั้นต้นพิจารนามาเท่านั้น ดั่งนี้ประเด็นข้ออื่น ๆ เปนอันยุติ
สาลอุธรน์ไม่มีอำนาดย้อนสำนวนไปไหสาลชั้นต้นพิจารนาพิพากสาไหม่ไนประเด็นที่คู่ความมิได้อุธรน์
โจทชนะความแล้วยึดทรัพย์ สามีจำเลยร้องขัดทรัพย์ สาลชั้นต้นกะประเด็นไห้สืบข้อเดียวว่าทรัพย์ที่ยึดเปนสินเดิมหรือสินสมรส ส่วนประเด็นที่ว่าจำเลยได้รับอนุญาตไห้กู้หรือไม่และทำเพื่อประโยชน์ด้วยกันหรือไม่ ไม่ไห้นำสืบ และคู่ความมิได้คัดค้าน ดังนี้ สาลอุธรน์กะไห้สืบพยานไนข้อหลังนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6976/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการโต้แย้งคำสั่งอายัดเงินและการใช้สิทธิโดยสุจริต ไม่ถือเป็นการทำละเมิด
แม้โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของบริษัท พ. และโจทก์บังคับคดีโดยขออายัดเงินฝากที่บริษัท พ. ฝากไว้กับจำเลย แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม โดยอ้างว่าบริษัท พ. เป็นลูกหนี้จำเลยกับโอนสิทธิในเงินฝากให้แก่จำเลยและจำนำเงินฝากไว้แก่จำเลยด้วย แต่การที่จำเลยปฏิเสธไม่ส่งเงินที่ศาลมีคำสั่งอายัดโดยให้เหตุผลว่า บริษัท พ. เป็นลูกหนี้จำเลยกับโอนสิทธิในเงินฝากให้แก่จำเลย ทั้งยังจำนำเงินฝากไว้แก่จำเลยด้วย เป็นการใช้สิทธิปฏิเสธหรือโต้แย้งคำสั่งอายัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 312 วรรคหนึ่ง การปฏิเสธของจำเลยจะฟังได้หรือไม่ ย่อมเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นในคดีที่ได้มีคำสั่งอายัดเป็นผู้ไต่สวนและวินิจฉัย หากการปฏิเสธของจำเลยฟังไม่ได้ ศาลในคดีดังกล่าวก็ต้องมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งอายัด หากจำเลยไม่ปฏิบัติตาม เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีแก่จำเลย และดำเนินการไปเสมือนหนึ่งว่าจำเลยเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา อันเป็นขั้นตอนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 312 วรรคสอง แต่มิได้หมายความว่าหากศาลชั้นต้นไต่สวนและวินิจฉัยเป็นประการใดแล้วให้เป็นที่สุด ดังนั้น การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งอายัด จึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ทั้งข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในคดีที่ศาลมีคำสั่งอายัดเงิน จำเลยวางหลักประกันจนเป็นที่พอใจแก่ศาลและศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ทุเลาการบังคับตามคำพิพากษาแล้ว โจทก์จึงไม่อาจกล่าวอ้างได้ว่า การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งอายัดเป็นการอุทธรณ์เพื่อประวิงคดีไม่ให้โจทก์ได้รับเงินตามคำพิพากษา การที่จำเลยใช้สิทธิโต้แย้งคำสั่งอายัดของศาลโดยการปฏิเสธไม่ยอมส่งเงินที่ศาลมีคำสั่งอายัดให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นการใช้สิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดเสียหายแก่โจทก์ ไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20608/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามสัญญาประกันตัว – การโต้แย้งคำสั่งศาล – การสิ้นสุดของกระบวนการพิจารณา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งปรับนายประกัน ออกคำบังคับให้นายประกันชำระค่าปรับตามสัญญาประกันภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหมายแจ้งคำสั่ง การที่ผู้ประกันยื่นคำร้องว่า ผู้ประกันจะพยายามติดตามตัวจำเลยมาส่งศาลให้ได้ และขอผัดส่งตัวจำเลยภายใน 1 เดือน ขอให้ศาลงดการบังคับคดีตามสัญญาประกันไว้ก่อน ถือว่าเป็นการโต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ได้สั่งให้บังคับตามสัญญาประกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ประกัน ผู้ประกันอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1126/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งงดสืบพยานและการโต้แย้งคำสั่ง หากมิได้โต้แย้งสิทธิอุทธรณ์ย่อมหมดไป
ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้จึงมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยและนัดฟังคำพิพากษา ซึ่งศาลชั้นต้นก็ได้พิพากษาคดีในวันดังกล่าวโดยนำข้อเท็จจริงจากที่คู่ความแถลงร่วมกันมาวินิจฉัยชี้ขาดคดี ดังนั้น คำสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้นในกรณีนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง มิใช่คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามมาตรา 24 หากโจทก์เห็นว่าข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมหรือมีการสืบพยานต่อไปก็ต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ มิฉะนั้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 226 (2)
of 3