คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนสิทธิเรียกร้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องหนี้เช็คจากการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน ไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดตามกฎหมายเช็ค จนกว่าจะมีการชำระหนี้
สัญญากู้เงินซึ่งเป็นมูลหนี้ที่ออกเช็คพิพาทที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยผู้ออกเช็ครวมอยู่ในกลุ่มสินทรัพย์ของโจทก์ซึ่งถูกองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินเข้าควบคุมกิจการและได้ขายให้แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไปแล้ว เป็นเพียงการโอนสิทธิเรียกร้องมูลหนี้ที่ออกเช็คที่ถูกบังคับโอนตาม พ.ร.ก. การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 มาตรา 27 ไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นจากมูลหนี้ที่ออกเช็คจนกว่าจะได้มีการใช้เงิน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ชำระเงินตามสัญญากู้เงินอันเป็นมูลหนี้ที่ออกเช็คดังกล่าวแล้ว ดังนี้ คดีจึงไม่เลิกกันตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องมูลหนี้จากการปฏิรูปสถาบันการเงิน ไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดทางอาญา
แม้สัญญากู้เงินซึ่งเป็นมูลหนี้ที่ออกเช็คพิพาทที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยจะรวมอยู่ในกลุ่มสินทรัพย์ของโจทก์ซึ่งถูกองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินเข้าควบคุมกิจการและได้ขายให้แก่บริษัท ก. ไปแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการโอนสิทธิเรียกร้องมูลหนี้ที่ออกเช็คที่ถูกบังคับโอนตามพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงินพ.ศ. 2540 มาตรา 27 ไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นจากมูลหนี้ที่ออกเช็คจนกว่าจะได้มีการใช้เงิน เมื่อจำเลยไม่ได้ชำระเงินตามสัญญากู้เงิน ย่อมถือไม่ได้ว่ามูลหนี้ตามสัญญากู้เงินที่จำเลยได้ออกเช็คนั้นสิ้นผลผูกพัน โดยไม่คำนึงว่าโจทก์จะสามารถดำเนินกิจการและรับชำระหนี้จากลูกหนี้ได้หรือไม่ คดีจึงไม่เลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องมูลหนี้จากการปฏิรูปสถาบันการเงิน ไม่ทำให้สิทธิฟ้องคดีอาญาตามเช็คลดลง
แม้สัญญากู้เงินซึ่งเป็นมูลหนี้ที่ออกเช็คพิพาทที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยทั้งสามจะรวมอยู่ในกลุ่มสินทรัพย์ของโจทก์ซึ่งถูกองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินเข้าควบคุมกิจการและได้ขายให้แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. ไปแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการโอนสิทธิเรียกร้องมูลหนี้ที่ออกเช็คที่ถูกบังคับโอนตามพระราชกฤษฎีกาการปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ มาตรา 27ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากมูลหนี้ที่ออกเช็คพิพาทแต่อย่างใดจนกว่าจะได้มีการใช้เงิน เมื่อจำเลยทั้งสามยังมิได้ชำระเงินตามสัญญากู้เงินอันเป็นมูลหนี้ที่ออกเช็คดังกล่าวมูลหนี้ตามสัญญากู้เงินยังไม่สิ้นผลผูกพัน ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์จะสามารถดำเนินกิจการและรับชำระหนี้จากลูกหนี้ได้หรือไม่คดีจึงไม่เลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องยังไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9524/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้อง, อัตราแลกเปลี่ยนเงิน, และขอบเขตคำพิพากษาในคดีทรัพย์สินทางปัญญา
ใบมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศไม่อยู่ในบังคับให้ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
หนังสือมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศมีเจ้าพนักงานโนตารีปับลิกลงชื่อเป็นพยานและมีใบสำคัญของรัฐบาลต่างประเทศที่เกี่ยวข้องแสดงว่าบุคคลที่เป็นพยานนั้นเป็นผู้มีอำนาจกระทำการได้ แม้จะไม่มีกงสุลไทยเป็นพยาน ก็ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจนั้นจะไม่ใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริง จึงไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม การมอบอำนาจนั้นย่อมชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับอำนาจศาลตามสัญญาฉบับพิพาทที่กำหนดให้คู่สัญญาดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลแห่งประเทศอังกฤษเพียงแห่งเดียว จะทำขึ้นก่อนที่จะมีการจัดตั้งและเปิดทำการศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า- ระหว่างประเทศกลางก็ตาม แต่คดีนี้เกี่ยวด้วยหนี้เหนือบุคคล จำเลยทั้งหมดต่างมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหมดต่อศาลในประเทศไทย คือ ศาลแพ่งอันเป็นศาลที่จำเลยทั้งหมดมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4(2) เดิม(มาตรา 4(1) ที่แก้ไขใหม่) ต่อมาเมื่อ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 ใช้บังคับศาลทรัพย์สิน-ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางซึ่งมีเขตศาลตลอดกรุงเทพมหานคร และมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา จึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ตาม พ.ร.บ.มาตรา 5 และมาตรา 7(3) โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง หาจำต้องนำไปฟ้องยังศาลแห่งประเทศอังกฤษแต่เพียงแห่งเดียวไม่
พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 68 วรรคสอง, 80 และ 94 ซึ่งบัญญัติให้สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการหรือเครื่องหมายร่วมเฉพาะที่ได้จดทะเบียนแล้วต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนด้วย มีผลใช้บังคับในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 แต่ขณะทำสัญญาบทกฎหมายดังกล่าวยังไม่ใช้บังคับ และกฎหมายที่ใช้บังคับเกี่ยวกับเครื่องหมายบริการขณะนั้นยังไม่มี เมื่อสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือเป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้ และบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายสารบัญญัติ ไม่มีผลใช้บังคับย้อนหลังไม่ทำให้สัญญาซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วต้องเสียไปหรือตกเป็นโมฆะ
สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิระหว่างบริษัทผู้อนุญาตกับจำเลยที่ 1 ผู้รับอนุญาตมีข้อตกลงว่า "ให้ผู้อนุญาตโอนสิทธิและภาระผูกพันของตนได้อย่างอิสระ" และได้มีการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้ทราบโดยทางโทรสารและไปรษณีย์ลงทะเบียนแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าสภาพแห่งสิทธินั้นเองจะไม่เปิดช่องให้โอนกันได้ บริษัทผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิจึงโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้รับโอนได้โดยชอบ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคแรก และเมื่อการโอนดังกล่าวมีการแจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้ทราบแล้วตามมาตรา 306 วรรคแรก การโอนนั้นจึงใช้ยันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้
การโอนสิทธิและอนุญาตให้ใช้สิทธิในชื่อทางการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายการค้า และสิทธิในระบบปฏิบัติการที่มีอยู่แล้วก่อนนำมาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายบริการในประเทศไทยมิใช่การโอนสิทธิในเครื่องหมายบริการที่ได้รับการจดทะเบียน จึงไม่ต้องจดทะเบียนต่อนายทะเบียนตามแบบแห่งนิติกรรมดังที่กำหนดไว้มาตรา 51 วรรคสอง และ 68 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
โจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า-ระหว่างประเทศวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ ก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐตามคำขอบังคับของโจทก์ท้ายคำฟ้องเท่านั้น
แม้ลูกหนี้มีสิทธิชำระหนี้เงินดอลลาร์สหรัฐตามคำพิพากษาเป็นเงินบาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคแรก แต่การเปลี่ยนเงินก็ต้องเป็นไปตามมาตรา 196 วรรคสอง ที่ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เจ้าหนี้และลูกหนี้ได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันอันเนื่องมาจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน การชำระหนี้ด้วยเงินไทยและการเปลี่ยนเงินเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี จึงไม่ต้องกำหนดไว้ในคำพิพากษา แต่การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาเกี่ยวกับการคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินบาทโดยให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันที่มีคำพิพากษาซึ่งอาจมีอัตราแลกเปลี่ยนแตกต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินในเวลาที่มีการใช้เงิน หากลูกหนี้ต้องชำระหนี้เป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันอ่านคำพิพากษาซึ่งถ้าเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐ แลกเป็นเงินบาทได้มากกว่าในวันชำระเงินจริง ก็จะทำให้ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ด้วยเงินบาทเป็นจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินบาทที่คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ใช้เงินและมีผลทำให้จำนวนเงินที่ต้องชำระหนี้เป็นเงินบาทนั้นคิดเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐสูงกว่าจำนวนเงินตามคำขอบังคับท้ายคำฟ้องของโจทก์อันถือเป็นการพิพากษาเกินไปหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและ วิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง และเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอุทธรณ์ขึ้นมาศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็เห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเฉพาะกรณีที่จะมีผลให้เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8040/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องที่สมบูรณ์ก่อนคำสั่งอายัดและการละเมิดสิทธิจากปฏิบัติโดยไม่ชอบ
การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ได้ทำเป็นหนังสือและมีการบอกกล่าวการโอนเป็นหนังสือไปยังการกีฬาแห่งประเทศไทยซึ่งมีฐานะเป็นลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 อีกทั้งการกีฬาแห่งประเทศไทยได้ตอบรับทราบการโอนเป็นหนังสือแล้ว การโอนสิทธิเรียกร้องรายนี้เกิดผลบริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 306 วรรคหนึ่ง แล้ว อันมีผลให้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1ในการรับเงินค่าจ้างก่อสร้างตกเป็นของผู้ร้องตั้งแต่วันที่การกีฬาแห่งประเทศไทยรับทราบการโอนสิทธิเรียกร้อง ส่วนจำเลยที่ 1ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวอีกต่อไป การที่การกีฬาแห่งประเทศไทยไม่ยอมจ่ายเงินดังกล่าวแก่ผู้ร้องโดยอ้างว่ามีคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาและได้จ่ายเงินให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้เป็นตัวแทนของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 ไป จึงเป็นการปฏิบัติโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการละเมิดสิทธิของผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องต้องได้รับความเสียหายก็ชอบที่จะไปดำเนินการเรียกร้องตามสิทธิของตนไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกเงินคืนจากโจทก์และขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดชั่วคราวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7721/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างถมดิน & การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
จำเลยร่วมกับ ส. และ ม. เป็นหุ้นส่วนกันในสัญญาห้างหุ้นส่วนสามัญอันมิได้จดทะเบียนทำธุรกิจในกิจการรับถมดินให้แก่จำเลย แต่จำเลยร่วมเพียงผู้เดียวทำสัญญาเป็นผู้รับจ้างถมดินให้แก่จำเลยผู้ว่าจ้าง ตามสัญญาว่าจ้างถมดินเอกสารหมาย จ. 3 ส. และ ม. มิได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน แม้บุคคลทั้งสองจะเป็นหุ้นส่วนกับจำเลยร่วมก็ตาม แต่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1049 ผู้เป็นหุ้นส่วนจะถือเอาสิทธิใด ๆ แก่บุคคลภายนอกในกิจการค้าขายซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนนั้นหาได้ไม่ ส. และ ม. จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าว่าจ้างถมดินตามสัญญาว่าจ้างถมดินเอกสารหมาย จ. 3 สิทธิเรียกร้องค่าจ้างถมดินจากจำเลยตามสัญญานี้จึงเป็นของจำเลยร่วมแต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น จำเลยร่วมแต่เพียงผู้เดียวย่อมมีอำนาจโอนสิทธิเรียกร้องที่มีอยู่ต่อจำเลยตามสัญญาว่าจ้างถมดินเอกสารหมาย จ. 3 ให้แก่โจทก์ได้ เมื่อจำเลยร่วมได้ทำหนังสือลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2539 โอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างถมดินที่จำเลยร่วมมีสิทธิได้รับจากจำเลยให้แก่โจทก์ โดยจำเลยร่วมจะไม่ยกเลิกเพิกถอนการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวตามหนังสือยืนยันหนี้เอกสารหมาย จ. 5 และในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2539 จำเลยได้รับแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องจากโจทก์แล้ว อันเป็นการปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องที่ ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306 วรรคหนึ่งบัญญัติไว้แล้ว สิทธิเรียกร้องของจำเลยร่วมในการรับเงินค่าจ้างถมดินจากจำเลยจึงตกเป็นของโจทก์ตั้งแต่นั้น จำเลยร่วมย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินดังกล่าวอีกต่อไป ภายหลังจากนั้นจำเลยร่วมหามีสิทธิที่จะเพิกถอนการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวหาได้ไม่ ดังนั้นหนังสือขอเบิกเงินค่าจ้างถมดินส่วนที่เหลือ ที่จำเลยร่วมทำให้ไว้ต่อจำเลยในภายหลังว่าไม่ประสงค์จะมอบหรือโอนสิทธิให้ผู้อื่นมารับแทนโดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์นั้นหามีผลไม่
จำเลยและจำเลยร่วมได้ร่วมกันทำบันทึกยอมให้จำเลยปรับจำเลยร่วมในกิจการรับถมดินภายหลังจากที่จำเลยร่วมโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างถมดินให้แก่โจทก์แล้วเพื่อเอาเปรียบโจทก์ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จำเลยจึงไม่อาจที่จะปรับโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องเงินฝากประจำโดยการทำหนังสือและบอกกล่าวเจตนา ถือเป็นการโอนสมบูรณ์
ฉ. อยู่กินฉันสามีภริยากับ ช. โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสและได้ร่วมกันปล่อยเงินกู้ ซื้อขายที่ดินและเป็นนายหน้าขายที่ดิน เงินในบัญชีเงินฝากประจำทั้งสามรายการเป็นทรัพย์สินที่ ช. และ ฉ. ทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา ช. และ ฉ. จึงต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในเงินจำนวนดังกล่าวและต้องแบ่งให้คนละเท่า ๆ กัน
การที่ ฉ. ฝากเงินประจำไว้แก่จำเลยที่ 2 เงินที่ฝากประจำย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ฝากประจำให้ครบจำนวนพร้อมดอกเบี้ยเมื่อถึงกำหนดแก่ ฉ.
การที่ ฉ. มีเจตนายกเงินฝากประจำให้แก่จำเลยที่ 1 และได้ทำหนังสือถึงผู้จัดการจำเลยที่ 2 ให้เพิ่มชื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้แทนการถอนเงินออกมาฝากในนามจำเลยที่ 1 เนื่องจากเงินที่ฝากประจำยังไม่ครบกำหนด หากถอนเงินในขณะนั้นจะไม่ได้ดอกเบี้ย ถือได้โดยปริยายว่ามีเจตนาโอนสิทธิเรียกร้องของ ฉ. ที่ฝากเงินไว้แก่จำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะการโอนหนี้อันจะพึงชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจง เมื่อได้มีการปฏิบัติถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง กล่าวคือ ฉ. ได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้อง การโอนสิทธิเรียกร้องในเงินฝากประจำของ ฉ. ให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมสมบูรณ์ สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เงินฝากประจำจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 กรณีไม่ใช่เป็นเพียงมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากแทน ฉ. เท่านั้น เมื่อ ฉ. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้ โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ฉ. โดยคำสั่งของศาลชั้นต้น ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินฝากประจำดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องจากบริษัทเอกชนจำกัดเป็นมหาชนจำกัด, อายุความ, และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
เมื่อโจทก์แปรสภาพจากบริษัทเอกชนจำกัดเดิมมาเป็นบริษัทมหาชนจำกัด โจทก์ย่อมต้องรับโอนไปซึ่งทรัพย์สิน หนี้สิน สิทธิ และความรับผิดต่าง ๆ จากบริษัทเอกชนเดิมทั้งสิ้น ตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 185 จึงเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย มิใช่การโอนสิทธิเรียกร้องโดยนิติกรรมระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอนในอันที่จะต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
เมื่อสำเนาคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต เลตเตอร์ออฟเครดิตและตั๋วแลกเงินเอกสารท้ายคำฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง มีข้อความปรากฏชัดว่า บริษัท บ. ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ภายในประเทศเพื่อประโยชน์แก่บริษัท ย. ในการซื้อสินค้าจากบริษัท ย. พอเข้าใจได้ว่า บริษัท บ. ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตต่อธนาคารโจทก์เพื่อซื้อสินค้าใด โจทก์จ่ายสินค้าใด ให้ผู้ใด และเป็นเงินจำนวนเท่าใด และที่จำเลยที่ 2 สามารถให้การต่อสู้คดีได้นั้น แสดงว่าโจทก์ได้บรรยายคำฟ้องประกอบกับเอกสารท้ายคำฟ้องดังกล่าวชัดแจ้งพอให้จำเลยที่ 2 ได้เข้าใจข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
หนังสือชำระหนี้แทน ที่จำเลยที่ 3 ทำไว้ต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้แทนบริษัท บ. ไม่มีข้อความตอนใดอาจแปลไปได้เลยว่าจะให้หนี้เดิมของบริษัท บ. ระงับไป จึงเป็นเพียงสัญญาที่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3 ซึ่งยอมชำระหนี้แทนบริษัท บ. เท่านั้น มิใช่การแปลงหนี้ใหม่ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันหนี้ของบริษัท บ. ย่อมไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
ส่วนในเรื่องอายุความ หากจำเลยไม่ได้ตั้งประเด็นในเรื่องอายุความไว้ โจทก์ย่อมไม่จำเป็นต้องนำสืบ และการที่อายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษแก่ลูกหนี้เช่นนี้ ย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 692 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้สำหรับการใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ ยังไม่เกินกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6494/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการแปลงหนี้: สิทธิของโจทก์ในการฟ้องบังคับจำเลย
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างระหว่าง พ.กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน ทั้งสองฝ่ายต่างมีฐานะเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ กล่าวคือ พ.มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ที่จะได้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ในการที่จะต้องโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ พ. ในขณะเดียวกัน พ.ก็มีฐานะเป็นลูกหนี้ที่จะต้องชำระหนี้ค่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในการที่จะได้รับชำระหนี้ค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจาก พ. แม้ว่า พ.จะสามารถโอนสิทธิเรียกร้องในฐานะเจ้าหนี้ให้แก่บุคคลอื่นหรือโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 306 วรรคแรกได้ก็ตามแต่ พ.ก็ไม่อาจโอนหนี้ให้บุคคลอื่นหรือโจทก์มาเป็นลูกหนี้แทนโดยเพียงแต่ทำเป็นหนังสือสัญญาระหว่าง พ.กับบุคคลอื่นหรือโจทก์ เนื่องจากการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ซึ่งจะต้องมีการทำสัญญากันระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 350 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้คนใหม่ได้ทำสัญญาใหม่กับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ หนี้ใหม่ยังไม่เกิดขึ้น โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลย ไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยส่งมอบที่ดินให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6494/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการแปลงหนี้: โจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยหากไม่ทำสัญญาใหม่
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างระหว่าง พ. กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน ทั้งสองฝ่ายต่างมีฐานะเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ กล่าวคือ พ. มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ที่จะได้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง จากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ในการที่จะต้องโอนที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ พ. ในขณะเดียวกัน พ. ก็มีฐานะเป็นลูกหนี้ที่จะต้องชำระหนี้ค่าที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในการที่จะ ได้รับชำระหนี้ค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจาก พ.แม้ว่า พ. จะสามารถโอนสิทธิเรียกร้องในฐานะ เจ้าหนี้ให้แก่บุคคลอื่นหรือโจทก์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคแรก ได้ก็ตามแต่ พ.ก็ไม่อาจโอนหนี้ให้บุคคลอื่นหรือโจทก์ มาเป็นลูกหนี้แทนโดยเพียงแต่ทำเป็นหนังสือสัญญา ระหว่าง พ. กับบุคคลอื่นหรือโจทก์ เนื่องจากการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ซึ่งจะต้องมีการทำสัญญากันระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้คนใหม่ได้ทำสัญญาใหม่กับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ หนี้ใหม่ยังไม่เกิดขึ้น โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลย ไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยส่งมอบที่ดินให้โจทก์ได้
of 21