คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความสงบเรียบร้อย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 334 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 864/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอในความผิดฐานมีอาวุธปืน และอำนาจศาลฎีกาในการแก้ไขเพื่อความสงบเรียบร้อย
โจทก์บรรยายฟ้องระบุการกระทำของจำเลยที่ 2 ว่า ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีและพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรและโดยไม่ได้รับใบอนุญาต แล้วร่วมกันใช้อาวุธปืนดังกล่าวยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีเจตนาร่วมกับจำเลยที่ 1 มีและพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะตามฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยต่อไปว่า ภายหลังเกิดเหตุจำเลยที่ 2 หยิบอาวุธปืนจากจำเลยที่ 1 แล้ววิ่งออกจากที่เกิดเหตุไป จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้นเป็นเหตุการณ์คนละตอนกับความผิดตามฟ้องโจทก์จึงเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้อง ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยและพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน ย่อมเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยที่ 2 มิได้ฎีกา และความผิดดังกล่าวยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย และแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8168/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอม-การย้ายทาง-ขอบเขต-การพิพากษาเกินคำขอ-ศาลอุทธรณ์แก้ไขได้-ปัญหาความสงบเรียบร้อย
โจทก์กับบริวารใช้ที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 บริเวณที่เป็นทางคอนกรีตเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะมาตั้งแต่ปี 2516 ถือว่าโจทก์ใช้สิทธิเป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 มาโดยตลอดจำเลยทั้งสี่กับพวกมาซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 หลังจากโจทก์กับบริวารใช้ที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 เป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว นับแต่วันที่โจทก์ใช้ทางในที่ดินนี้จนกระทั่งจำเลยทั้งสี่รับโอนที่ดินโฉนดดังกล่าว ที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 ตกอยู่ในภาระจำยอมของที่ดินโจทก์โดยอายุความแล้ว ส่วนที่จำเลยทั้งสี่กับพวกทุบทำลายทางคอนกรีตที่โจทก์ใช้เป็นทางพัฒนาที่ดินและแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมแล้ว ทำถนนบริเวณกึ่งกลางที่ดินกว้าง 8 เมตร อันเป็นทางพิพาท โจทก์กับบริวารจึงย้ายมาใช้ทางพิพาท การที่จำเลยทั้งสี่กับพวกซึ่งเป็นเจ้าของภารยทรัพย์ทุบทำลายทางคอนกรีตอันเป็นทางภาระจำยอมเดิมของโจทก์แล้วไปทำถนนบริเวณกึ่งกลางที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 จึงเป็นกรณีที่เจ้าของทรัพย์ให้ย้ายภาระจำยอมไปยังส่วนอื่น เพื่อประโยชน์แก่จำเลยทั้งสี่ที่เป็นเจ้าของภารยทรัพย์นั้น จำเลยทั้งสี่ประสงค์ให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 ทั้งแปลงตกอยู่ในภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์เพื่อแลกเปลี่ยนกับภาระะจำยอมเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1392 ที่โจทก์มาใช้ทางพิพาทจึงไม่จำต้องนับอายุความกันใหม่
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ โจทก์ขอให้ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอม ในเรื่องทางรถยนต์ด้วยและข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อจำเลยทั้งสี่ย้ายภาระจำยอมเดิมมาเป็นทางพิพาทที่มีสภาพเป็นถนน สำหรับรถยนต์แล่นเข้าออก และโจทก์ก็เบิกความยืนยันว่า เมื่อจำเลยทั้งสี่ย้ายทางภาระจำเลยเดิมมาเป็นทางใหม่ โจทก์และบริวารใช้รถยนต์แล่นผ่านเข้าออกทางพิพาท ฟังได้ว่า ทางดังกล่าวตกอยู่ภาระจำยอมทางรถยนต์ด้วย
โจทก์มีคำขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้ภาระจำยอมที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 ทั้งแปลงและข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยทั้งสี่ย้ายทางภาระจำยอมไปยังทางที่พิพาท อันเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่จำเลยทั้งสี่ จนทำให้โจทก์ได้ภาระจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 ทั้งแปลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1392 ก็ตาม แต่ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ได้ทางภาระจำยอมแล้วพิพากษาให้โจทก์ได้ภาระจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 ซึ่งไม่เป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1392 ก็ตาม แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขให้ถูกต้อง ทั้งทางที่พิพาทคงเป็นเพียงทางภาระจำยอม มีผู้ได้ภาระจำยอมในทางที่พิพาทเพียงไม่กี่รายเท่านั้น การที่โจทก์ใช้ทางพิพาทอาจไม่ได้รับความสะดวกบ้างแต่ไม่ถึงกับทำให้เกิดความไม่สงบในสังคม ปัญหาดังกล่าวฟังไม่ได้ว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาในปัญหาดังกล่าวมา จึงเป็นการพิพากษาในสิ่งใดๆ นอกเหนือจากคำฟ้องของโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11662/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความ 'การกสิกรรม' ในความผิดฐานลักทรัพย์ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขบทลงโทษตามกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (12) คำว่า การกสิกรรม หมายถึง การเพาะปลูก ไก่จึงไม่ใช่เป็นสัตว์ที่ได้มาจากการกสิกรรมตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 335 (12) จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกและแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11367/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะไม่ครบถ้วนในการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค การวินิจฉัยของศาลฎีกาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 27 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาคหรือศาลฎีกา ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสามคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ เมื่อคดีนี้มีผู้พิพากษาลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 เพียงสองคน จึงไม่ครบองค์คณะ ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำฟ้องในเนื้อที่ดินพิพาท ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่เกินคำฟ้องเนื่องจากเป็นประเด็นที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
ฎีกาของจำเลยและจำเลยร่วมที่ว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาเกินคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองในเนื้อที่ดินที่ฟ้องหรือไม่ แม้เป็นประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยและจำเลยร่วมจึงยกขึ้นในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าโจทก์ที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเนื้อที่ประมาณ 130 ไร่ จำเลยและจำเลยร่วมอุทธรณ์โดยรับในอุทธรณ์ว่า ที่ดินพิพาทฟังเป็นยุติว่ามีเนื้อที่ประมาณ 130 ไร่ เมื่อคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ จำเลยร่วมให้การและฟ้องแย้งว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ประมาณ 130 ไร่ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2298/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเลิกแล้ว การคืนเงินบำรุงวัดต้องมีหลักฐานการชำระเงินก่อนทำสัญญา สัญญาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยเป็นโมฆะ
สัญญาเช่าเป็นสัญญาแบบพิมพ์ที่โจทก์กำหนดขึ้นล่วงหน้าและโจทก์นำมาใช้กับผู้เช่าทุกคน อันเป็นการนำมาใช้ในการที่โจทก์นำตึกแถวไปให้บุคคลทั่วไปเช่า สัญญาเช่าดังกล่าวจึงเป็นสัญญาสำเร็จรูปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมฯ มาตรา 3
ข้อตกลงในสัญญาสำเร็จรูปอาจเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมฯ มาตรา 4 ได้ หากปรากฏว่าข้อตกลงนั้นมีผลทำให้ผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูปได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควร โดยคู่สัญญาไม่จำต้องเป็นสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพแต่อย่างใด
พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมฯ มาตรา 4 (3) ที่บัญญัติว่าข้อตกลงให้สัญญาสิ้นสุดลงโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือให้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้โดยอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ผิดสัญญาในข้อสาระสำคัญนั้น เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของข้อตกลงที่ถือว่าทำให้ฝ่ายหนึ่งได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเท่านั้น ยังไม่ถึงขนาดว่าหากเป็นไปตามลักษณะนี้ถือว่าเป็นข้อตกลงที่ได้เปรียบอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควรอันจะมีผลทำให้เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
สัญญาเช่าข้อ 8 ระบุว่า ถ้าผู้ให้เช่าต้องการสถานที่เช่าคืนในระหว่างที่ยังไม่สิ้นสัญญาด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ให้เช่าจะบอกผู้เช่าให้ทราบล่วงหน้าก่อนไม่ต่ำกว่า 30 วัน และผู้เช่ายอมออกจากสถานที่เช่านั้นภายในกำหนดของผู้ให้เช่า โดยยอมรับว่าสัญญาเช่าฉบับนี้สิ้นสุดลงในวันที่ผู้ให้เช่ากำหนดนั้นแทนวันสิ้นสุดสัญญาเช่าในข้อ 1 และจะไม่ขอเรียกร้องค่าเสียหายหรือชดใช้ใดๆ ทั้งสิ้นจากผู้ให้เช่า แต่ทางนำสืบของจำเลยไม่ปราฏว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นการเอาเปรียบฝ่ายผู้เช่าเกินสมควรอย่างไรเพราะเหตุใด อันจะเป็นประเด็นให้ศาลวินิจฉัยถึง ลำพังเพียงการตกลงตามข้อ 8 ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นข้อตกลงที่ทำให้ฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าได้เปรียบฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าเกินสมควร จึงไม่ใช่ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมฯ ทั้งไม่มีลักษณะเป็นข้อความอันบังคับไว้ให้สัญญาเช่าเป็นผลหรือสิ้นผลต่อเมื่อมีเหตุการณ์อันไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ในอนาคตตาม ป.พ.พ. มาตรา 182 แต่เป็นเรื่องของการตกลงให้สิทธิแก่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งที่จะใช้สิทธิเลิกสัญญาได้ก่อนที่อายุสัญญาตามที่ตกลงกันไว้จะสิ้นสุดลง โดยคู่สัญญาฝ่ายนั้นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าชั่วระยะเวลาหนึ่ง จึงไม่ใช่เงื่อนไขของสัญญาเช่าแต่อย่างใด กรณีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นเงื่อนไขที่ฝ่าฝืนกฎหมายและขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า เมื่อสัญญาเลิกกันแล้วคู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยได้ชำระค่าทำสัญญาเช่าหรือเงินบำรุงวัดจำนวน 1,000,000 บาท แก่โจทก์ โจทก์จึงต้องคืนเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่จำเลย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) แต่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนดังกล่าวจะต้องเป็นข้อกฎหมายที่ได้จากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ เมื่อไม่ปรากฏจากคำฟ้องหรือคำให้การว่าจำเลยได้ชำระค่าทำสัญญาเช่าหรือเงินบำรุงวัดจำนวน 1,000,000 บาท แก่โจทก์ ก่อนมีการทำสัญญาเพื่อเป็นการตอบแทนการที่โจทก์ทำสัญญาเช่ากับจำเลย ข้อเท็จจริงที่ได้ความตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยจึงเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดจากพยานหลักฐานนอกเรื่องนอกประเด็น ไม่เกี่ยวกับที่คู่ความมีหน้าที่นำสืบ ศาลย่อมไม่อาจรับฟังมาวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาต้องห้ามตามมาตรา 87

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15496/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาพิพากษานอกฟ้องอุทธรณ์ในคดีพยายามฆ่า และอำนาจศาลฎีกาในการอ้างเหตุเพื่อความสงบเรียบร้อย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น เป็น 2 กรรม ต่างกรรมต่างวาระ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นในกรรมหลังเพียงกระทงเดียว จึงเป็นการยกฟ้องกรรมแรกและลงโทษกรรมหลัง โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 เห็นว่าจำเลยไม่ได้ร่วมกับพวกกระทำความผิดกรรมหลัง จึงชอบที่จะยกฟ้องความผิดกรรมหลังด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 หยิบยกข้อเท็จจริงถึงการกระทำของจำเลยกรรมแรกซึ่งยุติไปแล้วขึ้นมาวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำความผิดและพิพากษาลงโทษจำเลยดังกล่าว จึงเป็นการพิจารณาพิพากษานอกฟ้องอุทธรณ์ อันเป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10389/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังพ้นกำหนด – เหตุอันสมควร – ความสงบเรียบร้อย – ป.วิ.พ. มาตรา 195
ป.วิ.พ. มาตรา 195 บัญญัติให้นำบทบัญญัติในคดีสามัญมาใช้บังคับกับคดีมโนสาเร่เช่นคดีนี้ด้วย กล่าวคือ กรณีที่ไม่มีการชี้สองสถานต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น หรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ฯลฯ เมื่อคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยยื่นภายหลังล่วงพ้นเวลาที่กฎหมายกำหนด จึงต้องพิจารณาว่าเป็นกรณีเข้าข้อยกเว้นที่จะสามารถยื่นได้หรือไม่ ปรากฏข้อความที่จำเลยขอแก้ไขจากคำให้การเดิมว่า ผู้มอบอำนาจไม่มีอำนาจ ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ เป็นลายมือชื่อปลอม การมอบอำนาจจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นว่า ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจเป็นลายมือชื่อปลอมและดวงตราที่ประทับก็ไม่ใช่ดวงตราประทับที่จดทะเบียนไว้ จึงเป็นการมอบอำนาจโดยมิชอบนั้น ล้วนเป็นเรื่องที่จำเลยย่อมทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่เมื่อได้รับสำเนาคำฟ้องของโจทก์ ซึ่งจำเลยอาจยื่นคำให้การต่อสู้ในเรื่องดังกล่าวได้ตั้งแต่ยื่นคำให้การครั้งแรก หรือมิฉะนั้นนับแต่วันยื่นคำให้การไปจนถึงวันสืบพยานโจทก์นัดแรกก็ยังมีระยะเวลานานเพียงพอที่จำเลยจะสามารถขอแก้ไขคำให้การได้ทัน จึงไม่ใช่เหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น อีกทั้งการขอแก้ไขคำให้การดังกล่าวนั้น ไม่ได้มีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด จึงไม่ใช่การขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การภายหลังจากสืบพยานโจทก์แล้วเช่นนี้ จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 180

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7465/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังพ้นกำหนด หากเกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอนุญาตได้
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานในวันที่ 20 กรกฎาคม 2548 โดยไม่มีการชี้สองสถาน การที่จำเลยที่ 2 จะยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การจึงอาจทำได้ภายในวันที่ 12 กรกฎาคม 2548 เมื่อจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในวันที่ 13 กรกฎาคม 2548 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเมื่อพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่การที่จำเลยที่ 2 ขอแก้ไขคำให้การเป็นว่า สัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวง จึงไม่มีมูลหนี้และตกเป็นโมฆะ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ปัญหาที่ว่านิติกรรมใดเป็นโมฆะหรือไม่ ถือเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในเรื่องดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 แม้เป็นการยื่นเมื่อพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7465/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การเกินกำหนด หากเกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอนุญาตได้
การที่จำเลยที่ 2 ขอแก้ไขคำให้การเป็นว่า สัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวง จึงไม่มีมูลหนี้และตกเป็นโมฆะ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ปัญหาที่ว่านิติกรรมใดเป็นโมฆะหรือไม่ ถือเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในเรื่องดังกล่าวได้ แม้เป็นการยื่นเมื่อพ้นระยะเวลาที่ ป.วิ.พ. มาตรา 180 กำหนดก็ตาม
of 34