คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าสินไหมทดแทน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 351 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10113/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินเจตนาการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและการพิพากษาค่าสินไหมทดแทนเกินคำขอ
จำเลยป่วยมีภาวะทางจิตบกพร่องด้วยโรคซึมเศร้าอย่างรุนแรงและมีอาการกำเริบเนื่องจากทะเลาะมีปากเสียงกับผู้ตายจึงเกิดโทสะใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายซ้ำหลายครั้งอันมีลักษณะลงมือแทงผู้ตายเพื่อให้ถึงแก่ความตายเท่านั้น โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอื่นที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาให้ผู้ตายได้รับความทุกข์ทรมานก่อนถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้ายตาม ป.อ. มาตรา 289 (5)
โจทก์ร่วมทั้งสองยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคหนึ่ง โดยมิได้ขอให้ชำระดอกเบี้ย ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องแก่โจทก์ร่วมทั้งสองจึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8397/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการสลับสายมิเตอร์ไฟฟ้า: ไม่ใช่หนี้ค่าไฟฟ้า แต่เป็นค่าสินไหมทดแทน
การไฟฟ้านครหลวงโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีวัตถุประสงค์ในการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้า แต่โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าจากจำเลยอันเป็นธุรกิจทางการค้าตามปกติของโจทก์ตรงกันข้ามตามฟ้องของโจทก์บรรยายข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาการใช้ไฟฟ้า เป็นเหตุให้เครื่องวัดกระแสไฟฟ้าที่โจทก์ติดตั้งไว้เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าให้จำเลยมีการสลับสายควบคุมทำให้วัดกระแสไฟฟ้าน้อยลงกว่าปกติ รวมทั้งมีคำขอให้จำเลยชำระเบี้ยปรับตามข้อบังคับการไฟฟ้านครหลวงว่าด้วยการใช้ไฟฟ้าและบริการ พ.ศ.2535 ข้อ 36 วรรคสอง แม้โจทก์จะมีคำขอให้จำเลยชำระค่ากระแสไฟฟ้าที่ขาดหายไปเพิ่มอีก 171,392 หน่วย เป็นเงิน 501,240 บาท ก็มิใช่เป็นการเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่จำเลยค้างชำระ แต่เป็นการฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากการที่จำเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ โดยถือเอาค่ากระแสไฟฟ้าที่ขาดหายไปมาเป็นค่าสินไหมทดแทน จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ที่ต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในอายุความ 2 ปี แต่ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6576/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีอาญาที่จำเลยถึงแก่ความตาย ทำให้สิทธิฟ้องระงับ และคำขอค่าสินไหมทดแทนตกไป
ในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แม้ผู้เสียหายจะเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการและยื่นคำร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ก็ตาม เมื่อจำเลยถึงแก่ความตาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์และโจทก์ร่วมย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) และคำขอให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนย่อมตกไปด้วย จึงต้องจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 555/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของอู่ซ่อมรถต่อการสูญหายของรถยนต์ที่อยู่ในความครอบครอง และการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
รถยนต์กระบะคันพิพาทเข้าซ่อมที่อู่ของจำเลยที่ 2 และในระหว่างที่ทำการซ่อมรถยนต์ได้ถูกคนร้ายลักไป ถือได้ว่ารถยนต์กระบะพิพาทอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จะต้องเก็บรักษารถยนต์กระบะคันพิพาทไว้ในที่ปลอดภัยในระหว่างการซ่อม ทั้งต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อมิให้รถยนต์กระบะคันพิพาทต้องสูญหายหรือเสียหาย เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้อย่างแน่ชัดว่าจำเลยที่ 2 นำรถยนต์กระบะคันพิพาทไปจอดไว้บริเวณที่ว่างหน้าอู่โดยไม่มีรั้วรอบขอบชิดอันเป็นเครื่องป้องกันการเคลื่อนย้ายรถยนต์และไม่ได้จัดให้มีผู้ดูแลรักษารถยนต์แต่อย่างใด ทั้งเมื่อรถยนต์คันพิพาทหายไปจำเลยที่ 2 ก็ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ ช. เจ้าของรถยนต์กระบะคันพิพาทเป็นเงินจำนวน 100,000 บาท ซึ่งเท่ากับว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับผิดในเหตุที่รถยนต์กระบะคันพิพาทหายไปในระหว่างที่อยู่ในความครอบครองของตน ตามพฤติการณ์ดังกล่าวนับได้ว่า เป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ที่ไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้รถยนต์กระบะคันพิพาทต้องสูญหาย การปฏิบัติต่อลูกค้าของจำเลยที่ 2 ในการนำรถยนต์ที่นำมาซ่อมแล้วไม่เสร็จจอดไว้บริเวณหน้าอู่ มิได้เป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้รถยนต์สูญหายแต่อย่างใดและการที่ไม่เคยมีรถยนต์สูญหายหรือได้รับความเสียหายมิได้เป็นหลักประกันว่าจำเลยที่ 2 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2116/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าของโครงการและผู้รับเหมาต่อความเสียหายของระบบป้องกันอัคคีภัย รวมถึงสิทธิในการจัดการทรัพย์สินและเรียกค่าสินไหมทดแทน
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของโครงการอาคารชุด ซึ่งจะต้องดำเนินการก่อสร้างอาคารและระบบสาธารณูปโภคของโครงการรวมทั้งจัดให้มีวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตามประกาศโฆษณาขายอาคารชุดดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 จ้างเหมาบุคคลอื่นติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัยของอาคารชุด จำเลยที่ 1 ต้องดูแลให้ระบบป้องกันอัคคีภัยดังกล่าวใช้งานได้สมบูรณ์ตามวัตถุประสงค์ หากระบบป้องกันอัคคีภัยไม่สามารถใช้งานได้หรือใช้งานได้ไม่สมบูรณ์ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชอบในการดำเนินการแก้ไขให้สามารถใช้งานได้ตามที่โฆษณาไว้ จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับจ้างเหมาจากจำเลยที่ 1 ให้ติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัยให้แก่อาคารชุด จึงเป็นการกระทำการแทนจำเลยที่ 1 เมื่อพนักงานของจำเลยที่ 2 เชื่อมสายไฟเข้าระบบผิดทำให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจรเกิดความเสียหายแก่ระบบป้องกันอัคคีภัยดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้าง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนก่อให้เกิดขึ้นดังกล่าวด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบมาตรา 425
การที่จำเลยทั้งสองไม่ดำเนินการแก้ไขระบบป้องกันอัคคีภัยที่ได้รับความเสียหายให้เสร็จสิ้นภายในเวลาอันควร โจทก์ย่อมมีสิทธิจัดหาบุคคลภายนอกมาดำเนินการในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิเข้าจัดการในทรัพย์สินของตนและเรียกค่าใช้จ่ายจากจำเลยทั้งสองได้ โดยถือเป็นค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากการไม่ชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213, 215.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5435/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิด: การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากเหตุทำร้ายร่างกาย, การประเมินค่าเสียหาย, ค่าทนายความ และค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 เป็นผู้เยาว์และเป็นผู้เสียหาย โดยมีโจทก์ที่ 2 เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายในฐานะส่วนตัวและในฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำโดยจงใจ เป็นการละเมิดทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และบรรยายฟ้องถึงค่าเสียหาย 3 ประการ คือ ประการที่ 1 ค่ารักษาพยาบาลตัวโจทก์ที่ 1 ที่โรงพยาบาล บ. เป็นเงิน 3,120 บาท ประการที่ 2 ค่ารถยนต์แท็กซี่ในการเดินทางของโจทก์ที่ 1 จากบ้านไปโรงเรียนหรือโรงพยาบาลเป็นเงิน 6,300 บาท และประการที่ 3 ค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1 ที่ไม่สามารถใช้มือซ้ายยกเครื่องมือในการปฏิบัติงานได้เหมือนคนปกติตลอดชีวิตเป็นเงิน 300,000 บาท รวมเป็นเงิน 309,420 บาท ซึ่งการที่โจทก์ที่ 1 เป็นบุตรของโจทก์ที่ 2 ถูกจำเลยที่ 1 บุตรของจำเลยที่ 2 ใช้มีดฟันที่ข้อมือซ้ายได้รับบาดเจ็บสาหัส โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบิดาและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมมีหน้าที่ดูแลจ่ายค่ารักษาพยาบาลและค่าเดินทางต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน เมื่อต้องเสียค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปแล้ว โจทก์ที่ 2 ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จ่ายไปจากผู้ที่ทำละเมิดคือจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 ได้ เพราะเป็นค่าเสียหายส่วนตัวโดยตรง แม้ในคำฟ้องระบุว่าโจทก์ได้รับความเสียหายโดยมิได้ระบุว่าโจทก์ทั้งสอง แต่คำว่าโจทก์ย่อมหมายถึงโจทก์ทั้งสอง ซึ่งรวมถึงโจทก์ที่ 2 ด้วย โจทก์ที่ 2 ในฐานะส่วนตัวจึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายประการที่ 1 และประการที่ 2 จากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นค่าเสียหายส่วนตัวโดยตรง ส่วนค่าเสียหายประการที่ 3 โจทก์ที่ 1 เป็นผู้เสียหายโดยตรง โดยโจทก์ที่ 2 ไม่ได้รับความเสียหายในส่วนนี้ โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายเฉพาะประการที่ 3 จากจำเลยทั้งสองเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6040/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยประมาทเลินเล่อฟ้องโจทก์โดยใช้ข้อมูลปลอม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
การที่จำเลยที่ 2 ฟ้องเรียกให้โจทก์ชำระค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศโดยอ้างว่าโจทก์เป็นผู้เช่าหมายเลขโทรศัพท์จากจำเลยที่ 1 แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ขอเช่าใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่หมายเลขดังกล่าวใช้ชื่อว่า ร. ยื่นคำขอเข่าใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยใช้บัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านที่มีการปลอมแก้ไขชื่อจาก น.เป็น ร. ซึ่งเป็นคนละคนกับโจทก์ ก่อนฟ้องคดีจำเลยที่ 2 สามารถตรวจความถูกต้องของข้อมูลผู้เช่าใช้บริการหมายเลขโทรศัพท์ดังกล่าวได้ แต่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตรวจสอบตามสมควรกลับฟ้องโจทก์ให้รับผิดใช้ค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศอันเป็นการประมาทเลินเล่อหรือไม่ใยดีต่อผลแห่งความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่โจทก์ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์แล้ว จำเลยที่ 2 จึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์เพื่อการละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6040/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยประมาทเลินเล่อฟ้องโจทก์โดยใช้เอกสารปลอม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ผู้ขอเช่าใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนการสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 2 ใช้ชื่อว่านางสาวรจนาถยื่นคำขอเช่าใช้บริการโดยใช้บัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านที่มีการปลอมแก้ไขชื่อจากนงค์ลักษณ์เป็นรจนาถ ซึ่งเป็นคนละคนกับโจทก์ และก่อนฟ้องจำเลยที่ 2 สามารถที่จะตรวจความถูกต้องได้ แต่จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้กระทำ กลับฟ้องโจทก์ให้ชดใช้ค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ กรณีถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อหรือไม่ใยดีต่อผลแห่งความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร พฤติการณ์จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์แล้ว จำเลยที่ 2 จึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์เพื่อการละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทนจากวัตถุที่ชำระหนี้ไม่ได้ เริ่มนับแต่วันฟ้องเมื่อการส่งมอบเป็นพ้นวิสัย
ป.พ.พ. มาตรา 225 บัญญัติว่า "ถ้าลูกหนี้จำต้องให้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อราคาวัตถุอันได้เสื่อมเสียไประหว่างผิดนัดก็ดี หรือวัตถุอันไม่อาจส่งมอบได้เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันเกิดขึ้นระหว่างผิดนัดก็ดี ท่านว่าเจ้าหนี้จะเรียกดอกเบี้ยในจำนวนที่จะต้องใช้เป็นค่าสินไหมทดแทนคิดตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกะประมาณราคานั้นก็ได้..." คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้คือส่งมอบเครื่องอุปกรณ์ชุดปากพูดหูฟัง 1 ชุด ในสภาพใช้การได้ดี หรือมิฉะนั้นให้ใช้ราคาแก่โจทก์ หากวัตถุแห่งหนี้คือการส่งมอบเครื่องอุปกรณ์ชุดปากพูดหูฟังยังสามารถกระทำได้โจทก์ก็ต้องขอให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ด้วยการส่งมอบเครื่องอุปกรณ์ชุดปากพูดหูฟัง จะขอให้จำเลยใช้ราคาเครื่องอุปกรณ์ชุดปากพูดหูฟังแทนไม่ได้ และการส่งมอบเครื่องอุปกรณ์ชุดปากพูดหูฟังดังกล่าวมิใช่หนี้เงิน โจทก์จึงไม่อาจคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดไม่ส่งมอบเครื่องอุปกรณ์ชุดปากพูดหูฟังคืนโจทก์ได้ ต่อเมื่อการส่งมอบเครื่องอุปกรณ์ชุดปากพูดหูฟังเป็นพ้นวิสัยจะทำได้เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยต้องรับผิดชอบ โจทก์จึงจะมีสิทธิเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคือชดใช้ราคาเครื่องอุปกรณ์ชุดปากพูดหูฟังพร้อมด้วยดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่เป็นราคาเครื่องอุปกรณ์ชุดปากพูดหูฟังโดยนับตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกะประมาณราคาตาม ป.พ.พ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง และมาตรา 225 ดังนั้น เวลาที่จะกะประมาณราคาเครื่องอุปกรณ์ชุดปากพูดหูฟังจึงมิใช่เวลาที่จำเลยผิดนัดไม่ส่งมอบเครื่องอุปกรณ์ชุดปากพูดหูฟังคืนโจทก์ตามกำหนด แต่หมายถึงเวลาที่การชำระหนี้คือการส่งมอบเครื่องอุปกรณ์ชุดปากพูดหูฟังคืนโจทก์กลายเป็นพ้นวิสัยจะทำได้ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าการชำระหนี้ดังกล่าวเป็นพ้นวิสัยตั้งแต่เมื่อใด จำเลยจึงต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยในราคาทรัพย์ดังกล่าวนับแต่วันฟ้องอันเป็นเวลาที่โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้รายนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ไม่ตรงตามความประสงค์, ความประมาทเลินเล่อของผู้รับมอบ, และผลกระทบต่อค่าสินไหมทดแทน
จำเลยทำสัญญาขายอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนยี่ห้อทรอนให้แก่โจทก์ จำเลยจะมอบสินค้ายี่ห้ออื่นแก่โจทก์มิได้ แม้สินค้านั้นจะมีคุณสมบัติการใช้งานเหมือนกันก็ตาม เมื่อจำเลยส่งมอบอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนยี่ห้ออื่น จึงเป็นการชำระหนี้ที่ไม่ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งหนี้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นได้ แต่ ว. พนักงานของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ตรวจรับมอบสินค้า มิได้ตรวจสอบสินค้าให้รอบคอบก่อนว่าเป็นยี่ห้อตรงตามสัญญาหรือไม่ ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของ ว. ตัวแทนของโจทก์ โจทก์จึงต้องรับผิดชอบในความประมาทเลินเล่อของ ว. ด้วยตาม ป.พ.พ มาตรา 223 วรรคสอง ประกอบมาตรา 220
of 36