คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โรงงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 92 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5620/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: หลักเกณฑ์การเปรียบเทียบค่ารายปีและเครื่องจักรในโรงงาน
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้กำหนดค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินของโจทก์โดยเทียบกับค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินของบริษัท บ. และของบริษัท ป. มาเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีในปีพิพาทนี้ด้วยนั้น เมื่อปรากฏว่าโรงเรือนและที่ดินของบริษัท บ.และบริษัท ป. อยู่ติดถนนใหญ่ทำเลและการคมนาคมสะดวกกว่าโรงเรือนและที่ดินของโจทก์ แม้ค่ารายปีของโจทก์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดจะต่ำกว่าค่ารายปีของบริษัท บ. ก็ไม่อาจนำมาเปรียบเทียบว่าค่ารายปีของโจทก์เป็นค่ารายปีที่สมควรหรือไม่
แม้ค่ารายปีที่โจทก์นำมาเป็นหลักในการคำนวณนี้ จะมิใช่เป็นค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วนั้น ดังที่ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475มาตรา 18 กำหนดให้นำมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้เพิ่มค่ารายปีตามภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นจากปีดังกล่าวมาถึงปีพิพาทนี้ และเป็นค่ารายปีที่ยุติแล้ว ส่วนค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยนำมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษีนั้นเป็นค่ารายปีที่โจทก์ยังไม่พอใจ โดยโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่อยู่จึงเป็นค่ารายปีที่ยังไม่ยุติ ไม่อาจนำมาเป็นหลักในการคำนวณภาษีที่จะต้องเสียในปีพิพาทนี้ได้ ดังนี้ค่ารายปีที่โจทก์นำมาเป็นหลักในการคำนวณจึงเป็นค่ารายปีที่สมควรกว่า
แม้เครื่องจักรจะมีไว้เพื่อซ่อมเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้ามิใช่มีไว้เพื่อผลิตสินค้า แต่ก็เป็นเครื่องจักรที่ติดตั้งไว้ในโรงเรือนยากที่จะขนย้ายได้ ต้องถอดออกเป็นชิ้นจึงจะขนย้ายได้ เป็นการติดตั้งไว้ในลักษณะถาวรมีลักษณะเป็นส่วนควบที่สำคัญของโรงเรือน จึงเป็นเครื่องจักรที่มีไว้เพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมขึ้นในโรงเรือนนั้น ๆ ต้องลดค่ารายปีลงเหลือ 1 ใน 3 ตามพ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา 13
จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเพียงผู้ชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินของโจทก์ซึ่งเป็นการกระทำตามหน้าที่เท่านั้น มิได้ร่วมรับชำระเงินค่าภาษีด้วย จึงไม่ต้องร่วมคืนเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4086/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สนับสนุนการกระทำผิดป่าไม้: คนงานโรงงานแปรรูปไม้ผิดฐานสนับสนุนเจ้าของโรงงาน
การที่จำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าโรงงานแปรรูปไม้ที่จำเลยทั้งสองทำงานอยู่เป็นโรงงานที่ไม่ได้รับอนุญาต และไม้สักแปรรูปที่ใช้ทำเครื่องประดิษฐ์เป็นไม้แปรรูปที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายแต่จำเลยทั้งสองยังยินยอมทำงานเป็นลูกจ้างของเจ้าของโรงงานเช่นนี้ถือได้ว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าของโรงงานกระทำความผิดต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2387/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นัดหยุดงานปิดกั้นโรงงาน ก่อความวุ่นวายและความรุนแรง ถือเป็นความผิดอาญา
จำเลยกับพวกอีกประมาณ 200 คน โดยจำเลยเป็นหัวหน้าสั่งการได้ร่วมกันนัดหยุดงานปิดกั้นทางเข้าออกของโรงงาน ทำให้คนงานไม่สามารถเข้าหรือออกจากโรงงานได้ จนกระทั่งมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นโดยการปะทะและทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันระหว่างลูกจ้างที่นัดหยุดงานกับลูกจ้างที่ทำงานในโรงงานอันเนื่องจากลูกจ้างที่นัดหยุดงานไม่ยอมให้ลูกจ้างที่ทำงานออกจากโรงงาน และมีการขว้างปาวัตถุก้อนอิฐก้อนหินเข้าไปในโรงงานด้วย เหตุเกิดริมถนนสาธารณะอันเป็นที่สัญจรของบุคคลทั่วไป การกระทำดังกล่าวย่อมเป็นความผิดฐานก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2387/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานก่อให้เกิดความวุ่นวายฯ จากการนัดหยุดงานรุนแรงและปิดกั้นทางเข้าออก
จำเลยกับพวกอีกประมาณ 200 คน โดยจำเลยเป็นหัวหน้าสั่งการได้ร่วมกันนัดหยุดงานปิดกั้นทางเข้าออกของโรงงานทำให้คนงานไม่สามารถเข้าหรือออกจากโรงงานได้จนกระทั่งมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นโดยการปะทะและทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันระหว่างลูกจ้างที่หยุดงานกับลูกจ้างที่ทำงานในโรงงานอันเนื่องจากลูกจ้างที่นัดหยุดงานไม่ยอมให้ลูกจ้างที่ทำงานออกจากโรงงาน และมีการขว้างปาวัตถุก้อนอิฐก้อนหินเข้าไปในโรงงานด้วย เหตุเกิดริมถนนสาธารณะ อันเป็นที่สัญจรของบุคคลทั่วไป การกระทำดังกล่าวย่อมเป็นความผิดฐานก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4112/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการบริษัทร่วมรับผิดฐานตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้บริษัทชำระค่าปรับแล้ว
โจทก์ฟ้องกล่าวหาจำเลยทั้งสามว่า ร่วมกันกระทำผิดฐานตั้งโรงงานประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยที่จำเลยที่ 1เป็นนิติบุคคลจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยเป็นรายบุคคล และจำเลยที่ 1ได้เสียค่าปรับไปแล้วก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 แม้เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และกระทำในนามของจำเลยที่ 1 ก็ตาม ก็ถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยเพราะจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลย่อมกระทำการเองไม่ได้ ความประสงค์หรือวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ย่อมแสดงออกโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้แทน เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานใดได้ชื่อว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำผิดฐานนั้นด้วย ดังนั้นศาลลงโทษจำเลยทั้งสามเป็นรายตัวได้และแม้จำเลยที่ 1 เสียค่าปรับแล้วศาลก็ลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ไม่เป็นการซ้ำซ้อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3788/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งโรงงานแปรรูปไม้ในเขตควบคุม ต้องได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ แม้มีใบอนุญาตโรงงานจากกระทรวงอุตสาหกรรม
การที่จำเลยใช้กบไฟฟ้าและเลื่อยวงเดือนของกลางซึ่งติดตั้งบนแท่นไม้ไสและเลื่อยไม้ของกลางอันเป็นการแปรรูปไม้ที่สถานที่เกิดเหตุ สถานที่เกิดเหตุจึงเป็นที่ซึ่งจัดไว้เป็นที่ทำการแปรรูปไม้อันเป็นโรงงานแปรรูปไม้ตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 4(13) แม้จำเลยได้รับใบอนุญาตตั้งโรงงานที่กระทรวงอุตสาหกรรมออกให้ตามพระราชบัญญัติ โรงงานฯ แล้วก็ตาม แต่โรงงานของจำเลยตั้งอยู่ในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ จำเลยก็ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 48 วรรคหนึ่ง ด้วยเมื่อจำเลยไม่ได้รับอนุญาตตามบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยจึงมีความผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดสำเร็จเมื่อมีการตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จะยังมิได้แปรรูปไม้ก็ตาม ความผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตจึงเป็นความผิดคนละกรรมกับความผิดฐานแปรรูปไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5744/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยอาคารโรงงาน: ความเสียหายจากน้ำฝนภายในเกิดจากการป้องกันน้ำภายนอก มิใช่ความรับผิดของประกัน
จำเลยรับประกันภัยอาคารโรงงานและทรัพย์สินต่าง ๆ ในโรงงานของโจทก์ต่อมาภายในกำหนดเวลาประกันภัย ฝนตกหนัก น้ำฝนที่ไหลจากหลังคาโรงงานลงมาในบริเวณโรงงานไม่สามารถระบายออกไปสู่นอกโรงงานได้ เพราะโจทก์ก่อกำแพงและเอากระสอบทรายปิดกั้นท่อระบายน้ำไว้เพื่อป้องกันมิให้น้ำภายนอกโรงงานไหลเข้ามา เนื่องจากขณะนั้นเกิดเหตุน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร เป็นเหตุให้น้ำฝนดังกล่าวท่วมขังอาคารโรงงาน ทำให้ทรัพย์สินโจทก์เสียหายความเสียหายดังกล่าวหาใช่เกิดจากน้ำฝนที่ไหลผ่านเข้าไปในสิ่งปลูกสร้างจากการชำรุดของหลังคา ประตู หน้าต่าง ช่องลม ท่อน้ำหรือรางน้ำ และหาใช่ความเสียหายซึ่งเป็นผลโดยตรงอันเกิดจากอุบัติเหตุจากการล้นออกมาของน้ำจากท่อน้ำ อันจำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต: การใช้เครื่องจักรในที่ดินเพื่อผลิตแร่เข้าข่ายโรงงานตามกฎหมาย
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358, 360 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยทั้งเก้า ความผิดตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ยืนตามศาลชั้นต้น และความผิดฐานเป็นตัวการในการทำเหมืองแร่ โดยไม่ได้รับประทานบัตรตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 8 ที่ 9 ยืนตามศาลชั้นต้น ความผิดตามข้อหาของจำเลยแต่ละคนข้างต้นดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำว่า อาคารสถานที่ ตามคำนิยามของคำว่าโรงงานในพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ.2512 หมายความรวมไปถึงสถานที่ที่ตั้งเครื่องจักรเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บทกฎหมายดังกล่าวกำหนดไว้ โดยไม่จำเป็นต้องมีตัวอาคารที่ถาวร ดังนั้น การที่จำเลยที่ 8 ที่ 9 สั่งจำเลยที่ 1ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นลูกจ้างกางเต็นท์ ตั้งเครื่องจักร 2 เครื่อง มีกำลัง 3 แรงม้า และ 8 แรงม้าเจาะพื้นดินสูบน้ำนำแร่เกลือหินขึ้นมาจากใต้ดินเพื่อทำเป็นเกลือสินเธาว์อันเป็นการแปรสภาพหรือทำลายสิ่งใด ๆ โดยใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมกันตั้งแต่ 2 แรงม้าขึ้นไป ถือได้ว่าเป็นการตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงาน เมื่อไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจึงมีความผิดตามมาตรา 5, 8, 12, 43 วรรคหนึ่ง, 44 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิยาม 'โรงงาน' ตาม พ.ร.บ.โรงงานฯ กว้างถึงสถานที่ติดตั้งเครื่องจักร แม้ไม่มีอาคารถาวร
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358,360 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยทั้งเก้า ความผิดตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง สำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ยืนตามศาลชั้นต้น และความผิดฐานเป็น ตัวการ ในการทำเหมืองแร่ โดยไม่ได้รับประทานบัตรตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 8 ที่ 9 ยืน ตามศาลชั้นต้น ความผิดตามข้อหาของจำเลยแต่ละคนข้างต้นดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 คำว่า อาการสถานที่ ตามคำนิยามของคำว่าโรงงานในพระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ.2512 หมายความรวมไปถึงสถานที่ที่ตั้งเครื่องจักร เพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บทกฎหมายดังกล่าวกำหนดไว้ โดย ไม่จำเป็นต้องมีตัวอาคารที่ถาวร ดังนั้น การที่จำเลยที่ 8 ที่ 9สั่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นลูกจ้างกางเต็นท์ ตั้งเครื่องจักร 2 เครื่องมีกำลัง 3 แรงม้า และ 8 แรงม้าเจาะพื้นดินสูบน้ำนำแร่ เกลือ หิน ขึ้นมาจากใต้ดินเพื่อทำเป็นเกลือสินเธาว์ อันเป็นการแปรสภาพ หรือทำลายสิ่งใด ๆ โดยใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมกันตั้งแต่ 2 แรงม้า ขึ้น ไปถือได้ว่าเป็นการตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงาน เมื่อ ไม่ได้ รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจึงมีความผิดตามมาตรา 5,8,12,43 วรรคหนึ่ง,44 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2279/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฝ่าฝืนคำสั่งหยุดโรงงานก่อความเดือดร้อน เสื่อมเสียสุขภาพประชาชน ศาลยืนโทษจำคุก
ตาม พ.ร.บ. โรงงานฯ มาตรา 36 ที่แก้ไขแล้วให้อำนาจอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม กฎหมาย ออกคำสั่งให้จำเลยหยุดประกอบกิจการโรงงานในส่วนหลอมโลหะทั้งหมดเพื่อขจัดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องมาจากกลิ่นเหม็นและเขม่า ควันของโรงงานซึ่งรบกวนบ้านที่อยู่ใกล้เคียงได้ การที่จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่โดยยังคงดำเนินกิจการต่อไปอีกนานถึง 2 เดือนเศษ เป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนแก่ชาวบ้านใกล้เคียงแสดงว่าจำเลยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชน การใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกโดยไม่รอการลงโทษจึงเหมาะสมแก่รูปคดี.
of 10