คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
5 ปี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3580/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขการประเมินภาษีภายใน 5 ปี แม้จะมีการประเมินและชำระภาษีไปแล้ว ก็สามารถกระทำได้หากพบข้อผิดพลาด
การคิดเงินเพิ่มภาษีเงินได้ของเจ้าพนักงานประเมินในคดีก่อนได้คิดจากยอดภาษีจำนวนหนึ่งที่ได้ประเมินให้โจทก์เสียตามมาตรา 48(2)แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งยังไม่ถูกต้องแต่การคิดเงินเพิ่มภาษีเงินได้ครั้งพิพาทนี้ได้คิดจากยอดเงินภาษีอีกจำนวนหนึ่ง.ซึ่งได้แก้การประเมินให้โจทก์เสียตามมาตรา 48(1) โดยได้คิดหักเงินภาษีที่โจทก์ได้ชำระจากการประเมินครั้งแรกออกหมดแล้วฉะนั้น การคิดเงินเพิ่มภาษีในคดีก่อนกับคดีนี้จึงเป็นการคิดจากยอดเงินภาษีคนละจำนวนกัน ทั้งในคดีก่อนก็มีประเด็นวินิจฉัยแต่เพียงว่าโจทก์จะของดหรือลดเงินเพิ่มลงได้บ้างหรือไม่เท่านั้นไม่มีประเด็นว่าจากยอดเงินได้จำนวนเดียวกันโจทก์ควรต้องเสียเงินเพิ่มหรือไม่ดังนี้ อำนาจในการคิดเงินเพิ่มภาษีเงินได้รายนี้จึงหาได้ยุติไปตามคำพิพากษาในคดีก่อนไม่
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 20 บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะดำเนินการแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้ภายในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่ยื่นรายการโดยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงอันเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้โจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้องดังนี้ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจที่จะแก้การประเมินให้ถูกต้องได้ และอำนาจแก้การประเมินก็หาจำเป็นที่จำนวนเงินได้เดิมจะต้องเปลี่ยนแปลงไปไม่ และแม้ผู้ยื่นรายการจะได้เสียภาษีตามที่ประเมินไปแล้ว แต่ถ้ายังอยู่ในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันยื่นรายการ เจ้าพนักงานประเมินก็ยังมีอำนาจที่จะแก้ไขการประเมินให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3580/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขการประเมินภาษีภายใน 5 ปี แม้จะมีการประเมินและชำระภาษีไปแล้ว หากพบข้อผิดพลาดในการแสดงรายการ
การคิดเงินเพิ่มภาษีเงินได้ของเจ้าพนักงานประเมินในคดีก่อน ได้คิดจากยอดภาษีจำนวนหนึ่งที่ได้ประเมินให้โจทก์เสียตามมาตรา 48(2)แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งยังไม่ถูกต้องแต่การคิดเงินเพิ่มภาษีเงินได้ครั้งพิพาทนี้ได้คิดจากยอดเงินภาษีอีกจำนวนหนึ่ง.ซึ่งได้แก้การประเมินให้โจทก์เสียตามมาตรา 48(1) โดยได้คิดหักเงินภาษีที่โจทก์ได้ชำระจากการประเมินครั้งแรกออกหมดแล้วฉะนั้น การคิดเงินเพิ่มภาษีในคดีก่อนกับคดีนี้จึงเป็นการคิดจากยอดเงินภาษีคนละจำนวนกัน ทั้งในคดีก่อนก็มีประเด็นวินิจฉัยแต่เพียงว่าโจทก์จะของดหรือลดเงินเพิ่มลงได้บ้างหรือไม่เท่านั้นไม่มีประเด็นว่าจากยอดเงินได้จำนวนเดียวกันโจทก์ควรต้องเสียเงินเพิ่มหรือไม่ ดังนี้ อำนาจในการคิดเงินเพิ่มภาษีเงินได้รายนี้จึงหาได้ยุติไปตามคำพิพากษาในคดีก่อนไม่
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 20 บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะดำเนินการแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้ภายในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่ยื่นรายการโดยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงอันเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้โจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้อง ดังนี้ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจที่จะแก้การประเมินให้ถูกต้องได้ และอำนาจแก้การประเมินก็หาจำเป็นที่จำนวนเงินได้เดิมจะต้องเปลี่ยนแปลงไปไม่ และแม้ผู้ยื่นรายการจะได้เสียภาษีตามที่ประเมินไปแล้ว แต่ถ้ายังอยู่ในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันยื่นรายการ เจ้าพนักงานประเมินก็ยังมีอำนาจที่จะแก้ไขการประเมินให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาผ่อนชำระหนี้: การฟ้องเรียกหนี้ที่เกิน 5 ปี ถือขาดอายุความ
ในสัญญากู้ที่โจทก์อาศัยเป็นหลักฐานฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ต้นเงินกู้นั้นได้มีข้อตกลงให้จำเลยผ่อนส่งได้เป็น รายเดือน ๆ ละ 500 บาท และต่อมาจำเลยยังได้นำเอาหมูตีใช้หนี้ไปแล้วคิดเป็นเงิน 3,500 บาท คงค้างชำระอีก 9,000 บาท ดังนี้ การฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระต้นเงินตามสัญญากู้ตามฟ้องจึงถือได้ว่า เรียกเอาจำนวนเงินอันพึงส่งนอกจากดอกเบี้ย เพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ อันมีกำหนดอายุความห้าปี ตามนัยที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค้างชำระ: สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยยังไม่ขาดอายุความ แม้ฟ้องเรียกเกิน 5 ปี
กฎหมายมิได้ห้ามคิดเอาดอกเบี้ยจากต้นเงินกู้เกิน 5 ปี เป็นแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิฟ้องเรียกดอกเบี้ยที่ค้างส่งหรือค้างชำระว่า ให้มีกำหนดอายุความ 5 ปีเท่านั้น
จำเลยมิได้ยกเรื่องอายุความขึ้นเป็นประเด็นต่อสู้ไว้ จะมายกข้อนี้ขึ้นในชั้นฎีกาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีอาญา: การร้องทุกข์ต่อตำรวจถือเป็นการเริ่มนับอายุความ แม้ฟ้องเกิน 3 เดือน แต่ยังไม่ขาดอายุความ 5 ปี
การให้ตำรวจจับผู้ต้องหาถือว่าเป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมายแล้ว
โจทก์ได้ร้องทุกข์ในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวต่อพนักงานสอบสวน ภายในกำหนดอายุความ 3 เดือน โจทก์นำคดีมาฟ้องศาลเกินกว่า 3 เดือน แต่ยังไม่พ้นอายุความฟ้องคดีอาญาตามกฎหมายลักษณะอาญา คดีของโจทก์หาขาดอายุความไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984-990/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขอคืนที่ดินเวนคืนเมื่อพ้น 5 ปี หากเจ้าหน้าที่ไม่ดำเนินการและไม่มีคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ
การตั้งอนุญาโตตุลาการ กำหนดค่าทำขวัญตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น ก็เพื่อให้ระงับข้อพิพาท เมื่อไม่ได้มีการตกลงหรือชี้ขาดระงับข้อพิพาทแล้ว ก็เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการให้เสร็จใน 5 ปีตามความ ใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ เมื่อพ้น 5 ปี แล้วถ้ามิได้เข้าทำประโยชน์ในที่ เจ้าของทีดินที่ถูกเวนคืนย่อมมี สิทธิที่ดินนั้นคืน ตามมาตรา 32 แห่ง พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2477 ได้ ไม่จำต้องรอให้อนุญาโตตุลาการ ชี้ขาดต่อไป./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984-990/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขอคืนที่ดินเวนคืนเมื่อพ้น 5 ปี แม้ยังไม่ได้ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ
การตั้งอนุญาโตตุลาการ กำหนดค่าทำขวัญตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น ก็เพื่อให้ระงับข้อพิพาท เมื่อไม่ได้มีการตกลงหรือชี้ขาดระงับข้อพิพาทแล้ว ก็เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการให้เสร็จใน 5 ปีตามความในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯเมื่อพ้น 5 ปีแล้วถ้ามิได้เข้าทำประโยชน์ในที่ เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนย่อมมีสิทธิขอที่ดินนั้นคืน ตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2477 ได้ ไม่จำต้องรอให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 780/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความดอกเบี้ย: นับแยกแต่ละงวดค้างชำระ หากงวดใดค้างไม่ถึง 5 ปี ไม่ขาดอายุความ
ค้างชำระดอกเบี้ยมาเกิน + ปีนั้น ไม่ทำให้ขาดอายุความเรียกดอกเบี้ยทั้งหมดดอกเบี้ยงวดใดค้างชำระไม่เกิน + ปี ก็ไม่ขาดอายุความ.
ประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม.225,247.
ประเด็นที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาในชั้นต้น จะยกเว้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6846/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำเลยในคดียาเสพติดซ้ำ หากกระทำผิดภายใน 5 ปีหลังพ้นโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อนคดีนี้จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลนี้ ให้ลงโทษจำคุก 3 ปี และปรับ 300,000 บาท ข้อหามียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1855/2550 พิพากษาเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2550 ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จำเลยพ้นโทษเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2555 ภายในระยะเวลาห้าปีนับแต่พ้นโทษในคดีดังกล่าว จำเลยได้กระทำความผิดคดีนี้อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ขึ้นอีก แม้ฟ้องโจทก์ดังกล่าวระบุว่าจำเลยพ้นโทษเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2555 ก็ตาม แต่ก็เป็นที่ชัดแจ้งว่าที่โจทก์บรรยายฟ้องดังกล่าวนั้น เป็นความผิดพลาดในการพิมพ์เนื่องจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาวันที่ 25 กรกฎาคม 2550 ให้จำคุก 3 ปี และปรับ 300,000 บาท จะฟังว่าจำเลยพ้นโทษเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2555 หาได้ไม่ ทั้งจำเลยก็ให้การรับสารภาพและรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ แสดงว่าจำเลยมิได้หลงต่อสู้และเข้าใจมาตลอดว่าจำเลยกระทำความผิดคดีนี้ภายในห้าปีนับแต่วันพ้นโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1855/2550 ของศาลชั้นต้น ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดคดีนี้ภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1855/2550 ของศาลชั้นต้น เมื่อจำเลยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และจำเลยกระทำความผิดคดีนี้อีกภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ กรณีจึงต้องเพิ่มโทษจำเลยกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 97

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14505/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษอาญาตามมาตรา 92 ต้องพิสูจน์วันพ้นโทษที่แน่นอนและกระทำความผิดภายใน 5 ปีนับแต่วันนั้น
เมื่อโจทก์มีคำขอให้เพิ่มโทษในกรณีที่จำเลยได้กระทำความผิดคดีนี้ภายในเวลาห้าปี นับแต่วันพ้นโทษในคดีก่อน ข้อเท็จจริงจะต้องรับฟังได้ว่าจำเลยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในคดีก่อนและได้พ้นโทษมาเมื่อวันใดด้วย เนื่องจากโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดคดีนี้เป็นระยะเวลาเกินกว่าห้าปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยต้องโทษจำคุกครบ 1 ปี 6 เดือน ในคดีก่อนหรือไม่ จึงยังไม่แน่ชัดว่าจำเลยกระทำความผิดในคดีนี้ภายในห้าปีนับแต่วันพ้นโทษคดีก่อนตามฟ้อง ทั้งในชั้นพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จำเลยให้การรับแค่ว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ โดยไม่ได้รับว่าภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษได้กลับมากระทำความผิดในคดีนี้อีก ซึ่งโจทก์ก็ไม่ได้นำสืบพยานหลักฐานในส่วนนี้ ข้อเท็จจริงจึงไม่พอให้รับฟังได้ว่ามีเหตุให้เพิ่มโทษจำเลยได้ตาม ป.อ. มาตรา 92
of 5