พบผลลัพธ์ทั้งหมด 356 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3371/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานผลิตและครอบครองกัญชา: การพิจารณาโทษตามกฎหมายที่เปลี่ยนแปลง และการแยกความผิดหลายกรรม
จำเลยผลิตกัญชาโดยการเพาะปลูก จำนวน 20 ต้น น้ำหนัก 6 กิโลกรัม และจำเลยมีกัญชาจำนวน 20 ต้น น้ำหนัก 6 กิโลกรัม ที่จำเลยผลิตดังกล่าว และกัญชาแห้งจำนวน 1 ถุง น้ำหนัก 54 กรัม รวมน้ำหนักทั้งสิ้น 6.054 กิโลกรัม ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเฉพาะต้นกัญชาจำนวน 20 ต้น น้ำหนัก 6 กิโลกรัม เท่านั้น ที่ถือว่าเป็นผลที่เกิดจากการผลิตกัญชาโดยการปลูกของจำเลย แต่สำหรับกัญชาแห้ง จำนวน1 ถุง น้ำหนัก 54 กรัม นั้นไม่ปรากฏว่าคือส่วนหนึ่งของผลผลิตซึ่งเกิดจากต้นกัญชาที่จำเลยปลูกจำนวน 20 ต้น ดังนั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน มิใช่เป็นกรรมเดียว
ตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่ มาตรา 76 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษจำคุกเท่ากัน และตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะระวางโทษปรับสูงกว่าโทษปรับตามกฎหมายเดิมแต่ก็เป็นการบัญญัติให้ลงโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับแตกต่างจากกฎหมายเดิมที่กำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับเท่านั้น จึงต้องถือว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด และกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่าในส่วนที่เกี่ยวกับโทษซึ่งมีหลายสถานที่จะลงได้ แต่โทษปรับตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายเฉพาะความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่ มาตรา 76 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษจำคุกเท่ากัน และตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะระวางโทษปรับสูงกว่าโทษปรับตามกฎหมายเดิมแต่ก็เป็นการบัญญัติให้ลงโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับแตกต่างจากกฎหมายเดิมที่กำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับเท่านั้น จึงต้องถือว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด และกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่าในส่วนที่เกี่ยวกับโทษซึ่งมีหลายสถานที่จะลงได้ แต่โทษปรับตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายเฉพาะความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6764/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากไฟไหม้และการร่วมกระทำผิดฐานประมาท: ศาลแก้ไขโทษจำเลยฐานประมาทเลินเล่อ
การกระทำความผิดโดยประมาทเป็นการกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา จึงไม่อาจมีการร่วมกันกระทำในลักษณะที่เป็นตัวการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ได้ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 225 ประกอบมาตรา 83 นั้น ไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา แต่ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4776/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายยาเสพติด: การส่งมอบระหว่างผู้กระทำผิดไม่ถือเป็นการจำหน่าย และผลกระทบของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ต่อโทษ
การที่ ส. เป็นผู้ใช้ให้จำเลยไปซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางนั้น ฟังได้เพียงว่าจำเลยซื้อและครอบครองเมทแอมเฟตามีนแทน ส. เท่านั้น ส่วนการที่จำเลยนำเมทแอมเฟตามีนที่ซื้อมาดังกล่าวไปให้ ส. ในภายหลัง ก็เป็นการส่งมอบระหว่างผู้กระทำผิดด้วยกันเอง หาใช่การให้อันจะถือว่าเป็นการจำหน่ายตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 4 ไม่
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)พ.ศ. 2545 มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน โดยในมาตรา 67 ที่แก้ไขใหม่ได้กำหนดปริมาณเมทแอมเฟตามีนที่คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไว้ว่าต้องมีไม่ถึงปริมาณที่กำหนดตามมาตรา 15 วรรคสาม(2) คือ 375 มิลลิกรัม อันเป็นการแตกต่างจากที่กำหนดไว้ในมาตรา 67 เดิม ซึ่งจะต้องมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 20 กรัม ดังนั้น กฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดจึงไม่เป็นคุณแก่จำเลยในส่วนนี้ ส่วนกำหนดโทษนั้นตามกฎหมายเดิมให้ลงโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท สำหรับกฎหมายที่แก้ไขใหม่กำหนดโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนี้ แม้ตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษจำคุกเท่ากันและตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะได้กำหนดโทษปรับสูงกว่าโทษปรับตามกฎหมายเดิม แต่ก็เป็นการบัญญัติให้ลงโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ แตกต่างจากกฎหมายเดิมที่กำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับเท่านั้น จึงต้องถือว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด และกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่าในส่วนที่เกี่ยวกับโทษซึ่งมีหลายสถานที่จะลงได้ ส่วนโทษปรับนั้นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)พ.ศ. 2545 มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน โดยในมาตรา 67 ที่แก้ไขใหม่ได้กำหนดปริมาณเมทแอมเฟตามีนที่คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไว้ว่าต้องมีไม่ถึงปริมาณที่กำหนดตามมาตรา 15 วรรคสาม(2) คือ 375 มิลลิกรัม อันเป็นการแตกต่างจากที่กำหนดไว้ในมาตรา 67 เดิม ซึ่งจะต้องมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 20 กรัม ดังนั้น กฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดจึงไม่เป็นคุณแก่จำเลยในส่วนนี้ ส่วนกำหนดโทษนั้นตามกฎหมายเดิมให้ลงโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท สำหรับกฎหมายที่แก้ไขใหม่กำหนดโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนี้ แม้ตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษจำคุกเท่ากันและตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะได้กำหนดโทษปรับสูงกว่าโทษปรับตามกฎหมายเดิม แต่ก็เป็นการบัญญัติให้ลงโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ แตกต่างจากกฎหมายเดิมที่กำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับเท่านั้น จึงต้องถือว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด และกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่าในส่วนที่เกี่ยวกับโทษซึ่งมีหลายสถานที่จะลงได้ ส่วนโทษปรับนั้นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะ 'ข้าราชการ' ของทหารกองประจำการ และผลต่อการลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ
"ข้าราชการ" หมายถึง บุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน ข้าราชการทหารจึงเป็นข้าราชการด้วย อย่างไรเป็นข้าราชการทหารต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 และพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 เท่านั้น ซึ่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ข้าราชการทหาร" หมายความว่า ทหารประจำการและข้าราชการกลาโหมพลเรือนที่บรรจุในตำแหน่งอัตราทหาร ส่วนคำว่า "ทหารประจำการ" พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 4(8) ให้ความหมายว่า ทหารซึ่งรับราชการตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ซึ่งไม่ใช่ทหารกองประจำการ โดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 ให้ความหมาย"ทหารกองประจำการ" ว่า ทหารกองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารและพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 4(3)"ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลดทหารกองประจำการจึงไม่ใช่ทหารประจำการ ไม่ใช่ข้าราชการทหารและไม่ได้เป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 ดังนั้น ทหารกองประจำการจึงไม่ใช่ข้าราชการตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 100
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9239/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งบรรจุยาเสพติดเพื่อเสพเอง ไม่ถือเป็นความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษ
แม้พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 4 บัญญัติว่าการผลิตให้หมายความรวมถึงการแบ่งบรรจุหรือการรวมบรรจุด้วยแต่เมื่อคำนึงถึงโทษฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ซึ่งมาตรา 65 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตเท่ากับโทษฐานนำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ในขณะที่โทษฐานจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัมตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง กำหนดโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีหรือถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับด้วยแล้ว เห็นได้ว่ากฎหมายกำหนดโทษในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตามความร้ายแรงของอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่สังคมอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดโดยการผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ไม่ว่าด้วยการเพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูปหรือสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการกระทำที่จะเกิดอันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงเพราะเป็นการเพิ่มความรุนแรงของยาเสพติดให้โทษหรือเป็นการทำให้ยาเสพติดให้โทษนั้นแพร่ระบาดได้ง่ายขึ้น กฎหมายจึงต้องกำหนดโทษสูง เมื่อความมุ่งหมายของกฎหมายเป็นเช่นนี้ คำว่า "การแบ่งบรรจุหรือการรวมบรรจุ"ในมาตรา 4 ดังกล่าว จึงต้องหมายถึงการแบ่งบรรจุหรือการรวมบรรจุที่เป็นอันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงทำนองเดียวกับการเพาะปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป หรือสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์
ข้อเท็จจริงที่ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันแบ่งบรรจุเฮโรอีนของกลาง ซึ่งอาจทำขึ้นเพื่อเก็บไว้เสพเอง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำเลยทั้งสองคงมีความผิดเพียงฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ซึ่งการกระทำความผิดฐานนี้เป็นการกระทำอย่างหนึ่งในความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1และในความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามที่โจทก์ฟ้อง ศาลย่อมลงโทษจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย
ข้อเท็จจริงที่ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันแบ่งบรรจุเฮโรอีนของกลาง ซึ่งอาจทำขึ้นเพื่อเก็บไว้เสพเอง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำเลยทั้งสองคงมีความผิดเพียงฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ซึ่งการกระทำความผิดฐานนี้เป็นการกระทำอย่างหนึ่งในความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1และในความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามที่โจทก์ฟ้อง ศาลย่อมลงโทษจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8540/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์ยานพาหนะมูลค่าสูง ไม่เข้าข้อยกเว้นโทษตามมาตรา 334
รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายมีราคาถึง 38,000 บาท จึงไม่ใช่ทรัพย์ที่มีราคาเล็กน้อย ทั้งการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 จะลงโทษตามมาตรา 334 ได้นั้น ต้องปรากฏว่าเป็นการกระทำโดยความจำใจหรือความยากจนเหลือทนทานอีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8524/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษจากความผิดฐานกระทำชำเราเด็กโดยมีเหตุฉกรรจ์เป็นไม่ฉกรรจ์ และข้อจำกัดในการฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสาม ลงโทษจำคุก 25 ปีศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสอง ลงโทษจำคุก 7 ปีจึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้จากความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปีโดยประกอบด้วยเหตุฉกรรจ์คือขณะกระทำผิดจำเลยมีมีดเป็นอาวุธเป็นความผิดฐานเดิมโดยไม่ประกอบด้วยเหตุฉกรรจ์คือขณะกระทำผิดจำเลยไม่มีอาวุธทั้งความผิดทั้งสองวรรคต่างก็เป็นความผิดอันยอมความกันไม่ได้จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 แก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี คดีต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7488/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโจทก์ร่วมในการอุทธรณ์คดีจราจร และการพิจารณาโทษฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ ส. มารดาของผู้ตาย และเป็นยายของเด็กชาย ก. ผู้ตาย เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการเฉพาะความผิดตาม ป.อ. มาตรา 291 โจทก์ร่วมจึงไม่มีอำนาจอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยสถานหนักและไม่รอการลงโทษในความผิดฐานหลบหนีไม่แจ้งเหตุตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78 การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โทษของจำเลยในความผิดฐานหลบหนีไม่แจ้งเหตุตามที่โจทก์ร่วมอุทธรณ์ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องโดยถือว่าโทษของจำเลยในความผิดฐานหลบหนีไม่แจ้งเหตุเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7238-7239/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นโทษโดยไม่ได้รับความยินยอม ไม่อาจเลิกจ้างได้
จำเลยประกอบกิจการขายเครื่องประดับเพชรพลอย โจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นลูกจ้างมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายขายมีอำนาจบังคับบัญชาและให้คำแนะนำแก่พนักงานขายซึ่งมีจำนวนประมาณ 150 คน จำเลยมีคำสั่งยกเลิกตำแหน่งผู้จัดการและผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายขายและมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสองไปทำหน้าที่ในการขายและช่วยเหลือการขายของพนักงาน การที่จำเลยมีคำสั่งยกเลิกตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายขาย ซึ่งโจทก์ทั้งสองทำงานในตำแหน่งดังกล่าวและมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสองไปทำงานในหน้าที่พนักงานขายทั้งให้ลดเงินเดือนโจทก์ทั้งสอง เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นโทษแก่โจทก์ทั้งสอง เมื่อโจทก์ทั้งสองไม่ได้ให้ความยินยอม จำเลยย่อมไม่มีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างดังกล่าวได้ตามลำพังเนื่องจากมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง คำสั่งของจำเลยที่ให้ยกเลิกตำแหน่งของโจทก์ทั้งสองและให้ไปทำงานในหน้าที่พนักงานขายจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามนัย พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 ไม่มีผลบังคับแก่โจทก์ทั้งสอง แม้โจทก์ทั้งสองไม่ยินยอมปฏิบัติตาม คำสั่งดังกล่าวก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองฝ่าฝืนต่อคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของจำเลยในกรณีร้ายแรง หรือโจทก์ทั้งสองละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองเพราะเหตุดังกล่าวจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7238-7239/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นโทษต่อลูกจ้าง จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนจึงจะชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยมีคำสั่งยกเลิกตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายขายซึ่งโจทก์ทำงานอยู่และมีคำสั่งให้โจทก์ไปทำงานในหน้าที่พนักงานขายทั้งให้ลดเงิน เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นโทษแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอม จำเลยย่อมไม่มีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างดังกล่าวได้ตามลำพังเพียงฝ่ายเดียว เนื่องจากมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 ไม่มีผลบังคับแก่โจทก์ การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนต่อคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของจำเลยในกรณีร้ายแรง หรือโจทก์ละทิ้งหน้าที่