พบผลลัพธ์ทั้งหมด 221 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5479/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การโต้แย้งสิทธิและการเพิกถอนชื่อออกจาก น.ส.3
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท แปลงหนึ่งมี น.ส.3 อีกแปลงหนึ่งไม่มีหนังสือเอกสารสิทธิ โดยได้มาจากการให้ต่างตอบแทนจาก ป. และจำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้เงินยืม โจทก์ครอบครองที่ดินดังกล่าวตลอดมา เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งมอบที่ดินให้โจทก์เข้าครอบครอง โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 ส่วนจำเลยที่ 1 ก็หมดสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวตามมาตรา 1378 การที่จำเลยที่ 1 ยังคงมีชื่อใน น.ส.3 มีผลให้จำเลยที่ 1 ยังได้รับคำรับรองของทางราชการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 ทวิ และจำเลยที่ 1 ยังได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายในฐานะที่มีชื่อในทะเบียนที่ดินว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373สิทธิของจำเลยที่ 1 ที่ได้รับตามกฎหมายจึงไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงเป็นการโต้แย้งสิทธิครอบครองของโจทก์ตามความเป็นจริงโดยตรง โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้อง ขอให้เพิกถอนชื่อของจำเลยที่ 1 ออกจาก น.ส.3 ได้ กรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการโต้แย้งตัวทรัพย์ คือ ที่ดินที่ครอบครอง เมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองตาม น.ส.3 ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 โดยกระทำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และจำเลยที่ 2 ได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวตาม น.ส.3 ซึ่งไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงเป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิครอบครองของโจทก์โดยตรง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องที่ศาลล่างทั้งสองไม่รับฟ้องของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1304/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการโต้แย้งสิทธิเกินกว่าการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม
แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ตามที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างว่า คดีอยู่ระหว่างจำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมและจำเลยที่ 1 ยังมิได้ผิดนัด การที่โจทก์มีหนังสือขอให้ศาลจังหวัดสุรินทร์หักเงินบำเหน็จที่จำเลยที่ 1 จะได้รับเนื่องจากการลาออกจากราชการเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมเป็นการไม่ชอบนั้นก็เป็นเรื่องที่โจทก์มิได้มีการบังคับคดีจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 แต่เป็นเรื่องที่โจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 นอกเหนือการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม จำเลยที่ 1 ชอบที่จะไปว่ากล่าวโจทก์เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: การโต้แย้งสิทธิเดิมและการหมดอายุความฟ้องแย่งการครอบครอง
คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยยืนยันว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นของบิดามารดาของสามีจำเลย บุคคลดังกล่าวได้ยกให้แก่จำเลยและสามีจำเลยครอบครองและทำประโยชน์ตลอดมาโดยจำเลยไม่ยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์คดีจึงไม่อาจมีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะที่ดินเป็นของผู้อื่น เมื่อจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่จำเลยครอบครองเองจึงไม่เป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่ถูกแย่ง การครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสองหรือไม่ หรือโจทก์หมดสิทธิฟ้อง เอาคืนซึ่งที่ดินพิพาทหรือไม่ เพราะประเด็นนี้ขัดแย้งกับประเด็น ที่จำเลยได้ให้การและฟ้องแย้งไว้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของ จำเลยโดยได้รับการยกให้จากบิดามารดาของสามีจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทเดิม การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อนี้จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไล่ออกข้าราชการ – การโต้แย้งสิทธิ – ผลกระทบต่อสถานภาพ – เหตุผลไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยเพิกถอนคำสั่งและมีคำสั่งใหม่ให้โจทก์เข้ารับราชการเหมือนเดิม และให้มีคำสั่งให้โจทก์ได้รับเงินเดือนย้อนหลังหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยโดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาข้อหามีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต พาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะหรือหมู่บ้านโดยไม่มีเหตุอันสมควร ยิงปืนในหมู่บ้านโดยไม่มีเหตุอันสมควร เมาสุราทำให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย และถูกพักราชการระหว่างรอฟังผลคดีอาญา ต่อมาศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ กองบัญชาการตำรวจภูธร 1 มีคำสั่งให้โจทก์กลับเข้ารับราชการและลงโทษกักขังโจทก์มีกำหนด 60 วัน ซึ่งตามคำสั่งดังกล่าวระบุว่าเป็นการลงโทษข้อหาเสพสุราจนมีอาการมึนเมาและเสียกริยาในที่สาธารณะ ต่อมาจำเลยมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากราชการ ซึ่งตามคำสั่งดังกล่าวระบุว่าเป็นการลงโทษข้อหาละทิ้งหน้าที่เสพสุรามึนเมาอาละวาดทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น และยิงปืนโดยไม่มีเหตุอันสมควรคำสั่งของจำเลยดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ยุติธรรม และขัดต่อคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายให้เห็นว่าคำสั่งของจำเลยดังกล่าวได้อ้างข้อหาเมาสุราซึ่งโจทก์ถูกลงโทษกักขัง 60 วันไปแล้ว และมีข้อหายิงปืนโดยไม่มีเหตุอันสมควรซึ่งศาลพิพากษายกฟ้องถึงที่สุดไปแล้ว กับมีข้อหาละทิ้งหน้าที่เพิ่มขึ้นอีก จึงอาจเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามที่โจทก์อ้าง และคำสั่งไล่ออกก็เป็นคำสั่งที่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ คำฟ้องของโจทก์ถือได้ว่ามีการโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ฟังข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของโจทก์เสียก่อนจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนคำสั่งไล่ออก: การบรรยายเหตุแห่งการโต้แย้งสิทธิที่เพียงพอ
โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาข้อหามีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต พาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะ หรือหมู่บ้านโดยไม่มีเหตุอันสมควร ยิงปืนในหมู่บ้านโดย ไม่มีเหตุอันสมควรเมาสุราทำให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย และถูกพักราชการระหว่างรอฟังผลคดีอาญา ต่อมาศาลจังหวัดอ่างทอง พิพากษายกฟ้องโจทก์ กองบัญชาการตำรวจภูธร 1 มีคำสั่ง ที่ 99/2534 ให้โจทก์กลับเข้ารับราชการและลงโทษกักขังโจทก์ มีกำหนด 60 วัน อันเป็นการลงโทษข้อหาเสพสุราจนมีอาการ มึนเมาและเสียกริยาในที่สาธารณะ แต่ต่อมาจำเลยมีคำสั่ง ที่ 983/2534 ไล่โจทก์ออกจากราชการ ซึ่งคำสั่งดังกล่าวระบุว่า เป็นการลงโทษข้อหาละทิ้งหน้าที่ เสพสุรามึนเมาอาละวาด ทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น และยิงปืนโดยไม่มีเหตุอันสมควร คำสั่ง ของจำเลยดังกล่าวจึงอาจเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งคำสั่งไล่ออกก็เป็นคำสั่งที่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิ และหน้าที่ของโจทก์ ถือว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไล่ออกข้าราชการตำรวจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การโต้แย้งสิทธิ และอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยเพิกถอนคำสั่งและมีคำสั่งใหม่ให้โจทก์เข้ารับราชการเหมือนเดิมและให้มีคำสั่งให้โจทก์ได้รับเงินเดือนย้อนหลังหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยโดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาข้อหามีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต พาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะ หรือหมู่บ้านโดยไม่มีเหตุอันสมควร ยิงปืนในหมู่บ้านโดยไม่มี เหตุอันสมควร เมาสุราทำให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย และถูกพักราชการระหว่างรอฟังผลคดีอาญา ต่อมา ศาลพิพากษา ยกฟ้อง โจทก์ กองบัญชาการตำรวจภูธร 1มีคำสั่งให้โจทก์กลับเข้ารับราชการและลงโทษกักขังโจทก์มีกำหนด 60 วัน ซึ่งตามคำสั่งดังกล่าวระบุว่าเป็นการลงโทษข้อหาเสพสุราจนมีอาการมึนเมาและเสียกริยาในที่สาธารณะ ต่อมาจำเลยมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากราชการ ซึ่งตามคำสั่งดังกล่าวระบุว่าเป็นการลงโทษข้อหาละทิ้งหน้าที่เสพสุรามึนเมาอาละวาดทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น และยิงปืนโดยไม่มีเหตุอันสมควรคำสั่งของจำเลยดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ยุติธรรม และขัดต่อคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดแล้วดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายให้เห็นว่าคำสั่ง ของจำเลยดังกล่าวได้อ้างข้อหาเมาสุราซึ่งโจทก์ถูกลงโทษ กักขัง 60 วันไปแล้ว และมีข้อหายิงปืนโดยไม่มีเหตุอันสมควร ซึ่งศาลพิพากษา ยกฟ้องถึงที่สุดไปแล้ว กับมีข้อหา ละทิ้งหน้าที่เพิ่มขึ้นอีก จึงอาจเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามที่โจทก์อ้าง และคำสั่งไล่ออกก็เป็นคำสั่งที่มีผล กระทบต่อสถานภาพของสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ คำฟ้องของโจทก์ถือได้ว่ามีการโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์จึงมี อำนาจฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษา ยกฟ้อง โจทก์โดย ไม่ฟังข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของโจทก์เสียก่อนจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6676/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษี: การโต้แย้งสิทธิขอคืนภาษีอากรและการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย
โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรจากจำเลย ต่อมาจำเลยได้ออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนพบว่า โจทก์ได้รับค่าภาษีอากรเกินไปจำนวน5,497,022.41 บาท จึงได้มีหนังสือแจ้งให้ส่งคืนภาษีอากรผิดพลาดดังกล่าว แม้หนังสือแจ้งให้ส่งคืนเงินภาษีอากรผิดพลาดจะไม่ใช่หนังสือแจ้งการประเมิน แต่กรณีเป็นเรื่องพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากรตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 (3)แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีอากรตามแบบค.10 โดยจำเลยได้ทำการพิจารณาคำร้องของโจทก์ดังกล่าวจนมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ส่งเงินภาษีอากรส่วนที่เกินคืน อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในการขอคืนเงินภาษีอากรแล้ว เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 มาตรา 9 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6676/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: กรณีพิพาทคืนภาษี แม้ไม่ใช่การประเมิน ก็มีอำนาจฟ้องได้หากมีการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรจากจำเลยตามแบบ ค.10 ที่จำเลยกำหนดไว้ แต่ต่อมาจำเลยพบว่าโจทก์ได้รับค่าภาษีอากร เกินไปจำนวน 5,497,022.41 บาท จึงได้มีหนังสือแจ้งให้ ส่งคืนภาษีอากรผิดพลาดดังกล่าว แม้หนังสือแจ้งให้ส่ง คืนเงินภาษีอากรผิดพลาดจะไม่ใช่หนังสือแจ้งการประเมินก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากร ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7(3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 ซึ่ง ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีอากรตามแบบ ค.10 ให้ผิดไปตามแบบที่จำเลยกำหนด โดยจำเลยได้ทำการพิจารณา คำร้องของโจทก์ดังกล่าวจนมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ส่ง เงินภาษีอากรส่วนที่เกินคืน ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิของ โจทก์ในการขอคืนเงินภาษีอากรจากจำเลยแล้ว เมื่อโจทก์ได้ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและ วิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 9 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6623/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งทางปกครองและการโต้แย้งสิทธิ: ศาลฎีกามีคำพิพากษากลับให้รับฟ้อง กรณีคำสั่งพักราชการขัดต่อกฎหมาย
แม้อธิบดีกรมตำรวจและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจำเลยทั้งสองจะอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 107ประกอบ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจพ.ศ. 2521 มาตรา 60 และ 61 แต่งตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง และแต่งตั้งกรรมการสอบสวนวินัยโจทก์ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชารวมทั้งมีคำสั่งพักราชการโจทก์ในระหว่างการสอบสวนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาอันเป็นการใช้อำนาจดุลพินิจโดยเฉพาะของจำเลย ทั้งสองก็ตาม แต่ขณะที่จำเลยทั้งสองออกคำสั่งกระทรวงมหาดไทยทั้งสามฉบับดังกล่าวพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. 2539 ได้ประกาศใช้บังคับแล้ว ซึ่งตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้บัญญัติถึงวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองไว้โดยเฉพาะ คำสั่งกระทรวงมหาดไทยทั้งสามฉบับดังกล่าวเป็นการพิจารณาทางปกครองของจำเลยทั้งสองในฐานะเจ้าหน้าที่จึงตกอยู่ในบังคับของมาตรา 16แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539เฉพาะอย่างยิ่งคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 322/2541ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2541 ที่จำเลยที่ 1 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สั่งพักราชการโจทก์เพื่อรอ ฟังผลการสอบสวนพิจารณาเป็นคำสั่งทางปกครอง ตามนัยที่บัญญัติไว้ในมาตรา 5(1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งให้นิยามคำว่า "คำสั่งทางปกครอง" หมายความว่า"(1) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อเปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือ ชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติการวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียนแต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ" ดังนี้การที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งพักราชการโจทก์เพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณามีผลทำให้กระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ แม้จะเป็นการชั่วคราวแต่ก็ถือว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครอง ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2(พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539ที่ให้คำสั่งทางปกครองในกรณีดังต่อไปนี้ เป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 30 วรรคสอง (6) คือ (1)การบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน การสั่งพักงาน หรือสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อน หรือการให้พ้นจากตำแหน่ง ดังนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองที่โจทก์อ้างว่า จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ด้วยการทำการพิจารณาทางปกครอง และมีคำสั่งทางปกครองโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายไม่ให้ความเป็นธรรมแก่โจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จนต้องถูก สั่งพักราชการเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาย่อมเป็นการกระทำที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามความหมาย แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55แล้ว จึงชอบที่ศาลจะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาดำเนินการ ต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4867/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งสิทธิและการหมิ่นประมาท: การฟ้องเพิกถอนการให้และการประพฤติเนรคุณ
คำบรรยายฟ้องของจำเลยตามสำเนาคำฟ้องมีใจความว่าโจทก์ กับ ค. ร่วมกันฉ้อฉลและล่อลวงให้ พ. ไปทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองขณะที่ พ. ป่วยไม่สามารถแสดงเจตนาทำพินัยกรรมดังกล่าวได้ โดยเฉพาะพ.ไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ข้อความในพินัยกรรมจึงน่าจะเกิดจากอุบายของโจทก์กับ ค. เป็นผู้เขียนขึ้นแล้วส่งให้เจ้าหน้าที่อำเภอเป็นผู้พิมพ์ แล้วจับมือ พ. ลงลายพิมพ์นิ้วมือในพินัยกรรมดังกล่าว ทั้งโจทก์ยังหลอกลวง พ. ไปที่สำนักงานที่ดินให้ทำนิติกรรมจดทะเบียนยกที่ดินให้โจทก์ อันเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต โดยเฉพาะก่อนที่ พ.จะถึงแก่กรรม 18 วัน โจทก์หลอกลวง พ. ไปที่สำนักงานที่ดินแล้วพูดจาข่มขู่เจ้าพนักงานที่ดินเพื่อให้ทำนิติกรรมจดทะเบียนยกที่ดินของ พ. ให้แก่โจทก์ ตามที่จำเลยเชื่อว่าเป็นความจริง และไม่เชื่อว่า พ.ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองและนิติกรรมจดทะเบียนยกที่ดินให้โจทก์ เพราะขณะที่ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองและทำนิติกรรมจดทะเบียนยกที่ดินให้โจทก์ก็ดี พ.ป่วยไม่สามารถแสดงเจตนาทำพินัยกรรมและนิติกรรมดังกล่าวได้เมื่อกรณีไม่ใช่จำเลยรู้เห็นมาเองว่าข้อเท็จจริงเป็นดังคำบรรยายฟ้อง แม้โจทก์จะไม่ได้ใช้อุบายหลอกลวงพ.ไปทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองและจับมือพ.ลงลายพิมพ์นิ้วมือในพินัยกรรมดังกล่าว และโจทก์ไม่ได้หลอกลวง พ. ไปทำนิติกรรมจดทะเบียนยกที่ดินให้โจทก์ก็ตาม แต่คำบรรยายฟ้องของจำเลยเป็นการแสดงเพื่อให้เห็นสิทธิของจำเลยและการประพฤติปฏิบัติของโจทก์ที่จำเลยเชื่อว่าเป็นเช่นนั้น อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยตามกฎหมาย คำบรรยายฟ้องของจำเลยดังกล่าวหาทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงหรือเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงแต่อย่างใดไม่จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยประพฤติเนรคุณ ที่โจทก์เรียกถอนคืนการให้จากจำเลยได้