คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 632 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5167/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งทนายความที่ไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทำให้กระบวนการพิจารณาคดีไม่ชอบ
ตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 11 (2) (3) เมื่อพนักงานอัยการเห็นสมควรจะรับแก้ต่างให้ก็ได้ พนักงงานอัยการจึงมีฐานะอย่างเดียวกับทนายความ ตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 ที่จะมีอำนาจดำเนินคดีในศาลได้ก็ต่อเมื่อดำเนินการให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61 ปรากฏว่าก่อนที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การและบัญชีพยานจำเลยที่ 2 ลงนามแต่งตั้งให้ น. พนักงานอัยการจังหวัดศรีสะเกษเป็นทนายความไว้แล้ว แต่ครั้นเมื่อมีการยื่นคำให้การและบัญชีพยานดังกล่าว กลับกลายเป็น ร. อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่งเขต 3 สาขาศรีสะเกษ เป็นผู้ลงชื่อในคำให้การและบัญชีพยาน โดยจำเลยที่ 2 มิได้ลงนามแต่งตั้งให้ ร. เป็นทนายความของตน จึงมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61 จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4820/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับพิจารณาคดีใหม่ จำเลยต้องวางค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 หากไม่ปฏิบัติตาม อุทธรณ์ไม่ชอบ
อุทธรณ์ของจำเลยที่คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ ถือว่าเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เมื่อจำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ 200 บาทแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ในคดีเดิมอีก ส่วนเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น เป็นคนละส่วนกับเงินค่าขึ้นศาล เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นโดยขอให้ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นอันเพิกถอนไปได้ จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 โดยศาลไม่จำต้องมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติก่อนเพราะมิใช่เรื่องที่จำเลยมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นโดยไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4260/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการรับฟังพยานหลักฐาน
การที่พนักงานอัยการโจทก์จะนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้จะต้องยื่นบัญชีระบุพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 เสียก่อน การที่พนักงานอัยการประจำศาลที่มีการส่งประเด็นมาสืบซึ่งเป็นผู้แทนโจทก์นำสรรพเอกสารที่อ้างไว้ในคดีอื่นมาสืบในคดีนี้โดยผิดหลง จึงมีผลเท่ากับนำพยานหลักฐานที่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้มาสืบ เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าวอันถือได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบ ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะสั่งแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
การสืบ อ. พยานโจทก์เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2541 เป็นกระบวนพิจารณาที่ดำเนินไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และถูกศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนแล้ว ย่อมมีผลเป็นการลบล้างการสืบ อ. และทำให้โจทก์กลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการสืบ อ. ในวันนั้นเลย โจทก์จึงมีสิทธินำ อ. ตามที่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้เข้าสืบในวันที่ 20 ธันวาคม 2542 ได้โดยชอบ ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ เพราะการสืบ อ. ถูกเพิกถอนไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4209/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การเด็กที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การขาดผู้เชี่ยวชาญและพนักงานอัยการ
แม้จะได้ความว่าเด็กชาย ก. และเด็กชาย ส. เคยให้การชั้นสอบสวนว่าจำเลยเป็นคนร้ายศีรษะโล้นที่ใช้ไม้ ตีผู้ตายก็ตาม แต่คำให้การชั้นสอบสวนดังกล่าวจัดทำขึ้นโดยไม่ปรากฏว่ามีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการเข้าร่วมด้วย จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ ไม่อาจรับฟังคำให้การ ชั้นสอบสวนของเด็กทั้งสองเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 และ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 243 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4032/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาศาลแรงงานกลางไม่ชอบด้วยกฎหมาย เหตุจากไม่ได้ฟังข้อเท็จจริงและให้เหตุผลไม่เพียงพอ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำผิด และเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยให้การว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอย่างร้ายแรง กระทำผิดซ้ำหนังสือเตือน ละทิ้งหน้าที่ ขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย จำเลยมีเหตุที่จะเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายเงินดังกล่าว การที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ก่อนจำเลยเลิกจ้างโจทก์ ส่วนข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการกระทำผิดของโจทก์ ศาลแรงงานกลางอ้างถึงหนังสือเลิกจ้างที่จำเลยกล่าวหาว่าโจทก์กระทำผิด หลายประการ แต่ไม่ได้ฟังข้อเท็จจริงตามข้อกล่าวหานั้นว่า โจทก์ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาหรือไม่ กระทำผิดอะไร ที่ไหน เมื่อใด อย่างไร โดยศาลแรงงานกลางเพียงแต่ฟังข้อเท็จจริงอื่นประกอบ แล้ววินิจฉัยคลุมไปที่เดียวว่า การกระทำของโจทก์ไม่น่าเป็นการกระทำผิดหากจะเป็นความผิดก็มิใช่ความผิดที่ร้ายแรงพอที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ และฟังไม่ได้ว่าโจทก์ไม่เชื่อฟังหรือดื้อดึง ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาอันเป็นกรณีร้ายแรงหรือเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือน การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นคำสั่งเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแล้วพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ โดยไม่ได้ให้เหตุผลว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายใด คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางจึงเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ชอบที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งยกคำพิพากษา ศาลแรงงานกลางเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2672/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ไม่ชอบด้วย กม.วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ต้องวางค่าธรรมเนียมพร้อมอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ขออนุญาตยื่นคำให้การและขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วม การที่จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นขอให้ศาลอุทธรณ์เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยและเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมแล้วสืบพยานต่อไปนั้น เท่ากับเป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่ต่อไปนั่นเอง จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ด้วย จำเลยไม่ได้นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2672/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่วางค่าธรรมเนียมศาล ทำให้ฎีกาต้องห้ามตามกฎหมาย
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การเพื่อต่อสู้คดี และขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยจึงยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น ขอให้ศาลอุทธรณ์เพิกถอนและให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของจำเลยแล้วสืบพยานต่อไป อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวเท่ากับเป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่ ต่อไปนั่นเอง จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ด้วย แต่จำเลยมิได้นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ อุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยมานั้นจึงไม่ชอบ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 เมื่อศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่ชอบ จึงถือไม่ได้ว่าฎีกาของจำเลยเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีซ้ำเรื่องเดียวกัน แม้มีการแก้ไขคำฟ้องคดีก่อน ก็ยังถือเป็นฟ้องซ้อน
คดีก่อนคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคโดยพนักงานอัยการในฐานะเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนโจทก์คดีนี้ในกรณีที่โจทก์คดีนี้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารจากจำเลย โดยชำระเงินจองและผ่อนชำระราคาไปแล้ว ขอให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยที่โจทก์ได้ชำระไปตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารรายเดียวกันอีก จึงเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) แม้ต่อมาโจทก์ในคดีก่อนจะขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอตัดรายชื่อโจทก์คดีนี้จากคำฟ้อง ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์คดีนี้ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้นกลับเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องสอดต้องมีคำขอบังคับชัดเจน หากไม่มีถือเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) มีลักษณะเป็นคำฟ้องตามมาตรา 1 (3) จึงต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามมาตรา 172 วรรคสองผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดโดยอ้างว่าผู้ร้องสอดเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของผู้ตาย จำเลยไม่มีสิทธิจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินของผู้ตายเนื่องจากคดีที่จำเลยยื่นคำร้องขอเป้นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องสอดกับพวกได้ยื่นคำร้องคัดค้านและคดีอยู่ระหว่างการพิจารณา โจทก์ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวและได้ยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกการจัดตั้งมูลนิธิของผู้ร้องสอดเพื่อมิให้ผู้ร้องสอดมีฐานะเป็นนิติบุคคลและไม่อาจรับมรดกตามพินัยกรรม ซึ่งจะทำให้โจทก์และจำเลยสมยอมกันจัดแบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตาย การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้และคู่ความขอให้ศาลไกล่เกลี่ยเพื่อประนีประนอมยอมความต่อกันหากศาลมีคำพิพากษาตามยอมจะเป็นผลเสียหายแก่ผู้ร้องสอด จึงเป็นกรณีจำเป็นเพื่อให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องสอดที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ขอให้ศาลอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าเป็นคู่ความนั้น เป็นการร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตามมาตรา 57 (1) ซึ่งถือว่าเป็นคำฟ้อง เมื่อคำร้องสอดไม่มีคำขอบังคับโดยชัดแจ้ง จึงเป็นคำร้องสอดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9225/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่อาจรับวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกา หากไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ในชั้นอุทธรณ์จำเลยได้ยกข้อเท็จจริงทำนองว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้องขึ้นอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัย จำเลยเองก็ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่าการที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยนั้นไม่ชอบแต่อย่างใด แต่จำเลยกลับยกข้อเท็จจริงว่ามิได้กระทำผิดทำนองเดียวกับที่เคยยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ขึ้นฎีกาซ้ำอีก ถือได้ว่าข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นฎีกาเป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกา และถือไม่ได้ว่าฎีกาดังกล่าวเป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 ทั้งมิได้เป็นข้อความที่ศาลอุทธรณ์ได้ตัดสินไว้ จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ได้ ดังนั้นที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวมาจึงเป็นการไม่ชอบ
of 64