คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โมฆะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,314 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4860/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความของผู้เยาว์ที่ไม่มีการอนุญาตจากศาลเป็นโมฆะ และมีผลกระทบต่อสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วม
โจทก์และจำเลยทั้งสิบสองซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท 2 แปลง ได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงโดยให้โจทก์ได้ที่ดินแปลงละ 1 ไร่ และระบุตำแหน่งที่ดินส่วนของโจทก์ไว้ด้วยอันมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 (12) ในขณะที่จำเลยที่ 12 เป็นผู้เยาว์โดยไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตจากศาล ข้อตกลงในเรื่องการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 12 เท่ากับว่ากรรมสิทธิ์รวมของจำเลยที่ 12 ยังคงครอบไปเหนือที่ดินพิพาททั้งหมดตามส่วนของตนจนกว่าจะมีการแบ่งแยก ซึ่งมีผลไม่เพียงแต่เฉพาะในเรื่องการกำหนดตำแหน่งของที่ดินเท่านั้น แต่ยังมีผลรวมตลอดไปถึงจำนวนเนื้อที่ดินด้วย เพราะหากแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แปลงละ 1 ไร่ ตามข้อตกลงแล้ว ที่ดินพิพาทในส่วนที่เหลือย่อมจะมีจำนวนลดน้อยลง และไม่อาจนำมาแบ่งให้แก่จำเลยทั้งสิบสองได้ในจำนวนเท่าๆ กัน โดยไม่กระทบถึงสิทธิในจำนวนเนื้อที่ดินที่จำเลยที่ 12 จะพึงได้รับ เมื่อข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 12 และมีผลกระทบจึงจำนวนเนื้อที่ดินตลอดจนตำแหน่งของที่ดินที่จะแบ่งแยกเช่นนี้แล้วย่อมเป็นสิ่งที่เกี่ยวพันไม่อาจแบ่งแยกออกได้จากนิติกรรม ซึ่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 ได้ร่วมกระทำ ข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 ด้วย โจทก์ไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งสิบสองแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ตนตามข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4351/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: โมฆะเฉพาะส่วนคดีอาญา, ส่วนอื่นมีผลผูกพัน, ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
บันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ทั้งสามและจำเลยกับ ว. ที่ให้โจทก์ทั้งสามถอนฟ้องคดีอาญาที่ยื่นฟ้องจำเลยกับ ว. ไว้ ในข้อหาปลอมเอกสารสิทธิ ใช้เอกสารสิทธิปลอม ซึ่งเป็นคดีอาญาแผ่นดินไม่ใช่คดีความผิดอันยอมความได้ เป็นข้อตกลงที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
บันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความ นอกจากมีข้อตกลงให้ถอนฟ้องคดีอาญาซึ่งเป็นโมฆะแล้ว ยังมีข้อตกลงอื่น ๆ อีกหลายประการ ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างได้ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวไปเป็นส่วนใหญ่แล้ว คงเหลือเฉพาะข้อ 4 และข้อ 5 เท่านั้น ที่ยังมีปัญหาอยู่ โดยปรากฏว่าฝ่ายโจทก์ได้นำเงินจำนวน 700,000 บาท ไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์แล้วแจ้งให้จำเลยทราบ และจำเลยได้ไปขอรับเงินดังกล่าวแล้ว แต่เจ้าพนักงานไม่จ่ายเงินให้เพราะจำเลยไม่สามารถโอนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสามโดยปราศจากภาระติดพันได้ แสดงว่าฝ่ายจำเลยก็มีความประสงค์จะบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลงประนีประนอมยอมความ แสดงให้เห็นเจตนาของคู่กรณีว่าประสงค์ให้ข้อตกลงส่วนอื่นนอกเหนือจากเรื่องการถอนฟ้องคดีอาญาคงมีผลผูกพันคู่กรณีทั้งสองฝ่ายอยู่เช่นเดิม และข้อตกลงส่วนอื่นทั้งหมดก็ล้วนแต่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับกรณีพิพาททางแพ่งทั้งสิ้น ซึ่งไม่ต้องห้ามโดยกฎหมายไม่เป็นการพ้นวิสัยหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตามพฤติการณ์แห่งกรณีจึงสันนิษฐานได้ว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะ จึงไม่ทำให้ข้อตกลงประนีประนอมยอมความดังกล่าวตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ ข้อตกลงส่วนอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อตกลงเรื่องการถอนฟ้องคดีอาญายังคงมีผลผูกพันคู่กรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 173
จำเลยนำที่ดินไปจดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่บุคคลภายนอกหลังจากทำบันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความกันแล้วโดยจำเลยไม่มีอำนาจกระทำได้ตามข้อตกลง จำเลยย่อมรู้ว่าทำให้โจทก์ทั้งสามเสียเปรียบ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และศาลพิพากษาให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ทั้งสามโดยปลอดภาระจำยอมได้ไม่เป็นการกระทบสิทธิของบุคคลภายนอก เพราะมิได้เพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินดังกล่าว แต่เป็นเรื่องที่ฝ่ายโจทก์จะบังคับเอาแก่จำเลยตามคำพิพากษาโดยลำพังเท่านั้น
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้งของจำเลยโดยมิได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนั้นไม่ชอบ เพราะคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4351/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันเฉพาะส่วนที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย แม้มีส่วนโมฆะ และคำพิพากษาไม่กระทบสิทธิบุคคลภายนอก
โจทก์ทั้งสามและจำเลยมีข้อพิพาทระหว่างกันทั้งคดีแพ่งและอาญา การที่ต่อมาโจทก์ทั้งสามและจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยระบุให้โจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาแผ่นดินด้วย ข้อตกลงให้ถอนฟ้องคดีอาญาดังกล่าว จึงเป็นข้อตกลงที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 แต่สัญญาประนีประนอมยอมความยังมีข้อตกลงอื่น ๆ อีกหลายประการ แสดงให้เห็นเจตนาของคู่กรณีว่าประสงค์ให้ข้อตกลงอื่นนอกเหนือจากข้อตกลงเรื่องการถอนฟ้องคดีอาญา คงมีผลผูกพันคู่กรณีทั้งสองฝ่ายอยู่ และข้อตกลงอื่นไม่ต้องห้ามโดยกฎหมาย ไม่เป็นการพ้นวิสัยหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตามพฤติการณ์แห่งกรณีจึงสันนิษฐานได้ว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะ ข้อตกลงส่วนอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อตกลงเรื่องการถอนฟ้องคดีอาญาคงมีผลผูกพันคู่กรณีอยู่
ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสาม โดยปลอดภาระจำยอม ซึ่งศาลพิพากษาตามยอมให้นั้น คำพิพากษาดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอกที่จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมให้หลังจากทำบันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความกับโจทก์ทั้งสามแล้ว เพราะมิได้พิพากษาบังคับให้เพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินดังกล่าว แต่เป็นเรื่องที่ฝ่ายโจทก์จะบังคับเอาแก่จำเลยตามคำพิพากษาโดยลำพังเท่านั้น
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้งของจำเลยโดยมิได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ชอบ เพราะคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4016/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค่าจ้างทนายเป็นส่วนแบ่งทรัพย์สิน: โมฆะเพราะขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม
สัญญาที่โจทก์ในฐานะทนายความเรียกร้องค่าจ้างเป็นส่วนแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่ดินที่เป็นมูลพิพาทที่จำเลยที่ 2 แบ่งที่ดินอันจำเลยทั้งสองจะพึงได้รับเป็นที่ดิน 40 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเป็นเงินจากการขายที่ดินพิพาทที่ได้มาทั้งหมดขอแบ่ง 40 เปอร์เซ็นต์ เมื่อจำเลยชนะคดี มีลักษณะเป็นการหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกันซึ่งเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3970/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินของรัฐต้องทำตามแบบ หากไม่ทำสัญญาตกเป็นโมฆะ และสิทธิครอบครองต้องเข้ายึดถือจริง
ที่ดินพิพาทอยู่ในนิคมสร้างตนเองและอยู่ในความดูแลครอบครองของกรมประชาสงเคราะห์ ซึ่งได้จัดสรรให้ ฮ. ใช้ประโยชน์ ฮ.ได้ปลูกบ้านพิพาทและให้จำเลยครอบครองเปิดเป็นร้านอาหาร ต่อมา ฮ. ทำสัญญาขายฝากบ้านพิพาทพร้อมสิทธิในที่ดินแก่โจทก์ ซึ่งเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอย่างหนึ่ง แม้อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวจะปลูกสร้างบนที่ดินของทางราชการก็ตาม การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่งเช่นกัน แต่เมื่อสัญญาระหว่าง ฮ. กับโจทก์เป็นการซื้อขายกันเองจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่อาจอ้างกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทได้ และแม้กรมประชาสงเคราะห์จะทำหนังสืออนุญาตให้โจทก์ใช้ประโยชน์ในบ้านและที่ดินพิพาทในลักษณะเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ก็ตาม ก็เป็นเพียงบุคคลสิทธิ โจทก์ก็ไม่อาจบังคับบุคคลอื่นนอกจากคู่สัญญาได้ เมื่อจำเลยยังคงครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทและโจทก์ยังไม่อาจเข้าครอบครองทรัพย์สินดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมยังไม่ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในบ้านและที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 การที่จำเลยยังคงครอบครองและทำประโยชน์ในบ้านและที่ดินพิพาท จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านและที่ดินพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3970/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายขายฝากโมฆะ-สิทธิครอบครอง-อำนาจฟ้อง: จำเลยครอบครองก่อนโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้อง
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยว่า หนังสือสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับ ฮ. เป็นสัญญาขายฝากที่มีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด การทำสัญญาซื้อขายกันเองเป็นโมฆะ โจทก์ไม่อาจกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ในบ้านที่ซื้อขายกันตามสัญญาขายฝากดังกล่าวได้ ส่วนหนังสืออนุญาตให้ใช้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่กรมประชาสงเคราะห์ตกลงยอมให้โจทก์ใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้ มีลักษณะเป็นสัญญาเช่าทรัพย์สิน ซึ่งเป็นบุคคลสิทธิ โจทก์ไม่อาจบังคับผู้อื่นนอกจากคู่สัญญาได้ จำเลยครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทอยู่ก่อนโดยโจทก์ยังมิได้เข้าครอบครองที่ดินและบ้านพิพาท ถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิตามสัญญาเช่าของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ที่โจทก์ฎีกาว่า อ. ผู้ให้จำเลยเช่าที่ดินพร้อมบ้านพิพาท มิได้รับโอนสิทธิและได้รับอนุญาตจากกรมประชาสงเคราะห์การครอบครองของ อ. จึงเป็นการครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมาตั้งแต่ต้น การเข้าอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์นั้น มิได้เป็นการโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ที่วินิจฉัยมาแต่อย่างใด เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับ ฮ. เป็นสัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอย่างหนึ่ง จึงต้องทำตามแบบตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมตกเป็นโมฆะ
ขณะที่ ฮ. โอนสิทธิในบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ และกรมประชาสงเคราะห์ทำหนังสืออนุญาตให้โจทก์ใช้ประโยชน์ในที่ดินและบ้านดังกล่าว โจทก์ไม่อาจเข้าครอบครองทำประโยชน์ได้เนื่องจากจำเลยครอบครองอยู่ แสดงว่าโจทก์ไม่เคยเข้าไปยึดถือครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทเลย โจทก์ย่อมไม่ได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 การที่จำเลยยังคงครอบครองและทำประโยชน์อยู่ในบ้านและที่ดินอยู่นั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ อันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3662-3663/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขพินัยกรรมด้วยยาลบหมึกก่อนลงลายมือชื่อและประทับตรา ไม่ถือเป็นการแก้ไขที่ทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะ
ก่อนที่ ล. ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการเขตตลิ่งชันจะลงลายมือชื่อและประทับตราสำนักงานเขตตลิ่งชัน ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1658 (4) บัญญัติ ล. ได้ดำเนินการให้แก้ไขพินัยกรรมที่พิมพ์ผิดพลาดโดยใช้ยาลบหมึกกลบถ้อยคำแล้วพิมพ์ใหม่เป็นต้นฉบับหรือคู่ฉบับ แก้ไขชื่อจาก "นายสัมพันธ์" เป็น "นายสมพันธ์" เพื่อให้ถูกต้องตามความจริง โดยผู้ทำพินัยกรรม (นายสัมพันธ์) และพยานรู้เห็น จากนั้น ล. จึงลงลายมือชื่อและประทับตราสำนักงานเขตตลิ่งชัน ดังนี้ ไม่ถือว่าเป็นการขูด ลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรม จึงไม่จำต้องให้ผู้ทำพินัยกรรม พยาน และ ล. ลงลายมือชื่อกำกับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1658 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3402/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงผู้ถือหุ้นขัดต่อกฎหมายความสงบเรียบร้อย ย่อมตกเป็นโมฆะ และไม่มีผลผูกพันในการขอรับชำระหนี้
ผู้บริหารแผนใช้อำนาจไม่ยอมรับทรัพย์สินหรือสิทธิตามสัญญาที่มีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/41 ทวิ วรรคหนึ่ง เมื่อผู้ร้องได้ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางอ้างว่าได้รับความเสียหายโดยการกระทำของผู้บริหารแผนเพื่อให้ศาลได้มีคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องพอถือได้ว่าเป็นคำร้องคัดค้านการกระทำของผู้บริหารแผนตามมาตรา 90/41 ทวิ วรรคสอง ถือว่ากรณีมีข้อโต้เถียงเป็นคดี และเมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าว ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้ภายใน 1 เดือน นับแต่วันคดีถึงที่สุดตามมาตรา 90/26 วรรคสอง
ผู้ร้องสนับสนุนทางการเงินแก่บริษัทลูกหนี้ โดยผู้ร้องเข้าไปซื้อหุ้นและเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท สถานะดังกล่าวมีผลเสมือนหนึ่งว่าผู้ร้องมีส่วนในการเป็นเจ้าของลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลนั้น ประโยชน์ที่ผู้ร้องจะได้รับจากเงินที่ลงทุนซื้อหุ้นไปอย่างไรย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1200 มาตรา 1201 และมาตรา 1269 กล่าวคือ ผู้ถือหุ้นจะได้รับผลตอบแทนก็แต่เฉพาะเงินปันผลและจะได้รับชำระคืนเงินค่าหุ้นเมื่อมีการเลิกบริษัทและชำระบัญชีและมีการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของบริษัทครบถ้วนแล้ว การที่ผู้ร้องได้ร่วมลงทุนในบริษัทลูกหนี้โดยเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวโดยมีสัญญาผู้ถือหุ้น (shareholders agreement) ระหว่าง ผู้ร้อง ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และลูกหนี้ ซึ่งกำหนดในสัญญาให้ผู้ถือหุ้นกับบริษัทลูกหนี้จะต้องดำเนินการให้กรรมการของบริษัทลูกหนี้ถือหุ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 51 ของหุ้นในบริษัทในการออกหุ้นแต่ละครั้งและจะไม่ออกหุ้นใหม่ให้แก่บุคคลใดๆ ซึ่งจะมีผลทำให้กรรมการถือหุ้นคิดเป็นร้อยละต่ำกว่าร้อยละที่ระบุไว้ข้างต้นโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ถือหุ้นและผู้ร้อง และกำหนดให้บริษัทลูกหนี้และผู้ถือหุ้นจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ร้อง สำหรับต้นทุน ค่าใช้จ่าย ค่าสูญเสียและค่าเสียหายที่เกิดขึ้นต่อผู้ร้องอันเกี่ยวเนื่องกับการที่บริษัทและผู้ถือหุ้นไม่สามารถปฏิบัติตามข้อผูกพันที่กำหนดในสัญญาผู้ถือหุ้นได้ ข้อสัญญาดังกล่าวในส่วนลูกหนี้กับผู้ร้องจึงขัดต่อบทบัญญัติของ ป.พ.พ. ในส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดรูปแบบของบริษัท รูปแบบผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้น ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างผู้ถือหุ้นกับบริษัทอันเป็นกฎหมายที่กำหนดแบบแผนที่สังคมจะต้องปฏิบัติร่วมกัน มีผลกระทบต่อบุคคลภายนอก ทั้งเป็นการวางรูปแบบองค์กรทางธุรกิจเพื่อให้สาธารณชนยึดถือและปฏิบัติ ถือว่าเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน สัญญาผู้ถือหุ้น (shareholders agreement) เฉพาะส่วนที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทลูกหนี้กับผู้ถือหุ้น และความรับผิดอันเกิดจากการผิดสัญญาดังกล่าวจึงขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เมื่อข้อสัญญาในส่วนที่กำหนดให้ลูกหนี้มีหน้าที่ต่อผู้ร้องตกเป็นโมฆะ ผู้ร้องจึงไม่มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ซึ่งได้รับความเสียหายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/41 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3402/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาผู้ถือหุ้นขัดต่อกฎหมายความสงบเรียบร้อยของประชาชน โมฆะ ไม่มีผลบังคับ ทำให้ผู้ถือหุ้นไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
การขอรับชำระหนี้ในค่าเสียหายเนื่องจากผู้บริหารแผนไม่ยอมรับทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือ สิทธิตามสัญญาที่สภาวะเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้และบุคคลภายนอกต่างมีสิทธิและหน้าที่ ซึ่งกันและกัน สัญญาที่จะก่อให้เกิดหน้าที่แก่ลูกหนี้ดังกล่าวได้ ข้อสัญญาดังกล่าวจะต้องสมบูรณ์และมีผลบังคับ ตามกฎหมาย
ผู้ร้องได้สนับสนุนทางการเงินแก่บริษัทลูกหนี้โดยผู้ร้องเข้าไปซื้อหุ้นและเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท สถานะดังกล่าวมีผลเสมือนหนึ่งว่าผู้ร้องมีส่วนในการเป็นเจ้าของลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลนั้น ผู้ร้องจะได้รับประโยชน์จากเงินลงทุนเพียงใด ย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1200 มาตรา 1201 และ มาตรา 1269 การที่สัญญาผู้ถือหุ้นระหว่างผู้ร้อง ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และลูกหนี้ ข้อ 1 (1)(3) กำหนดว่า "ผู้ถือหุ้น กับบริษัทจะดำเนินการให้กรรมการของบริษัทถือหุ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 51 ของหุ้นในบริษัทในการออกหุ้นแต่ละครั้งและจะไม่ออกหุ้นใหม่ของบริษัทให้แก่บุคคลใดๆ ซึ่งจะมีผลทำให้กรรมการถือหุ้น คิดเป็นร้อยละต่ำกว่าร้อยละที่ระบุไว้ข้างต้นโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ถือหุ้นและผู้ร้อง" และข้อ 3 กำหนดว่า "บริษัทและผู้ถือหุ้นจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ลงทุนสำหรับต้นทุนค่าใช้จ่าย ค่าสูญหายและค่าเสียหาย (รวมทั้งค่าธรรมเนียมทางกฎหมายที่สมเหตุสมผล) ที่เกิดขึ้นต่อผู้ลงทุนอันเกี่ยวเนื่องกับการที่บริษัทและผู้ถือหุ้นไม่สามารถปฏิบัติตามข้อผูกพันที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ได้" ข้อสัญญาดังกล่าวในส่วนของลูกหนี้กับผู้ร้องจึงขัดต่อบทบัญญัติของ ป.พ.พ. ในส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดรูปแบบของบริษัทจำกัด รูปแบบผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้น ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างผู้ถือหุ้นกับบริษัทอันเป็นกฎหมายที่กำหนดแบบแผนที่สังคมจะต้องปฏิบัติร่วมกัน มีผลกระทบต่อบุคคลภายนอกถือว่าเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ผู้ร้องจึงมิได้มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ซึ่งได้รับความเสียหายตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/41 ทวิ แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3045/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมโมฆะจากข้อบกพร่องในการทำตามแบบกฎหมาย ทำให้ทายาทโดยธรรมมีสิทธิจัดการมรดก
เจ้ามรดกไม่ได้แจ้งข้อความที่ประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของตนต่อหน้าพยานทั้งสองคนพร้อมกัน พินัยกรรมที่ทำเป็นเอกสารฝ่ายเมืองย่อมตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1705
ภ. และ ก. ไม่ได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานพร้อมกันในขณะจัดทำพินัยกรรม ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1656 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานสองคนพร้อมกันซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น ดังนี้ พินัยกรรมจึงมิได้ทำขึ้นตามแบบที่บทกฎหมายดังกล่าวบัญญัติไว้ ย่อมเป็นโมฆะตามมาตรา 1705
of 132