คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่รับวินิจฉัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 356 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 834/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมีทุนทรัพย์เกินสองแสนบาท ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยที่ 18 มีคำสั่งให้เพิกถอน น.ส.3 ก. ของโจทก์เนื่องจากเป็นการออกทับหนองน้ำสาธารณประโยชน์ ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวอีกต่อไป ดังนั้น การที่โจทก์ขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 18 และพิพากษาว่าน.ส.3 ก. เป็นเอกสารสิทธิที่ถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายซึ่งหากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีย่อมมีผลให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินของโจทก์คืนมา คำขอของโจทก์ในส่วนที่ขอให้พิพากษาว่า น.ส.3 ก. เป็นเอกสารสิทธิที่ถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้โจทก์จะมีคำขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 18 อันเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้มาด้วยก็ตาม แต่การที่ศาลจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 18 ก็ต้องได้ความว่าหนองน้ำในที่ดินตาม น.ส.3 ก. ของโจทก์ไม่ใช่หนองน้ำสาธารณประโยชน์ ดังนั้นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จึงเป็นคำขออันเป็นประธานถือได้ว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การขัดแย้งและประเด็นข้อพิพาทที่มิได้ยกขึ้นสู่การพิจารณาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ย่อมเป็นเหตุให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินที่จำเลยขอรังวัดออกโฉนดที่ดินนั้น โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยซื้อมาจาก ผ.ตั้งแต่ปี 2495 ต่อมาจำเลยได้ขอออกโฉนดที่ดินทับที่ดินพิพาท จำเลยให้การว่า ที่ดินที่จำเลยขอรังวัดออกโฉนดที่ดินเป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดินพิพาท แต่หากศาลรับฟังได้ตามคำฟ้องของโจทก์ว่าที่ดินที่จำเลยขอรังวัดออกโฉนดที่ดินเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินพิพาท จำเลยก็ได้แย่งการครอบครองและได้บอกกล่าวถึงเจตนาครอบครองที่ดินดังกล่าวต่อโจทก์รวมระยะเวลากว่า 1 ปี ก่อนโจทก์ฟ้อง ดังนี้คำให้การของจำเลยดังกล่าวเป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลยและขัดแย้งกันเอง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คดีจึงไม่มีประเด็นพิพาทว่าที่ดินตามคำฟ้องเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินที่จำเลยขอรังวัดออกโฉนดที่ดินหรือไม่ ส่วนฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์นำคดีมาฟ้องเกินกว่า 1 ปี นับแต่เวลาที่จำเลยบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือครอบครอง ซึ่งเป็นการฎีกาว่าโจทก์นำคดีมาฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองเกินกว่า 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองเป็นการไม่ชอบนั้น คดีนี้จำเลยให้การว่าที่ดินเป็นของจำเลยมาแต่ต้นโดยครอบครองมากว่า 10 ปี และโดยผลคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ดังนั้น กรณีจึงไม่เป็นการที่จำเลยได้ แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ คดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองหรือไม่เช่นกัน ซึ่งศาลชั้นต้นก็ไม่ได้กำหนดประเด็นทั้งสองข้อนี้ไว้และศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่ได้หยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยโดยเหตุที่เป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ฎีกาของจำเลยทั้งสองข้อดังกล่าวจึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ที่จำเลยอ้างว่าในคดีแพ่ง ของศาลชั้นต้น ที่ จ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลย ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิ ครอบครองที่ดินพิพาท โดยคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วนั้น แม้จะมีผลว่าจำเลยได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท และคำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพัน จ. และ จำเลย ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่หาได้ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่อาจพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าตาม มาตรา 145 วรรคสอง (2) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6460/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องแย้ง, ประเด็นนอกฟ้อง, และการไม่ยกประเด็นในคำแก้อุทธรณ์ ส่งผลให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยให้การและฟ้องแย้งขอเรียกค่าชดเชยการใช้ทางจำเป็นจากโจทก์ในอัตราปีละ 20,000 บาท และขอเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุถูกฟ้องเป็นเงิน 30,000 บาท ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การ ส่วนฟ้องแย้งเรื่องค่าเสียหายไม่รับค่าขึ้นศาลให้คำนวณจากค่าชดเชย 20,000 บาท คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่จำเลย ดังนี้ พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นรับฟ้องแย้งเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับค่าชดเชยเท่านั้น ต่อมามีการส่งหมายนัดสืบพยานโจทก์ สำเนาคำให้การและฟ้องแย้งให้แก่โจทก์โดยมิได้กำหนดให้ฝ่ายโจทก์ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ทั้งจำเลยก็มิได้นำส่งหมายนัด คำให้การ และฟ้องแย้งให้แก่ฝ่ายโจทก์ จนเวลาล่วงเลยไปจนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายเรียกให้แก้คดีแก่โจทก์และไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุแห่งการเพิกเฉยเช่นว่านั้นภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันยื่นคำฟ้องแย้ง อันเป็นการที่จำเลยทิ้งฟ้องแย้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบมาตรา 174 (1)
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทเองจนได้ภาระจำยอม หาได้บรรยายว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทต่อจากเจ้าของที่ดินเดิมที่ขายให้โจทก์ไม่ ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ซื้อที่ดินมาจากบุคคลอื่นย่อมได้รับสิทธิที่เจ้าของเดิมมีอยู่แล้วในการใช้ทางพิพาทนั้น จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำฟ้อง เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมและเป็นทางจำเป็นด้วย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม หากโจทก์ยังติดใจในประเด็นเรื่องทางจำเป็นอยู่ แม้โจทก์จะไม่จำเป็นต้องอุทธรณ์ แต่ก็ต้องยกขึ้นเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัย เมื่อโจทก์มิได้ตั้งประเด็นในเรื่องทางจำเป็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ ฉะนั้น ประเด็นในเรื่องทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาให้ศาลฎีกาวินิจฉัยได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1809/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงเดิมที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากข้อจำกัดด้านทุนทรัพย์
เมื่อข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นอ้างในฎีกาเป็นข้อเท็จจริงเดียวกันกับที่จำเลยได้กล่าวอ้างไว้ในอุทธรณ์ซึ่งไม่ผ่านการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ ภาค 1 เพราะศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นคดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 ข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นอ้างในฎีกาจึงไม่เป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ฎีกาของจำเลยจะมีผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10518/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาที่ไม่ได้รับวินิจฉัย เนื่องจากประเด็นข้อโต้แย้งมิได้ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยโดยลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) เนื่องจากจำเลยให้การรับสารภาพ คงจำคุกตลอดชีวิต โจทก์มิได้อุทธรณ์ว่าไม่ควรลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แสดงว่าโจทก์พอใจที่ศาลชั้นต้นลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งแล้ว เมื่อจำเลยอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำคุกจำเลยตลอดชีวิต แต่ก็ยังคงลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ที่โจทก์กลับมายื่นฎีกาคัดค้านว่าไม่สมควรลดโทษให้จำเลยนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6088/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยคดีอาญา เนื่องจากศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและชิงทรัพย์แล้ว
เมื่อความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยมีหรือใช้อาวุธปืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,339 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 340 ตรี ที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิตยังไม่ถึงที่สุดเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นต้องส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาก่อน หากศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน จึงจะถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 371 ซึ่งยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ก็เป็นเพียงพิพากษาแก้บทลงโทษความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน โดยเห็นว่าการกระทำผิดของจำเลยฐานนี้ขาดอายุความแล้วจึงลงโทษจำเลยไม่ได้เท่านั้น ซึ่งมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนว่าจำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยมีหรือใช้อาวุธปืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,339 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 340 ตรี ลงโทษจำคุกตลอดชีวิตนั่นเอง ความผิดฐานนี้ จึงเป็นอันถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยมีหรือใช้อาวุธปืน ซึ่งถึงที่สุดได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 272/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำแก้ฎีกาไม่ชอบ เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องจำเลยจะต้องทำเป็นคำฟ้องฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เข้ามาภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด มิใช่ทำเป็นคำแก้ฎีกา เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นฎีกาแต่ทำมาเป็นเพียงคำแก้ฎีกา จึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 202/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำลำน้ำ: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเมื่อฎีกาไม่โต้แย้งคำพิพากษาเดิม
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านฎีกาว่า ผู้คัดค้านได้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำลำน้ำไปก่อนแล้ว สิ่งปลูกสร้างที่เหลือไม่ใช่บริเวณที่ผู้ร้องต้องการให้ผู้คัดค้านรื้อถอนออกไป ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขับไล่ผู้คัดค้าน เป็นฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้อง จึงไม่ชอบ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1193/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ไม่ชอบเมื่อไม่วางค่าธรรมเนียม – สิทธิฎีกา – การไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่นำค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นอุทธรณ์ไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ชอบที่จะปฏิเสธไม่รับวินิจฉัยให้การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นการมิชอบและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีสิทธิฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8660/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: จำนวนทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ทำให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าสินค้าที่ซื้อไปจากโจทก์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้จำเลยชำระเงินที่ยังค้างชำระจำนวน 423,933.50 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยฎีกาแต่เพียงว่าจำเลยค้างชำระอยู่ 353,333.50 บาท เท่านั้น คดีของจำเลยจึงมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเพียง 70,600 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
of 36