พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1856/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายที่ดินโดยบุตรเพิ่มเติมข้อความในใบมอบฉันทะเกินความประสงค์เดิมของมารดา ย่อมเป็นโมฆะ
บุตรคนหนึ่งเอาแบบพิมพ์มาให้มารดาพิมพ์ลายนิ้วมือโดยแจ้งว่าจะเอาไปจัดการใส่ชื่อบุตรคนนั้นลงในโฉนดที่ดินของมารดาด้วย มารดาก็ยอมและกดพิมพ์ลายนิ้วมือให้ไป แต่บุตรกลับไปเพิ่มเติมข้อความในใบมอบฉันทะนั้นเป็นว่ามารดามอบอำนาจให้บุตร ขายที่ดินโฉนดนั้นแก่บุตร 3 คน ดังนี้ เป็นการผิดความประสงค์การโอนขายย่อมเป็นโมฆะ มารดาย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมโอนขายนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายที่ดินไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน ศาลต้องฟังพยานเพื่อพิสูจน์ความสุจริต
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขายนาให้โจทก์ โจทก์ชำระราคาแล้ว จำเลยที่ 1 กลับโอนนาให้แก่จำเลยที่ 2-3 โดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนขอให้ศาลเพิกถอนและบังคับให้จำเลยโอนขายให้แก่โจทก์ตามสัญญาจำเลยให้การว่า การโอนระหว่างจำเลยเป็นไปโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนประเด็นจึงมีว่า การโอนระหว่างจำเลยเป็นไปโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่ ซึ่งต้องฟังคำพยานต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6475/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามโอนขายที่ดินมีผลบังคับใช้ก่อนการโอน การโอนหลังคำสั่งคุ้มครองใช้ยันต่อโจทก์ไม่ได้
ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามมิให้จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาท เนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินที่จะบังคับคดีได้ ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามมิให้จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาท ปรากฏว่าในวันเดียวกันเจ้าพนักงานที่ดินได้รับหมายคุ้มครองชั่วคราวตามคำสั่งของศาลชั้นต้น จึงต้องถือว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่คุ้มครองชั่วคราวนี้มีผลใช้บังคับในวันดังกล่าวแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 258 วรรคสาม ดังนั้นการโอนขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ที่ทำขึ้นภายหลังที่คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวมีผลใช้บังคับแล้วจึงไม่อาจใช้ยันต่อโจทก์ได้ แม้จำเลยที่ 2 จะได้รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ตาม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 258 ทวิ วรรคสอง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นกล่าวอ้างศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายที่ดินโดยไม่มีสิทธิ ผู้รับซื้อไม่มีสิทธิ แม้จะรับซื้อสุจริตและจดทะเบียน
จำเลยที่ 1 มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงเป็นผู้ถือสิทธิครอบครองในที่ดินแทนทายาททุกคนและมีหน้าที่ต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ดินให้แก่ทายาททุกคนเท่านั้น ไม่มีสิทธินำที่ดินส่วนที่ตกได้แก่ทายาทคนใดไปขาย โดยทายาทผู้นั้นไม่ยินยอม ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิและไม่มีอำนาจที่จะนำที่ดินส่วนที่ตกได้แก่โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้ไปขายให้แก่ผู้ใด โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ ฉะนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะรับซื้อที่ดินดังกล่าวไว้สุจริตเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนแล้วก็ตาม ก็ไม่ได้สิทธิเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินในส่วนของโจทก์ เนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิและไม่มีอำนาจโอนขายที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2
การที่โจทก์มาฟ้องเรียกเอาที่ดินส่วนของโจทก์คืนนั้น จึงเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความเรียกคืน กรณีจึงไม่ใช่เรื่องการเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เพระการที่จะเป็นเรื่องเพิกถอนการฉ้อฉลได้นั้น จำเลยที่ 1 ผู้โอนจะต้องมีสิทธิโอนอยู่แล้ว แต่การโอนทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียหายเท่านั้น จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินส่วนของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่มีสิทธิและไม่มีอำนาจดังกล่าวมาแล้ว จึงนำอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 ในการเพิกถอนการฉ้อฉลมาใช้บังคับไม่ได้และเมื่อคดีนี้ไม่ใช่เรื่องการขอเพิกถอนการฉ้อฉลแต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 รับซื้อที่ดินมาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีสิทธิขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 แล้ว แม้จำเลยที่ 2 จะรับโอนมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนแล้วก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ไม่มีสิทธิในที่ดินซึ่งเป็นไปตามหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินส่วนของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 จึงไม่มีผลทางกฎหมายที่จะใช้ยันแก่โจทก์ได้
การที่โจทก์มาฟ้องเรียกเอาที่ดินส่วนของโจทก์คืนนั้น จึงเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความเรียกคืน กรณีจึงไม่ใช่เรื่องการเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เพระการที่จะเป็นเรื่องเพิกถอนการฉ้อฉลได้นั้น จำเลยที่ 1 ผู้โอนจะต้องมีสิทธิโอนอยู่แล้ว แต่การโอนทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียหายเท่านั้น จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินส่วนของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่มีสิทธิและไม่มีอำนาจดังกล่าวมาแล้ว จึงนำอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 ในการเพิกถอนการฉ้อฉลมาใช้บังคับไม่ได้และเมื่อคดีนี้ไม่ใช่เรื่องการขอเพิกถอนการฉ้อฉลแต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 รับซื้อที่ดินมาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีสิทธิขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 แล้ว แม้จำเลยที่ 2 จะรับโอนมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนแล้วก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ไม่มีสิทธิในที่ดินซึ่งเป็นไปตามหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินส่วนของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 จึงไม่มีผลทางกฎหมายที่จะใช้ยันแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8999/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายที่ดินก่อนถูกยึดทรัพย์: นิติกรรมไม่ฉ้อฉล เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเพิกถอน
จำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด น. โอนการครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ให้แก่ ค. ตั้งแต่วันทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท ต่อมา ค. ได้โอนการครอบครองให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรตั้งแต่ปี 2523 จำเลยที่ 2 จึงได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทก่อนที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด น. จะได้รับแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกรมสรรพากรโจทก์เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2542 จึงเป็นการกระทำโดยสุจริต ส่วนการที่จำเลยที่ 1 เพิ่งจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ภายหลังก็เพียงเพื่อมีชื่อผู้เป็นเจ้าของถูกต้องตามทะเบียน นิติกรรมที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จึงไม่ได้เกิดจากการฉ้อฉล โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3023/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้: ไม่เป็นโมฆะหากมิได้มีการฟ้องขอให้โอนทรัพย์เฉพาะสิ่ง
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 131362 และ 133534 แก่จำเลยที่ 4 โดยจำเลยที่ 4 ทราบว่าโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาจ้างทำของและต้องบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยที่ 1 ออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสี่มีเจตนาโอนและรับโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเพื่อไม่ให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ก็ตาม แต่เมื่อคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 5919/2555 ของศาลชั้นต้น โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินตามสัญญาจ้างทำของ มิได้ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 131362 และ 133534 อันเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งให้แก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแก่จำเลยที่ 4 จึงมิใช่กรณีที่เป็นการโอนและรับโอนที่ดินพิพาทเพื่อขัดขวางมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้รับโอนที่ดินพิพาทตามที่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลไว้อันจะทำให้นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงนี้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนซึ่งเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 แต่ตามคำฟ้องของโจทก์หากเป็นจริงดังอ้างก็เป็นเรื่องการซื้อขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 อันจะต้องบังคับตาม ป.พ.พ. บรรพ 2 ลักษณะ 1 หมวด 2 ส่วนที่ 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นทรัพย์มรดก ทายาทไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอน
อ. ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทตามฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่ได้ถูกกลฉ้อฉลหรือถูกหลอกลวงแต่ประการใด และจำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์หาใช่ครอบครองแทนบุคคลอื่นไม่ ที่ดินตามฟ้องจึงไม่เป็นทรัพย์มรดกของ อ. ที่จะตกได้แก่ทายาท เมื่อที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีอำนาจแบ่งแยก โอนขายหรือให้บุคคลใดเข้ามาถือกรรมสิทธิ์รวมหรือจะทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินของตนได้ เมื่อที่ดินพิพาทไม่เป็นทรัพย์มรดกของ อ. โจทก์ทั้งสองจึงไม่ได้ถูกโต้แย้งสิทธิ จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาขายที่ดินระหว่าง อ. กับจำเลยที่ 1 รวมทั้งไม่อาจฟ้องบังคับให้ใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของรวมในที่ดินด้วย และเมื่อจำเลยที่ 1 บอกกล่าวให้โจทก์ที่ 1 ออกไปจากที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์ที่ 1 ย่อมไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไป