คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โทษหนัก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปลอมเอกสารสิทธิหลอกกู้เงิน: กรรมเดียวผิดหลายบท ใช้กฎหมายโทษหนักสุด
จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก.)ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการโดยการเติมแก้ไขจำนวนเนื้อที่ 1 ไร่ 74 ตารางวา เป็น 50 ไร่ 74 ตารางวา แล้วร่วมกันหลอกลวงโจทก์ร่วมว่าจำเลยทั้งสองมีที่ดิน 50 ไร่ 74ตารางวา จะนำมาเป็นหลักประกันขอกู้เงินจากโจทก์ร่วม แล้วนำเอาหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่จำเลยทั้งสองทำปลอมขึ้นมาแสดงต่อโจทก์ร่วม เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อจึงให้จำเลยทั้งสองกู้เงินจำนวน 40,000 บาท และจำเลยทั้งสองได้รับเงินไปในวันเวลาดังกล่าวนั่นเอง เห็นได้ว่าจำเลยทั้งสองทำการปลอมเอกสาร ใช้เอกสารปลอม และฉ้อโกงในวันเดียวกัน จำเลยทั้งสองทำการปลอมเอกสาร ก็ด้วยเจตนาที่จะนำเอกสารไปหลอกลวงเพื่อกู้เงินจากโจทก์ร่วมนั่นเอง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ให้ใช้กฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยทั้งสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท ลักทรัพย์-วิ่งราวทรัพย์ ต้องใช้บทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษ
จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์โดยการฉกฉวยซึ่งหน้า การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการร่วมกันลักทรัพย์ตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(7) บทหนึ่ง และเป็นการลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าอันเป็นการกระทำผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ตามมาตรา 336 วรรคแรกอีกบทหนึ่ง กรณีเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามมาตรา 90 ซึ่งต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยอัตราโทษชั้นสูงของมาตรา 335 (7) และ 336 วรรคแรกนั้นเท่ากันคือจำคุกไม่เกิน 5 ปี แต่มาตรา 335 (7) มีโทษขั้นต่ำจำคุกตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จึงมีบทลงโทษหนักกว่าต้องใช้มาตรา 335(7) เป็นบทลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท ลักทรัพย์-วิ่งราวทรัพย์ ต้องใช้บทที่มีโทษหนักกว่าลงโทษ
จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์โดยการฉกฉวยซึ่งหน้า การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการร่วมกันลักทรัพย์ตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(7) บทหนึ่ง และเป็นการลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าอันเป็นการกระทำผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ตามมาตรา 336 วรรคแรกอีกบทหนึ่ง กรณีเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามมาตรา 90 ซึ่งต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยอัตราโทษชั้นสูงของมาตรา 335(7)และ 336 วรรคแรกนั้นเท่ากันคือจำคุกไม่เกิน5 ปี แต่มาตรา335(7) มีโทษขั้นต่ำจำคุกตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จึงมีบทลงโทษหนักกว่าต้องใช้มาตรา 335(7) เป็นบทลงโทษ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2314/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: บุกรุกและดูหมิ่นต่อเนื่อง ศาลใช้บทหนักลงโทษ
การที่จำเลยบุกรุกเข้าไปในบ้านของผู้เสียหายแล้วดูหมิ่นผู้เสียหายในทันทีทันใดนั้นเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันโดยมีเจตนาอันแท้จริงเพื่อดูหมิ่นผู้เสียหายเท่านั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว.เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลย. สำหรับความผิดฐานบุกรุกเมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา365แล้วก็ไม่จำต้องยกมาตรา362,364ขึ้นปรับบทลงโทษอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3257/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: บุกรุกเพื่อกระทำอนาจาร – ลงโทษตามบทที่มีโทษหนักสุด
จำเลยบุกรุกเข้าไปในห้องนอนในบ้านซึ่งเป็นเคหสถานของผู้เสียหายในขณะผู้เสียหายนอนหลับอยู่ แล้วจำเลยได้กระทำอนาจารผู้เสียหาย ดังนี้ เป็นการกระทำต่อเนื่องยังมิได้ขาดตอน และเจตนาของจำเลยก็เพื่อกระทำอนาจารเท่านั้น แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องเป็นการกระทำสองตอน คือบุกรุกเข้าไปในเคหสถานและกระทำอนาจารซึ่งจำเลยรับสารภาพก็ตาม จะลงโทษจำเลยหลายกรรมต่างกันเป็นหลายกระทงความผิดมิได้ต้องลงโทษฐานกระทำอนาจารตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3436/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษและริบของกลางในความผิดกรรมเดียวต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้บทที่มีโทษหนัก และริบได้เฉพาะตามบทที่ใช้ลงโทษ
เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อ กฎหมายหลายบทคือผิดตามพระราชบัญญัติการประมงและพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ ต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดแต่โจทก์มิได้ขอหรืออ้างบทมาตราเกี่ยวกับการให้ริบของกลางในความผิดตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ เท่ากับโจทก์ไม่ประสงค์ให้ริบของกลางในความผิดนั้น เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติแล้ว ก็จะริบของกลางตามพระราชบัญญัติการประมงซึ่งมิได้ใช้เป็นบทลงโทษจำเลยด้วยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 95/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีอาญาต้องพิจารณาโทษหนักสุด หากความผิดเป็นกรรมเดียวกับโทษหนักกว่า ย่อมไม่ขัดต่อการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
การอุทธรณ์คดีอาญาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น ศาลจะต้องพิจารณาอัตราโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมายสำหรับข้อหาแต่ละกระทงความผิดว่าต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ ความผิดตามมาตรา 138 แห่งประมวลกฎหมายอาญาที่โจทก์ฟ้องเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกับการกระทำในกระทงความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ซึ่งมีอัตราโทษในบทหนักตามมาตรา 289,80 ถึงจำคุกตลอดชีวิต ฉะนั้น จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดขับรถประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตราย เป็นกรรมเดียวผิดหลายบท ต้องลงโทษตามบทที่มีโทษหนักที่สุด
จำเลยขับรถยนต์แซงรถบรรทุกชนกับรถที่สวนทางมาเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับอันตรายแก่กาย เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 กับ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 มาตรา29ฐานขับรถโดยประมาทน่าหวาดเสียวอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินเป็นกรรมเดียวผิดหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนโดยมีอาวุธร่วมกระทำผิด: โทษหนักกว่า แม้จำเลยไม่มีอาวุธ
จำเลยข่มขืนชำเราหญิง โดยพวกของจำเลยมีปืนบังคับไม่ให้คนอื่นช่วยหญิง จำเลยร่วมกระทำกับพวกที่มีอาวุธปืนจำเลยต้องรับโทษหนักขึ้นตาม มาตรา 276 วรรค 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2279/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบอาวุธปืน: ศาลไม่อาจริบได้หากลงโทษตามบทที่มีโทษหนัก และปืนนั้นได้รับอนุญาต
รับใบอนุญาตให้มีปืนจดทะเบียน พาปืนนั้นไปในทางสาธารณะโดยไม่มีใบอนุญาต ริบปืนไม่ได้ และจะริบตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ซึ่งเป็นบทเบาที่ศาลไม่ได้ใช้ลงโทษก็ริบไม่ได้
of 6