พบผลลัพธ์ทั้งหมด 541 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีเช่าที่ดิน: ห้ามฎีกาข้อเท็จจริงใหม่ และประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้น
ฎีกาของจำเลยที่ว่า สัญญาเช่านาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่า จำเลยมิได้นำไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงและมิได้ค้างชำระค่าเช่านา รวมทั้งเรื่องค่าเสียหายเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ข้อที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์มิได้บอกเลิกสัญญาเช่าเป็นหนังสือตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 34โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ปรากฏว่าโจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้บอกเลิกการเช่าที่ดินแก่จำเลยแล้ว แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธประเด็นข้อนี้ ถือว่าจำเลยยอมรับจึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้ว ปัญหานี้แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวก็เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6281/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้คำให้การของจำเลยเป็นพยานหลักฐาน: ข้อจำกัดและผลกระทบต่อการลงโทษ
ในคดีอาญามีกฎหมายห้ามมิให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน เมื่อจะเอาจำเลยเป็นผู้ต้องหาก็ต้องสอบสวนในฐานะผู้ต้องหา เพราะจะต้องบอกให้จำเลยทราบก่อนว่าถ้อยคำที่จำเลยกล่าวอาจใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในการพิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134การที่พนักงานสอบสวนจำเลยเป็นพยาน แล้วโจทก์จะอ้างคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยในฐานะพยานเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยมีความผิดตามที่โจทก์ฟ้องนั้น เป็นการมิชอบ แม้คำให้การของจำเลยดังกล่าวเป็นคำรับซึ่งปรักปรำและเป็นผลร้ายแก่ตนเองก็รับฟังลงโทษจำเลยไม่ได้ เพราะขัดต่อมาตรา 226.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5083/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหลังศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษไม่เกินกำหนด และการแก้ไขราคาของที่ถูกปล้น
ข้อหาพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ และ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดจำคุกคนละ 4 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ปรับคนละ 60 บาท จึงเป็นการแก้ไขมาก แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีและศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำเลยไม่เกินกำหนดที่ว่ามานั้น อีกทั้งมิได้พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยด้วย จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219จึงต้องห้ามมิให้จำเลยทั้งสามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4766/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีอาญาและข้อจำกัดในการฎีกาเมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาตรงกัน รวมถึงข้อยกเว้นเรื่องอัตราโทษ
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องในข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 177 และมาตรา 180 ข้อหาดังกล่าวจึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 แม้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 180 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี ปรับไม่เกินหกพันบาท อันจะต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ ก็ตาม แต่ความผิดดังกล่าวเป็นกรรมเดียวกันกับความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 ซึ่งมีอัตราโทษอันเป็นบทหนัก จำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ ดังนั้นความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานเท็จจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4532/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์และฎีกาคำพิพากษายึดทรัพย์: ข้อจำกัดการวินิจฉัยข้อเท็จจริงในส่วนที่ไม่ใช่คดีอสังหาริมทรัพย์
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ซึ่งโจทก์นำยึดคือบ้าน ตู้เย็น โทรทัศน์ และชุดรับแขก ซึ่งมีราคารวมกันไม่เกินสองหมื่นบาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกคำร้อง สำหรับตู้เย็น โทรทัศน์ และชุดรับแขก มิใช่เป็นคดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 การที่ศาลอุทธรณ์สั่งรับอุทธรณ์และวินิจฉัยข้อเท็จจริงในอุทธรณ์ส่วนนี้จึงให้ จึงไม่ชอบ ต้องถือว่าปัญหาเกี่ยวกับตู้เย็น โทรทัศน์และชุดรับแขกยุติตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของผู้ร้องในข้อนี้จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4532/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบในส่วนทรัพย์สินที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับอสังหาริมทรัพย์ และข้อจำกัดการวินิจฉัยของศาล
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ซึ่งโจทก์นำยึดคือบ้านตู้เย็น โทรทัศน์ และชุดรับแขก ซึ่งมีราคารวมกันไม่เกินสองหมื่นบาทศาลชั้นต้นพิพากษายกคำร้อง สำหรับตู้เย็น โทรทัศน์ และชุดรับแขกมิใช่เป็นคดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224การที่ศาลอุทธรณ์สั่งรับอุทธรณ์และวินิจฉัยข้อเท็จจริงในอุทธรณ์ส่วนนี้จึงให้ จึงไม่ชอบ ต้องถือว่าปัญหาเกี่ยวกับตู้เย็น โทรทัศน์และชุดรับแขกยุติตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของผู้ร้องในข้อนี้จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3444/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย น.ส.3 ที่ขัดต่อข้อจำกัดการโอนตามกฎหมาย ถือเป็นโมฆะ และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามผู้มีสิทธิในที่ดินโอนที่ดินไปยังผู้อื่นภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้เป็นต้นไป นอกจากตกทอดทางมรดกตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 31 การที่จำเลยได้ที่ดินพิพาทมาโดยทางมรดก และทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในระหว่างระยะเวลาห้ามโอนดังกล่าวโดยได้รับเงินกับมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ครอบครองแล้ว แม้มีข้อตกลงว่าจำเลยจะจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยประกาศรับมรดกเสร็จแล้วก็ตาม ก็ถือได้ว่าเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3131/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีขับไล่ที่มีทุนทรัพย์ไม่สูง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าตามสัญญาเช่า เดือนละ 400 บาท ซึ่งถือได้ว่ามีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท แม้โจทก์จะกล่าวมาในคำฟ้องด้วยว่าโจทก์สามารถให้บุคคลอื่นเช่าได้ในปัจจุบันเดือนละไม่ต่ำกว่า12,000 บาท และโจทก์ได้ใช้เป็นเกณฑ์คำนวณในการเรียกร้องเอาค่าเสียหายตามอัตราดังกล่าว แต่จำนวนเงิน 12,000 บาท ก็ไม่ใช่ค่าเช่าของอสังหาริมทรัพย์ในขณะยื่นคำฟ้อง เพราะเพียงแต่อาจให้เช่าได้ในอัตราดังกล่าวเท่านั้น และการที่โจทก์ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 12,000 บาท นั้น โจทก์เรียกค่าเสียหายมาเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่มิได้เรียกมาอย่างเอกเทศในข้อหาอื่นซึ่งทุนทรัพย์ที่เรียกมาไม่เกิน 50,000 บาท และจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ ทั้งมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาที่ก่อให้เกิดสิทธิอยู่บนอสังหาริมทรัพย์นั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ดังนี้ คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3039/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานนอกเหนือจากสัญญาซื้อขายที่จดทะเบียน: ข้อจำกัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
ป.วิ.พ. มาตรา 94 บัญญัติห้ามเฉพาะการนำพยานบุคคลเข้าสืบแทนพยานเอกสารหรือประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อความในเอกสารในเมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง การที่โจทก์นำสืบถึงบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับราคาที่ดินตลอดจนเงื่อนไขการชำระราคาที่ดินอีกส่วนหนึ่งนอกเหนือจากหนังสือสัญญาขายที่ดินที่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น หาต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่ โจทก์จึงนำสืบได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548-2549/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาห้ามแข่งขันหลังพ้นสภาพงาน: ข้อจำกัดที่ชอบธรรมและการรักษาสิทธิทางธุรกิจ
สัญญาที่บริษัทโจทก์ทำกับจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างว่าภายในกำหนดเวลา 24 เดือน นับแต่สัญญาจ้างสิ้นสุดลง ลูกจ้างจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องหรือดำเนินการไม่ว่าจะเป็นโดยตรงหรือโดยอ้อมกับการพัฒนาทำ ผลิต หรือจำหน่าย (สุดแต่จะพึงปรับได้กับกรณีของลูกจ้าง) ซึ่งผลิตภัณฑ์อันเป็นการแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่ตนเคยมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วยในระหว่างที่ทำงานกับบริษัท โดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัท สัญญาดังกล่าวไม่ได้ห้ามจำเลยทั้งสองไม่ให้กระทำโดยเด็ดขาด คงห้ามเฉพาะสิ่งที่เป็นการแข่งขันกับงานของโจทก์ และในส่วนของงานที่จำเลยเคยทำกับโจทก์ทั้งเป็นการห้ามเพียงตามกำหนดระยะเวลาดังกล่าวข้างต้นเท่านั้นไม่เป็นการตัดการประกอบอาชีพของจำเลยทั้งหมดเสียทีเดียวจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่รักษาสิทธิและประโยชน์ของคู่กรณีในเชิงการประกอบธุรกิจโดยชอบ ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ