พบผลลัพธ์ทั้งหมด 347 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินเกิน 50 บาท ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ และประเด็นอำนาจฟ้องของผู้ให้กู้
การกู้ยืมเงินกว่า 50 บาทนั้นไปจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ มิเช่นนั้นศาลไม่วินิจฉัยให้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ แต่โจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือว่าจำเลย+เงิน มีแต่หลักฐานจำเลยเงินจากผู้อื่นดังนี้ ไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า อื่นนั้นเป็นตัวแทนโจทก์หรือไม่
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ แต่โจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือว่าจำเลย+เงิน มีแต่หลักฐานจำเลยเงินจากผู้อื่นดังนี้ ไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า อื่นนั้นเป็นตัวแทนโจทก์หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินผ่านคนใช้ - ไม่ต้องมีหลักฐานแต่งตั้งตัวแทน
+หลักฐานแห่งการกู้ยืมมอบให้คนใช้นำไปรับเงินจากผู้ให้กู้มาดังนี้ คนใช้+นั้นไม่มีฐานะเป็นตัวแทนไม่จำต้องมีการแต่งตั้งเป็นลายลักษณอักษร กรณีดังนี้ผู้ให้กู้ฟ้องเรียกเงินตามหลักฐานนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 121/2480
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงิน: ประเด็นความรับผิดชอบของผู้กู้
กู้ยืมเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2480
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินเกิน 50 บาท แม้มีหลักฐานเป็นหนังสือ จำเลยต้องมีหลักฐานหักล้างการชำระหนี้
กู้เงินกันแม้จะไม่เกินกว่า 50 บาท ถ้าหากได้ทำหนังสือไว้เป็นหลักฐาน ผู้กู้จะนำพะยานบุคคลมาสืบว่าได้ใช้ให้ตามสัญญาแล้วไม่ได้กรณีเช่นนี้ต้องบังคับตาม ม.653 วรรค 2 แห่งประมวลแพ่ง ฯ ประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม.94 พะยาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1517/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ การพิสูจน์การชำระหนี้ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
เมื่อการกู้ยืมมีหลักฐานเป็นหนังสือ จำเลยจะขอนำพะยานบุคคลมาสืบว่าได้ชำระหนี้ให้แล้วหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสินค้าเชื่อและการหักบัญชีราคาสินค้า ไม่ถือเป็นการกู้ยืมเงิน
อย่างไรไม่เรียกว่าเป็นการ+
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินจำนวนน้อยและหลักฐานทางกฎหมาย: การฟ้องร้องเรียกเงินกู้โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
การกู้ยืมเงินกันเพียง 50 บาทไม่ต้องมีหลักฐานเปนหนังสือก็ฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ หนังสือรับรองวานคนอื่นเขียนและเซนชื่อแทน ใช้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 211/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินเกิน 50 บาท หลักฐานการกู้ยืม และผลของการรับสารภาพหลังฟ้อง
การกู้ยืมเงินกว่า 50 บาทขึ้นไป ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมอันชอบด้วยกฎหมายไซร้ผู้ให้กู้จะเรียกเงินจากผู้กู้คืนในลักษณลาภมิควรได้หาได้ไม่ ให้การรับสารภาพภายหลังฟ้อง ไม่ใช่หลักฐานตามกฎหมายที่จะพิศูจน์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1128/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเช็ค, อายุความ, และข้อตกลงการกู้ยืมเงิน: ศาลฎีกาไม่รับพิจารณาตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์
ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจลงวันที่ในเช็คพิพาททั้งสิบสามฉบับ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิฟ้องร้องภายในหนึ่งปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ และจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่ อ. เสร็จสิ้นแล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น เห็นว่า เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายและปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 9 ได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายและปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้ถูกต้องและชอบด้วยเหตุผลแล้ว จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาทั้งหมดให้แก่จำเลยที่ 1 ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกานอกจากที่สั่งคืนให้เป็นพับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7126/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้และภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีให้กู้ยืมเงินโดยมีดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาด และค่าปรับการชำระเงินล่าช้า
กรณีที่จะถือว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุสมควร ตามบทบัญญัติในมาตรา 65 ทวิ (4) แห่ง ป.รัษฎากร หรือไม่ อย่างน้อยที่สุดโจทก์ต้องคิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ในระดับอัตราที่ไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์กู้มาจากผู้ให้กู้ การที่โจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการทางด้านการเงินโดยประกอบกิจการธุรกิจบัตรเครดิต โดยยื่นแบบคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎากร ประเภทกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ และโจทก์กู้ยืมเงินมาจากผู้ให้กู้ในต่างประเทศแล้วนำเงินกู้ยืมมาให้บริษัทในเครือและธนาคารในเครือของโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลในประเทศไทยกู้ยืมโดยใช้อัตราดอกเบี้ยลอยตัวผันแปรตามราคาตลาด ตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารพาณิชย์ เมื่อพิจารณารายงานเศรษฐกิจและการเงินธนาคารแห่งประเทศไทยปี 2541 และปี 2542 ที่โจทก์อ้างปรากฏว่า อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเวลาปี 2541 และปี 2542 ระหว่างไตรมาสที่ 1 ถึงไตรมาสที่ 4 ปรากฏอัตราดอกเบี้ย 4 ประเภท ประเภทแรก อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก (ธนาคารขนาดใหญ่ 5 แห่ง) ประเภทที่สอง อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม (ธนาคารขนาดใหญ่ 5 แห่ง) ประเภทที่สาม อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคาร และประเภทที่สี่ อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร (1 วัน) แต่เนื่องจากโจทก์ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ โจทก์จึงไม่อาจอ้างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารมาเป็นราคาตลาดสำหรับการให้กู้ยืมแก่บริษัทในเครือของโจทก์ได้ เมื่อโจทก์กู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ในต่างประเทศมาให้บริษัทในเครือกู้ยืมอีกต่อหนึ่ง ไม่ใช่กรณีที่โจทก์นำเงินฝากของตนเองมาให้บุคคลอื่นกู้ยืม อัตราดอกเบี้ยที่จะนำมาถือเป็นราคาตลาดสำหรับการให้กู้ยืมของโจทก์ ควรเป็นอัตราดอกเบี้ยประเภทที่สอง คืออัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของธนาคารขนาดใหญ่ 5 แห่ง โดยอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมดังกล่าวมีอัตราสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์จ่ายให้แก่ผู้กู้ในต่างประเทศ แม้โจทก์จะอ้างว่าจากสภาวะเศรษฐกิจในระยะเวลาหลังจากที่โจทก์กู้ยืมเงินมาจากต่างประเทศในช่วงปี 2541 ถึงปี 2542 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมในประเทศลดลงทำให้โจทก์เกิดผลขาดทุนจากอัตราดอกเบี้ยนั้น ตามพฤติการณ์ของโจทก์ที่กู้ยืมเงินมาจากต่างประเทศแล้วนำมาให้กู้ยืมภายในประเทศโดยมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 5.7125 ถึง 6.1125 แต่ดอกเบี้ยในราคาตลาดในช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ในอัตราร้อยละ 14.50 ถึง 15.0 และลดลงจนมีอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดอยู่ที่ร้อยละ 8.25 ซึ่งยังคงเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์จ่ายให้ผู้กู้ในต่างประเทศ ข้อกล่าวอ้างถึงผลขาดทุนจากอัตราดอกเบี้ยจึงไม่อาจรับฟังได้ กรณีของโจทก์จึงเป็นการให้กู้ยืมเงินโดยมีดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร
ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าปรับชำระเงินล่าช้า (Late Charge /Delinquency Charge) ในกรณีที่ลูกค้าไม่ชำระเงินหรือชำระเงินไม่ครบตามใบแจ้งยอดบัญชีที่โจทก์จัดส่งไปให้ ต้องเสียค่าปรับการชำระเงินล่าช้าร้อยละ 4 ต่อเดือน ของยอดค้างชำระทั้งหมด เว้นแต่ลูกค้าที่มีวงเงิน Club Payment จะเสีย Late Charge เฉพาะส่วนที่ค้างชำระเกินวงเงิน Club Payment ส่วนค่าปรับคืนเช็ค (Service fee return cheque) ในกรณีที่ลูกค้าชำระเงินด้วยเช็ค หากเช็คเรียกเก็บเงินไม่ได้ ต้องเสียค่าปรับเช็คคืนฉบับละ 500 บาท และค่าปรับหักบัญชีธนาคารไม่ได้ (Return direct debit fee) ลูกค้าที่ชำระเงินโดยการหักบัญชีธนาคาร หากไม่สามารถหักบัญชีได้จะต้องเสียค่าปรับครั้งละ 100 บาท นั้น ไม่ใช่ค่าบริการจากการให้บริการใช้บัตรเครดิตหรือในลักษณะทำนองเดียวกันโดยตรง ตาม พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการเฉพาะอย่างที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะให้เป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 246) พ.ศ.2534 มาตรา 3 (2) เนื่องจากเป็นค่าตอบแทนที่เกิดจากการที่ลูกค้าของโจทก์ไม่ชำระเงินหรือชำระเงินไม่ครบถ้วนตามใบแจ้งยอดบัญชี ซึ่งเป็นค่าตอบแทนที่เกิดขึ้นภายหลังจากการให้บริการการใช้บัตรเครดิตที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์สิ้นสุดลงแล้ว รายรับส่วนนี้ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าปรับชำระเงินล่าช้า (Late Charge /Delinquency Charge) ในกรณีที่ลูกค้าไม่ชำระเงินหรือชำระเงินไม่ครบตามใบแจ้งยอดบัญชีที่โจทก์จัดส่งไปให้ ต้องเสียค่าปรับการชำระเงินล่าช้าร้อยละ 4 ต่อเดือน ของยอดค้างชำระทั้งหมด เว้นแต่ลูกค้าที่มีวงเงิน Club Payment จะเสีย Late Charge เฉพาะส่วนที่ค้างชำระเกินวงเงิน Club Payment ส่วนค่าปรับคืนเช็ค (Service fee return cheque) ในกรณีที่ลูกค้าชำระเงินด้วยเช็ค หากเช็คเรียกเก็บเงินไม่ได้ ต้องเสียค่าปรับเช็คคืนฉบับละ 500 บาท และค่าปรับหักบัญชีธนาคารไม่ได้ (Return direct debit fee) ลูกค้าที่ชำระเงินโดยการหักบัญชีธนาคาร หากไม่สามารถหักบัญชีได้จะต้องเสียค่าปรับครั้งละ 100 บาท นั้น ไม่ใช่ค่าบริการจากการให้บริการใช้บัตรเครดิตหรือในลักษณะทำนองเดียวกันโดยตรง ตาม พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการเฉพาะอย่างที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะให้เป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 246) พ.ศ.2534 มาตรา 3 (2) เนื่องจากเป็นค่าตอบแทนที่เกิดจากการที่ลูกค้าของโจทก์ไม่ชำระเงินหรือชำระเงินไม่ครบถ้วนตามใบแจ้งยอดบัญชี ซึ่งเป็นค่าตอบแทนที่เกิดขึ้นภายหลังจากการให้บริการการใช้บัตรเครดิตที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์สิ้นสุดลงแล้ว รายรับส่วนนี้ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ