คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไต่สวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 271 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกหมายค้นและการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ: ศาลมีอำนาจแก้ไขคำสั่งไต่สวนที่ไม่เกิดประโยชน์ได้
การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศออกหมายค้นบ้านเลขที่ที่ผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นเจ้าของบ้านเนื่องจากพนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอให้ออกหมายค้นโดยอ้างว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวมีเครื่องมือแพทย์ที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมซุกซ่อนอยู่โดยผิดกฎหมาย ขั้นตอนการขอออกหมายค้นดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อให้การค้นเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 238 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่กำหนดมาตรการเพื่อป้องกันมิให้เจ้าพนักงานทำการค้นโดยปราศจากเหตุอันสมควรตามกฎหมาย อันจะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคล และศาลได้ออกหมายค้นโดยมีข้อกำหนดไว้ชัดเจนเพื่อค้นหาและตรวจยึดเครื่องมือแพทย์ที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าเท่านั้น เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจค้นตามวันเวลาดังกล่าวในหมายค้นแล้ว แต่ไม่พบของผิดกฎหมาย กระบวนการในการขอออกหมายค้น การออกหมายค้น รวมทั้งอำนาจในการปฏิบัติตามหมายค้นที่เป็นมาตรการป้องกันการค้นโดยปราศจากเหตุอันสมควรดังกล่าวจึงเสร็จสิ้นยุติไปแล้วการที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนเพื่อทราบสาเหตุและหลักฐานอันเป็นที่มาในการขอออกหมายค้น จึงไม่เกิดประโยชน์ ถ้าผู้คัดค้านติดใจสงสัยว่าเจ้าพนักงานตำรวจขอตรวจค้นโดยไม่มีหลักฐานและเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้คัดค้านตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ผู้คัดค้านสามารถฟ้องร้องว่ากล่าวเป็นอีกคดีหนึ่ง เพื่อเยียวยาความเสียหายได้ ดังนั้น แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจะได้นัดไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านไว้แล้ว แต่ต่อมาเห็นว่า การไต่สวนคำร้องดังกล่าวจะไม่เกิดประโยชน์แก่การพิจารณาคดีก็ย่อมมีอำนาจแก้ไขคำสั่งเดิมได้ถือไม่ได้ว่าเป็นการปฏิเสธความยุติธรรม
ตามคำร้องของผู้คัดค้านที่ขอให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนั้น ผู้คัดค้านโต้แย้งว่า ศาลจะนำเอามาตรา 69 และมาตรา 94 ถึง 105 แห่ง ป.วิ.อ.มาใช้บังคับในการออกหมายค้นไม่ได้ เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 238 ทั้งที่รูปคดียังไม่มีปัญหาที่ศาลจะใช้บทบัญญัติมาตรา 69 และมาตรา 94 ถึง 105 แห่ง ป.วิ.อ.ดังกล่าวบังคับแก่คดี จึงมิใช่กรณีที่ศาลจะต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 264

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกหมายค้นและการไต่สวนคำร้องคัดค้าน: ศาลมีอำนาจงดไต่สวนหากไม่เกิดประโยชน์ และไม่จำเป็นต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญหากยังไม่มีปัญหาขัดรัฐธรรมนูญ
การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศออกหมายค้นบ้านเลขที่ที่ผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นเจ้าของบ้านเนื่องจากพนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอให้ออกหมายค้นโดยอ้างว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวมีเครื่องมือแพทย์ที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมซุกซ่อนอยู่โดยผิดกฎหมาย ขั้นตอนการขอออกหมายค้นดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อให้การค้นเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 238 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่กำหนดมาตรการเพื่อป้องกันมิให้เจ้าพนักงานทำการค้นโดยปราศจากเหตุอันสมควรตามกฎหมาย อันจะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคล และศาลได้ออกหมายค้นโดยมีข้อกำหนดไว้ชัดเจนเพื่อค้นหาและตรวจยึดเครื่องมือแพทย์ที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าเท่านั้น เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจค้นตามวันเวลาดังกล่าวในหมายค้นแล้วแต่ไม่พบของผิดกฎหมาย กระบวนการในการขอออกหมายค้น การออกหมายค้น รวมทั้งอำนาจในการปฏิบัติตามหมายค้นที่เป็นมาตรการป้องกันการค้นโดยปราศจากเหตุอันสมควรดังกล่าวจึงเสร็จสิ้นยุติไปแล้ว การที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนเพื่อทราบสาเหตุและหลักฐานอันเป็นที่มาในการขอออกหมายค้น จึงไม่เกิดประโยชน์ ถ้าผู้คัดค้านติดใจสงสัยว่าเจ้าพนักงานตำรวจขอตรวจค้นโดยไม่มีหลักฐานและเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้คัดค้านตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ผู้คัดค้านสามารถฟ้องร้องว่ากล่าวเป็นอีกคดีหนึ่ง เพื่อเยียวยาความเสียหายได้ ดังนั้น แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจะได้นัดไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านไว้แล้ว แต่ต่อมาเห็นว่า การไต่สวนคำร้องดังกล่าวจะไม่เกิดประโยชน์แก่การพิจารณาคดีก็ย่อมมีอำนาจแก้ไขคำสั่งเดิมได้ถือไม่ได้ว่าเป็นการปฏิเสธความยุติธรรม
ตามคำร้องของผู้คัดค้านที่ขอให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนั้น ผู้คัดค้านโต้แย้งว่า ศาลจะนำเอามาตรา 69 และมาตรา 94 ถึง 105 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับในการออกหมายค้นไม่ได้ เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 238 ทั้งที่รูปคดียังไม่มีปัญหาที่ศาลจะใช้บทบัญญัติมาตรา 69 และมาตรา 94ถึง 105 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ดังกล่าวบังคับแก่คดี จึงมิใช่กรณีที่ศาลจะต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 264

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกหมายค้นและการไต่สวนคำร้องคัดค้าน: ศาลมีอำนาจงดไต่สวนหากไม่เกิดประโยชน์ และไม่จำเป็นต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญหากไม่มีปัญหากับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางออกหมายค้นบ้านของผู้คัดค้าน เนื่องจากพนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอให้ออก โดยอ้างว่าบ้านดังกล่าวมีเครื่องมือแพทย์ที่มีเครื่องหมายการค้าของบริษัท ด. ปลอม ซุกซ่อนอยู่โดยผิดกฎหมาย ซึ่งขั้นตอนการขอออกหมายค้นดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อให้การค้นเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 238 ซึ่งเป็นบทบัญญัติกำหนดมาตราการเพื่อป้องกันมิให้เจ้าพนักงานทำการค้นโดยปราศจากเหตุอันสมควรตามกฎหมาย อันจะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคล เมื่อศาลออกหมายค้นและเจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจค้นเสร็จสิ้นแล้ว แต่ไม่พบของผิดกฎหมาย กระบวนการในการขอออกหมายค้น การออกหมายค้นรวมทั้งอำนาจในการปฏิบัติตามหมายค้นได้เสร็จสิ้นยุติไปแล้ว การที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนเพื่อทราบสาเหตุและหลักฐานอันเป็นที่มาในการขอออกหมายค้น ซึ่งศาลได้นัดไต่สวนคำร้องไว้นั้น จึงไม่เกิดประโยชน์แก่การป้องกันการตรวจค้นโดยปราศจากเหตุสมควรตามกฎหมายเพราะการตรวจค้นได้ยุติไปแล้ว ถ้าผู้คัดค้านติดใจสงสัยว่าเจ้าพนักงานตำรวจขอตรวจค้นโดยไม่มีหลักฐานและเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้คัดค้านตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ผู้คัดค้านสามารถเรียกร้องความยุติธรรมจากศาลได้โดยการฟ้องร้องว่ากล่าวเป็นอีกคดีหนึ่ง ซึ่งเป็นการดำเนินการเพื่อเยียวยาความเสียหายได้ ดังนั้น ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ย่อมมีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งเดิมเป็นให้งดไต่สวนได้ไม่ถือว่าเป็นการปฏิเสธความยุติธรรม
คำร้องของผู้คัดค้านที่ขอให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนั้น ผู้คัดค้านโต้แย้งว่าศาลจะนำเอามาตรา 69 และมาตรา 94 ถึง 105 แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาใช้บังคับในการออกหมายค้นไม่ได้ เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 238 ทั้งที่รูปคดียังไม่มีปัญหาที่ศาลจะใช้บทบัญญัติมาตรา 69 และมาตรา 94 ถึง 105แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาบังคับแก่คดีแต่ประการใดจึงมิใช่กรณีที่ศาลจะต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 264

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1753/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตให้เลื่อนไต่สวนและคำสั่งยกคำร้องขอเป็นผู้จัดการทรัพย์จำนอง รวมถึงผลของการอุทธรณ์
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์แทนการขายทอดตลาดที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์จำนองตาม ป.วิ.พ.มาตรา307 ในระหว่างการไต่สวน จำเลยขอเลื่อนคดีหลายครั้ง จนครั้งสุดท้ายศาลชั้นต้นเห็นว่าพฤติการณ์ของจำเลยส่อแสดงว่าจะประวิงการบังคับคดี จึงไม่อนุญาตให้เลื่อนการไต่สวนต่อไปอีก และมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลย คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเท่ากับศาลชั้นต้นได้พิจารณาในเนื้อหาของคำร้องแล้วว่าไม่มีเหตุที่จะอนุญาตตามคำร้องของจำเลย คำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรานี้จำเลยย่อมอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งหรือคำพิพากษาอย่างใดแล้ว คำสั่งหรือคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 307 วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ.(ฉบับที่ 18) พ.ศ.2542 มาตรา 14
ศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1279/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นหลังไต่สวน: วิธีการและขอบเขต
ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขออนุญาตดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์แล้วมีคำสั่งยกคำร้อง โจทก์ยื่นคำร้องขอสืบพยานเพิ่มเติม แต่ข้ออ้างตามคำร้องของโจทก์เป็นการคัดค้านข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยโดยคำสั่งหลังเสร็จการไต่สวนแล้ว ข้อวินิจฉัยดังกล่าวหากโจทก์ไม่เห็นด้วยและประสงค์จะคัดค้านโจทก์ชอบที่จะคัดค้านโดยการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น มิใช่โดยการยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่อีกครั้งหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8600/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีและการไต่สวนคำร้องอนาถา: ความชอบด้วยกฎหมายเมื่อมีนัดหมายชนกัน
โจทก์เพิ่งจะยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีเป็นครั้งแรก และศาลภาษีอากรกลางส่งหมายแจ้งวันนัดไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์โดยวิธีปิดหมาย แต่ทนายโจทก์ได้กำหนดวันนัดไต่สวนมูลฟ้องไว้ในคดีอาญาเรื่องอื่นไว้ก่อนได้รับหมายกำหนดวันไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในคดีนี้ซึ่งเป็นวันเดียวกัน และในวันนัดดังกล่าวทนายโจทก์ก็ได้เดินทางไปไต่สวนมูลฟ้องจริง การที่ศาลภาษีอากรกลางไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดี และยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์นั้น จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 798/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำคัดค้านคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกหลังศาลไต่สวนเสร็จสิ้นและนัดฟังคำสั่ง ศาลมีดุลพินิจในการรับคำคัดค้าน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของ พ. ผู้ตาย ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของผู้ร้องเสร็จแล้ว และนัดฟังคำสั่งในวันที่ไต่สวนคำร้องเสร็จ การที่ผู้คัดค้านทั้งสองยื่นคำร้องคัดค้านขึ้นมา ในวันนัดฟังคำสั่งเช่นนี้ศาลชั้นต้นจะรับคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านทั้งสองหรือไม่ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลชั้นต้น เมื่อปรากฏว่าไม่มีเหตุที่ผู้คัดค้านทั้งสองจะยื่นคำร้องคัดค้านใดเลย ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองไม่รับคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านทั้งสองไว้พิจารณาจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6770/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาใหม่ในคดีแรงงาน: ศาลต้องไต่สวนเหตุจำเป็นที่จำเลยไม่สามารถมาศาลได้ก่อนตัดสิน
คดีแรงงาน จำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่อ้างว่า ในวันนัดพิจารณาทนายจำเลยติดว่าความที่ศาลอื่นที่ได้นัดไว้ก่อนแล้ว จึงทำคำให้การคำร้องขอเลื่อนการพิจารณา และใบแต่งทนายความมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นต่อศาลแรงงานระหว่างเดินทางเสมียนทนายจำเลยประสบปัญหาการจราจรติดขัดจึงเปลี่ยนเส้นทางไปใช้ทางด่วน แต่รถแท็กซี่เสมียนจำเลยโดยสารมาเครื่องยนต์เสียอยู่บนทางด่วนเสมียนทนายจำเลยมาถึงศาลแรงงานเลยกำหนดนัดเพียง 15 นาที เสมียนทนายจำเลยเข้าไปนั่งรอในห้องพิจารณา แต่ผู้พิพากษาไม่ออกนั่งพิจารณาเมื่อไปตรวจสอบที่ศูนย์หน้าบัลลังก์จึงทราบว่าได้ย้ายห้องพิจารณาไปที่ห้องพิจารณาอื่น เสมียนทนายจำเลยตามไปห้องพิจารณานั้น แต่ปรากฏว่า ผู้พิพากษาออกนั่งพิจารณาคดีนี้ และเสร็จการพิจารณาก่อนเสมียนทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาต่อผู้พิพากษาให้ห้องพิจารณาประกอบกับข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏว่าเจ้าหน้าที่งานรับฟ้องของศาลแรงงานประทับตรารับในคำให้การ คำร้องขอเลื่อนการพิจารณา และใบแต่งทนายความของจำเลยระบุว่า ได้ร้องขอเลื่อนคดีไว้ก่อนเวลาที่ผู้พิพากษาออกนั่งพิจารณาคดีตามที่ระบุไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ดังนี้ หากข้อเท็จจริงเป็นตามคำร้องจำเลยดังกล่าวก็แสดงว่า มีเหตุจำเป็น ซึ่งศาลแรงงานควรไต่สวนถึงเหตุแห่งความจำเป็นนั้นก่อนตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 41 ที่ศาลแรงงานกลางสั่งยกคำร้องโดยไม่ไต่สวนก่อนจึงไม่ชอบ
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 41 ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วว่าในการขอพิจารณาใหม่ให้โจทก์หรือจำเลยแถลงให้ศาลแรงงานทราบถึงความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ และศาลแรงงานมีอำนาจไต่สวนถึงเหตุแห่งความจำเป็นนั้น ไม่ได้บัญญัติให้โจทก์หรือจำเลยต้องกล่าวโดยละเอียดถึงข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลแรงงานด้วย จึงไม่นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง มาอนุโลมใช้ในคดีแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6539/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนข้อเท็จจริงการเสียชีวิตของผู้ร้องก่อนมีคำสั่งจำหน่ายคดีมรดก ศาลอุทธรณ์ต้องให้ศาลชั้นต้นไต่สวนก่อน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21(2) และ (4) มิได้บัญญัติว่าคำขออันใดจะทำได้แต่ฝ่ายเดียวห้ามมิให้ศาลทำคำสั่งในเรื่องนั้น ๆ โดยมิให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่นมีโอกาสคัดค้านก่อน และถ้าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิได้บัญญัติไว้ว่าศาลต้องออกคำสั่งอนุญาตตามคำขอที่ได้เสนอต่อศาลนั้นโดยไม่ต้องทำการไต่สวนแล้ว ก็ให้ศาลมีอำนาจทำการไต่สวนได้ตามที่เห็นสมควรก่อนมีคำสั่งตามคำขอนั้น เมื่อตามคำร้องของทนายผู้ร้องยังไม่ได้ความแน่ชัดว่าผู้ร้องถึงแก่ความตายจริงหรือไม่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จะต้องมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของทนายผู้ร้องเสียก่อนแล้วส่งมายังศาลอุทธรณ์เพื่อดำเนินการต่อไปการที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้สั่งให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำร้องของทนายผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 247 ประกอบ 243

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1903/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกระทำการแทนบริษัทที่มีข้อพิพาท ศาลต้องไต่สวนข้อเท็จจริงก่อนวินิจฉัย
เดิมบริษัทจำเลยมี ณ.และ ก.เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทคนใดคนหนึ่งมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทกระทำการแทนบริษัทจำเลยได้ ต่อมา ก.ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นว่า ให้ ก.เพียงผู้เดียวเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลย โดยอ้างว่าเป็นการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นบริษัทจำเลยจึงประชุมกันและมีมติว่า การดำเนินการของ ก.ดังกล่าวไม่ถูกต้อง และให้ถอดถอน ก.ออกจากกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยแล้วแต่งตั้งให้ ณ.เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยเพียงผู้เดียว และให้ดำเนินคดี ก.เป็นคดีอาญาข้อหาแจ้งความเท็จและแจ้งให้จดข้อความอันเป็นเท็จ กับฟ้องคดีแพ่งขอให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการที่ ก.ได้ดำเนินการไป แต่คดีทั้งหมดดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุดจึงยังไม่มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยมาเป็น ก.เพียงผู้เดียวตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นข้างต้น ดังนี้เมื่อกรณียังมีข้อโต้แย้งระหว่าง ณ.กับ ก.ว่าผู้ใดมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยการที่ ณ.แต่งตั้ง ว.เป็นทนายจำเลยทำคำให้การและยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในนามจำเลยก็ดี หรือที่ ก.แต่งตั้ง อ.เป็นทนายจำเลยเข้าดำเนินคดีในเรื่องต่าง ๆรวมทั้งที่ ก.และ อ.เข้าทำสัญญาประนีประนอมยอมความในนามจำเลยกับโจทก์ ซึ่งศาลแรงงานพิพากษาตามยอมไปแล้วก็ดี และคดียังมีปัญหาว่า การกระทำต่าง ๆดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงชอบที่ศาลแรงงานจะได้ทำการไต่สวนให้สิ้นกระแสความเสียก่อนว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร การที่ศาลแรงงานด่วนมีคำวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นยุติตามหนังสือรับรองว่า ก.เพียงผู้เดียวเป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีนี้แทนจำเลยแล้วมีคำสั่งไม่รับคำให้การกับคำร้องขอแก้ไขคำให้การที่ทำขึ้นโดย ว.ซึ่ง ณ.แต่งตั้งเป็นทนายจำเลย กับที่ศาลแรงงานสั่งให้เพิกถอนใบแต่งทนายความฉบับที่ ณ.แต่ง ว.เป็นทนายจำเลย และพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ ก.และ อ.ลงนามแทนจำเลยทำกับโจทก์จึงไม่ชอบ
of 28