คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โทษอาญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักกันไม่ใช่โทษอาญา ไม่สามารถนำมาใช้ในการสิทธิฎีกาได้
การกักกันตามประมวลกฎหมายอาญาไม่ใช่โทษอาญา แต่เป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยอันมีลักษณะเบากว่าโทษจำคุก ฉะนั้นจะอนุโลมกำหนดเวลากักกันเป็นกำหนดโทษจำคุกไม่ได้ และไม่ว่ากักกันจะมีกำหนดเวลาต่ำหรือเกินกว่า 5 ปีก็ตามย่อมเป็นอันต้องห้ามฎีกา (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักกันไม่ใช่โทษอาญา ไม่สามารถนำมาใช้ในการฎีกาได้ เนื่องจากมีลักษณะเบากว่าโทษจำคุก
การกักกันตามประมวลกฎหมายอาญาไม่ใช่โทษอาญา. แต่เป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยอันมีลักษณะเบากว่าโทษจำคุก. ฉะนั้นจะอนุโลมกำหนดเวลากักกันเป็นกำหนดโทษจำคุกไม่ได้. และไม่ว่ากักกันจะมีกำหนดเวลาต่ำหรือเกินกว่า 5 ปีก็ตามย่อมเป็นอันต้องห้ามฎีกา.(ประชุมใหญ่ ครั้งที่21/2511).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1976-1977/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกเงินของธนาคารโดยผู้จัดการสาขา, การฟ้องเรียกดอกเบี้ย, และการพิจารณาโทษตามกฎหมายอาญามาตรา 354
1. การร้องทุกข์นั้น ย่อมมอบอำนาจให้ร้องทุกข์แทนกันได้ (อ้างฎีกาที่ 890/2503) 2. ในคดีอาญา อัยการไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จำเลยยักยอกไป เพราะดอกเบี้ยไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายสูญเสียไป เนื่องจากการกระทำผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 แต่เนื่องจากผู้เสียหายได้เป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ โดยถือเอาคำฟ้องของพนักงานอัยการเป็นของตนเช่นนี้ถือได้ว่า ผู้เสียหายได้เรียกดอกเบี้ยแล้ว แต่เมื่อยังไม่ได้เสียค่าธรรมเนียมเนื่องจากการฟ้องเรียกดอกเบี้ยมารวมทั้ง 3 ศาล เช่นนี้ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้เรียกได้ เมื่อเสียค่าธรรมเนียมแล้ว จึงจะพิจารณาวินิจฉัยต่อไปเกี่ยวกับกรณีนี้ได้ 3. จำเลยเป็นผู้จัดการธนาคารยักยอกเงินธนาคาร ถือว่าเป็นการกระทำในฐานเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนตามถ้อยคำในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 แล้ว 4. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 เป็นคุณแก่จำเลยกว่ากฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 319 (ข้อ 2 โดยประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดโทษและความชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาอาญา กรณีเจ้าพนักงานปลอมแปลงเอกสาร และการฎีกาที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริง
ในความผิดฐานเจ้าพนักงานปลอมหนังสือแม้กฎหมายลักษณะอาญามาตรา 229 และ 230 กำหนดโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไปจนถึง 10 ปี ก็จริง แต่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161 กำหนดโทษว่า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปีซึ่งไม่มีกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ เมื่อกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะศาลทำการพิจารณาเป็นเช่นนี้ ในการวินิจฉัยกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 จึงต้องถือเอาตามนั้น แม้จะไม่ได้ระบุว่ามาตราใดตรงกับมาตราของกฎหมายเดิมมาตราไหน แต่ก็อาจเห็นจากบทบัญญัติของกฎหมายเก่าและใหม่ได้อยู่ในตัวแล้ว เมื่อจำเลยรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจึงสั่งไม่ให้สืบพยาน เช่นนี้ ย่อมเป็นการชอบแล้ว เพราะการที่ศาลจะต้องฟังพยานโจทก์หรือไม่เป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายวิธีพิจารณา (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2503)
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ให้ลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปี จำเลยจะฎีกาว่าจำเลยมีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 โดยบิดาจำเลยได้นำเงินส่วนตัวมอบให้ผู้เสียหายหมดสิ้นแล้ว และว่าการที่ศาลมิให้จำเลยสืบพยาน ทำให้ศาลไม่ทราบถึงข้อควรคำนึงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ดังนี้ หาได้ไม่ เพราะการฎีกาดังกล่าวขัดกับที่ปรากฏในรายงานพิจารณาที่ว่า จำเลยแถลงว่าจำเลยไม่สามารถหาเงินมาชำระแก่เจ้าทุกข์ได้ จำเลยขอให้ศาลพิพากษาไป การที่จำเลยบิดเบือนข้อเท็จจริงให้เป็นปัญหาข้อกฎหมายจึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษอาญา: ก.ม.ลักษณะอาญา vs. ประมวล ก.ม.อาญา – เลือกบทลงโทษที่เบากว่า
ก.ม. ลักษณะอาญาม. 136 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2484 ม.3 วางอัตราโทษให้จำคุกตลอดชีวิต หรือตั้งแต่ 1 ปีถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 500 - 10,000 บาท ส่วนประมวล ก.ม. อาญาม.148 มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท ดังนี้ จะเห็นว่าทั้งอัตราโทษจำคุกคั่นสูงและคั่นต่ำของประมวล ก.ม. อาญา ม.148เป็นกฎหมายที่มีส่วนเป็นคุณแก่จำเลยเพราะอัตราโทษจำคุกเบากว่า ก.ม. ลักษณะอาญา ม.136.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษอาญา: เลือกใช้บทกฎหมายที่มีโทษเบากว่าเพื่อประโยชน์แก่จำเลย
กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 136 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2484มาตรา 3 วางอัตราโทษให้จำคุกตลอดชีวิตหรือตั้งแต่ 1ปี ถึง 20 ปีและปรับตั้งแต่ 500-10,000 บาท ส่วนประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาทดังนี้จะเห็นว่าทั้งอัตราโทษจำคุกขั้นสูงและขั้นต่ำของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 เป็นกฎหมายที่มีส่วนเป็นคุณแก่จำเลยเพราะอัตราโทษจำคุกเบากว่า กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 136

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 638/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักกันผู้กระทำผิดซ้ำหลังพ้นโทษ: ไม่ติดอายุความตาม ม.78 อาญา
การกักกันตาม พ.ร.บ.กักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้ายเป็นโทษอาญาสถานหนึ่ง ซึ่งศาลจะพึงลงโทษแก่ผู้มีสันดานเป็นผู้ร้ายจะต้องรับสำหรับเหตุร้ายที่กระทำไป ถึงแม้โทษครั้งหลังที่สุดที่จำเลยได้รับมาจะพ้น 9 ปี 6 เดือนแล้วก็ตามการขอให้กักกันในคดีนี้หาใช่เป็นเรื่องฟ้องความซึ่งมีกำหนดเวลาที่จะฟ้องตาม ก.ม.อาญา ม.78 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 638/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้ายเป็นโทษอาญาอีกบทหนึ่งแยกต่างหากจากโทษอาญาเดิม อายุความไม่ครอบคลุม
การกักกันตาม พระราชบัญญัติกักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้ายเป็นโทษอาญาสถานหนึ่ง ซึ่งศาลจะพึงลงโทษแก่ผู้มีสันดานเป็นผู้ร้ายเพิ่มขึ้นอีกโสดหนึ่งต่างหากจากโทษอาญาอันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้ายจะต้องรับสำหรับเหตุร้ายที่กระทำไป ถึงแม้โทษครั้งหลังที่สุดที่จำเลยได้รับจะพ้นมา 9 ปี 6 เดือนแล้วก็ตามการขอให้กักกันในคดีนี้หาใช่เป็นเรื่องฟ้องความซึ่งมีกำหนดเวลาที่จะฟ้องตามกฎหมายอาญา มาตรา78 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1247/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มลดโทษอาญา: หลักการหักกลบลบกันเมื่อโทษเพิ่มและลดมีกำหนดเท่ากัน
เมื่อโทษที่จะเพิ่มและจะลดมีกำหนด (กึ่งหนึ่ง) เท่ากันศาลต้องให้หักกลบลบกัน ไม่ต้องเพิ่มไม่ต้องลด
แม้ มาตรา 293 จะกำหนดโทษจำคุกอย่างสูงไว้ไม่เกิน 5 ปีแต่เมื่อมีการเพิ่มโทษ ผู้นั้นก็ยังต้องถูกเพิ่มโทษอีกโสดหนึ่งด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1247/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มลดโทษอาญา: หักกลบลบกันเมื่อมีอัตราเท่ากัน แม้มีโทษฐานไม่เข็ดหลาบ
เมื่อโทษที่จะเพิ่มและจะลดมีกำหนด (กึ่งหนึ่ง) เท่ากันศาลต้องให้หักกลบลบกัน ไม่ต้องเพิ่มไม่ต้องลด
แม้ มาตรา 293 จะกำหนดโทษจำคุกอย่างสูงไว้ไม่เกิน 5 ปีแต่เมื่อมีการเพิ่มโทษ ผู้นั้นก็ยังต้องถูกเพิ่มโทษอีกโสดหนึ่งด้วย
of 5