พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1950/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการซื้อขายที่ดินจากการบอกล้างโมฆียะกรรม และอำนาจฟ้องของทายาท
ม. ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โฉนดที่ดินที่พิพาทได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลว่า จำเลยที่ 1 ใช้กลฉ้อฉลโอนเอาที่ดินโฉนดที่พิพาทไป ขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ 1 ออกจากโฉนดที่พิพาท ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า ม. ได้ถูกจำเลยที่ 1 ใช้กลฉ้อฉลจริง พิพากษาให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ 1ออกจากโฉนดที่พิพาท คดีถึงที่สุด ระหว่างที่จำเลยที่1 ยังไม่ได้แก้ชื่อในโฉนดที่พิพาทให้เป็นของ ม. ตามเดิมจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นวันที่ ม. ถึงแก่กรรม ดังนี้ โดยผลคำพิพากษาดังกล่าวถือว่าได้มีการบอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว ซึ่งตามมาตรา 138 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ท่านให้ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก จึงเท่ากับจำเลยที่ 1 ไม่เคยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่พิพาทเลย ที่พิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของ ม. อยู่ตามเดิม จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิโอนขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท และจะยกเอาเหตุที่ได้รับโอนโดยเสียค่าตอบแทน และโดยสุจริต มายันโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกที่พิพาทจาก ม. เจ้าของที่พิพาทเดิมหาได้ไม่
คดีนี้ โจทก์ฟ้องเรียกที่พิพาทคืนจากผู้ไม่มีสิทธิในฐานโจทก์เป็นทายาทรับมรดกคนหนึ่งของ ม. เจ้ามรดกโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสองได้
คดีนี้ โจทก์ฟ้องเรียกที่พิพาทคืนจากผู้ไม่มีสิทธิในฐานโจทก์เป็นทายาทรับมรดกคนหนึ่งของ ม. เจ้ามรดกโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆียะกรรมขายฝากสินบริคณห์: สิทธิบอกล้างของเจ้าของสินส่วนแบ่ง
การที่ บ.ซึ่งเป็นภริยาของโจทก์นำที่พิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์ไปขายฝากไว้กับจำเลยโดยมิได้รับอนุญาตจากโจทก์ เบื้องต้นต้องถือว่านิติกรรมการขายฝากเป็นโมฆียะ การดำเนินกิจการโรงเรียนราษฎร์ของ บ.ในฐานะเจ้าของและผู้จัดการเป็นการประกอบการค้าแสวงหากำไร การซื้อที่พิพาทจาก น.เจ้าของเดิมก็ลงชื่อ บ.แต่ผู้เดียวโดยโจทก์รู้เห็นยินยอม เมื่อซื้อมาแล้วยังได้ใช้ประโยชน์ปลูกสร้างขยายอาคารโรงเรียนลงในที่พิพาทบางส่วน บ.จำต้องหาเงินทุนมาใช้จ่ายในกิจการของโรงเรียน หนี้จำนองราย อ. บ.ก็เอาที่พิพาทไปจำนองไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ ทั้งนี้เพื่อให้ได้เงินมาใช้จ่ายในกิจการของโรงเรียนตามพฤติการณ์จึงแสดงว่ามูลเหตุที่ บ.ต้องไปทำนิติกรรมขายฝากไว้กับจำเลย นอกจากเพื่อให้ได้เงินมาไถ่ถอนจำนองจากธนาคารเป็นสำคัญแล้ว ยังประสงค์ได้เงินส่วนที่เหลือมาสมทบใช้จ่ายในกิจการโรงเรียนด้วย แม้จะถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้อนุญาตให้ บ.ไปทำนิติกรรมขายฝากที่พิพาทโดยตรง กรณีก็เป็นเรื่องที่โจทก์ได้อนุญาตแล้วโดยปริยาย เพราะโจทก์ได้รู้เห็นและมิได้ทักท้วงการทำนิติกรรมจำนองที่พิพาทของ บ.มาก่อน อย่างไรก็ตาม นิติกรรมขายฝากที่พิพาทคงมีผลผูกพันเฉพาะสินบริคณห์ส่วนของ บ.ซึ่งมีอยู่เพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้น ในส่วนอีกกึ่งหนึ่งของโจทก์หาจำต้องผูกพันด้วยไม่ นิติกรรมขายฝากที่พิพาทสำหรับสินบริคณห์ส่วนของโจทก์คงตกเป็นโมฆียะเช่นเดิม ซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ในอันที่จะบอกล้างโมฆียะกรรมหรือให้สัตยาบันตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 และ 139 แต่อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
ขณะทำนิติกรรมขายฝากที่พิพาทระหว่าง บ.ภริยาโจทก์กับจำเลย จำเลยทราบดีว่า บ.เป็นหญิงมีสามี ทั้งเจ้าพนักงานที่ดินได้เตือนให้จำเลยทราบถึงความสามารถบกพร่องของ บ.ก่อนแล้ว จำเลยยังเสี่ยงยืนยันให้เจ้าพนักงานที่ดินทำสัญญาขายฝากให้โดยขอยอมรับผิดต่อความเสียหายเอง ข้อที่ว่าโจทก์จะได้ทราบถึงนิติกรรมอันเป็นโมฆียะในระหว่างอายุสัญญาขายฝากหรือไม่ ไม่ใช่เหตุตัดรอนสิทธิของโจทก์ที่จะบอกล้าง เพราะสิทธิบอกล้างจะสิ้นไปก็แต่โดยโจทก์เพิกเฉยไม่บอกล้างเสียภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ หรืออีกนัยหนึ่งนับแต่วันทราบเรื่องการทำนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143 การบอกล้างของโจทก์ยังไม่เกินกำหนดหนึ่งปี โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกล้างได้ ฉะนั้นนิติกรรมขายฝากที่พิพาทเฉพาะสินบริคณห์ส่วนของโจทก์เมื่อบอกล้างแล้วย่อมตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ซึ่งมีผลบังคับนับแต่วันบอกล้างเป็นต้นไป จำเลยจะถือเอาประโยชน์จากนิติกรรมในส่วนที่ไม่สมบูรณ์นั้นไม่ได้ จะต้องคืนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของโจทก์ให้โจทก์ไป หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริตไม่ เพราะโจทก์มีความชอบธรรมที่จะปกป้องหรือขอคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินส่วนของตนในทางศาลได้อยู่ ส่วนเงินราคาที่ดินอันจะพึงชดใช้แก่กันเป็นจำนวนเท่าใดนั้น จำเลยมิได้ฟ้องแย้ง จึงไม่จำต้องวินิจฉัยถึง
ขณะทำนิติกรรมขายฝากที่พิพาทระหว่าง บ.ภริยาโจทก์กับจำเลย จำเลยทราบดีว่า บ.เป็นหญิงมีสามี ทั้งเจ้าพนักงานที่ดินได้เตือนให้จำเลยทราบถึงความสามารถบกพร่องของ บ.ก่อนแล้ว จำเลยยังเสี่ยงยืนยันให้เจ้าพนักงานที่ดินทำสัญญาขายฝากให้โดยขอยอมรับผิดต่อความเสียหายเอง ข้อที่ว่าโจทก์จะได้ทราบถึงนิติกรรมอันเป็นโมฆียะในระหว่างอายุสัญญาขายฝากหรือไม่ ไม่ใช่เหตุตัดรอนสิทธิของโจทก์ที่จะบอกล้าง เพราะสิทธิบอกล้างจะสิ้นไปก็แต่โดยโจทก์เพิกเฉยไม่บอกล้างเสียภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ หรืออีกนัยหนึ่งนับแต่วันทราบเรื่องการทำนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143 การบอกล้างของโจทก์ยังไม่เกินกำหนดหนึ่งปี โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกล้างได้ ฉะนั้นนิติกรรมขายฝากที่พิพาทเฉพาะสินบริคณห์ส่วนของโจทก์เมื่อบอกล้างแล้วย่อมตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ซึ่งมีผลบังคับนับแต่วันบอกล้างเป็นต้นไป จำเลยจะถือเอาประโยชน์จากนิติกรรมในส่วนที่ไม่สมบูรณ์นั้นไม่ได้ จะต้องคืนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของโจทก์ให้โจทก์ไป หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริตไม่ เพราะโจทก์มีความชอบธรรมที่จะปกป้องหรือขอคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินส่วนของตนในทางศาลได้อยู่ ส่วนเงินราคาที่ดินอันจะพึงชดใช้แก่กันเป็นจำนวนเท่าใดนั้น จำเลยมิได้ฟ้องแย้ง จึงไม่จำต้องวินิจฉัยถึง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆียะกรรมขายฝากสินบริคณห์: สิทธิบอกล้างของคู่สมรส แม้ยินยอมโดยปริยาย และความรับผิดของจำเลยที่รู้ถึงความสามารถบกพร่อง
การที่ บ. ซึ่งเป็นภริยาของโจทก์นำที่พิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์ไปขายฝากไว้กับจำเลยโดยมิได้รับอนุญาตจากโจทก์ เบื้องต้นต้องถือว่านิติกรรมการขายฝากเป็นโมฆียะ การดำเนินกิจการโรงเรือนราษฎร์ของ บ. ในฐานะเจ้าของและผู้จัดการเป็นกาประกอบการค้าแสวงหากำไร การซื้อที่พิพาาทจาก น. เจ้าของเดิมก็ลงชื่อ บ. แต่ผู้เดียวโดยโจทก์รู้เห็นยินยอม เมื่อซื้อมาแล้วยังได้ใช้ประโยชน์ปลูกสร้างขยายอาคารโรงเรียนลงในที่พิพาทบางส่วนบ. จำต้องหาเงินทุนมาใช้จ่ายในกิจการของโรงเรียน หนี้จำนองราย อ. บ.ก็เอาที่พิพาทไปจำนองไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ ทั้งนี้เพื่อให้ได้เงินมาใช้จ่ายในกิจการของโรงเรียน ตามพฤติการณ์จึงแสดงว่ามูลเหตุที่ บ.ต้องไปทำนิติกรรมขายฝากไว้กับจำเลย นอกจากเพื่อให้ได้เงินมาไถ่ถอนจำนองจากธนาคารเป็นสำคัญแล้ว ยังประสงค์ได้เงินที่เหลือมาสมทบใช้จ่ายในกิจการโรงเรียนด้วย แม้จะถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้อนุญาตให้ บ.ไปทำนิติกรรมขายฝากที่พิพาทโดยตรง กรณีก็เป็นเรื่องที่โจทก์ได้อนุญาตแล้วโดยปริยาย เพราะโจทก์ได้รู้เห้นและมิได้ทักท้วงการทำนิติกรรมจำนองที่พิพาทของ บ. มาก่อน อย่างไรก็ตาม นิติกรรมขายฝากที่พิพาทคงมีผลผูกพันเฉพาะสินบริคณห์ส่วนของ บ. ซึ่งมีอยู่เพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้น ในส่วนอีกกึ่งหนึ่งของโจทก์หาจำต้องผูกพันด้วยไม่ นิติกรรมขายฝากที่พิพาทสำหรับสินบริคณห์ส่วนของโจทก์คงตกเป็นโมฆียะเช่นเดิม ซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ในอันที่จะบอกล้างโมฆียะกรรมหรือให้สัตยาบันตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 และ 139 อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
ขณะทำนิติกรรมขายฝากที่พิพาทระหว่าง บ. ภริยาโจทก์กับจำเลยจำเลยทราบดีว่า บ. เป็นหญิงมีสามี ทั้งเจ้าพนักงานที่ดินได้เตือนให้จำเลยทราบถึงความสามารถบกพร่องชอง บ. ก่อนแล้ว จำเลยยังเสี่ยงยืนยันให้เจ้าพนักงานที่ดินทำสัญญาขายฝากให้โดยขอยอมรับผิดต่อความเสียหายเอง ข้อที่ว่าโจทก์จะได้ทราบถึงนิติกรรมอันเป็นโมฆียะในระหว่างอายุสัญญาขายฝากหรือไม่ ไม่ใช่เหตุตัดรอนสิทธิของโจทก์ที่จะบอกล้างเพราะสิทธิบอกล้างจะสิ้นไปก็แต่ โดยโจทก์เพิกเฉยไม่บอกล้างเสียภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้หรืออีกนัยหนึ่งนับแต่วันทราบเรื่องการทำนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 143 การบอกล้างของโจทก์ยังไม่เกินกำหนดหนึ่งปี โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกล้างได้ ฉะนั้นนิติกรรมขายฝากที่พิพาทเฉพาะสินบริคณห์ส่วนของโจทก์เมิ่อบอกล้างแล้วย่อมตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ซึ่งมีผลบังคับนับแต่วันบอกล้างเป็นต้นไป จำเลยจะถือเอาประโยชน์จากนิติกรรมในส่วนที่ไม่สมบูรณ์นั้นไม่ได้ จะต้องคืนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของโจทก์ให้โจทก์ไป หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริตไม่ เพราะโจทก์มีความชอบธรรมที่จะปกป้องหรือขอคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินส่วนตนในทางศาลได้อยู่ ส่วนเงินราคาที่ดินอันจะพึงชดใช้แก้กันเป็นจำนวนเท่าใดนั้น จำเลยมิได้ฟ้องแย้ง จึงไม่จำต้องวินิจฉัยถึง
ขณะทำนิติกรรมขายฝากที่พิพาทระหว่าง บ. ภริยาโจทก์กับจำเลยจำเลยทราบดีว่า บ. เป็นหญิงมีสามี ทั้งเจ้าพนักงานที่ดินได้เตือนให้จำเลยทราบถึงความสามารถบกพร่องชอง บ. ก่อนแล้ว จำเลยยังเสี่ยงยืนยันให้เจ้าพนักงานที่ดินทำสัญญาขายฝากให้โดยขอยอมรับผิดต่อความเสียหายเอง ข้อที่ว่าโจทก์จะได้ทราบถึงนิติกรรมอันเป็นโมฆียะในระหว่างอายุสัญญาขายฝากหรือไม่ ไม่ใช่เหตุตัดรอนสิทธิของโจทก์ที่จะบอกล้างเพราะสิทธิบอกล้างจะสิ้นไปก็แต่ โดยโจทก์เพิกเฉยไม่บอกล้างเสียภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้หรืออีกนัยหนึ่งนับแต่วันทราบเรื่องการทำนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 143 การบอกล้างของโจทก์ยังไม่เกินกำหนดหนึ่งปี โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกล้างได้ ฉะนั้นนิติกรรมขายฝากที่พิพาทเฉพาะสินบริคณห์ส่วนของโจทก์เมิ่อบอกล้างแล้วย่อมตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ซึ่งมีผลบังคับนับแต่วันบอกล้างเป็นต้นไป จำเลยจะถือเอาประโยชน์จากนิติกรรมในส่วนที่ไม่สมบูรณ์นั้นไม่ได้ จะต้องคืนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของโจทก์ให้โจทก์ไป หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริตไม่ เพราะโจทก์มีความชอบธรรมที่จะปกป้องหรือขอคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินส่วนตนในทางศาลได้อยู่ ส่วนเงินราคาที่ดินอันจะพึงชดใช้แก้กันเป็นจำนวนเท่าใดนั้น จำเลยมิได้ฟ้องแย้ง จึงไม่จำต้องวินิจฉัยถึง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 795/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆียะกรรมสัญญาประกันภัย การใช้สิทธิบอกล้างต้องภายใน 1 เดือนนับแต่วันทราบมูล
สามีของโจทก์เอาประกันชีวิตกับบริษัทจำเลยโดยปกปิดความจริงและแถลงเท็จว่าไม่เคยให้แพทย์คนใดวินิจฉัยโรคมาก่อน ทั้งที่สามีของโจทก์เป็นโรคตับแข็งและโรคในลำคออยู่ก่อน ทำให้บริษัทจำเลยไม่อาจบอกปัดไม่ยอมรับประกันชีวิตเสียได้ สัญญาประกันชีวิตจึงตกเป็นโมฆียะ แต่บริษัทจำเลยไม่ใช้สิทธิบอกล้างเสียภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันทราบมูลอันจะบอกล้างได้จึงหมดสิทธิจะบอกล้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างโมฆียะกรรมไม่จำเป็นต้องมีแบบพิธี หากแสดงเจตนาชัดเจน
การบอกล้างนิติกรรมนั้น กฎหมายมิได้กำหนดหรือบังคับไว้ว่าจะต้องทำอย่างไรด้วยแบบพิธีอย่างไร
แม้หนังสือของโจทก์ที่มีถึงจำเลยจะมีใจความว่าให้จำเลยถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนด แล้วเอาที่ดินตามโฉนดนั้นมาแบ่งปันให้พี่น้องจำเลยก็ตาม แต่ก็เห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์ไม่ให้นิติกรรม คือการลงชื่อจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินนั้นมีผลใช้ได้ต่อไป ซึ่งจะบังเกิดผลอย่างเดียวกับการบอกล้างโมฆียะกรรม ดังนี้ จึงถือได้ว่าโจทก์ได้บอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว
แม้หนังสือของโจทก์ที่มีถึงจำเลยจะมีใจความว่าให้จำเลยถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนด แล้วเอาที่ดินตามโฉนดนั้นมาแบ่งปันให้พี่น้องจำเลยก็ตาม แต่ก็เห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์ไม่ให้นิติกรรม คือการลงชื่อจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินนั้นมีผลใช้ได้ต่อไป ซึ่งจะบังเกิดผลอย่างเดียวกับการบอกล้างโมฆียะกรรม ดังนี้ จึงถือได้ว่าโจทก์ได้บอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างโมฆียะกรรมไม่จำกัดรูปแบบ หากแสดงเจตนาชัดเจน
การบอกล้างนิติกรรมนั้น กฎหมายมิได้กำหนดหรือบังคับไว้ว่าจะต้องทำอย่างไรด้วยแบบพิธีอย่างไร.
แม้หนังสือของโจทก์ที่มีถึงจำเลยจะมีใจความว่าให้จำเลยถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนด แล้วเอาที่ดินตามโฉนดนั้นมาแบ่งปันให้พี่น้องจำเลยก็ตาม. แต่ก็เห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์ไม่ให้นิติกรรม คือการลงชื่อจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินนั้นมีผลใช้ได้ต่อไป. ซึ่งจะบังเกิดผลอย่างเดียวกับการบอกล้างโมฆียะกรรม. ดังนี้ จึงถือได้ว่าโจทก์ได้บอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว.
แม้หนังสือของโจทก์ที่มีถึงจำเลยจะมีใจความว่าให้จำเลยถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนด แล้วเอาที่ดินตามโฉนดนั้นมาแบ่งปันให้พี่น้องจำเลยก็ตาม. แต่ก็เห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์ไม่ให้นิติกรรม คือการลงชื่อจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินนั้นมีผลใช้ได้ต่อไป. ซึ่งจะบังเกิดผลอย่างเดียวกับการบอกล้างโมฆียะกรรม. ดังนี้ จึงถือได้ว่าโจทก์ได้บอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภริยาเป็นลูกหนี้ ยกข้อต่อสู้โมฆียะกรรมไม่ได้ สิทธิคัดค้านเป็นของสามี
ภรรยาเป็นลูกหนี้ จะยกข้อต่อสู้กับผู้เป็นเจ้าหนี้ของตนว่า นิติกรรมที่ตนทำไปนั้น เป็นโมฆียะกรรม หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภริยาผู้เป็นลูกหนี้มิอาจยกข้อต่อสู้โมฆียะกรรมสัญญาได้ สิทธิอยู่ที่สามี
ภรรยาเป็นลูกหนี้ จะยกข้อต่อสู้กับผู้เป็นเจ้าหนี้ของตนว่า นิติกรรมที่ตนทำไปนั้นเป็นโมฆียะกรรม หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมในนิติกรรมเกี่ยวกับสินบริคณห์: สามีมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว
กฎหมายไม่ได้ห้ามหญิงมีสามีไม่ให้ทำนิติกรรมเหตุที่กฎหมายบัญญัติให้นิติกรรมเป็นโมฆียะก็เฉพาะที่จะผูกพันสินบริคณห์ ซึ่งสามีมีส่วนได้เสียร่วมอยู่ด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 วรรคสอง จึงบัญญัติให้สามีมีสิทธิบอกล้างได้และเป็นสิทธิเฉพาะสามีที่จะบอกล้างคนเดียวเท่านั้น เพราะหญิงมีสามีไม่ใช่ผู้ไร้ความสามารถดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 137 วรรคต้น ตัวหญิงเองจึงไม่มีสิทธิบอกล้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากสินบริคณห์ต้องได้รับความยินยอมจากสามี/ภริยา หากไม่ได้รับความยินยอมเป็นโมฆียะกรรม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาขายฝากที่จำเลย(ภริยาผู้ร้องสอด)ทำไว้กับโจทก์จำเลยและผู้ร้องสอด(สามีจำเลย)ต่อสู้ยืนยันว่าเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายจำเลยทำนิติกรรมผูกพันสินบริคณห์โดยมิได้รับความยินยอมจากผู้ร้องสอดและไม่ได้ให้สัตยาบันจึงบอกล้างโมฆียะกรรมเมื่อโจทก์กล่าวแก้แต่เพียงว่าผู้ร้องสอดมิได้เป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายดังนี้ประเด็นคงมีว่าผู้ร้องสอดกับจำเลยเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เท่านั้นไม่มีประเด็นไปถึงเรื่องภริยาร้างในระหว่างภริยาทำนิติกรรมขายฝากให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่
เมื่อภริยาทำนิติกรรมผูกพันสินบริคณห์โดยมิได้รับความยินยอมจากสามีและสามีไม่ได้ให้สัตยาบัน สามีจึงบอกล้างนิติกรรมนั้นได้
เมื่อภริยาทำนิติกรรมผูกพันสินบริคณห์โดยมิได้รับความยินยอมจากสามีและสามีไม่ได้ให้สัตยาบัน สามีจึงบอกล้างนิติกรรมนั้นได้