คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนขาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1799/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-สิทธิซื้อคืนที่เช่า: การโอนขายที่ดินเช่าและสิทธิของผู้เช่าตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 อ้างว่าไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 จดทะเบียนโอนขายที่ดินให้แก่โจทก์ ขณะคดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 เป็นคดีใหม่ โดยเพิ่มข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ร่วมกันแสดงเจตนาลวงโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 7 โดยสมยอม ขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายและโอนที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ ดังนี้มูลค่าที่โจทก์ฟ้องเป็นเรื่องเดียวกัน มีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง ทั้งเกี่ยวกับทรัพย์สินรายเดียวกัน ฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 (1) การที่โจทก์ถอนฟ้องคดีเดิมหลังจากฟ้องคดีใหม่ ไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ในคดีใหม่ได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 และพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 มาตรา 29 สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือการเช่านาย่อมไม่ระงับไปเพราะการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินหรือนาที่ให้เช่าผู้รับโอนจะต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่า จำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่านาพิพาทโอนขายที่นาพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 โดยไม่ได้แจ้งการขายให้แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้เช่าก่อน โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 มาตรา 41 เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 โอนขายนาพิพาทต่อไปให้จำเลยที่ 7 จำเลยที่ 7 ผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ซึ่งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 มีอยู่ต่อโจทก์ทั้งสองผู้เช่านาพิพาทโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิที่จะซื้อนาจากจำเลยที่ 7 ตามราคาและวิธีการชำระเงินตามที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ซื้อไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1799/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-สิทธิซื้อคืนที่ดินเช่า: การโอนขายที่ดินเช่าต้องแจ้งผู้เช่าก่อน ผู้รับโอนมีหน้าที่ต้องขายคืน
เดิม โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 อ้างว่าไม่ปฏิบัติตามพ.ร.บ. ควบคุมการเช่านา ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6จดทะเบียนโอนขายที่ดินให้แก่โจทก์ ขณะคดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 เป็นคดีใหม่โดยเพิ่มข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ร่วมกันแสดงเจตนาลวงโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 7 โดยสมยอมขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายและโอนที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ ดังนี้มูลคดีที่โจทก์ฟ้องเป็นเรื่องเดียวกัน มีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง ทั้งเกี่ยวกับทรัพย์สินรายเดียวกัน ฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173(1) การที่โจทก์ถอนฟ้อง คดีเดิม หลังจากฟ้องคดีใหม่ ไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ในคดีใหม่ได้. ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 569 และ พ.ร.บ. ควบคุมการเช่านาพ.ศ. 2517 มาตรา 29 สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือการเช่านาย่อมไม่ระงับไปเพราะการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินหรือนาที่ให้เช่าผู้รับโอนจะต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าจำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่านาพิพาทโอนขายที่นาพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2ถึงที่ 6 โดยไม่ได้แจ้งการขายให้แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้เช่าก่อน โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ตาม พ.ร.บ. ควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 มาตรา 41เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 โอนขายนาพิพาทต่อไปให้จำเลยที่ 7 จำเลยที่ 7 ผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ซึ่งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 มีอยู่ต่อโจทก์ทั้งสองผู้เช่านาพิพาทโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิที่จะซื้อนาจากจำเลยที่ 7 ตามราคาและวิธีการชำระเงินตามที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ซื้อไว้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1799/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-สิทธิซื้อคืนที่ดินเช่า: การฟ้องคดีซ้ำเกี่ยวกับทรัพย์สินเดียวกัน และสิทธิของผู้เช่าเมื่อมีการโอนขาย
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 อ้างว่าไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6จดทะเบียนโอนขายที่ดินให้แก่โจทก์ ขณะคดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 เป็นคดีใหม่โดยเพิ่มข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ร่วมกันแสดงเจตนาลวงโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 7 โดยสมยอม ขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายและโอนที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ ดังนี้มูลค่าที่โจทก์ฟ้องเป็นเรื่องเดียวกัน มีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง ทั้งเกี่ยวกับทรัพย์สินรายเดียวกัน ฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่1 ถึงที่ 6 จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) การที่โจทก์ถอนฟ้องคดีเดิมหลังจากฟ้องคดีใหม่ ไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ในคดีใหม่ได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 และพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 มาตรา 29 สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือการเช่านาย่อมไม่ระงับไปเพราะการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินหรือนาที่ให้เช่าผู้รับโอนจะต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่า จำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่านาพิพาทโอนขายที่นาพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 โดยไม่ได้แจ้งการขายให้แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้เช่าก่อน โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 มาตรา 41 เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6โอนขายนาพิพาทต่อไปให้จำเลยที่ 7 จำเลยที่ 7 ผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ซึ่งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 มีอยู่ต่อโจทก์ทั้งสองผู้เช่านาพิพาทโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิที่จะซื้อนาจากจำเลยที่ 7 ตามราคาและวิธีการชำระเงินตามที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ซื้อไว้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3016/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินรัฐจัดสรร: สิทธิไม่สมบูรณ์, โอนขายไม่ได้, ฟ้องบุกรุกไม่ได้
ที่ดินของรัฐซึ่งเดิมเป็นที่รกร้างว่างเปล่า อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1304(1) แม้ทางราชการจะนำมาจัดสรรให้ราษฎรเข้าทำกินจ. เป็นผู้จับสลากได้ตามระเบียบว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อประชาชนที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20(6), 27, 33 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินแต่จะยังมิได้รับใบจอง เพียงแต่นำหลักไปปักเป็นเขตไว้โดยมิได้ทำประโยชน์อะไร จ. หาได้ที่ดินเป็นสิทธิของตนโดยสมบูรณ์ไม่ ที่ดินแปลงนี้ยังเป็นที่ดินของรัฐและอธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจสั่งให้ จ. ออกจากที่ดิน ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 32 ได้ จ. ไม่มีสิทธิที่จะโอนขายให้แก่โจทก์ แม้โจทก์ได้รับโอนไว้และครอบครองมาโจทก์ก็หาเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุกได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2168/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การแย่งการครอบครองต้องมีการครอบครองจริงก่อน แม้มีการขอออก น.ส.3 และโอนขาย
จำเลยที่ 1 ได้ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)ทับที่ดินของโจทก์ แล้วโอนขายที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยทั้งสองมิได้เข้ามาครอบครองที่ดินพิพาท ดังนี้ข้ออ้างการแย่งสิทธิครอบครองของจำเลยทั้งสองย่อมจะยังไม่เกิดขึ้น จะนำเอามาตรา 1374,1375แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาบังคับแก่คดีหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2458/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายอสังหาริมทรัพย์โดยมิได้ทำตามรูปแบบตามกฎหมาย ทำให้การโอนเป็นโมฆะ
การโอนขายห้องพิพาทโดยผู้รับโอนจะใช้เป็นที่ค้าขาย มิใช่เพื่อรื้อเอาไปห้องพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์ เมื่อการโอนขายไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนสิทธิต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2742/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โจทก์รู้เห็นยินยอมให้จำเลยโอนขายที่ดินให้ผู้อื่นแทนที่จะโอนให้ตนเอง ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ก่อนถึงกำหนดวันโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ จำเลยได้ทำนิติกรรมโอนขายที่พิพาทและสิ่งปลูกสร้างให้แก่บุคคลภายนอก โดยโจทก์ได้มาติดต่อกับเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อให้โอนที่พิพาทให้บุคคลภายนอกนั้นและโดยอาศัยใบมอบอำนาจของจำเลย ครั้นเจ้าพนักงานที่ดินไม่สามารถทำให้ได้ โจทก์ก็พาจำเลยมาทำนิติกรรมโอนขายให้บุคคลภายนอกเช่นนี้แสดงอยู่ว่าโจทก์รู้เห็นยินยอมให้จำเลยทำนิติกรรมโอนขายที่พิพาทให้บุคคลภายนอกแทนที่จะทำการโอนให้โจทก์ตามสัญญา โจทก์จะมากล่าวอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาต่อโจทก์หาได้ไม่ โจทก์มาฟ้องคดีถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2742/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โจทก์รู้เห็นยินยอมให้จำเลยโอนขายที่ดินให้ผู้อื่นแทนที่จะโอนให้ตนเอง ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ก่อนถึงกำหนดวันโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ จำเลยได้ทำนิติกรรมโอนขายที่พิพาทและสิ่งปลูกสร้างให้แก่บุคคลภายนอก โดยโจทก์ได้มาติดต่อกับเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อให้โอนที่พิพาทให้บุคคลภายนอกนั้น และโดยอาศัยใบมอบอำนาจของจำเลย ครั้นเจ้าพนักงานที่ดินไม่สามารถทำให้ได้ โจทก์ก็พาจำเลยมาทำนิติกรรมโอนขายให้บุคคลภายนอก เช่นนี้แสดงอยู่ว่าโจทก์รู้เห็นยินยอมให้จำเลยทำนิติกรรมโอนขายที่พิพาทให้บุคคลภายนอกแทนที่จะทำการโอนให้โจทก์ตามสัญญา โจทก์จะมากล่าวอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาต่อโจทก์หาได้ไม่ โจทก์มาฟ้องคดีถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 738/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีจากการพิพากษาให้โอนขายทรัพย์สิน แม้คดีไม่ถึงที่สุด ย่อมมีสิทธิขัดขวางการยึดทรัพย์ได้
เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยขายที่พิพาทให้ผู้ร้องย่อมถือได้ว่าผู้ร้องมีสิทธิตามคำพิพากษาที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1300 แม้คดีจะยังไม่ถึงที่สุดก็ตาม แต่ผู้ร้องก็มีสิทธิที่จะบังคับคดีได้แล้ว ดังนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการขายทอดตลาดที่พิพาทผู้ร้องย่อมใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ได้(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายนาและการบังคับตามสัญญา เมื่อจำเลยบิดพลิ้วไม่ยอมโอนขาย
จำเลยกู้เงินมารดาโจทก์และน้องชายโจทก์ จำเลยตกลงยกนาให้มารดาโจทก์และน้องชายโจทก์ชำระหนี้แทนเงินมารดาโจทก์และน้องชายโจทก์ยอมรับ แต่ให้จำเลยโอนนานั้นให้แก่โจทก์ จำเลยตกลงโจทก์จำเลยจึงได้ไปทำคำขอทำสัญญาซื้อขายนานั้นที่อำเภอดังนี้ ถือได้ว่า โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อขายนานั้นแล้ว โดยหักเงินที่จำเลยเป็นหนี้มารดาโจทก์และน้องชายโจทก์เป็นราคานานั้นเมื่อจำเลยไม่ยอมโอนขาย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายนั้นได้
of 5