คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ใช้ก่อน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3142/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพาทเครื่องหมายการค้า: สิทธิในเครื่องหมายการค้า, ความเหมือน/คล้ายคลึง, อายุความ, และการใช้ก่อน
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุถึงการเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและได้มอบอำนาจให้ ร.หรือ ธ. ฟ้องคดี โดยมีเลขานุการสถานทูตไทยรับรองว่าได้เห็นเอกสารการมอบอำนาจนั้น แม้เลขานุการสถานทูตไทยจะมิได้รับรองว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและผู้มอบอำนาจเป็นบุคคลมีอำนาจแท้จริง เมื่อจำเลยไม่นำสืบโต้แย้งคัดค้าน ก็รับฟังว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นเป็นเอกสารที่แท้จริงและถูกต้องได้
การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยย่อมเป็นการฟ้องร้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งมีอายุความ 10 ปีนับแต่วันที่มีการละเมิดคือวันที่จำเลยจดทะเบียนการค้านั้น
เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษร "G" ประดิษฐ์เป็นรูปคล้ายหยดน้ำ อักษรโรมันได้แก่ "hansgrohe" ไม่มีกรอบ เวลาใช้ในการโฆษณา ตัว "G" อยู่ในวงกลมบ้าง ไม่มีวงกลมบ้าง ตัวอักษรโรมันบางครั้งเป็น "Hans Grohe" ด้วย ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีอักษร "G" ประดิษฐ์ เป็นรูปหยดน้ำเช่นเดียวกับโจทก์ตัวอักษรโรมันว่า "Han Groh" อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัส ความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงมีเพียงเล็กน้อยเมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันอาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนและหลงผิดได้
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลย ทั้งได้จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศหลายประเทศ และได้ส่งสินค้ามาจำหน่ายในประเทศ ไทยก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2254-2255/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การโอนสิทธิ และการใช้ก่อนย่อมมีน้ำหนักกว่าการจดทะเบียนภายหลัง
บริษัท อ. จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ พ.ศ. 2501 แล้วได้โอนขายทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทให้จำเลยที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2516 จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนโจทก์ แม้โจทก์จะไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นก่อน จำเลยที่ 1 ก็ฟ้องแย้งขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดไว้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2254-2255/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การโอนสิทธิและการใช้ก่อนย่อมมีน้ำหนักกว่าการจดทะเบียนภายหลัง
บริษัท ฮ. จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ พ.ศ. 2501 แล้วได้โอนขายทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทให้จำเลยที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2516 จำเลยที่ 1ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนโจทก์ แม้โจทก์จะไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นก่อน จำเลยที่ 1 ก็ฟ้องแย้งขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2254-2255/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเครื่องหมายการค้าก่อนจดทะเบียน และสิทธิเหนือกว่าจากการใช้ก่อน
บริษัท ฮ. จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้ที่ประเทศ สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ พ.ศ. 2501 แล้วได้ โอนขายทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทให้จำเลยที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2516 จำเลยที่ 1ใช้ เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนโจทก์ แม้โจทก์จะไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นก่อน จำเลยที่ 1 ก็ฟ้องแย้งขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดไว้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การแย่งสิทธิเนื่องจากใช้ก่อนและการจดทะเบียนในต่างประเทศ
บทบัญญัติมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พุทธศักราช2474 บัญญัติไว้ตอนต้นว่า 'ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้' ซึ่งรับกับมาตรา 41 (1) ที่ให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วได้ หากผู้มีส่วนได้เสียได้ยื่นคำร้องและแสดงได้ว่าตนมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าผู้ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของ ฉะนั้นเมื่อจำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทที่แท้จริงและได้ส่งสินค้าซึ่งมีเครื่องหมายการค้าพิพาทเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเป็นเวลานาน ก่อนที่โจทก์จะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทดังกล่าว แม้จำเลยจะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทยจำเลยก็มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์ได้ตามมาตรา 41 (1)
การที่โนตารีปับลิกรับรองการมีอยู่ของหนังสือรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทของจำเลยในประเทศต่าง ๆ ซึ่งมีนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้องรับรองความถูกต้องไว้แล้วนั้น เทียบเคียงได้กับกรณีการเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจที่ได้ทำในเมืองต่างประเทศตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 47 วรรคสาม คือไม่จำต้องมีเจ้าพนักงานสถานกงสุลไทยหรือสถานทูตไทยรับรองอีกชั้นว่าผู้รับรองเอกสารดังกล่าวเป็นโนตารีปับลิกจริง ดังนั้นเมื่อไม่ปรากฏเหตุอันควรสงสัยเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของบุคคลที่ลงลายมือชื่อรับรองในฐานะโนตารีปับลิกดังกล่าว ทั้งโจทก์ก็มิได้นำสืบหักล้างหรือโต้แย้งอย่างใดแล้วศาลก็รับฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทนั้นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนและใช้ก่อนย่อมไม่ถือว่าเลียนแบบเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนภายหลัง
เครื่องหมายการค้าที่จะถือได้ว่าเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นนั้นจะต้องเป็นเครื่องหมายการค้าที่เกิดขึ้นหรือใช้ภายหลังเครื่องหมายการค้าที่ถูกลอกเลียน เครื่องหมายการค้าที่เกิดขึ้นหรือได้ใช้มาก่อนไม่อาจเลียนเครื่องหมายการค้าที่เกิดขึ้นหรือใช้ภายหลังได้ฉะนั้นเมื่อเครื่องหมายการค้าที่พิพาทบริษัทล. ได้จดทะเบียนไว้ที่สหรัฐอเมริกาก่อนโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยและบริษัทล. ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวก่อนโจทก์เป็นเวลานานจึงถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้านั้นเลียนเครื่องหมายการค้าค้าของโจทก์แม้จำเลยจะเป็นตัวแทนผลิตและจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของบริษัทล. จำเลยก็ไม่มีความผิดตามป.อ.มาตรา274และพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าพุทธศักราช2474มาตรา45 ความผิดตามพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าพุทธศักราช2474มาตรา45เป็นความผิดที่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะเนื่องจากทางราชการมีความมุ่งหมายจะควบคุมเครื่องหมายการค้าเป็นความผิดต่อรัฐบุคคลธรรมดาจึงไม่มีอำนาจฟ้องในความผิดนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนและใช้ก่อนย่อมไม่ถือว่าเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น แม้จะมีการใช้ในภายหลัง
เครื่องหมายการค้าที่จะถือได้ว่าเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นนั้นจะต้องเป็นเครื่องหมายการค้าที่เกิดขึ้นหรือใช้ภายหลังเครื่องหมายการค้าที่ถูกลอกเลียนนั้นเครื่องหมายการค้าที่เกิดขึ้นหรือได้ใช้มาก่อนย่อมไม่อาจเลียนเครื่องหมายการค้าที่เกิดหรือใช้ในภายหลังได้. เครื่องหมายการค้าตามฟ้องบริษัทล.ได้จดทะเบียนไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาก่อนโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยและบริษัทล.ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวก่อนโจทก์เป็นเวลานานจึงถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าตามฟ้องของบริษัทล.เลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังนั้นเมื่อจำเลยเป็นตัวแทนในการผลิตและจำหน่ายกางเกงยีนส์ที่มีเครื่องหมายการค้าของบริษัทล.จำเลยก็ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา274และพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพุทธศักราช2474มาตรา45ซึ่งแก้ไขแล้วและความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้บัญญัติเป็นความผิดไว้โดยเฉพาะเนื่องจากทางราชการมีความมุ่งหมายจะควบคุมเครื่องหมายการค้าเป็นความผิดต่อรัฐโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องในความผิดนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนและการใช้สิทธิโดยสุจริต การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียน
บริษัทจำเลยจัดตั้งขึ้นที่ประเทศอังกฤษตั้งแต่ พ.ศ. 2456 โดยใช้คำว่า ครอมพ์ตัน เป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัท ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2480 จำเลยจดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า ครอมพ์ตัน ใช้สำหรับโคมไฟฟ้าที่ประเทศอังกฤษ ต่อจากนั้นได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ที่ประเทศอื่น ๆ อีกประมาณ 17 ประเทศ จำเลยได้ส่งสินค้าเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2511 และยังมีผู้สั่งเข้ามาจำหน่ายตลอดมา ส่วนโจทก์เพิ่งจะคิดชื่อ ครอมพ์ตัน ขึ้นใช้เมื่อปลายปี พ.ศ. 2521 จำเลยจึงใช้เครื่องหมายการค้า "ครอมพ์ตัน" มาก่อนโจทก์หลายสิบปี ทั้งคำว่า ครอมพ์ตันเป็นคำประดิษฐ์แปลไม่ได้ ยากที่โจทก์จะคิดขึ้นมาพ้องกับจำเลย โจทก์ย่อมทราบว่า มีผู้ใช้เครื่องหมายการค้าครอมพ์ตันสำหรับเครื่องไฟฟ้าแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนในประเทศไทย จึงได้ขอจดทะเบียนเสียก่อน ดังนี้ หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตไม่ จำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าครอมพ์ตันดีกว่าโจทก์
แม้จำเลยยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ครอมพ์ตัน ในประเทศไทย ไม่อาจอ้างความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านี้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพุทธศักราช 2474 มาตรา 27 ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งจำเลยมีสิทธิดีกว่า จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยื่นคัดค้านได้ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 22 มิใช่เป็นการอ้างความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่จดทะเบียนอันจะต้องห้ามตามมาตรา 27
จำเลยส่งสินค้าเครื่องไฟฟ้าใช้เครื่องหมายการค้า ครอมพ์ตันเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยมานาน เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่ประชาชน โจทก์นำเครื่องหมายการค้า ครอมพ์ตัน มาใช้กับสินค้าเครื่องไฟฟ้าของโจทก์ โดยไม่ปรากฏข้อความหรือเครื่องหมายใด ๆ แสดงให้เห็นที่เครื่องไฟฟ้านั้นว่าเป็นของโจทก์เลย พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์เอาสินค้าของโจทก์ไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของจำเลย จำเลยชอบที่จะฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์เลิกใช้เครื่องหมายการค้า ครอมพ์ตันของจำเลยได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พุทธศักราช 2474 มาตรา 29 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนย่อมมีสิทธิมากกว่า แม้ยังมิได้จดทะเบียน และการลวงขายสินค้า
บริษัทจำเลยจัดตั้งขึ้นที่ประเทศอังกฤษ ตั้งแต่พ.ศ. 2456 โดยใช้คำว่า ครอมพ์ตัน เป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัท พ.ศ. 2480 จำเลยจดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าครอมพ์ตัน ใช้สำหรับโคมไฟฟ้าที่ประเทศอังกฤษ ต่อจากนั้นได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ที่ประเทศอื่น ๆ อีก จำเลยได้ส่งสินค้าเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2511และยังมีผู้สั่งเข้ามาจำหน่ายตลอดมา ส่วนโจทก์ใช้ชื่อครอมพ์ตันเมื่อปลายปี2521ทั้งคำว่าครอมพ์ตัน เป็นคำประดิษฐ์แปลไม่ได้ ยากที่โจทก์จะคิดขึ้นมาฟ้องกับจำเลยโจทก์ย่อมทราบว่ามีผู้ใช้เครื่องหมายการค้าครอมพ์ตัน สำหรับเครื่องไฟฟ้าแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนในประเทศไทยจึงได้ขอจดทะเบียนเสียก่อน ดังนี้ หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตไม่ จำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้า ครอมพ์ตัน ดีกว่าโจทก์ แม้จำเลยยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าครอมพ์ตันในประเทศไทย ไม่อาจอ้างความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านี้ตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้ามาตรา 27 ก็ตามแต่เมื่อโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งจำเลยมีสิทธิดีกว่าจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยื่นคัดค้านได้ตาม มาตรา 22มิใช่เป็นการอ้างความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่จดทะเบียนอันจะต้องห้ามตาม มาตรา 27 จำเลยส่งสินค้าเครื่องไฟฟ้าใช้เครื่องหมายการค้าครอมพ์ตันเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยมานาน เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่ประชาชนโจทก์นำเครื่องหมายการค้าครอมพ์ตันมาใช้กับสินค้าเครื่องไฟฟ้าของโจทก์ โดยไม่ปรากฏข้อความหรือเครื่องหมายใด ๆ แสดงให้เห็นที่เครื่องไฟฟ้านั้นว่าเป็นของโจทก์เลย พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์เอาสินค้าของโจทก์ไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของจำเลย ดังนี้จำเลยชอบที่จะฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์เลิกใช้เครื่องหมายการค้า ครอมพ์ตันของจำเลยได้ตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 29 วรรคสอง คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ตัดพยานโจทก์เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาฯ เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งไว้โดยมีโอกาสที่จะโต้แย้งได้ จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ ก็ไม่เป็นประเด็นที่โจทก์จะยกขึ้นฎีกาต่อมา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนย่อมมีสิทธิดีกว่า แม้จำเลยจดทะเบียนก่อน และเครื่องหมายคล้ายกันจนสับสน
โจทก์เป็นผู้คิดเครื่องหมายการค้าขึ้นใช้กับสินค้าของตน ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในต่างประเทศไว้หลายประเทศ ทั้งได้โฆษณาและขายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวก่อนจำเลยประมาณ 20 ปี จำเลยจึงไม่อาจอ้างความสุจริตและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทยก่อนโจทก์เพื่อแสดงว่าจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าโจทก์ ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41(1)
เครื่องหมายการค้า DYNAMO กับ DYNAMIC นั้น เมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันสำเนียงสองคำหน้าเหมือนกันและตัวอักษรโรมัน 5 ตัวหน้าเหมือนกัน อักษรตัวสุดท้ายก็คล้ายคลึงกัน ดังนี้ ย่อมเห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองเกือบเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันอันอาจทำให้สาธารณะชนเกิดความสับสนและหลงผิดได้. โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ห้ามจำเลยมิให้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า DYNAMIC ได้
of 5