พบผลลัพธ์ทั้งหมด 405 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีโรงแรมภัตตาคาร: การคำนวณจากค่าเช่าที่พัก และข้อยกเว้นการเก็บภาษีกรณีไม่คิดค่าเช่า
การจัดเก็บภาษีโรงแรมภัตตาคารและการชำระภาษีตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2489 นั้น ท่านให้เรียกเก็บหรือชำระจากค่าเช่าที่พักในอัตราร้อยละ 20 ของเงินที่โรงแรมภัตตาคารเรียกเก็บเป็นค่าเช่าที่พักแล้วปิดอากรแสตมป์เท่าจำนวนภาษีฉะนั้นการพักโดยมิได้เสียค่าเช่าที่พักก็ย่อมไม่มีจำนวนเงินที่จะออกใบรับและคำนวณค่าภาษีที่จะปิดอากรแสตมป์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1071/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คดีเด็กและเยาวชน: การโต้แย้งข้อเท็จจริงและการไม่เข้าข้อยกเว้นการอุทธรณ์
คดีอาญาที่ศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยประมาทตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 252 แต่จำเลยเป็นเด็ก จึงเห็นสมควรให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลางตามมาตรา 31(2) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง นั้น จำเลยย่อมอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้ประมาทได้ ไม่ต้องห้ามตาม มาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 976/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นสัญญาเช่า: เจตนาขอเช่าต่อทำให้ผู้ให้เช่าสละสิทธิบอกเลิกสัญญา
ทำสัญญาเช่าห้องกันมีกำหนด 3 ปี สัญญาข้อหนึ่งมีว่า "เมื่อผู้ให้เช่าจะต้องการคืนห้องทั้งสองฝ่ายจะต้องบอกให้รู้ล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนไม่น้อยกว่า 30 วัน" แต่คู่สัญญาก็ได้เขียนสัญญาต่อไปอีกข้อหนึ่งว่า "เมื่อสิ้นอายุสัญญาฉะบับนี้แล้ว ผู้ให้เช่ายินดีจะทำสัญญาต่อให้แก่ผู้เช่าต่อไปอีกเป็นงวด ๆ จนครบ 10 ปี" ดังนี้ ก็ต้องแปลข้อสัญญาข้อหลังนี้เป็นข้อยกเว้นข้อสัญญาข้อแรกเสียแล้ว โดยผู้ให้เช่ายอมสละสิทธิตามที่เขียนไว้แต่เดิมในข้อแรกนั้นเสียแล้ว ฉะนั้นเมื่อผู้เช่าได้แสดงเจตนาขอเช่าต่อไปแล้ว ผู้ให้เช่าก็ไม่มีสิทธิบอกเลิกการเช่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 87/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนจำหน่ายสุราและข้อยกเว้นอากรแสตมป์
ร้านขายส่งสุราสาขาประจำอำเภอเบิกสุรามาแล้วให้ร้านขายส่งสาขาประจำตำบลขายตามราคาที่กำหนด เมื่อขายได้แล้วร้านสาขาประจำตำบลก็มอบเงินให้ร้านขายส่งสาขาประจำอำเภอรับไปโดยร้านสาขาประจำตำบลได้รับค่าตอบแทนหรือสินจ้างเป็นรายเทดังนี้ ถือได้ว่า ร้านขายส่งสาขาประจำตำบลอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนหรือลูกจ้างของร้านขายส่งประจำอำเภอเท่านั้น การรับเงินค่าสุราจากร้านขายส่งประจำตำบลดังกล่าว ร้านขายส่งประจำอำเภอไม่จำต้องเสียอากรแสตมป์ตามข้อ ฌ แห่งลักษณะตราสารข้อ28
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดู และข้อยกเว้นการใช้บังคับอายุความ รวมถึงเกณฑ์การรับผิดของบิดา
มารดาของผู้เยาว์ ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์จากบิดาของผู้เยาว์ได้ ไม่เป็นอุทลุมเพราะฟ้องในฐานะส่วนตัวของตนเอง ไม่ใช่ฟ้องในนามของเด็กหรือในฐานะเป็นผู้แทนเด็ก
ภริยาฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรจากสามีซึ่งหย่ากันแล้วนั้น สามีจะอ้างอายุความตามมาตรา 165(12)มาตัดฟ้องไม่ได้ เพราะเป็นกรณีที่บุตรอยู่กับมารดาในฐานะเป็นมารดาและเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง กรณีไม่ต้องตามมาตรา 165(12) และมาตรา 166
ตามมาตรา 1594 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ระบุว่าบุคคลผู้มีสิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดู ต้องเป็นผู้ไร้ทรัพย์สินและมิสามารถเลี้ยงตนเองได้ และแม้ในเรื่องบิดามารดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรดังที่ระบุไว้ในมาตรา 1536 ในการรับผิดออกค่าอุปการะเลี้ยงดูและการศึกษา ก็ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติว่าด้วยค่าอุปการะเลี้ยงดูตามมาตรา 1594 ด้วย ฉะนั้นถ้าบุตรมีทรัพย์สินซึ่งมีราคามาก อาจหารายได้เป็นจำนวนท่วมล้นค่าเลี้ยงดูและค่าศึกษาแล้ว บิดาก็ไม่ต้องรับผิดในค่าอุปการะเลี้ยงดูและการศึกษาของบุตรนั้น
ภริยาฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรจากสามีซึ่งหย่ากันแล้วนั้น สามีจะอ้างอายุความตามมาตรา 165(12)มาตัดฟ้องไม่ได้ เพราะเป็นกรณีที่บุตรอยู่กับมารดาในฐานะเป็นมารดาและเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง กรณีไม่ต้องตามมาตรา 165(12) และมาตรา 166
ตามมาตรา 1594 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ระบุว่าบุคคลผู้มีสิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดู ต้องเป็นผู้ไร้ทรัพย์สินและมิสามารถเลี้ยงตนเองได้ และแม้ในเรื่องบิดามารดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรดังที่ระบุไว้ในมาตรา 1536 ในการรับผิดออกค่าอุปการะเลี้ยงดูและการศึกษา ก็ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติว่าด้วยค่าอุปการะเลี้ยงดูตามมาตรา 1594 ด้วย ฉะนั้นถ้าบุตรมีทรัพย์สินซึ่งมีราคามาก อาจหารายได้เป็นจำนวนท่วมล้นค่าเลี้ยงดูและค่าศึกษาแล้ว บิดาก็ไม่ต้องรับผิดในค่าอุปการะเลี้ยงดูและการศึกษาของบุตรนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1594/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในสัญญาจำนอง: การนำสืบเพื่อแก้ไขเจตนาและข้อยกเว้นตามวิธีพิจารณาความแพ่ง
สัญญาจำนอง ซึ่งมีข้อความว่าเป็นประกันเงิน ซึ่งผู้จำนองเป็นหนี้ นั้น ถ้าผู้รับจำนองจะขอสืบว่าการรับจำนองนั้นผู้รับจำนองแสดงเจตนาไปด้วยสำคัญผิดว่าผู้จำนองจำนองเพื่อประกันบุคคลอื่น ฉะนั้นที่ทำสัญญาไปเป็นการประกันผู้จำนองเอง จึงเป็นการแสดงเจตนาด้วยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม เพื่อต่อสู้ว่านิติกรรมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119นั้น ผู้รับจำนองอาจนำสืบได้ แต่ถ้าผู้รับจำนองขอสืบว่าข้อความในสัญญาจำนองที่มีว่า "เป็นประกันเงิน ซึ่งผู้จำนองเป็นหนี้" เป็นว่าเป็นประกันบุคคลอื่นเพื่อให้สัญญาจำนองมีผลบังคับได้ดั่งข้อความที่ผู้รับจำนองขอแก้ไขเปลี่ยนแปลง ดังนี้ เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1420/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นความผิด พ.ร.ก.คนเข้าเมือง กรณีเรือถ่อที่ไม่ใช้ขนส่ง
มาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2480 บัญญัติว่า"ยานพาหนะ" หมายถึงสิ่งใดๆ ที่ใช้สำหรับขนส่งจากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่ง ฉะนั้นถ้ามีผู้นำเรือถ่อโดยมิได้ใช้ขนส่งอะไรออกนอกประเทศและเข้าในประเทศ โดยมิได้แจ้งกำหนดเรือออกจากท่าก็ดี เรือเข้ามาถึงท่าแล้ว ไม่ไปรายงานต่อเจ้าพนักงานก็ดี ก็ไม่เป็นผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง 2480
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพระราชทาน: การตีความต้องจำกัด และมีข้อแตกต่างตามแต่ละรัชกาล
การตีความข้อยกเว้นจากหลักทั่วไป ต้องตีความโดยจำกัดเงื่อนไขห้ามการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้ก่อนตายหรือโดยพินัยกรรมจะมีอยู่ได้ก็โดยจำกัดอย่างเคร่งครัด
พระราชหัตถเลขาพระราชทานที่ดิน มีข้อความว่า ยกที่ดินให้เป็นสิทธิแก่ผู้รับผู้เดียว ถ้าผู้รับไม่มีตัวลงเมื่อใดก็ให้ที่ตกเป็นของผู้ที่ควรจะได้รับมรดกตามความพอใจของผู้รับหรือตามพระราชกำหนดกฎหมายต่อไปอีกประการหนึ่งในเวลาที่พระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ถ้าผู้รับจะขายที่รายนี้ให้แก่ผู้ใดต้องบอกให้พระองค์รู้ก่อน เมื่อพระองค์ทรงอนุญาตแล้วจึงขายได้ ดังนี้ ย่อมเห็นได้ชัดแล้วว่าเมื่อพระองค์ท่านเสด็จสวรรคตแล้ว ผู้รับก็มิต้องขอพระบรมราชานุญาตอย่างใดในการโอน
พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงสั่งไว้ในเรื่องพระทรงพลราบขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตขายที่ดินซึ่งได้รับพระราชทาน ให้แก่นายพีทีวอง เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2471 ซึ่งมีข้อความว่า'..สำหรับกระทรวงเกษตรนั้น จะจัดการตามหน้าที่ ให้ในเรื่องเช่นนี้ได้ต่อเมื่อเจ้าของที่มีหนังสือสำคัญแสดงว่าได้รับพระบรมราชานุญาตให้ขาย ก็ให้จัดการไปได้ถ้าไม่มีหนังสือต้องไม่รับรู้เสียทีเดียว ให้ไปนำหนังสือมาก่อน...'นั้น เป็นพระบรมราชโองการเพื่อวางวิธีการปฏิบัติสำหรับที่ดินที่พระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 6 พระราชทานแก่ข้าทูลละอองธุลีพระบาทของพระองค์ซึ่งยังสับสนกันอยู่เท่านั้น คำว่า'เรื่องเช่นนี้'จะแปลความไปให้หมายถึงที่ดินที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์ไม่ว่าในรัชกาลใดๆ นั้นหาได้ไม่
พระราชหัตถเลขาพระราชทานที่ดิน มีข้อความว่า ยกที่ดินให้เป็นสิทธิแก่ผู้รับผู้เดียว ถ้าผู้รับไม่มีตัวลงเมื่อใดก็ให้ที่ตกเป็นของผู้ที่ควรจะได้รับมรดกตามความพอใจของผู้รับหรือตามพระราชกำหนดกฎหมายต่อไปอีกประการหนึ่งในเวลาที่พระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ถ้าผู้รับจะขายที่รายนี้ให้แก่ผู้ใดต้องบอกให้พระองค์รู้ก่อน เมื่อพระองค์ทรงอนุญาตแล้วจึงขายได้ ดังนี้ ย่อมเห็นได้ชัดแล้วว่าเมื่อพระองค์ท่านเสด็จสวรรคตแล้ว ผู้รับก็มิต้องขอพระบรมราชานุญาตอย่างใดในการโอน
พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงสั่งไว้ในเรื่องพระทรงพลราบขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตขายที่ดินซึ่งได้รับพระราชทาน ให้แก่นายพีทีวอง เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2471 ซึ่งมีข้อความว่า'..สำหรับกระทรวงเกษตรนั้น จะจัดการตามหน้าที่ ให้ในเรื่องเช่นนี้ได้ต่อเมื่อเจ้าของที่มีหนังสือสำคัญแสดงว่าได้รับพระบรมราชานุญาตให้ขาย ก็ให้จัดการไปได้ถ้าไม่มีหนังสือต้องไม่รับรู้เสียทีเดียว ให้ไปนำหนังสือมาก่อน...'นั้น เป็นพระบรมราชโองการเพื่อวางวิธีการปฏิบัติสำหรับที่ดินที่พระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 6 พระราชทานแก่ข้าทูลละอองธุลีพระบาทของพระองค์ซึ่งยังสับสนกันอยู่เท่านั้น คำว่า'เรื่องเช่นนี้'จะแปลความไปให้หมายถึงที่ดินที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์ไม่ว่าในรัชกาลใดๆ นั้นหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1133/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีโรงเรือน: แม้สัญญาเช่าหมดอายุ แต่ผู้เช่ายังไม่ยอมออก ไม่เข้าข้อยกเว้นการเสียภาษี
โรงเรือนที่มีผู้เช่าอยู่ครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว ก็ไม่ยอมออกถึงต้องฟ้องศาลขับไล่ ก็ยังบิดพริ้วไม่ยอมออก แม้ในระหว่างที่หมดอายุสัญญาเช่าแล้ว ผู้ให้เช่าไม่ได้เก็บค่าเช่าอีกเลย ก็ยังไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา 8,9,10 ฉะนั้น จึงต้องเสียภาษี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้น พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ กับอาวุธของทางราชการทหาร: การเก็บรักษากระสุนปืนโดยนายคลังยุทธภัณฑ์
จำเลยเป็นนายคลังยุทธภัณฑ์ย่อมมีอำนาจเก็บรักษากระสุนปืนของทหารไว้ในความควบคุมได้ การที่จำเลยนำกระสุนปืนไปเก็บไว้ที่บ้านในบริเวณของทหารนั่นเองจะฟังว่ากระสุนปืนไม่ใช่ของราชการทหารยังไม่ได้จำเลยจึงยังไม่มีผิดฐานมีอาวุธปืนสำหรับจะใช้แต่เฉพาะในการสงครามตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืน2490 มาตรา 55,78
อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของทางราชการทหารนั้น พระราชบัญญัติอาวุธปืนไม่ใช้บังคับ (อ้างฎีกาที่ 1958/2492)
อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของทางราชการทหารนั้น พระราชบัญญัติอาวุธปืนไม่ใช้บังคับ (อ้างฎีกาที่ 1958/2492)