พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักภาษีซื้อ: หลักเกณฑ์ใบกำกับภาษีถูกต้องตามกฎหมาย แม้มีข้อผิดพลาดเล็กน้อย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 มิได้ตรวจสอบพิจารณาใบกำกับภาษีของโจทก์ให้ครบถ้วนตามความจริง โดยตรวจสอบเพียงบางส่วน หากพิจารณาใบกำกับภาษีของโจทก์แล้วจะเห็นได้ว่าการยื่นแบบรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์ถูกต้อง โจทก์หาจำต้องระบุรายละเอียดว่ามีใบกำกับภาษีฉบับใดบ้างที่ไม่ได้หยิบยกขึ้นมาพิจารณา เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ทั้งปรากฏว่าใบกำกับภาษีดังกล่าวก็อยู่ในครอบครองของจำเลยทั้งห้า ซึ่งจำเลยทั้งห้าตรวจสอบได้เองอยู่แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ระเบียบของอธิบดีกรมสรรพากรจำเลยที่ 1 ที่กำหนดหลักเกณฑ์การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมแล้วออกฉบับใหม่ เป็นเพียงระเบียบภายใน ย่อมไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกให้ต้องถือปฏิบัติตาม ทั้งใบกำกับภาษีพิพาทก็ได้ระบุไว้แล้วว่าออกแทนฉบับเดิม ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าเป็นการยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมนั่นเอง ใบกำกับภาษีบางฉบับแม้มีข้อความไม่ครบถ้วนตามที่อธิบดีกรมสรรพากรได้วางหลักเกณฑ์ไว้ตามหนังสือดังกล่าว แต่ข้อความที่ปรากฏในช่องหมายเหตุในใบกำกับภาษีข้างต้นก็คงมีความหมายให้เข้าใจว่าเป็นการยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมเช่นกันส่วนใบกำกับภาษีที่ไม่ได้นำค่าขนส่งรวมเข้ากับมูลค่าของสินค้าเพื่อนำมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ใบกำกับภาษีฉบับดังกล่าว ได้มีการแยกมูลค่าของสินค้าและค่าขนส่งออกจากกันอย่างชัดแจ้ง และได้ระบุเฉพาะจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มของสินค้าที่โจทก์จะขอเครดิตภาษีเท่านั้น ซึ่งรายการต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษีฉบับดังกล่าวมีข้อความครบถ้วนตามที่มาตรา 86/4 แห่ง ป.รัษฎากรได้บัญญัติไว้ กรณีเช่นนี้ไม่ทำให้ใบกำกับภาษีข้างต้นมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ตามมาตรา 82/5 (2) เมื่อปรากฏว่าใบกำกับภาษีดังกล่าวทั้งหมดมีรายการครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 86/4 ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามมิให้นำมาหักในการคำนวณภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/5 โจทก์จึงนำภาษีซื้อมาหักในการคำนวณภาษีตาม มาตรา 82/3 ได้
ใบกำกับภาษีซึ่งระบุที่อยู่ของโจทก์ไม่ถูกต้องนั้น มีข้อผิดพลาดเฉพาะตัวเลขที่บ้านที่อยู่ด้านหน้าเท่านั้น ส่วนข้อความอื่นตรงกันทั้งหมด ข้อผิดพลาดดังกล่าวเป็นเรื่องเล็กน้อย ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามมิให้นำมาหักในการคำนวณภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/5 โจทก์จึงนำภาษีซื้อมาหักในการคำนวณภาษีได้ตามมาตรา 82/3
ระเบียบของอธิบดีกรมสรรพากรจำเลยที่ 1 ที่กำหนดหลักเกณฑ์การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมแล้วออกฉบับใหม่ เป็นเพียงระเบียบภายใน ย่อมไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกให้ต้องถือปฏิบัติตาม ทั้งใบกำกับภาษีพิพาทก็ได้ระบุไว้แล้วว่าออกแทนฉบับเดิม ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าเป็นการยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมนั่นเอง ใบกำกับภาษีบางฉบับแม้มีข้อความไม่ครบถ้วนตามที่อธิบดีกรมสรรพากรได้วางหลักเกณฑ์ไว้ตามหนังสือดังกล่าว แต่ข้อความที่ปรากฏในช่องหมายเหตุในใบกำกับภาษีข้างต้นก็คงมีความหมายให้เข้าใจว่าเป็นการยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมเช่นกันส่วนใบกำกับภาษีที่ไม่ได้นำค่าขนส่งรวมเข้ากับมูลค่าของสินค้าเพื่อนำมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ใบกำกับภาษีฉบับดังกล่าว ได้มีการแยกมูลค่าของสินค้าและค่าขนส่งออกจากกันอย่างชัดแจ้ง และได้ระบุเฉพาะจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มของสินค้าที่โจทก์จะขอเครดิตภาษีเท่านั้น ซึ่งรายการต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษีฉบับดังกล่าวมีข้อความครบถ้วนตามที่มาตรา 86/4 แห่ง ป.รัษฎากรได้บัญญัติไว้ กรณีเช่นนี้ไม่ทำให้ใบกำกับภาษีข้างต้นมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ตามมาตรา 82/5 (2) เมื่อปรากฏว่าใบกำกับภาษีดังกล่าวทั้งหมดมีรายการครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 86/4 ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามมิให้นำมาหักในการคำนวณภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/5 โจทก์จึงนำภาษีซื้อมาหักในการคำนวณภาษีตาม มาตรา 82/3 ได้
ใบกำกับภาษีซึ่งระบุที่อยู่ของโจทก์ไม่ถูกต้องนั้น มีข้อผิดพลาดเฉพาะตัวเลขที่บ้านที่อยู่ด้านหน้าเท่านั้น ส่วนข้อความอื่นตรงกันทั้งหมด ข้อผิดพลาดดังกล่าวเป็นเรื่องเล็กน้อย ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามมิให้นำมาหักในการคำนวณภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/5 โจทก์จึงนำภาษีซื้อมาหักในการคำนวณภาษีได้ตามมาตรา 82/3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยความถูกต้องของใบกำกับภาษี และขอบเขตการนำภาษีซื้อมาหักลดหย่อนตามประมวลรัษฎากร
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ถึงที 5 มิได้ตรวจสอบพิจารณาใบกำกับภาษีของโจทก์ให้ครบถ้วนตามความจริง โดยตรวจสอบ เพียงบางส่วน หากพิจารณาใบกำกับภาษีของโจทก์แล้วจะเห็นได้ว่า การยื่นแบบรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์ถูกต้อง โจทก์ หาจำต้องระบุรายละเอียดว่ามีใบกำกับภาษีฉบับใดบ้างที่ไม่ได้ หยิบยกขึ้นมาพิจารณา เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบ ในชั้นพิจารณาได้ ทั้งปรากฏว่าใบกำกับภาษีดังกล่าวก็อยู่ในครอบครองของจำเลยทั้งห้า ซึ่งจำเลยทั้งห้าตรวจสอบได้เองอยู่แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ระเบียบของอธิบดีกรมสรรพากรจำเลยที่ 1 ที่กำหนดหลักเกณฑ์การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมแล้วออกฉบับใหม่เป็นเพียงระเบียบภายใน ย่อมไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกให้ต้องถือปฏิบัติตาม ทั้งใบกำกับภาษีพิพาท ก็ได้ระบุไว้แล้วว่าออกแทนฉบับเดิม ย่อมมีความหมายอยู่ ในตัวว่าเป็นการยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมนั่นเอง ใบกำกับภาษีบางฉบับแม้มีข้อความไม่ครบถ้วนตามที่อธิบดีกรมสรรพากรได้วางหลักเกณฑ์ไว้ตามหนังสือดังกล่าว แต่ข้อความที่ปรากฏใน ช่องหมายเหตุในใบกำกับภาษีข้างต้นก็คงมีความหมายให้เข้าใจว่าเป็นการยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมเช่นกันส่วนใบกำกับภาษีที่ไม่ได้นำค่าขนส่งรวมเข้ากับมูลค่าของสินค้าเพื่อนำมาคำนวณ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ใบกำกับภาษีฉบับดังกล่าว ได้มีการแยกมูลค่า ของสินค้าและค่าขนส่งออกจากกันอย่างชัดแจ้ง และได้ระบุ เฉพาะจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มของสินค้าที่โจทก์จะขอเครดิตภาษี เท่านั้น ซึ่งรายการต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษีฉบับดังกล่าวมีข้อความครบถ้วนตามที่มาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรได้บัญญัติไว้ กรณีเช่นนี้ไม่ทำให้ใบกำกับภาษีข้างต้นมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามมาตรา 82/5(2) เมื่อปรากฏว่าใบกำกับภาษีดังกล่าวทั้งหมดมีรายการครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 86/4 ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามมิให้นำมาหักในการคำนวณภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/5 โจทก์จึงนำภาษีซื้อมาหักในการคำนวณภาษีตาม มาตรา 82/3 ได้ ใบกำกับภาษีซึ่งระบุที่อยู่ของโจทก์ไม่ถูกต้องนั้นมีข้อผิดพลาดเฉพาะตัวเลขที่บ้านที่อยู่ด้านหน้าเท่านั้นส่วนข้อความอื่นตรงกันทั้งหมด ข้อผิดพลาดดังกล่าวเป็นเรื่องเล็กน้อย ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามมิให้นำมาหักในการคำนวณภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/5 โจทก์จึงนำภาษีซื้อมาหักในการคำนวณภาษีได้ตามมาตรา 82/3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1116/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์ความถูกต้องของใบกำกับภาษีซื้อ และผลของการใช้ใบกำกับภาษีที่ไม่ถูกต้อง
คดีนี้โจทก์เป็นผู้ได้รับประโยชน์ในการนำใบกำกับภาษีซื้อไปใช้เครดิตภาษี ภาระการพิสูจน์ว่าใบกำกับภาษีซื้อออกโดยถูกต้องแท้จริงและชอบด้วยกฎหมาย จึงตกอยู่แก่โจทก์
ร้าน ก.และบริษัท ท.ออกใบกำกับภาษีซื้อให้แก่โจทก์ โดยไม่มีการขายสินค้า จึงถือว่าใบกำกับภาษีดังกล่าวเป็นใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ถูกต้องโจทก์จึงไม่อาจนำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีนั้น มาหักในการคำนวณภาษีตามมาตรา82/5 (5) เมื่อโจทก์นำใบกำกับภาษีดังกล่าวมาใช้ จึงต้องเสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษี ดังที่กำหนดไว้ในมาตรา 89 (7) และเงินเพิ่มตามมาตรา 89/1 แห่ง ป.รัษฎากร
ร้าน ก.และบริษัท ท.ออกใบกำกับภาษีซื้อให้แก่โจทก์ โดยไม่มีการขายสินค้า จึงถือว่าใบกำกับภาษีดังกล่าวเป็นใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ถูกต้องโจทก์จึงไม่อาจนำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีนั้น มาหักในการคำนวณภาษีตามมาตรา82/5 (5) เมื่อโจทก์นำใบกำกับภาษีดังกล่าวมาใช้ จึงต้องเสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษี ดังที่กำหนดไว้ในมาตรา 89 (7) และเงินเพิ่มตามมาตรา 89/1 แห่ง ป.รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1116/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ใบกำกับภาษีซื้อที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และภาระการพิสูจน์ของผู้นำใบกำกับภาษีไปใช้เครดิตภาษี
คดีนี้โจทก์เป็นผู้ได้รับประโยชน์ในการนำใบกำกับภาษีซื้อไปใช้เครดิตภาษี ภาระการพิสูจน์ว่าใบกำกับภาษีซื้อออกโดยถูกต้องแท้จริงและชอบด้วยกฏหมาย จึงตกอยู่แก่โจทก์ ร้าน ก. และบริษัท ท. ออกใบกำกับภาษีซื้อให้แก่โจทก์โดยไม่มีการขายสินค้า จึงถือว่าใบกำกับภาษีดังกล่าวเป็นใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ถูกต้องโจทก์จึงไม่อาจนำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีนั้น มาหักในการคำนวณภาษีตามมาตรา 82/5(5)เมื่อโจทก์นำใบกำกับภาษีดังกล่าวมาใช้ จึงต้องเสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษี ดังที่กำหนดไว้ในมาตรา 89(7) และเงินเพิ่มตามมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5878/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับ ป.รัษฎากร มาตรา 89: การใช้ใบกำกับภาษีปลอมและขอบเขตการปรับ
การที่โจทก์นำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีปลอมมาเป็นภาษีซื้อคำนวณหักออกจากภาษีขายในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเข้าลักษณะความผิดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89(7) นั้นย่อมเป็นการยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและแสดงภาษีซื้อเกินไป อันเข้าลักษณะความผิดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89(3) และ (4) อยู่ด้วยในตัว แต่เมื่อมาตรา 89 (7) กำหนดให้เสียเบี้ยปรับ 2 เท่าย่อมเห็นได้ว่ามุ่งหมายจะลงโทษปรับให้สูงขึ้นโดยให้รับผิดตามมาตรา 89 (7) เพียงอนุมาตราเดียว หาได้มุ่งหมายให้ปรับทุกอนุมาตรารวมกันไม่ โจทก์จึงหาต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (3) และ (4) อีกด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีถูกต้องครบถ้วนและเรียงลำดับเลขที่ตามหลักเกณฑ์
จำเลยเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยประกอบกิจการขายอาหารและเครื่องดื่ม มีมูลค่าฐานภาษีจากยอดขายในเดือนกรกฎาคมสิงหาคม กันยายน และธันวาคม 2536 เกินกว่าเดือนละ 100,000 บาท จำเลยจึงเป็นผู้ประกอบการที่มีมูลค่าของฐานภาษีจากการขายสินค้าในเดือนหนึ่งเดือนใดถึง 100,000 บาท ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อยตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 25ธันวาคม 2534 ข้อ 1 วรรคสอง ที่จะไม่ต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 500 บาท ตามประกาศดังกล่าวข้อ 2 และสามารถจัดทำใบกำกับภาษีรวบรวมการขายสินค้าที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 500 บาท ในหนึ่งวันทำการตามประกาศดังกล่าวข้อ 3 จำเลยจึงมีหน้าที่จัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษีสำหรับขายสินค้าหรือให้บริการทุกครั้ง และต้องจัดทำในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้เกิดขึ้น พร้อมทั้งส่งมอบใบกำกับภาษีนั้นให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการตาม ป.รัษฎากร มาตรา 86 วรรคหนึ่ง หากไม่กระทำ ย่อมมีความผิดและได้รับโทษตามมาตรา 90/2 (3) การที่จำเลยจัดทำใบกำกับภาษีเพียงวันละ 1 ฉบับ โดยประทับตราช่องผู้ซื้อและที่อยู่ว่า "ขายปลีกรายย่อย ครั้งละไม่เกิน500 บาท รวมทั้งวัน" มีจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 3,557 บาท แสดงว่าเป็นการเอาการขายหลายครั้งในวันหนึ่ง ๆ มารวมยอดเงิน แล้วออกใบกำกับภาษีเพียง 1 ฉบับต่อวัน จึงเป็นการไม่จัดทำใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการทุกครั้ง และไม่จัดทำใบกำกับภาษีทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอันเกิดจากรายรับการขายทุกครั้งเกิดขึ้น จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.รัษฎากรมาตรา 86 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 90/2 (3) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2534
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่22) ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534 ข้อ 6 (3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดเก็บใบกำกับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นประกอบการลงรายงานภาษีซื้อแยกเป็นรายเดือนเรียงตามลำดับเดือนปีที่รายการเกิดขึ้นก่อนหลัง โดยต้องให้เลขที่กำกับใบสำคัญดังกล่าวเรียงตามลำดับขึ้นใหม่ทางด้านบนขวาของใบสำคัญนั้น ๆ ซึ่งย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่า ต้องให้เลขที่กำกับใบกำกับภาษีซื้อทุกฉบับเรียงตามลำดับกันไป จะให้เลขที่กำกับใบสำคัญดังกล่าวหลายฉบับรวมเพียงเลขที่เดียวไม่ได้แม้จะเป็นการซื้อขายสินค้าในวันเดียวกัน ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ได้ให้เลขที่กำกับใบกำกับภาษีซื้อเรียงตามลำดับขึ้นใหม่ทางด้านบนขวาของใบกำกับภาษีซื้อทุกฉบับการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 87 และ 90(15) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 22)ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ดำเนินคดีแก่จำเลยระหว่างที่อธิบดีกรมสรรพากรกำลังพิจารณาหนังสือของจำเลย ต้องถือว่ายังไม่สิ้นสุดตามวิธีการของมาตรา 34 แห่ง ป.รัษฎากรก็ดี จำเลยไม่ได้ทราบถึงผลการพิจารณาประเด็นต่าง ๆ ที่เจ้าพนักงานประเมินอ้างว่าตรวจพบการกระทำผิดของจำเลยนั้น จึงต้องถือว่ายังไม่สิ้นสุดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 14, 15, 16, 17, 18,20, 22 และ 27 ทวิ ก็ดี เจ้าหน้าที่ของฝ่ายโจทก์ได้ทำการขูดลบแก้ไขเอกสารก็ดี ล้วนเป็นข้อที่ไม่เป็นประเด็นโดยตรงกับการกระทำทั้งหลายที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดอาญาเป็นคดีนี้ และไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงชอบแล้ว
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่22) ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534 ข้อ 6 (3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดเก็บใบกำกับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นประกอบการลงรายงานภาษีซื้อแยกเป็นรายเดือนเรียงตามลำดับเดือนปีที่รายการเกิดขึ้นก่อนหลัง โดยต้องให้เลขที่กำกับใบสำคัญดังกล่าวเรียงตามลำดับขึ้นใหม่ทางด้านบนขวาของใบสำคัญนั้น ๆ ซึ่งย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่า ต้องให้เลขที่กำกับใบกำกับภาษีซื้อทุกฉบับเรียงตามลำดับกันไป จะให้เลขที่กำกับใบสำคัญดังกล่าวหลายฉบับรวมเพียงเลขที่เดียวไม่ได้แม้จะเป็นการซื้อขายสินค้าในวันเดียวกัน ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ได้ให้เลขที่กำกับใบกำกับภาษีซื้อเรียงตามลำดับขึ้นใหม่ทางด้านบนขวาของใบกำกับภาษีซื้อทุกฉบับการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 87 และ 90(15) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 22)ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ดำเนินคดีแก่จำเลยระหว่างที่อธิบดีกรมสรรพากรกำลังพิจารณาหนังสือของจำเลย ต้องถือว่ายังไม่สิ้นสุดตามวิธีการของมาตรา 34 แห่ง ป.รัษฎากรก็ดี จำเลยไม่ได้ทราบถึงผลการพิจารณาประเด็นต่าง ๆ ที่เจ้าพนักงานประเมินอ้างว่าตรวจพบการกระทำผิดของจำเลยนั้น จึงต้องถือว่ายังไม่สิ้นสุดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 14, 15, 16, 17, 18,20, 22 และ 27 ทวิ ก็ดี เจ้าหน้าที่ของฝ่ายโจทก์ได้ทำการขูดลบแก้ไขเอกสารก็ดี ล้วนเป็นข้อที่ไม่เป็นประเด็นโดยตรงกับการกระทำทั้งหลายที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดอาญาเป็นคดีนี้ และไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกใบกำกับภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย ภาษีอากร และการเรียงลำดับเลขที่เอกสาร
จำเลยเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยประกอบกิจการขายอาหารและเครื่องดื่มมีมูลค่าของฐานภาษีจากการขายสินค้าในเดือนหนึ่งถึง100,000บาทถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ขายสินค้าหรือให้บริการย่อยตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่7)ลงวันที่25ธันวาคม2534ข้อ1วรรคสองที่จะไม่ต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน500บาทและสามารถจัดทำใบกำกับภาษีรวบรวมการขายสินค้าที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน500บาทในหนึ่งวันทำการดังนั้นการที่จำเลยจัดทำใบกำกับภาษีเพียงวันละ1ฉบับโดยประทับตราช่องผู้ซื้อและที่อยู่ว่า"ขายปลีกรายย่อยครั้งละไม่เกิน500บาทรวมทั้งวัน"ซึ่งมีจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น3,557บาทนั้นแสดงว่าเป็นการเอาการขายหลายครั้งในวันหนึ่งๆมารวมยอดเงินแล้วออกใบกำกับภาษีเพียง1ฉบับต่อวันจึงเป็นการไม่จัดทำใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการทุกครั้งและไม่จัดทำใบกำกับภาษีทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอันเกิดจากรายรับการขายทุกครั้งเกิดขึ้นจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลรัษฎากรมาตรา86วรรคหนึ่งประกอบด้วยมาตรา90/2(3)และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่7)ลงวันที่25ธันวาคม2534 ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่22)ลงวันที่27ธันวาคม2534ข้อ6กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดเก็บใบกำกับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นประกอบการลงรายงานภาษีซื้อแยกเป็นรายเดือนเรียงตามลำดับเดือนปีที่รายการเกิดขึ้นก่อนหลังโดยต้องให้เลขที่กำกับใบสำคัญดังกล่าวเรียงตามลำดับขึ้นใหม่ทางด้านบนขวาของใบสำคัญนั้นๆซึ่งย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าต้องให้เลขที่กำกับใบกำกับภาษีซื้อทุกฉบับเรียงตามลำดับกันไปจะให้เลขที่กำกับใบสำคัญดังกล่าวหลายฉบับรวมเพียงเลขที่เดียวไม่ได้แม้จะเป็นการซื้อขายสินค้าในวันเดียวกันดังนั้นเมื่อจำเลยไม่ได้ให้เลขที่กำกับใบกำกับภาษีซื้อเรียงตามลำดับขึ้นใหม่ทางด้านบนขวาของใบกำกับภาษีซื้อทุกฉบับการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลรัษฎากรมาตรา87และ90(15)และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่22)ลงวันที่27ธันวาคม2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีทุกครั้ง แม้ยอดขายต่อครั้งไม่เกิน 500 บาท การออกใบกำกับภาษีรวมวันไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยประกอบกิจการขายอาหารและเครื่องดื่มมีมูลค่าฐานภาษีจากยอดขายในเดือนกรกฎาคมสิงหาคมกันยายนและธันวาคม2536เกินกว่าเดือนละ100,000บาทจำเลยจึงเป็นผู้ประกอบการที่มีมูลค่าของฐานภาษีจากการขายสินค้าในเดือนหนึ่งเดือนใดถึง100,000บาทถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อยตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่7)ลงวันที่25ธันวาคม2534ข้อ1วรรคสองที่จะไม่ต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน500บาทตามประกาศดังกล่าวข้อ2และสามารถจัดทำใบกำกับภาษีรวบรวมการขายสินค้าที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน500บาทในหนึ่งวันทำการตามประกาศดังกล่าวข้อ3จำเลยจึงมีหน้าที่จัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษีสำหรับขายสินค้าหรือให้บริการทุกครั้งและต้องจัดทำในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้เกิดขึ้นพร้อมทั้งส่งมอบใบกำกับภาษีนั้นให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการตามประมวลรัษฎากรมาตรา86วรรคหนึ่งหากไม่กระทำย่อมมีความผิดและได้รับโทษตามมาตรา90/2(3)การที่จำเลยจัดทำใบกำกับภาษีเพียงวันละ1ฉบับโดยประทับตราช่องผู้ซื้อและที่อยู่ว่า"ขายปลีกรายย่อยครั้งละไม่เกิน500บาทรวมทั้งวัน"มีจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น3,557บาทแสดงว่าเป็นการเอาการขายหลายครั้งในวันหนึ่งๆมารวมยอดเงินแล้วออกใบกำกับภาษีเพียง1ฉบับต่อวันจึงเป็นการไม่จัดทำใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการทุกครั้งและไม่จัดทำใบกำกับภาษีทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอันเกิดจากรายรับการขายทุกครั้งเกิดขึ้นจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลรัษฎากรมาตรา86วรรคหนึ่งประกอบด้วยมาตรา90/2(3)และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่7)ลงวันที่25ธันวาคม2534 ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่22)ลงวันที่27ธันวาคม2534ข้อ6(3)ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดเก็บใบกำกับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นประกอบการลงรายงานภาษีซื้อแยกเป็นรายเดือนเรียงตามลำดับเดือนปีที่รายการเกิดขึ้นก่อนหลังโดยต้องให้เลขที่กำกับใบสำคัญดังกล่าวเรียงตามลำดับขึ้นใหม่ทางด้านบนขวาของใบสำคัญนั้นๆซึ่งย่อมมีความหมายอยู่ในตัวต้องให้เลขที่กำกับใบกำกับภาษีซื้อทุกฉบับเรียงตามลำดับกันไปจะให้เลขที่กำกับใบสำคัญดังกล่าวหลายฉบับรวมเพียงเลขที่เดียวไม่ได้แม้จะเป็นการซื้อขายสินค้าในวันเดียวกันดังนั้นเมื่อจำเลยไม่ได้ให้เลขที่กำกับใบกำกับภาษีซื้อเรียงตามลำดับขึ้นใหม่ทางด้านบนขวาของใบกำกับภาษีซื้อทุกฉบับการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลรัษฎากรมาตรา87และ90(15)และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่22)ลงวันที่27ธันวาคม2534 ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ดำเนินคดีแก่จำเลยระหว่างที่อธิบดีกรมสรรพากรกำลังพิจารณาหนังสือของจำเลยต้องถือว่ายังไม่สิ้นสุดตามวิธีการของมาตรา34แห่งประมวลรัษฎากรก็ดีจำเลยไมได้ทราบถึงผลการพิจารณาประเด็นต่างๆที่เจ้าพนักงานประเมินอ้างว่าตรวจพบการกระทำผิดของจำเลยนั้นจึงต้องถือว่ายังไม่สิ้นสุดตามประมวลรัษฎากรมาตรา14,15,16,17,18,20,22และ27ทวิก็ดีเจ้าหน้าที่ของฝ่ายโจทก์ได้ทำการขูดลบแก้ไขเอกสารก็ดีล้วนเป็นข้อที่ไม่เป็นประเด็นโดยตรงกับการกระทำทั้งหลายที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดอาญาเป็นคดีนี้และไม่เป็นสาระแก่คดีศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9772/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำใบกำกับภาษีระหว่างสำนักงานใหญ่และสาขามาใช้ผิดประเภท และการงดเบี้ยปรับเมื่อผู้เสียภาษีเข้าใจผิด
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 83 วรรคสี่,87 และ 86วรรคหนึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสถานประกอบการหลายแห่งให้แยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีเป็นรายสถานประกอบการทั้งยังต้องการที่จะควบคุมและตรวจสอบได้โดยสะดวก จึงกำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำรายงานภาษีขายรายงานภาษีซื้อ รายงานสินค้าและวัตถุดิบเฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายสินค้า เป็นรายสถานประกอบการ โดยต้องลงรายการในรายงานภายในสามวันทำการนับแต่วันที่ได้มาหรือจำหน่ายออกไปซึ่งสินค้าเมื่อสถานประกอบการอยู่ต่างกัน ใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าจึงต้องแยกออกเป็นรายสถานประกอบการ ฉะนั้น ใบกำกับภาษีสำหรับการซื้อสินค้าย่อมจะต้องแยกเป็นของแต่ละสถานประกอบการเช่นเดียวกันจะนำมาปะปนกันเพื่อใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหาได้ไม่ เพราะจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดอันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีขายหรือจำนวนภาษีซื้อของแต่ละสถานประกอบการในเดือนภาษีที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไป สถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่ของโจทก์เป็นผู้นำเข้าสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มตามเอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่63,66,70,73,76,80,84,86 ประกอบบัญชีราคาสินค้าเอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่ 64,67,71,74,77,81,83,87โดยใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพาสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มระบุที่อยู่ของสถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่ของโจทก์ไว้โดยชัดแจ้ง ดังนั้นใบเสร็จรับเงินที่กรมศุลกากรออกให้ในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 83/10(1) ตามเอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่ 62,65,69,72,75,79,82 และ 85เนื่องจากการนำเข้าสินค้าดังกล่าวเป็นกำกับภาษี อันเป็นภาษีซื้อของสถานประกอบการแห่งใหญ่ของโจทก์ ตามที่ประมวลรัษฎากรมาตรา 86/14 และมาตรา 77/1(18)(ก) บัญญัติไว้แม้สถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่และสถานประกอบการของโจทก์จะเป็นสถานประกอบการของนิติบุคคลเดียวกัน แต่เมื่อมีการจดทะเบียนเป็นหลายสถานประกอบการแล้ว ย่อมแยกการซื้อขายการนำเข้า การส่งออกการให้บริการ ออกเป็นของแต่ละสถานประกอบการได้ โจทก์จึงต้องนำไปคำนวณภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 82/3 และยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษี ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่สถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่ของโจทก์ตั้งอยู่ กับต้องนำไปลงรายการในรายงานภาษีซื้อของสถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่ตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 87 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม บัญญัติไว้ฉะนั้นโจทก์จึงนำใบเสร็จรับเงินตามเอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่62,65,69,72,75,79,82 และ 85 ซึ่งเป็นใบกำกับภาษีอันเป็นภาษีซื้อของสถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่ไปใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการสาขาของโจทก์ไม่ได้ เพราะเป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวไว้แล้ว เมื่อเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบจึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีหลักฐานแสดงว่าโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีของสถานประกอบการสาขาโดยแสดงจำนวนภาษีไม่ถูกต้องมีข้อผิดพลาด อันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีซื้อของสถานประกอบการสาขาในเดือนภาษีที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไปเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียต่ำกว่าความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากโจทก์ได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 88(2) มาตรา 89(3) และมาตรา 89/1 การที่โจทก์นำใบเสร็จรับเงินที่กรมศุลกากรออกให้ในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากสถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่ของโจทก์มาใช้คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการสาขาของโจทก์นั้น เป็นเรื่องที่โจทก์เข้าใจข้อกฎหมายผิดไปว่าสามารถนำใบกำกับภาษีอันเป็นภาษีซื้อของโจทก์ ซึ่งเป็นนิติบุคคลเดียวกันไปใช้ในการคำนวณภาษีด้วยการหักจากภาษีขายได้ จึงได้ปฏิบัติการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีมีข้อผิดพลาดดังกล่าว โจทก์หาได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีหรือทำให้จำเลยได้รับชำระภาษีมูลค่าเพิ่มจากโจทก์น้อยไปจากวิธีการที่โจทก์จะปฏิบัติโดยถูกต้องทั้งสองสถานประกอบการแต่อย่างใดไม่ กรณีจึงมีเหตุสมควรงดเบี้ยปรับแก่โจทก์ การที่โจทก์จะต้องชำระเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากรมาตรา 89/1 นั้น เนื่องจากโจทก์ไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามบทบัญญัติในหมวด 4 ส่วน 7มาตรา 83 วรรคสอง จึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับโดยให้เริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีจนถึงวันชำระภาษี แต่เงินเพิ่มที่คำนวณได้มิให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระ เงินเพิ่มนี้แม้จะเป็นภาษีอากรประเมินแต่ประมวลรัษฎากร มาตรา 89/1 ก็มิได้บัญญัติให้งดหรือลดลงได้ดังเช่นที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 89 วรรคท้าย บัญญัติให้อำนาจในการงดหรือลดเบี้ยปรับลงได้ไว้ ศาลจึงไม่มีอำนาจงดหรือลดเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89/1 ได้..LONG
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9772/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำใบกำกับภาษีซื้อของสำนักงานใหญ่ไปใช้คำนวณภาษีของสาขาไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีได้ ศาลฎีกางดเบี้ยปรับ
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 83 วรรคสี่ มาตรา 87 และมาตรา 86 วรรคหนึ่งกับวรรคสาม กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้แยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีเป็นรายสถานประกอบการ ทั้งยังต้องการที่จะควบคุมและตรวจสอบได้โดยสะดวก จึงกำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ รายงานสินค้าและวัตถุดิบเฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่ประกอบกิจการขายสินค้าเป็นรายสถานประกอบการ เมื่อสถานประกอบการอยู่ต่างกันใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าจึงต้องแยกออกเป็นรายสถานประกอบการ ฉะนั้น ใบกำกับภาษีสำหรับการซื้อสินค้าย่อมจะต้องแยกเป็นของแต่ละสถานประกอบการเช่นเดียวกันจะนำมาปะปนกันเพื่อใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหาได้ไม่เพราะจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดอันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีขายหรือจำนวนภาษีซื้อของแต่ละสถานประกอบการในเดือนภาษีที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไป ดังนั้น แม้สถานประกอบการสำนักงานใหญ่และสถานประกอบการสาขาของโจทก์จะเป็นสถานประกอบการ ของนิติบุคคลเดียวกัน แต่เมื่อมีการจดทะเบียนเป็นหลายสถานประกอบการแล้ว ย่อมแยกการซื้อ การขาย การนำเข้า การส่งออก การให้บริการออกเป็นของแต่ละสถานประกอบการได้ โจทก์จึงนำใบกำกับภาษีซื้อของสถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่ไปใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการสาขาของโจทก์ไม่ได้ การที่โจทก์เข้าใจข้อกฎหมายผิดไปว่าสามารถนำใบกำกับภาษี อันเป็นภาษีซื้อของโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลเดียวกันไปใช้ในการคำนวณภาษีด้วยการหักจากภาษีขายได้ จึงได้ปฏิบัติการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีมีข้อผิดพลาด โจทก์หาได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีหรือทำให้จำเลยได้รับชำระภาษีมูลค่าเพิ่มจากโจทก์น้อยไปจากวิธีการที่โจทก์จะปฏิบัติโดยถูกต้องทั้งสองสถานประกอบการแต่อย่างใดไม่ จึงควรงดเบี้ยปรับแก่โจทก์ เงินเพิ่มแม้จะเป็นภาษีอากรประเมิน แต่ประมวลรัษฎากรมาตรา 89/1 ก็มิได้บัญญัติให้งดหรือลดลงได้ ดังเช่นที่มาตรา 89 วรรคท้ายบัญญัติให้อำนาจในการงดหรือลดเบี้ยปรับลงได้ไว้ ศาลจึงไม่มีอำนาจงดหรือลดเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89/1 ได้