คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนทรัพย์สิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 258 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8845/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของผู้มอบอำนาจและการโอนทรัพย์สินโดยสุจริต ผู้รับซื้อฝากไม่ต้องรับผิด
โจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ โดยมิได้กรอกข้อความทั้งมอบหนังสือยินยอมของภริยาซึ่งลงลายมือชื่อของภริยาโดยมิได้กรอกข้อความพร้อมกับสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนให้ผู้อื่นไปแสดงถึงความประมาทเลินเล่อของโจทก์ เมื่อมีผู้กรอกข้อความลงในใบมอบอำนาจนอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ของโจทก์และนำไปแสดงต่อบุคคลภายนอกจนบุคคลภายนอกหลงเชื่อว่าโจทก์ได้มอบอำนาจเช่นนั้นจริง โจทก์จะยกความประมาทเลินเล่อของตนขึ้นเป็นข้ออ้างเพื่อเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินที่บุคคลภายนอกรับโอนโดยสุจริตหาได้ไม่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 822 ประกอบมาตรา 821 ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ที่จะต้องนำสืบให้เห็นถึงความไม่สุจริตของผู้รับซื้อฝาก เพราะผู้รับซื้อฝาก ได้รับประโยชน์แห่งข้อสันนิษฐาน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 6 ว่าบุคคลทุกคนกระทำโดยสุจริต เมื่อโจทก์มิได้สืบให้เห็นถึงความไม่สุจริตของผู้รับซื้อฝาก ทั้งผู้รับซื้อฝาก เบิกความยืนยันความสุจริตของตน จึงต้องฟังว่าผู้รับซื้อฝากกระทำการโดยสุจริต โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8845/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของผู้มอบอำนาจและการโอนทรัพย์สินโดยสุจริต ผู้รับโอนมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง
โจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจโดยมิได้กรอกข้อความทั้งมอบหนังสือยินยอมของภริยาซึ่งลงลายมือชื่อของภริยาโดยมิได้กรอกข้อความพร้อมกับสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนให้ผู้อื่นไป แสดงถึงความประมาทเลินเล่อของโจทก์ เมื่อมีผู้กรอกข้อความลงในใบมอบอำนาจนอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ของโจทก์และนำไปแสดงต่อบุคคลภายนอก จนบุคคลภายนอกหลงเชื่อว่าโจทก์ได้มอบอำนาจเช่นนั้นจริง โจทก์จะยกความประมาทเลินเล่อของตนขึ้นเป็นข้ออ้างเพื่อเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินที่บุคคลภายนอกรับโอนโดยสุจริตหาได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 822 ประกอบมาตรา 821
เมื่อโจทก์มีหน้าที่ที่จะต้องนำสืบให้เห็นถึงความไม่สุจริตของผู้รับซื้อฝาก เพราะผู้รับซื้อฝากได้รับประโยชน์แห่งข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ว่าบุคคลทุกคนกระทำโดยสุจริต เมื่อโจทก์มิได้สืบให้เห็นถึงความไม่สุจริตของผู้รับซื้อฝาก ทั้งผู้รับซื้อฝากเบิกความยืนยันความสุจริตของตนจึงต้องฟังว่าผู้รับซื้อฝากกระทำการโดยสุจริต โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5640/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเลือกชำระหนี้แทนการโอนทรัพย์สิน การรับโอนทรัพย์สินโดยสุจริต และผลของการรับรองจากศาล
คำสั่งศาลจังหวัดสกลนครในคดีก่อนเป็นการสั่งเกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่ามีการกำหนดวิธีการบังคับคดีไว้อย่างไร จำเลยที่ 1 จะต้องชำระหนี้อย่างไรจึงจะถูกต้อง และมีสิทธิเลือกปฏิบัติตามคำพิพากษาได้หรือไม่นั้น เป็นคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษา มิใช่เป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือประเด็นแห่งคดี ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เห็นว่าตนมีสิทธิเลือกปฏิบัติตามคำพิพากษาด้วยการชำระเงินโดยไม่ต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองกับพวกก่อน จำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธิที่จะยกข้อดังกล่าวขึ้นต่อสู้ในคดีนี้ได้ ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งถึงที่สุดไปแล้วนั้น บังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองกับพวก หากช. ไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนา หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยที่ 1 กับ ช. ร่วมกันชำระเงิน137,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสองกับพวกนั้น เป็นการกำหนดให้จำเลยที่ 1 กระทำการชำระหนี้ทีละอย่างก่อนหลังตามลำดับ หาใช่เป็นการกระทำหลายอย่างอันลูกหนี้จะพึงเลือกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 198 ไม่ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิที่จะเลือกนำเงินจำนวน 137,000 บาท มาชำระแก่โจทก์ทั้งสองกับพวก แต่อย่างไรก็ตามเมื่อปรากฏว่าหลังจากได้มีการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวแล้วจำเลยที่ 1 นำเงินค่าที่ดินจำนวน 137,000 บาท พร้อมค่าทนายความและค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์ทั้งสองมาวางต่อศาลจังหวัดสกลนครและศาลจังหวัดสกลนครมีคำสั่งให้รับเงินในวันนั้นเอง และจำเลยที่ 1 ได้นำที่ดินพิพาทไปยื่นขอแบ่งขายต่อสำนักงานที่ดินอำเภอสว่างแดนดิน ซึ่งต่อมาสำนักงานที่ดินดังกล่าวมีหนังสือถึงศาลจังหวัดสกลนครเพื่อขอให้อธิบายคำพิพากษาซึ่งศาลก็เห็นชอบด้วยกับความเห็นของสำนักงานที่ดินว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะยื่นคำขอแบ่งขายที่ดินพิพาทได้จำเลยที่ 1 จึงได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300จึงไม่อาจเพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 428/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: สุจริตและมีค่าตอบแทน ผู้รับโอนไม่ต้องรับผิด
การโอนทรัพย์สินซึ่งลูกหนี้ได้กระทำในระหว่างระยะเวลา 3 ปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 114 เป็นหน้าที่ของผู้รับโอนจะต้องแสดงให้พอใจศาลว่า การโอน กระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน การที่ผู้คัดค้านเพิ่งทราบว่า จำเลยถูกฟ้องให้ล้มละลายและถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดภายหลัง จากจำเลยได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทพร้อม สิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้คัดค้านแล้ว แสดงว่าผู้คัดค้าน ไม่รู้ถึงการที่จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวมาก่อนจะจดทะเบียน โอนกรรมสิทธิ์ให้ ผู้คัดค้านรับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ก่อนจำเลยถูกฟ้องล้มละลายประมาณ 1 ปี และหนี้ที่จำเลยถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายเป็นหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันในมูลหนี้ที่เกิด จากบุคคลอื่นขายลดเช็คแก่โจทก์พฤติการณ์น่าเชื่อว่าการโอน ทรัพย์สินได้กระทำโดยสุจริต และการที่ผู้คัดค้านชำระค่าที่ดิน ให้จำเลยบางส่วนตามสัญญาจะซื้อจะขายแล้วยังต้องนำเงินไปไถ่ถอนจำนองจากธนาคารก่อนจึงรับโอนกรรมสิทธิ์ ถือว่าผู้คัดค้านได้เสียค่าตอบแทนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 114ผู้ร้องจะขอให้เพิกถอนการโอนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4183/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไถ่ถอนจำนองโดยบุคคลที่สามเพื่อรักษาทรัพย์สิน ไม่ถือเป็นการโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้
จำเลยและสามีถูกธนาคารผู้รับจำนองฟ้องให้ร่วมรับผิดชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยและธนาคารได้ขอบังคับจำนองที่ดินแปลงดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยนำไปจำนองไว้เป็นประกันการกู้ยืม แม้ธนาคารผู้รับจำนองจะฟ้องคดีหลังจากโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์แล้วก็ตาม แต่หนี้ที่จำเลยมีอยู่ต่อธนาคารเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนและเป็นหนี้ที่มิได้เกิดจากการสมยอมระหว่างจำเลยกับธนาคาร การที่จำเลยตกลงยินยอมให้ พ.เป็นผู้ชำระหนี้เพื่อไถ่ถอนจำนองที่ดินต่อธนาคารแทนจำเลยและรับโอนที่ดินไป โดยมีข้อตกลงให้จำเลยซื้อที่ดินจาก พ.คืนกลับไปได้ โดย พ.ต้องชำระเงินต้นกับดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมภาษีและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ แก่ธนาคารผู้รับจำนอง จึงเป็นกรณีที่จำเลยต้องกระทำเพื่อมิให้ธนาคารเจ้าหนี้ผู้รับจำนองบังคับจำนองแก่ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของจำเลยถือไม่ได้ว่าจำเลยโอนขายทรัพย์สินของตนไปโดยเจตนาที่จะไม่ให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รับชำระหนี้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 350

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3592/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องการเพิ่มทุนโดยการโอนทรัพย์สิน จำเลยมีหน้าที่โอนทรัพย์สินให้โจทก์ตามข้อตกลง
ตามฟ้องโจทก์บรรยายว่า โจทก์ที่ 2 กับนายสมชัยและจำเลยตกลงเข้าร่วมลงทุนกับโจทก์ที่ 1 โดยจะจดทะเบียนเพิ่มทุนจาก 1,000,000 บาท เป็น6,000,000 บาท ในการเพิ่มทุนครั้งนี้โจทก์ที่ 2 และนายสมชัยจะต้องชำระเงินคนละ2,000,000 บาท ส่วนจำเลยจะโอนทรัพย์สินที่ใช้ในกิจการของโจทก์ที่ 1 มาตีราคาในการเพิ่มทุน ต่อมาโจทก์ที่ 2 ชำระเงิน 2,000,000 บาท และนายสมชัยชำระเงิน1,000,000 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 1 แล้วโจทก์ที่ 1 ชำระเงิน 3,000,000 บาท ให้แก่จำเลย แม้ฟ้องโจทก์ตอนนี้จะบรรยายว่า เพื่อเป็นการซื้อทรัพย์สินจากจำเลย อันมีความหมายว่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็นของจำเลยก็ตาม แต่เมื่ออ่านฟ้องโจทก์ทั้งหมดโดยตลอดแล้ว ทำให้เข้าใจได้ว่าโจทก์ที่ 1 มีความประสงค์จะให้จำเลยโอนทรัพย์สินให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงเข้าร่วมลงทุนโดยมิได้คำนึงว่าทรัพย์สินดังกล่าวจะเป็นของจำเลยหรือเป็นของผู้อื่น ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขัดกัน และจำเลยก็เข้าใจข้อหาต่อสู้คดีได้ว่าโจทก์ที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา โดยชำระเงินค่าทรัพย์สินดังกล่าวให้จำเลยไม่ครบถ้วนดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุมโจทก์ฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีจำเลย โจทก์ที่ 2 และนายสมชัย ไชยศุภรากุล เป็นกรรมการ และกรรมการผู้ซึ่งลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทได้ คือกรรมการสองคนร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท จำเลยให้การว่าในการแต่งตั้งนายสุรัตน์ แสงจันทร์รุ่ง เป็นทนายความดำเนินคดีแทน โจทก์ที่ 1 มิได้ลงลายมือชื่อกรรมการสองคนและประทับตราสำคัญของโจทก์ที่ 1 ให้ถูกต้องตามข้อบังคับการแต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดีจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้องคำให้การจำเลยดังกล่าวไม่ได้ปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าตราประทับในใบแต่งทนายความของโจทก์ที่ 1 เป็นดวงตราปลอม คดีย่อมไม่มีประเด็นในปัญหาดังกล่าว ฎีกาของจำเลยที่ว่าตราประทับในใบแต่งทนายความของโจทก์ที่ 1 เป็นดวงตราปลอม จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.พ.พ.มาตรา249 วรรคหนึ่ง จำเลยชักชวนโจทก์ที่ 2 และ ส.เข้าร่วมลงทุนในบริษัทโจทก์ที่ 1 โดยจดทะเบียนเพิ่มทุนจาก 1,000,000 บาท เป็น 6,000,000 บาท โจทก์ที่ 2 และ ส.ลงทุนคนละ 2,000,000 บาท ส่วนจำเลยนำทรัพย์สินตีราคาเป็นทุน 6,000,000 บาทการเพิ่มทุนของโจทก์ที่ 1 มีการกำหนดสัดส่วนในการลงทุน จำนวนกรรมการและอำนาจกรรมการที่จะลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทไว้โดยชัดแจ้ง เมื่อจำเลยได้รับเงินจากโจทก์ที่ 1เป็นเงิน 3,000,000 บาท แล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงร่วมลงทุน หากโจทก์ที่ 1 ยังค้างชำระเงินให้แก่จำเลยเท่าใด จำเลยชอบที่จะไปว่ากล่าวเอาแก่โจทก์ที่ 1 เป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2624/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือแจ้งให้โอนทรัพย์สินจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ไม่ถือเป็นคำสั่งที่ผู้ร้องต้องปฏิบัติตาม
การที่ผู้คัดค้านมีหนังสือแจ้งให้ผู้ร้องโอนที่ดินคืนแก่ลูกหนี้ที่ 1 เป็นการกระทำในขั้นตอนของการจัดกิจการและทรัพย์สิน ของลูกหนี้ที่ 1 ซึ่งเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านแต่ผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22 และ 24 แต่ตามหนังสือของผู้คัดค้านดังกล่าวเป็นเพียงแจ้งข้อเท็จจริงประกอบข้อกฎหมายให้ผู้ร้องทราบ แม้ในตอนท้ายจะมี ข้อความขอให้ผู้ร้องโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินคืนแก่ลูกหนี้ที่ 1 หาก ไม่ปฏิบัติตาม ผู้คัดค้านจะดำเนินการตามกฎหมายก็ตาม ก็มีลักษณะเป็นเพียงคำชี้แนะของผู้คัดค้าน มิใช่เป็นคำสั่ง หรือคำวินิจฉัยชี้ขาดที่ผู้ร้องต้องปฏิบัติตาม ถ้าผู้ร้องเห็นว่า คำชี้แนะไม่ถูกต้อง ผู้ร้องจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้ ฉะนั้น ลำพัง หนังสือของผู้คัดค้านที่แจ้งไปยังผู้ร้องดังกล่าว จึงยังไม่เป็นการ กระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านที่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 146 ผู้ร้องจึงไม่มี อำนาจร้องขอต่อศาลให้สั่งกลับหรือแก้ไขได้ ฎีกาผู้ร้องที่ว่า ภายหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาด ผู้คัดค้านมิได้ตรวจสอบอายัดที่ดินของลูกหนี้ที่ 1โดยเร็ว เป็นเหตุให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับซื้อที่ดินในภายหลังได้ รับความเสียหาย และผู้คัดค้านไม่มีอำนาจร้องขอให้เพิกถอน การโอนที่ดินดังกล่าวโดยอ้างว่าเป็นโมฆะเพราะคดีขาดอายุความ เป็นข้อที่ผู้ร้องมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างไว้เป็นประเด็นประกอบ กับคดีนี้ศาลชั้นต้นงดไต่สวนคำร้องโดยเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ แล้วมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องโดยข้อกฎหมาย จึงเป็นการที่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามคำร้องขอของ ผู้คัดค้านซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 คดีจึงเสร็จไปทั้งเรื่องตามปัญหาข้อกฎหมายดังที่วินิจฉัยแล้ว ไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาอื่นตามฎีกาผู้ร้องอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1595/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: สิทธิของบุคคลภายนอกและขอบเขตอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
หนังสือของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ขอให้ผู้ร้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 สืบเนื่องมาจากการสอบสวนของผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และทราบมาว่าลูกหนี้ที่ 1 ได้ทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินรวม 4 แปลง ให้แก่ อ. ต่อมา อ.กับบุคคลอื่นได้รวมโฉนดที่ดินทั้ง 4 แปลง เข้าด้วยกันเป็นโฉนดเดียว แล้วแบ่งแยกออกเป็นหลายแปลงหรือหลายโฉนดโอนขายให้ผู้ร้อง 8 แปลง การโอนที่ดินระหว่างลูกหนี้ที่ 1 กับ อ.และระหว่างอ.กับผู้ร้องเป็นการโอนภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดการที่ผู้คัดค้านมีความเห็นว่าการที่ลูกหนี้ที่ 1 โอนที่ดินให้แก่ อ.และที่ อ.โอนที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายล้มละลายนั้น แต่การกระทำดังกล่าวที่เกี่ยวกับผู้ร้องต้องถือว่าผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอก และสิทธิของบุคคลภายนอกหากจะได้รับผลกระทบถึง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินคดีขอให้เพิกถอนต่อไป แต่หนังสือของผู้คัดค้านที่มีไปถึงผู้ร้องแจ้งหรือเตือนให้ผู้ร้องรับรู้ว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวทั้ง 8 แปลง ไม่ชอบเท่านั้น แม้จะมีถ้อยคำขอให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 ภายใน 30 วัน ไว้ด้วยก็ตาม แต่เมื่อผลถึงที่สุดแล้วหากผู้ร้องไม่ปฏิบัติตาม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ก็หามีอำนาจที่จะถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นเด็ดขาดไม่ เพราะไม่ถือว่าการที่จะต้องโอนที่ดินดังกล่าวคืนเป็นสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ที่มีมาก่อนการขอให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ร้องจึงยังไม่ได้รับความเสียหายตามความหมายแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ดังนี้ ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1595/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: สิทธิของบุคคลภายนอกและขอบเขตอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
หนังสือของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ขอให้ ผู้ร้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 สืบเนื่องมาจากการสอบสวนของผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์และทราบมาว่าลูกหนี้ที่ 1 ได้ทำนิติกรรม โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินรวม 4 แปลง ให้แก่ อ.ต่อมาอ. กับบุคคลอื่นได้รวมโฉนดที่ดินทั้ง 4 แปลง เข้าด้วยกัน เป็นโฉนดเดียว แล้วแบ่งแยกออกเป็นหลายแปลงหรือหลายโฉนด โอนขายให้ผู้ร้อง 8 แปลง การโอนที่ดินระหว่างลูกหนี้ที่ 1 กับ อ.และระหว่างอ. กับผู้ร้องเป็นการโอนภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดการที่ผู้คัดค้านมีความเห็นว่าการที่ลูกหนี้ที่ 1 โอนที่ดิน ให้แก่ อ. และที่ อ. โอนที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่ผู้ร้อง เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายล้มละลายนั้น แต่การกระทำดังกล่าวที่เกี่ยวกับผู้ร้องต้องถือว่าผู้ร้อง เป็นบุคคลภายนอก และสิทธิของบุคคลภายนอกหากจะได้รับ ผลกระทบถึง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินคดี ขอให้เพิกถอนต่อไป แต่หนังสือของผู้คัดค้านที่มีไปถึงผู้ร้อง แจ้งหรือเตือนให้ผู้ร้องรับรู้ว่าการโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินดังกล่าวทั้ง 8 แปลง ไม่ชอบเท่านั้น แม้จะมีถ้อยคำ ขอให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 ภายใน 30 วัน ไว้ด้วยก็ตาม แต่เมื่อผลถึงที่สุดแล้ว หากผู้ร้องไม่ปฏิบัติตาม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ของลูกหนี้ก็หามีอำนาจที่จะถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สิน ของลูกหนี้เป็นเด็ดขาดไม่ เพราะไม่ถือว่าการที่จะต้อง โอนที่ดินดังกล่าวคืนเป็นสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ที่มีมาก่อนการขอให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ร้อง จึงยังไม่ได้รับความเสียหายตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ดังนี้ ผู้ร้องจะยื่นคำร้อง ขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6855/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำพินัยกรรมหลีกเลี่ยงข้อห้ามโอนทรัพย์สิน และเจตนาทุจริตเพื่อขอใบอนุญาต
ห. เป็นเจ้าของที่ดินสองแปลง แปลงแรกมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี เว้นแต่ตกทอดทางมรดกตาม ป. ที่ดิน มาตรา 31 ห. ทำพินัยกรรมยกที่ดินแปลงแรกให้จำเลย 20 ไร่ ส่วนที่เหลือยกให้แก่ ถ. ภริยาของ ห. แปลงที่สองยกให้แก่จำเลย 4 ไร่ ส่วนที่เหลือยกให้แก่ ถ. การที่ ห. ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้จำเลยตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ตกลงซื้อขายซึ่งเป็นเจตนาอันแท้จริงของ ห. ผู้ทำพินัยกรรม พินัยกรรมของ ห. ในส่วนของที่ดินแปลงที่สองซึ่งไม่มีข้อกำหนดห้ามโอนจึงมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ จำเลยจึงมีสิทธิขอรับโอนที่ดินแปลงนี้ในฐานะผู้รับพินัยกรรมได้ ส่วนข้อกำหนดพินัยกรรมที่ ห. ยกที่ดินแปลงแรกให้แก่จำเลยนั้น ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 31 วรรคหนึ่ง กฎหมายมุ่งหมายที่จะให้ผู้ได้รับสิทธิในที่ดินได้มีที่ดินไว้ทำกินตลอดไปถึงลูกหลานหรือทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามกฎหมาย และเพื่อป้องกันมิให้ผู้ได้มาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินไปให้บุคคลอื่นได้โดยง่าย เมื่อมูลเหตุที่ ห. ทำพินัยกรรมสืบเนื่องมาจาก ห. ตกลงแบ่งขายที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่จำเลย เนื้อที่ 20 ไร่ และ 4 ไร่ ตามลำดับ โดยให้จำเลยปรับปรุงพื้นที่และสร้างอาคารเรียนเพื่อสร้างโรงเรียนได้ แต่ ห. ไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยตามสัญญา เพราะที่ดินแปลงแรกมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 31 ทำให้จำเลยไม่อาจขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนได้ เพราะตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานแสดงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือสัญญาเช่าที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งโรงเรียนมีกำหนดไม่น้อยกว่า 10 ปี ดังนั้น เจ้าหน้าที่ที่ดินจึงแนะนำให้ทำสัญญาเช่ากัน หากเกรงว่าจะเกิดปัญหาก็ให้ทำพินัยกรรมไว้ ประกอบกับขณะนั้น ห. ป่วยเป็นโรคมะเร็งในลำไส้ซึ่งอาจจะทำให้เสียชีวิตในระยะเวลาอันสั้น จำเลยเองก็ทราบว่า ห. เป็นโรคดังกล่าว ฉะนั้น การที่ ห. ทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่จำเลยตามเนื้อที่ดินที่จะแบ่งขายให้แก่จำเลยโดยได้รับเงินค่าที่ดินจากจำเลยแล้ว ต่อมาจำเลยกับ ห. ไปทำสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวกันมีกำหนด 10 ปี โดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พฤติการณ์ดังกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นได้โดยชัดแจ้งว่า ห. และจำเลยจงใจหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอนตาม ป.ที่ดิน มาตรา 31 วรรคหนึ่ง โดย ห. ทำพินัยกรรมยกที่ดินแปลงแรกซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอน และที่ดินแปลงที่สองซึ่งไม่มีข้อกำหนดห้ามโอนให้แก่จำเลยตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ตกลงจะซื้อขายกัน เพื่อให้ มีผลเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินภายในกำหนดระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมาย เมื่อจำเลยร่วมรู้เห็นให้ ห. ทำพินัยกรรมเพื่อหวังผลได้กรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวมาเป็นหลักฐานประกอบการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน อันแสดงถึงความไม่สุจริตของจำเลย จึงถือได้ว่าการยกที่ดินแปลงแรกให้แก่จำเลยตามพินัยกรรมมีวัตถุประสงค์เป็นการฝ่าฝืนบทกฎหมายดังกล่าว ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
ในชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แล้วว่า ห. ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้จำเลยหรือไม่ และพินัยกรรมมีผลบังคับได้เพียงใด ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงอยู่ในประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว การที่ศาลจะยกบทกฎหมายเรื่องใดขึ้นปรับแก่คดี ย่อมเป็นไปตามข้อเท็จจริงที่ได้จากการพิจารณา ที่ศาลล่างทั้งสองยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงชอบแล้ว
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกที่ดินคืนทั้งสองแปลงคืนจากจำเลย เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมในส่วนของที่ดินแปลงแรกไม่เป็นผลเพราะตกเป็นโมฆะ จำเลยย่อมมิใช่เป็นทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรมของ ห. ผู้ตาย จึงอ้างอายุความมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 และ 1755 มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ ทั้งโจทก์ฟ้องว่าพินัยกรรมปลอม มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งผู้ทำพินัยกรรมได้กระทำโดยสำคัญผิด ถูกกลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1708 และ 1709 จึงไม่อยู่ในบังคับของอายุความตามมาตรา 1710 ดังนั้น คดีของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่ขาดอายุความ แต่คดีโจทก์สำหรับที่ดินแปลงที่สองนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยมีสิทธิขอรับโอนที่ดินดังกล่าวในฐานะผู้รับพินัยกรรม โจทก์ซึ่งมิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมจึงเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกที่ดินดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1608 วรรคท้าย กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินแปลงที่สองขาดอายุความหรือไม่อีก เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
of 26