พบผลลัพธ์ทั้งหมด 321 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 742/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชดใช้ค่าเสียหายจากบัตรภาษี แม้ไม่มีส่วนร่วมทุจริตก็ต้องรับผิดตามสัญญา อายุความ 10 ปี
โจทก์ฟ้องจำเลยตามข้อตกลงในสัญญาแม้จะไม่ได้ฟ้องบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องก็หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
จำเลยผู้รับโอนสิทธิตามบัตรภาษีจากบริษัท อ. ให้สัญญาต่อโจทก์ว่าหากเกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใดๆ จำเลยยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการโดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้และไม่ใช่ความตกลงทำไว้ล่วงหน้าเป็นข้อความยกเว้นมิให้โจทก์ต้องรับผิดในความประมาทเลินเล่อของตนทั้งไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงใช้บังคับได้ เมื่อบริษัท อ. ผู้โอนสิทธิตามบัตรภาษีมิได้ส่งสินค้าออกตามที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาออกจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปบัตรภาษี จึงเป็นกรณีที่เกิดการทุจริตและเกิดความเสียหายแก่โจทก์แล้ว ดังนั้นจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาที่ให้ไว้แก่โจทก์ แม้ไม่ได้ความว่าจำเลยมีส่วนร่วมกับบริษัท อ. ในการสำแดงข้อความอันเป็นเท็จในใบขนสินค้าขาออก แต่จำเลยก็ต้องรับผิดตามสัญญา มิพักต้องคำนึงว่าจำเลยจะรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนหรือไม่ และการกระทำของบริษัท อ. ต้องรับผิดทางอาญาหรือไม่ เป็นความรับผิดคนละส่วนกันและไม่ใช่กรณีที่โจทก์กระทำละเมิดต่อจำเลยแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่มีหนี้ใดที่จะนำมาหักกลบลบหนี้กับโจทก์
ตาม ป.พ.พ. มิได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีสิทธิเรียกร้องตามสัญญา (คำร้องขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษี) ไว้โดยเฉพาะ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และตามสัญญาดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน จึงถือว่าจำเลยผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ย เมื่อโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่คืนเงินให้ตามที่โจทก์กำหนดตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคแรกและมาตรา 224 วรรคแรก
จำเลยผู้รับโอนสิทธิตามบัตรภาษีจากบริษัท อ. ให้สัญญาต่อโจทก์ว่าหากเกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใดๆ จำเลยยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการโดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้และไม่ใช่ความตกลงทำไว้ล่วงหน้าเป็นข้อความยกเว้นมิให้โจทก์ต้องรับผิดในความประมาทเลินเล่อของตนทั้งไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงใช้บังคับได้ เมื่อบริษัท อ. ผู้โอนสิทธิตามบัตรภาษีมิได้ส่งสินค้าออกตามที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาออกจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปบัตรภาษี จึงเป็นกรณีที่เกิดการทุจริตและเกิดความเสียหายแก่โจทก์แล้ว ดังนั้นจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาที่ให้ไว้แก่โจทก์ แม้ไม่ได้ความว่าจำเลยมีส่วนร่วมกับบริษัท อ. ในการสำแดงข้อความอันเป็นเท็จในใบขนสินค้าขาออก แต่จำเลยก็ต้องรับผิดตามสัญญา มิพักต้องคำนึงว่าจำเลยจะรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนหรือไม่ และการกระทำของบริษัท อ. ต้องรับผิดทางอาญาหรือไม่ เป็นความรับผิดคนละส่วนกันและไม่ใช่กรณีที่โจทก์กระทำละเมิดต่อจำเลยแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่มีหนี้ใดที่จะนำมาหักกลบลบหนี้กับโจทก์
ตาม ป.พ.พ. มิได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีสิทธิเรียกร้องตามสัญญา (คำร้องขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษี) ไว้โดยเฉพาะ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และตามสัญญาดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน จึงถือว่าจำเลยผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ย เมื่อโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่คืนเงินให้ตามที่โจทก์กำหนดตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคแรกและมาตรา 224 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3849/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกสัญญาเนื่องจากผู้เช่าปฏิเสธการรับมอบทรัพย์ ผู้ขายต้องคืนเงินและชดใช้ค่าเสียหาย
การนำข้อเท็จจริงมาปรับเข้ากับบทบัญญัติของกฎหมายนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมาย เมื่อศาลชั้นต้นปรับข้อเท็จจริงเข้ากับบทบัญญัติของกฎหมายไม่ถูกต้องศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยใหม่ให้ถูกต้อง เพราะการปรับข้อเท็จจริงเข้ากับตัวบทกฎหมายเป็นหน้าที่ของศาลอยู่แล้ว ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจยกขึ้นปรับให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นข้อนี้โดยนำเอาบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 466 มาปรับเข้ากับข้อเท็จจริงที่มีอยู่จึงมิใช่การวินิจฉัยนอกประเด็นที่พิพาทกันแต่อย่างใด
จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า การที่โจทก์อ้างว่าที่ดินที่เช่าซื้อมีขนาดถึง 69 ตารางวาเพิ่มมากขึ้น 42 ตารางวา หรือมากกว่า 1.5 เท่าของเนื้อที่ดินที่เช่าซื้อ โจทก์ในฐานะผู้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิบอกปัดไม่รับไว้ก็ได้ หากการล้ำจำนวนนั้นเกินกว่าร้อยละห้าแห่งเนื้อที่ทั้งหมดอันได้ระบุไว้ แต่โจทก์หาได้ทำเช่นนั้นไม่ กลับยื่นคำร้องขอชำระค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลือเป็นเงินสด แต่ตามพยานหลักฐานจำเลยเท่าที่นำสืบมาไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอชำระค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลือเป็นเงินสดตามคำให้การจำเลยแต่อย่างใด นอกจากนี้ข้อเท็จจริงตามที่จำเลยกล่าวอ้างมาในฎีกาว่าสัญญาเช่าซื้อไม่อาจกำหนดเนื้อที่ดินได้แน่นอนนั้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อ แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่าโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาเช่าซื้อกันไว้ว่า โจทก์ตกลงเช่าซื้อที่ดินจากจำเลยเนื้อที่ 27 ตารางวา ภายหลังที่รังวัดออกโฉนดแล้วหากปรากฏว่าที่ดินมีเนื้อที่มากหรือน้อยกว่าจำนวนที่ระบุไว้ คู่สัญญายอมให้คิดราคาเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามส่วนในอัตราตารางวาละ 20,000 บาท โดยผู้เช่าซื้อยินยอมชำระราคาเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามวิธีการที่กำหนดไว้ และเมื่อถึงเวลาส่งมอบที่ดินที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์ จำเลยได้ส่งมอบที่ดินให้โจทก์เป็นจำนวนถึง 69 ตารางวา ซึ่งมากกว่าที่ได้ตกลงทำสัญญากันไว้ถึง 1.5 เท่าของเนื้อที่ตามสัญญา ซึ่งโจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่สามารถจะหาเงินมาชำระเพิ่มให้แก่จำเลยได้ กรณีจึงต้องปรับด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. เกี่ยวกับการซื้อขายว่าด้วยการส่งมอบทรัพย์สิน มาตรา 466 ดังนั้น เมื่อเนื้อที่ดินล้ำจำนวนเกินกว่าร้อยละ 5 แห่งเนื้อที่ทั้งหมดที่ระบุไว้ในสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิบอกปัดเสียและเลิกสัญญากับจำเลยได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว นอกจากนี้ตาม ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 5 มาตรา 572 ยังได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องเช่าซื้อไว้ สัญญาเช่าซื้อจึงเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าและสัญญาซื้อขาย จึงสามารถนำบทบัญญัติในลักษณะเช่าทรัพย์และลักษณะซื้อขายมาใช้บังคับได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกัน ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์นำ ป.พ.พ. มาตรา 466 มาปรับใช้กับข้อเท็จจริงในคดีนี้จึงชอบแล้ว
โจทก์มีสิทธิบอกปัดไม่รับที่ดินที่จำเลยส่งมอบให้เกินกว่าจำนวนสัญญาเช่าซื้อและโจทก์ได้ใช้สิทธินั้นแล้วโดยโจทก์ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลย สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นอันเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 ที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ไม่ชำระค่าที่ดินส่วนเกิน จำเลยจึงบอกเลิกสัญญากับโจทก์จึงไม่มีผลแต่ประการใด เนื่องจากจำเลยยังมิได้ให้สิทธิโจทก์ที่จะปัดเสียหรือรับเอาไว้ซึ่งเนื้อที่ดินซึ่งล้ำจำนวน จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาก่อน เมื่อสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์และจำเลยเลิกกันเนื่องจากโจทก์เป็นฝ่ายบอกปัดไม่รับที่ดิน และสัญญาเลิกกันโดยมิใช่ความผิดของฝ่ายโจทก์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิริบเงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระมาแล้ว จำเลยต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระมาแล้วทั้งหมดให้แก่โจทก์ โจทก์ต้องส่งมอบที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคืนแก่จำเลย ส่วนการที่โจทก์ได้ครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เช่าซื้อนับแต่วันที่จำเลยส่งมอบให้โจทก์นั้น ถือเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์ตามมาตรา 391 วรรคสาม การที่โจทก์จะชดใช้คืนย่อมทำได้ด้วยการใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้น
จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า การที่โจทก์อ้างว่าที่ดินที่เช่าซื้อมีขนาดถึง 69 ตารางวาเพิ่มมากขึ้น 42 ตารางวา หรือมากกว่า 1.5 เท่าของเนื้อที่ดินที่เช่าซื้อ โจทก์ในฐานะผู้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิบอกปัดไม่รับไว้ก็ได้ หากการล้ำจำนวนนั้นเกินกว่าร้อยละห้าแห่งเนื้อที่ทั้งหมดอันได้ระบุไว้ แต่โจทก์หาได้ทำเช่นนั้นไม่ กลับยื่นคำร้องขอชำระค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลือเป็นเงินสด แต่ตามพยานหลักฐานจำเลยเท่าที่นำสืบมาไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอชำระค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลือเป็นเงินสดตามคำให้การจำเลยแต่อย่างใด นอกจากนี้ข้อเท็จจริงตามที่จำเลยกล่าวอ้างมาในฎีกาว่าสัญญาเช่าซื้อไม่อาจกำหนดเนื้อที่ดินได้แน่นอนนั้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อ แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่าโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาเช่าซื้อกันไว้ว่า โจทก์ตกลงเช่าซื้อที่ดินจากจำเลยเนื้อที่ 27 ตารางวา ภายหลังที่รังวัดออกโฉนดแล้วหากปรากฏว่าที่ดินมีเนื้อที่มากหรือน้อยกว่าจำนวนที่ระบุไว้ คู่สัญญายอมให้คิดราคาเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามส่วนในอัตราตารางวาละ 20,000 บาท โดยผู้เช่าซื้อยินยอมชำระราคาเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามวิธีการที่กำหนดไว้ และเมื่อถึงเวลาส่งมอบที่ดินที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์ จำเลยได้ส่งมอบที่ดินให้โจทก์เป็นจำนวนถึง 69 ตารางวา ซึ่งมากกว่าที่ได้ตกลงทำสัญญากันไว้ถึง 1.5 เท่าของเนื้อที่ตามสัญญา ซึ่งโจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่สามารถจะหาเงินมาชำระเพิ่มให้แก่จำเลยได้ กรณีจึงต้องปรับด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. เกี่ยวกับการซื้อขายว่าด้วยการส่งมอบทรัพย์สิน มาตรา 466 ดังนั้น เมื่อเนื้อที่ดินล้ำจำนวนเกินกว่าร้อยละ 5 แห่งเนื้อที่ทั้งหมดที่ระบุไว้ในสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิบอกปัดเสียและเลิกสัญญากับจำเลยได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว นอกจากนี้ตาม ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 5 มาตรา 572 ยังได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องเช่าซื้อไว้ สัญญาเช่าซื้อจึงเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าและสัญญาซื้อขาย จึงสามารถนำบทบัญญัติในลักษณะเช่าทรัพย์และลักษณะซื้อขายมาใช้บังคับได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกัน ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์นำ ป.พ.พ. มาตรา 466 มาปรับใช้กับข้อเท็จจริงในคดีนี้จึงชอบแล้ว
โจทก์มีสิทธิบอกปัดไม่รับที่ดินที่จำเลยส่งมอบให้เกินกว่าจำนวนสัญญาเช่าซื้อและโจทก์ได้ใช้สิทธินั้นแล้วโดยโจทก์ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลย สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นอันเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 ที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ไม่ชำระค่าที่ดินส่วนเกิน จำเลยจึงบอกเลิกสัญญากับโจทก์จึงไม่มีผลแต่ประการใด เนื่องจากจำเลยยังมิได้ให้สิทธิโจทก์ที่จะปัดเสียหรือรับเอาไว้ซึ่งเนื้อที่ดินซึ่งล้ำจำนวน จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาก่อน เมื่อสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์และจำเลยเลิกกันเนื่องจากโจทก์เป็นฝ่ายบอกปัดไม่รับที่ดิน และสัญญาเลิกกันโดยมิใช่ความผิดของฝ่ายโจทก์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิริบเงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระมาแล้ว จำเลยต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระมาแล้วทั้งหมดให้แก่โจทก์ โจทก์ต้องส่งมอบที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคืนแก่จำเลย ส่วนการที่โจทก์ได้ครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เช่าซื้อนับแต่วันที่จำเลยส่งมอบให้โจทก์นั้น ถือเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์ตามมาตรา 391 วรรคสาม การที่โจทก์จะชดใช้คืนย่อมทำได้ด้วยการใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1607/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของรถต่อการประมาทของลูกจ้าง และการระงับหนี้จากการชดใช้ค่าเสียหายบางส่วน
ในคดีแพ่งการวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นเรื่องการชั่งน้ำหนักคำพยานว่า พยานหลักฐานของฝ่ายใดมีน้ำหนักน่าเชื่อกว่าอีกฝ่าย แม้จะไม่มีประจักษ์พยานเบิกความก็ไม่ได้หมายความว่าศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงไม่ได้ โจทก์ผู้รับประกันภัยรถยนต์เก๋งคันที่ถูกบรรทุกชนมีพนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุของโจทก์ เบิกความว่าได้ไปตรวจดูร่องรอยในที่เกิดเหตุและสอบถามพนักงานสอบสวนได้ความว่าผู้ขับรถบรรทุกขับรถโดยประมาทล้ำเข้าไปช่องเดินรถของรถยนต์เก๋ง หลังเกิดเหตุผู้ขับรถบรรทุกหลบหนีไป ส่วนจำเลยที่ 1 เจ้าของรถบรรทุกไม่นำสืบหักล้าง และยังทำบันทึกข้อตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายให้ฝ่ายรถยนต์เก๋ง พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 ซึ่งเบิกความเพียงว่า ที่ต้องทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวก็เพื่อนำรถบรรทุกออกไปใช้งานและเพื่อนของ ส. คนขับรถบรรทุกของจำเลยที่ 1 มาขอยืมรถบรรทุกจากบุตรสาวจำเลยที่ 1 ไปขนไม้เพื่อใช้สร้างบ้านนั้นโดยไม่ปรากฏข้อท้วงติงในบันทึกดังกล่าวว่า เป็นการช่วยเหลือโดยเห็นแก่มนุษยธรรมเพิ่งกล่าวอ้างในภายหลัง จึงฟังได้ว่าผู้ขับรถบรรทุกคันเกิดเหตุขับรถโดยประมาท
ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์เก๋งมีข้อความเพียงว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรถบรรทุกจะซ่อมรถยนต์เก๋งคันที่ผู้ขับรถบรรทุกของจำเลยที่ 1 ขับไปชนให้อยู่ในสภาพเดิมข้อตกลงในส่วนนี้ จึงไม่มีรายละเอียดและข้อตกลงที่แน่นอนเกี่ยวกับจำนวนเงิน วิธีชำระ ตลอดจนระยะเวลาที่แน่นอนอันจะทำให้ปราศจากการโต้แย้งกันอีก และหาได้มีข้อความโดยชัดแจ้งว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาทในส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์คันเกิดเหตุ โดยยอมสละข้อเรียกร้องอื่นทั้งสิ้นแต่อย่างใดไม่ ข้อความในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ มูลหนี้ละเมิดในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสียหายของรถยนต์เก๋งที่เกิดเหตุดังกล่าวจึงยังไม่ระงับ ส่วนการที่จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรถบรรทุกชดใช้เงินค่าเสียหายของรถยนต์เก๋งนั้นเป็นเพียงการชดใช้ค่าเสียหายเพียงบางส่วนตามความรับผิดในสัญญาประกันภัย ไม่ทำให้มูลหนี้ละเมิดระงับ
ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์เก๋งมีข้อความเพียงว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรถบรรทุกจะซ่อมรถยนต์เก๋งคันที่ผู้ขับรถบรรทุกของจำเลยที่ 1 ขับไปชนให้อยู่ในสภาพเดิมข้อตกลงในส่วนนี้ จึงไม่มีรายละเอียดและข้อตกลงที่แน่นอนเกี่ยวกับจำนวนเงิน วิธีชำระ ตลอดจนระยะเวลาที่แน่นอนอันจะทำให้ปราศจากการโต้แย้งกันอีก และหาได้มีข้อความโดยชัดแจ้งว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาทในส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์คันเกิดเหตุ โดยยอมสละข้อเรียกร้องอื่นทั้งสิ้นแต่อย่างใดไม่ ข้อความในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ มูลหนี้ละเมิดในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสียหายของรถยนต์เก๋งที่เกิดเหตุดังกล่าวจึงยังไม่ระงับ ส่วนการที่จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรถบรรทุกชดใช้เงินค่าเสียหายของรถยนต์เก๋งนั้นเป็นเพียงการชดใช้ค่าเสียหายเพียงบางส่วนตามความรับผิดในสัญญาประกันภัย ไม่ทำให้มูลหนี้ละเมิดระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 974/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรต้องไม่ซ้ำกับที่มีการเปิดเผยก่อนหน้า การเพิกถอนสิทธิบัตรและการชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยอุทธรณ์อ้างว่า ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ที่ว่าโจทก์ยังไม่ได้ผลิตรั้วตะแกรงเหล็กสำเร็จรูปตามรูปแบบใหม่ออกจำหน่าย และอีกตอนหนึ่งที่ว่าโจทก์ยังอยู่ขั้นทดลองกระบวนการผลิต โจทก์จึงยังมิได้รับความเสียหายไม่นับเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสิทธิบัตร นั้น เห็นว่า ตามคำบรรยายฟ้องและทางนำสืบที่คู่ความรับกันได้ความว่า จำเลยนำเจ้าพนักงานตำรวจเข้าตรวจค้นและดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ โดยกล่าวหาว่าโจทก์ผลิตสินค้าเลียนสินค้าของจำเลยที่จดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลย เลขที่ 9914, 9915, 9922 และ 9923 กอปรกับคำบรรยายฟ้องของโจทก์ในอีกตอนหนึ่งและที่โจทก์นำสืบยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับแบบผลิตภัณฑ์ที่จำเลยได้รับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวว่ามิใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งหากเป็นจริงย่อมนับว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แบบผลิตภัณฑ์รั้วสำเร็จรูปตามสิทธิบัตรที่พิพาททั้ง 4 ฉบับของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมือนหรือคล้ายกับที่มีการตีพิมพ์อันเป็นการเปิดเผยและแพร่หลายอยู่ก่อนวันขอรับสิทธิบัตรของจำเลยตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 57 (2) การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จดทะเบียนทั้ง 4 ฉบับ จึงไม่ใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตามความหมายของ พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 56 สิทธิบัตรทั้ง 4 ฉบับ ของจำเลยย่อมไม่สมบูรณ์ซึ่งโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนได้ตามมาตรา 64 แพ่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ
แบบผลิตภัณฑ์รั้วสำเร็จรูปตามสิทธิบัตรที่พิพาททั้ง 4 ฉบับของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมือนหรือคล้ายกับที่มีการตีพิมพ์อันเป็นการเปิดเผยและแพร่หลายอยู่ก่อนวันขอรับสิทธิบัตรของจำเลยตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 57 (2) การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จดทะเบียนทั้ง 4 ฉบับ จึงไม่ใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตามความหมายของ พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 56 สิทธิบัตรทั้ง 4 ฉบับ ของจำเลยย่อมไม่สมบูรณ์ซึ่งโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนได้ตามมาตรา 64 แพ่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7515/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทของศาลอุทธรณ์ และการหักชดใช้ค่าเสียหายจากสัญญาประกันภัย
ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสามแถลงสละประเด็นตามคำให้การและตามที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานไว้ ขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่า โจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายเพียงใด ดังนั้น คดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 3 หลุดพ้นความรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 เนื่องจากมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อกันหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 3 มาวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์ที่ 1 สำหรับจำเลยที่ 3 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในส่วนนี้จึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาวินิจฉัยตามประเด็นที่ถูกต้อง โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาใหม่ได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาเพียงว่า ขอให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาจำนวน 200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (2) (ก)
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาเพียงว่า ขอให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาจำนวน 200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (2) (ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7017/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อทางการค้าซ้ำกันละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้จำกัดขอบเขตการชดใช้ค่าเสียหาย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ใช้คำว่า "ยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ส (Universal Pictures) ชื่อบริษัทในเครือเป็นชื่อทางการค้า และจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการไว้ในต่างประเทศ ก่อนที่จำเลยที่ 1 เริ่มใช้ชื่อนิติบุคคลของตน และจำเลยที่ 2 ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ซึ่งโจทก์ดำเนินธุรกิจการค้าครอบคลุมไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย โดยมีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าด้วย โจทก์จึงมีสิทธิในชื่อทางการค้าคำว่า "ยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ส (Universal Pictures)" ในประเทศไทยดีกว่าจำเลยที่ 1 และเมื่อจำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจเช่นเดียวกับโจทก์ ทั้งยังมีการใช้คำว่า "ยูนิเวอร์แซล" ในการดำเนินธุรกิจ การที่จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อนิติบุคคลว่า "บริษัทยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ส (ไทยแลนด์) จำกัด" จึงทำให้โจทก์เสื่อมเสียประโยชน์ ส่วนที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "UPT Universal Pictures (Thailand) Co., Ltd." ซึ่งมีคำว่า "ยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ส (Universal Pictures) รวมอยู่ด้วย ย่อมจะทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดเข้าใจได้ว่า จำเลยที่ 1 มีส่วนเกี่ยวข้องทางการค้ากับโจทก์ โจทก์ในฐานะที่ใช้ชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า และเครื่องหมายบริการในคำว่า "ยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ส (Universal Pictures)" มาก่อน ย่อมจะมีสิทธิห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ใช้คำดังกล่าวเป็นชื่อนิติบุคคลได้ แม้ปัจจุบันนี้โจทก์จะไม่ได้จดทะเบียนสาขาชื่อเดียวกันในประเทศไทย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าโจทก์จะไม่มีการประกอบธุรกิจการค้าในประเทศไทย อันจะทำให้เป็นการไม่มีการแข่งขันกับกิจการของโจทก์สำหรับการพิจารณาว่าสาธารณชนเกิดความสับสนหลงผิดหรือไม่ นั้น ศาลย่อมพิจารณาพยานหลักฐานต่าง ๆ ตามที่ปรากฏในสำนวน รวมทั้งคำเบิกความของพยานบุคคลและวินิจฉัยได้โดยไม่จำต้องรับฟังเฉพาะความรู้สึกหรือความเข้าใจของพยานบุคคลที่นำเข้าสืบเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อจำเลยที่ 1 โดยห้ามใช้คำว่า "ยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ส" และอักษรโรมันคำว่า "Universal Pictures" กับชื่อนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 นั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 เพียงแต่ให้สิทธิโจทก์ร้องขอต่อศาลสั่งห้ามจำเลยที่ 1 ใช้ชื่อนิติบุคคลคำว่า "ยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ส" และอักษรโรมันคำว่า "Universal Pictures" เป็นส่วนหนึ่งของชื่อนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 เท่านั้น มิได้ให้สิทธิแก่โจทก์ในการบังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 และไม่อาจกระทำได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5) เป็นเหตุให้ไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้โจทก์นับจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง คงบังคับให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้โจทก์จนกระทั่งจำเลยที่ 1 ยุติการใช้คำว่า "ยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ส" และอักษรโรมันคำว่า "Universal Pictures" เป็นส่วนหนึ่งของชื่อนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 เท่านั้น
อนึ่งโจทก์แก้อุทธรณ์โดยขอให้แก้ไขคำพิพากษาที่ยกคำขอของโจทก์ที่ขอให้จำเลยที่ 1 เพิกถอนชื่อนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 ออกจากทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกับขอให้จำเลยที่ 2 ถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวและให้เหตุผลไว้โดยชัดแจ้งแล้ว หากโจทก์ไม่เห็นด้วยหรือเห็นว่าเป็นคำพิพากษาที่ไม่ถูกต้องและต้องการขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้ไขในประเด็นดังกล่าว โจทก์ต้องยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง มิใช่เพียงตั้งประเด็นมาในคำแก้อุทธรณ์ ทั้งกรณีหาใช่เป็นเรื่องที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตามที่โจทก์กล่าวอ้างด้วย
อย่างไรก็ตาม ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อจำเลยที่ 1 โดยห้ามใช้คำว่า "ยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ส" และอักษรโรมันคำว่า "Universal Pictures" กับชื่อนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 นั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 เพียงแต่ให้สิทธิโจทก์ร้องขอต่อศาลสั่งห้ามจำเลยที่ 1 ใช้ชื่อนิติบุคคลคำว่า "ยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ส" และอักษรโรมันคำว่า "Universal Pictures" เป็นส่วนหนึ่งของชื่อนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 เท่านั้น มิได้ให้สิทธิแก่โจทก์ในการบังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 และไม่อาจกระทำได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5) เป็นเหตุให้ไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้โจทก์นับจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง คงบังคับให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้โจทก์จนกระทั่งจำเลยที่ 1 ยุติการใช้คำว่า "ยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ส" และอักษรโรมันคำว่า "Universal Pictures" เป็นส่วนหนึ่งของชื่อนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 เท่านั้น
อนึ่งโจทก์แก้อุทธรณ์โดยขอให้แก้ไขคำพิพากษาที่ยกคำขอของโจทก์ที่ขอให้จำเลยที่ 1 เพิกถอนชื่อนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 ออกจากทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกับขอให้จำเลยที่ 2 ถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวและให้เหตุผลไว้โดยชัดแจ้งแล้ว หากโจทก์ไม่เห็นด้วยหรือเห็นว่าเป็นคำพิพากษาที่ไม่ถูกต้องและต้องการขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้ไขในประเด็นดังกล่าว โจทก์ต้องยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง มิใช่เพียงตั้งประเด็นมาในคำแก้อุทธรณ์ ทั้งกรณีหาใช่เป็นเรื่องที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตามที่โจทก์กล่าวอ้างด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8629/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลต้องพิจารณาสั่งให้รับกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ได้กำหนดขั้นตอนให้ศาลแรงงานสั่งเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ สั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง แต่ถ้าศาลแรงงานเห็นว่า ลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ก็ให้ศาลแรงงานกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้ให้แทน ซึ่งการที่นายจ้างจะรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปนั้นมิใช่พิจารณาเพียงความสามารถของนายจ้างที่จะรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปเท่านั้นจะต้องพิจารณาด้วยว่า นายจ้างกับลูกจ้างนั้นมีความเข้าใจอันดีต่อกัน และจะสามารถกลับไปทำงานร่วมกันได้โดยไม่เป็นปัญหาแก่ทั้งสองฝ่าย หากพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้จึงจะกำหนดค่าเสียหายให้แทน ซึ่งการกำหนดค่าเสียหายนี้ศาลแรงงานจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบอย่างอื่นเกี่ยวกับลูกจ้างดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ประกอบการพิจารณาด้วย เมื่อศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า ในระหว่างการพิจารณาคดีโจทก์ได้ทำงานกับนายจ้างอื่นแล้วจึงไม่พิจารณาข้อที่โจทก์ขอกลับเข้าทำงานอีก เป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า ลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งศาลแรงงานจะต้องดำเนินการตามที่ พระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติไว้โดยให้ศาลแรงงานกลางกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้ให้แทนการที่ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัยว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแล้วไม่กำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ โดยเห็นว่าจำเลยยินยอมจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และดอกเบี้ยแก่โจทก์แล้วประกอบกับที่โจทก์ได้งานใหม่ทำแล้วภายหลังถูกเลิกจ้างเพียงหนึ่งเดือนจึงไม่ได้รับความเสียหายนั้นเป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7552/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากละเมิดของลูกจ้าง: เริ่มนับเมื่อนายจ้างชำระค่าสินไหมทดแทน
กำหนดอายุความตามกฎหมายต้องเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า ท. ซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์กระทำละเมิดในทางการที่จ้างเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของบุคคลอื่นได้รับความเสียหาย และโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามคำพิพากษาให้แก่บริษัท ว. และ ธ. ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2540 จึงเป็นกรณีที่นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 ซึ่งเป็นบทบัญญัติถึงหน้าที่และความรับผิดของนายจ้างที่ต้องร่วมกับลูกจ้างรับผิดต่อความเสียหายที่บุคคลภายนอกได้รับจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างเท่านั้น แต่ในระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง สิทธิของนายจ้างและหน้าที่ของลูกจ้างจะพึงมีต่อกันเพียงใดต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 426 ที่บัญญัติว่า นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น ดังนั้น เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษา โจทก์จึงทราบจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ต้องชำระแก่บริษัท ว. และ ธ. และได้ชำระค่าสินไหมทดแทนไปเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2540 อันเป็นเวลาภายหลังจากที่ ท. ถึงแก่ความตาย เมื่อ ท. ตาย หนี้อันเกิดจากมูลละเมิดที่ ท. ทำไว้ก่อนตายจึงเป็นมรดกตกแก่จำเลยทั้งสามผู้เป็นทายาทโดยธรรม สิทธิที่โจทก์จะได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคืนจากจำเลยทั้งสามเพิ่งจะเกิดขึ้นเมื่อโจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทน คือวันที่ 31 มีนาคม 2540 และสิทธิเรียกร้องให้ลูกจ้างชดใช้คืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 426 ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความสิบปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 แม้ ท. ตายและหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดที่ ท. กระทำไว้ก่อนตายจะเป็นมรดกตกแก่จำเลยทั้งสามผู้เป็นทายาทโดยธรรมก็นำอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสี่ ซึ่งเป็นเรื่องอายุความสิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้มีต่อเจ้ามรดกมาใช้แก่กรณีนี้ไม่ได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสามในวันที่ 29 กันยายน 2547 ยังไม่พ้นสิบปีนับแต่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาแก่ ท. ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5953/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าจ้างจากลูกจ้างเพื่อชดใช้ค่าเสียหาย ต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร และใช้บังคับเฉพาะเมื่อยังเป็นนายจ้าง-ลูกจ้าง
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 76 วรรคแรก และมาตรา 77 ให้นายจ้างจะหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดได้ก็เฉพาะกรณีเข้าข้อยกเว้นตามที่บัญญัติไว้เท่านั้น สำหรับกรณีหักเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้างซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงซึ่งเป็นไปตามข้อยกเว้น จะหักได้ก็ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากลูกจ้างโดยนายจ้างต้องจัดทำเป็นหนังสือและให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในการยินยอมหรือมีข้อตกลงกันไว้ให้ชัดเจนเป็นการเฉพาะอีกด้วย ดังนั้น การห้ามหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ใช้บังคับเฉพาะในกรณีที่คู่สัญญายังคงมีสภาพเป็นนายจ้างลูกจ้างกันอยู่เท่านั้น เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ไปก่อนแล้ว ทั้งมิได้ฟ้องแย้งขอหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด แต่ฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการทำงานซึ่งเกิดขึ้นก่อนที่จำเลยละเลิกจ้างโจทก์ ซึ่งเป็นคนละกรณีกัน จึงนำบทบัญญัติดังกล่าวมาปรับใช้อ้างเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5953/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าจ้างจากลูกจ้างเพื่อชดใช้ค่าเสียหาย ต้องมีหลักฐานความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร และใช้ได้เฉพาะช่วงที่ยังมีสถานะนายจ้าง-ลูกจ้าง
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 วรรคแรกบัญญัติว่า "ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่างานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ...(4) เป็นเงินประกันตามมาตรา 10 หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง (5)..." และมาตรา 77 บัญญัติว่า "ในกรณีที่นายจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือมีข้อตกลงกับลูกจ้างเกี่ยวกับการจ่ายเงินตามมาตรา 54 มาตรา 55 หรือการหักเงินตามมาตรา 76 นายจ้างต้องจัดทำเป็นหนังสือและให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในการให้ความยินยอมหรือมีข้อตกลงกันไว้ให้ชัดเจนเป็นการเฉพาะ" จากบทบัญญัติดังกล่าวทำให้เห็นเจตนารมณ์ได้ว่า การห้ามนายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดก็เพื่อคุ้มครองลูกจ้างไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนเพราะถูกหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด อันจะทำให้รายได้จากการทำงานลดลง และลูกจ้างอาจหมดกำลังใจในการทำงานที่ไม่ได้รับเงินเต็มเม็ดเต็มหน่วย โดยนายจ้างจะหักได้ก็เฉพาะกรณีเข้าข้อยกเว้นตามที่บัญญัติไว้เท่านั้น และสำหรับกรณีหักเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้างซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงซึ่งเป็นไปตามข้อยกเว้น จะหักได้ก็ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากลูกจ้างโดยนายจ้างต้องจัดทำเป็นหนังสือและให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในการยินยอมหรือมีข้อตกลงกันไว้ให้ชัดเจนเป็นการเฉพาะอีกด้วย เมื่อพิเคราะห์เจตนารมณ์ของการห้ามหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดดังกล่าว ประกอบกับข้อที่ว่านายจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างด้วยแล้ว ทำให้เข้าใจได้ว่า การห้ามหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดใช้บังคับเฉพาะในกรณีที่คู่สัญญายังคงมีสภาพเป็นนายจ้างลูกจ้างกันอยู่เท่านั้น คดีนี้ในขณะที่จำเลยฟ้องแย้ง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไปก่อนแล้ว ทั้งจำเลยมิได้ฟ้องแย้งขอหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด แต่ฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการทำงานซึ่งเกิดขึ้นก่อนที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ ซึ่งเป็นคนละกรณีกัน จึงนำบทบัญญัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 และมาตรา 77 มาปรับใช้อ้างเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยไม่ได้ แต่ศาลแรงงานกลางมิได้ฟังข้อเท็จจริงมาให้ชัดเจนว่าน้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำอัดลมบรรจุขวดที่บริษัท ท. และบริษัท น. ส่งมอบให้จำเลยแล้วมีมูลค่าเท่าใด ยังค้างชำระอยู่อีกเท่าใด ซึ่งศาลฎีกาไม่มีอำนาจกระทำได้ จึงต้องส่งสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาต่อไป