คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไล่ออก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3839/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง การสั่งไล่ออกถือเป็นการเลิกจ้างได้ แม้ไม่มีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร และการประเมินความร้ายแรงของการไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
การไล่ลูกจ้างออกจากงานอันถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานนั้นไม่จำต้องมีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร การที่กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างพูดกับลูกจ้างว่า"มึงทำหมา ๆ อย่างนี้กูไล่มึงออก"ประกอบกับหลังจากพูดไล่ลูกจ้างออกจากงานแล้ว นายจ้างยังไปแจ้งความที่ สถานีตำรวจกล่าวหาลูกจ้างว่าไม่ยอมออกไปจากห้องพักคนงานและ ลูกจ้างได้หยุดงานทั้งยังทวงถามให้นายจ้างคิดค่าชดเชยและค่าจ้างให้ด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมถือได้ว่านายจ้างได้เลิกจ้างลูกจ้างแล้ว
กิจการและลักษณะงานของนายจ้าง มิใช่กิจการต้องเสี่ยงภยันตรายอันอาจจะเกิดขึ้นได้ง่าย การทำงานต้องทำติดต่อกันทั้งกลางวันและกลางคืน ประตูหน้าต่าง ไฟฟ้าและน้ำต้องเปิดใช้ตลอดเวลา การที่ลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างไม่ปิดประตูหน้าต่าง ไฟฟ้าและน้ำในโรงงานเพียงชั่วระยะเวลาเดียวจึงยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าเป็นกรณีที่ร้ายแรงในอันที่นายจ้างจะไม่จ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285-3289/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตัดเงินเดือนและนับอายุงานหลังกลับเข้าทำงานจากการถูกไล่ออก: ข้อบังคับการรถไฟและการไม่ได้รับค่าจ้างช่วงถูกไล่ออก
เมื่อข้อบังคับของจำเลยกำหนดว่า ในกรณีที่มีการร้องทุกข์เพราะออกงานถ้าผู้ร้องทุกข์ได้รับการพิจารณากลับเข้าทำงานตามเดิม ผู้ได้กลับเข้าทำงานตามเดิมนั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างที่ถูกออกจากงานโจทก์ซึ่งเดิมถูกไล่ออกจากงานแต่ภายหลังคณะกรรมการจำเลยมีมติเปลี่ยนแปลงระดับโทษจากไล่ออกเป็นให้กลับเข้าทำงานแต่ให้ตัดเงินเดือน ย่อมไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างที่ถูกไล่ออก และโจทก์ไม่มีสิทธิขอให้นับอายุการทำงานในระหว่างถูกไล่ออก เพราะโจทก์มิได้ทำงานและมิได้มีฐานะเป็นลูกจ้างในระหว่างนั้นประกอบกับคณะกรรมการจำเลยซึ่งมีอำนาจควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการรถไฟตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ได้มีมติว่าสำหรับการนับเวลาทำการก็ให้ตัดเวลาที่ถูกไล่ออกจากงานไป การที่จำเลยออกคำสั่งตัดเงินเดือนโจทก์โดยไม่จ่ายเงินเดือนและให้ตัดเวลาการทำงานในระหว่างที่ไล่ออกจึงเป็นคำสั่งที่ชอบและไม่ขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไล่ออกที่ไม่เป็นธรรมและค่าเสียหายจากการละเมิดสิทธิลูกจ้าง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์และสั่งไล่โจทก์ออกจากงานนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่โจทก์ฟ้องจำเลยในลักษณะละเมิด มิได้ดำเนินการตามวิธีการที่บัญญัติไว้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 และขณะที่เกิดกรณีอันเป็นมูลเหตุแห่งคดีนี้ก็ยังไม่มีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ซึ่งมีมาตรา 49 ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานตามเดิมได้ โจทก์จึงสมควรได้แต่ค่าเสียหาย เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายโดยคำนวณเป็นรายเดือนไปจนกว่าจำเลยจะรับโจทก์เข้าทำงานตามเดิมซึ่งไม่อาจบังคับได้ ศาลจึงต้องกำหนดค่าเสียหายให้ตามที่เห็นสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งพักงาน/ไล่ออกที่ไม่เป็นธรรม และการฟ้องละเมิดนอกเหนือจากช่องทาง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์และสั่งไล่โจทก์ออกจากงานนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่โจทก์ฟ้องจำเลยในลักษณะละเมิด มิได้ดำเนินการตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 และขณะที่เกิดกรณีอันเป็นมูลเหตุแห่งคดีนี้ก็ยังไม่มีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522ซึ่งมี มาตรา 49 ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานตามเดิมได้ โจทก์จึงสมควรได้แต่ค่าเสียหาย เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายโดยคำนวณเป็นรายเดือนไปจนกว่าจำเลยจะรับโจทก์เข้าทำงานตามเดิมซึ่งไม่อาจบังคับได้ศาลจึงต้องกำหนดค่าเสียหายให้ตามที่เห็นสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2582/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจลงโทษทางวินัยของนายจ้าง: การไล่ออกที่ไม่ต้องสอบสวน และการไม่ผูกพันตามความเห็นคณะกรรมการสอบสวน
ข้อบังคับของจำเลยข้อ 19 กำหนดว่า การลงโทษไล่ออกนั้นจะกระทำได้เมื่อพนักงานกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามที่ระบุไว้ในข้อนี้ โดยใน (4) ได้ระบุการกระทำความผิดฐานขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาไว้ด้วยข้อ 20 กำหนดว่าการลงโทษไล่ออกนั้นถ้ามิใช่เป็นกรณีความผิดปรากฏชัดแจ้งให้ผู้อำนวยการแต่งตั้งกรรมการอย่างน้อย 3 นายเพื่อทำการสอบสวนก่อนและข้อ 21 กำหนดว่า การลงโทษปลดออกนั้นจะกระทำได้เมื่อพนักงานกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงแต่ยังไม่ถึงกับจะต้องไล่ออกหรือมีเหตุอันควรลดหย่อนในกรณีนี้ให้นำความในข้อ 19 และ 20 มาใช้บังคับโดยอนุโลมดังนี้ ความผิดฐานขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา อาจจะถูกลงโทษอย่างหนึ่งอย่างใดได้ แล้วแต่ความร้ายแรงของการกระทำหาใช่จะต้องลงโทษไล่ออกหรือปลดออกเท่านั้นไม่หากผู้มีอำนาจสั่งลงโทษอย่างอื่นซึ่งมิใช่โทษไล่ออกหรือปลดออกแล้วก็ไม่ต้องทำการสอบสวนก่อน ฉะนั้น การที่ผู้อำนวยการของจำเลยสั่งให้โจทก์ออกจากงานแม้มิได้มีการสอบสวนก่อนก็เป็นการชอบแล้ว
ผู้อำนวยการของจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงาน โดยมิได้ทำการสอบสวนก่อนต่อมาจำเลยได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามที่โจทก์ร้องเรียน ว่าถูกสั่งให้ออกโดยไม่เป็นธรรมคณะกรรมการสอบสวนแล้วเห็นว่าความผิดของโจทก์ควรลงโทษเพียงลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น ดังนี้เมื่อตามระเบียบของจำเลยไม่มีกำหนดได้ว่าจำเลยต้องปฏิบัติตามความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนแล้ว จำเลยก็หาต้องปฏิบัติตามความเห็นของคณะกรรมการดังกล่าวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1158/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการลาศึกษาต่างประเทศผิดสัญญาต้องชดใช้เงินคืน แม้ถูกไล่ออก
ข้าราชการไม่กลับมารับราชการจนครบเวลา 2 เท่าของระยะเวลาที่ลาตามที่ทำสัญญาไว้เมื่อลาไปศึกษาต่างประเทศ ต้องรับผิดใช้เงินคืนแม้เป็นเงินที่รัฐบาลไทยรับมาจัดการจากต่างประเทศ โดยรัฐบาลไทยต้องรับผิดชอบ การที่ข้าราชการผู้นั้นถูกไล่ออกเพราะไม่กลับมารับราชการไม่เป็นเหตุให้ผู้นั้นพ้นความรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2340/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไล่ออกและการใส่ความ - ข้อความในหนังสือไล่ออกไม่ถึงขั้นใส่ความทำให้เสียชื่อเสียง
โจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัทจำกัดซึ่งจำเลยเป็นกรรมการผู้จัดการ จำเลยมีหนังสือไล่โจทก์ออกจากการเป็นลูกจ้างของบริษัทฯ มีข้อความว่า "ข้าพเจ้าเสียใจว่าการที่ท่านปฏิเสธเช่นนั้น ทำให้เราไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากไล่ท่านออกจากการเป็นลูกจ้างของบริษัทฯ โดยให้มีผลทันที เราแน่ใจว่าท่านคงเข้าใจว่าเพราะธุรกิจของเรามีการแข่งขันกันอยู่มาก จึงเป็นการดีมากที่ท่านจะออกไปจากที่ทำการของบริษัทฯในวันนี้ ขอให้ท่านทิ้งทรัพย์สินทั้งหมดของบริษัทไว้รวมทั้งลูกกุญแจสำหรับไขโต๊ะ ประตูหรือยานพาหนะใดๆ ที่ท่านมีอยู่ในความครอบครอง และกระดาษและเอกสารทั้งหลายเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจของบริษัทฯ เราขอเตือนท่านว่า ข่าวสารใดที่เป็นหนังสือหรือสิ่งอื่นใดที่ท่านได้มาในขณะที่ท่านเป็นลูกจ้างของบริษัทฯอันเกี่ยวเนื่องกับกิจการและนโยบายของบริษัทฯ ความสัมพันธ์กับลูกค้า และกิจการงานของลูกค้าของบริษัทฯนั้น ย่อมเป็นความลับ"
หนังสือดังกล่าวเป็นการแสดงความจำนงของจำเลยซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทฯให้โจทก์ออกจากงานของบริษัทฯ ถึงแม้จะมีข้อความที่มิได้แสดงไมตรีต่อโจทก์ แต่ก็มิได้มีตอนใดแสดงว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ โจทก์เป็นบุคคลที่น่ารังเกียจในวงสังคม เปิดเผยความลับของบริษัทฯและลูกค้า ข้อความในหนังสือดังกล่าวจึงหาใช่เป็นการใส่ความ โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1174-1175/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์ของโจทก์ในคดีถูกไล่ออก แม้จำเลยไม่นำสืบ
โจทก์ฟ้องกล่าวว่า จำเลยแกล้งใส่ความโจทก์ หาว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่และแกล้วไล่โจทก์ออกจากงานโดยโจทก์มิได้กระทำผิดตามที่จำเลยกล่าวหา ดังนี้ ถึงแม้ศาลจะสั่งให้จำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อนว่าโจทก์มีเจตนาทุจริตทำให้จำเลยเสียหายและจำเลยไม่สืบก็ตาม แต่โจทก์ย่อมมีภาระพิสูจน์ข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนคำฟ้องของตนว่า จำเลยแกล้งไล่โจทก์ออกจากงาน เพราะโจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1174-1175/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์ของโจทก์ในการฟ้องร้องกรณีถูกกล่าวหาทุจริตและถูกไล่ออก แม้จำเลยไม่นำสืบ
โจทก์ฟ้องกล่าวว่า จำเลยแกล้งใส่ความโจทก์ หาว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่และแกล้งไล่โจทก์ออกจากงานโดยโจทก์มิได้กระทำผิดตามที่จำเลยกล่าวหา ดังนี้ ถึงแม้ศาลจะสั่งให้จำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อนว่าโจทก์มีเจตนาทุจริตทำให้จำเลยเสียหายและจำเลยไม่สืบก็ตามแต่โจทก์ย่อมมีภาระพิสูจน์ข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนคำฟ้องของตนว่าจำเลยแกล้งไล่โจทก์ออกจากงาน เพราะโจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1625/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับเงินเดือนข้าราชการที่ถูกไล่ออก: การหมดอายุความฟ้องละเมิด
ตามพระราชบัญญัติเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการ พ.ศ. 2502 มาตรา 7(1) และพระราชบัญญัติว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนและเงินอื่นๆ ให้แก่ผู้ถูกสั่งพักราชการ พ.ศ.2488 มาตรา 5(1) นั้น เป็นเรื่องให้จ่ายเงินเดือนแก่ผู้ถูกสั่งพักราชการโดยผลของการสอบสวนปรากฏว่าข้าราชการผู้นั้นไม่มีความผิด หรือไม่มีมลทินมัวหมองเท่านั้น แต่ถ้าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่ามีความผิด และทางราชการได้มีคำสั่งไล่ข้าราชการคนใดออกจากราชการไปแล้ว กรณีเช่นนี้ ตามกฎหมายดังกล่าวกลับห้ามมิให้จ่ายเงินเดือนระหว่างพักราชการให้แก่ข้าราชการซึ่งถูกไล่ออกจากราชการนั้นด้วย
กระทรวงเศรษฐการมีคำสั่งให้ไล่โจทก์ออกจากราชการฐานผิดวินัย เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องร้องต่อศาลเสียภายในกำหนดอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 จะใช้อายุความ 5 ปีตามมาตรา 166 หาได้ไม่
of 4