พบผลลัพธ์ทั้งหมด 519 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากทุจริต/ประมาทเลินเล่อ และสิทธิในเงินทุนเลี้ยงชีพ ความสำคัญของข้อเท็จจริงและการตีความระเบียบ
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าตามคำเบิกความของพยานทุกปากไม่มีผู้ใดยืนยันว่าโจทก์ทราบมาก่อนว่า อ. เคยทุจริตต่อหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน พยานโจทก์ทุกปากยืนยันว่าโจทก์ไม่ทราบ คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางที่ว่าโจทก์ทราบเรื่องนี้จึงขัดต่อพยานหลักฐานในสำนวนนั้น ปัญหาว่าโจทก์ทราบข้อที่ อ. เคยทุจริตต่อหน้ามาก่อนจริงหรือไม่ ศาลควรรับฟังคำพยานผู้ใด ฝ่ายใด เป็นดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ระเบียบปฏิบัติงานภาคการพนักงานฯ ระบุว่าพนักงานที่ออกจากงานมีสิทธิได้รับเงินทุนเลี้ยงชีพเว้นแต่ "ออกจากงานเพราะกระทำการทุจริตในหน้าที่หรือ เพราะกระทำการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือเพราะเกียจคร้านไม่ตั้งใจปฏิบัติงานเป็นเหตุให้ธนาคารต้องเสียหายและคณะกรรมการธนาคารเห็นว่า ไม่สมควรจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพให้" นั้น เห็นได้ว่า กรณีการทุจริตให้หน้าที่หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นความผิดชั้นร้ายแรงไม่จำต้องให้คณะกรรมการธนาคารพิจารณา ส่วนการเกียจคร้านไม่ตั้งใจปฏิบัติงานมิใช่ความผิดขั้นร้ายแรงจึงต้องให้คณะกรรมการธนาคารพิจารณาอีกชั้นหนึ่งว่าสมควรให้เงินทุนเลี้ยงชีพแก่พนักงานผู้นั้นหรือไม่
ระเบียบปฏิบัติงานภาคการพนักงานฯ ระบุว่าพนักงานที่ออกจากงานมีสิทธิได้รับเงินทุนเลี้ยงชีพเว้นแต่ "ออกจากงานเพราะกระทำการทุจริตในหน้าที่หรือ เพราะกระทำการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือเพราะเกียจคร้านไม่ตั้งใจปฏิบัติงานเป็นเหตุให้ธนาคารต้องเสียหายและคณะกรรมการธนาคารเห็นว่า ไม่สมควรจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพให้" นั้น เห็นได้ว่า กรณีการทุจริตให้หน้าที่หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นความผิดชั้นร้ายแรงไม่จำต้องให้คณะกรรมการธนาคารพิจารณา ส่วนการเกียจคร้านไม่ตั้งใจปฏิบัติงานมิใช่ความผิดขั้นร้ายแรงจึงต้องให้คณะกรรมการธนาคารพิจารณาอีกชั้นหนึ่งว่าสมควรให้เงินทุนเลี้ยงชีพแก่พนักงานผู้นั้นหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานเนื่องจากทุจริต ประมาทเลินเล่อ และขาดความไว้วางใจ ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า พยานโจทก์ไม่ยืนยันว่าโจทก์ทราบมาก่อนว่า อ.เคยทุจริตต่อหน้าที่เกี่ยวกับการเงินแต่กลับยืนยันว่าโจทก์ไม่ทราบคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางที่ว่าโจทก์ทราบเรื่องนี้ จึงขัดต่อพยานหลักฐานในสำนวนนั้นปัญหาว่าโจทก์ทราบข้อที่ อ. เคยทุจริตต่อหน้าที่มาก่อนจริงหรือไม่ ศาลควรรับฟังคำพยานผู้ใด ฝ่ายใด เป็นดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเป็นข้อเท็จจริงอุทธรณ์โจทก์ฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ระเบียบปฏิบัติงานภาคการพนักงาน ภาค 2 มีว่า ออกจากงานเพราะกระทำการทุจริตต่อหน้าที่ หรือเพราะกระทำการประมาท เลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือเพราะเกียจคร้านไม่ตั้งใจปฏิบัติงานเป็นเหตุให้ธนาคารต้องเสียหาย และคณะกรรมการ ธนาคารเห็นว่าไม่สมควรจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพให้ ความตอนท้าย เป็นหลักเกณฑ์ที่นำไปประกอบการพิจารณาการกระทำผิดข้อที่เกียจคร้านไม่ตั้งใจปฏิบัติงานโดยเฉพาะเท่านั้น เพราะไม่ใช่ ความผิดร้ายแรง สมควรต้องพิจารณาอีกชั้นหนึ่งว่าสมควร จะให้เงินทุนเลี้ยงชีพหรือไม่ ส่วนกระทำผิดทุจริตต่อ หน้าที่และการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นความผิดร้ายแรงไม่จำต้องให้คณะกรรมการพิจารณาว่าจะจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพ หรือไม่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินผู้อื่น: การลดโทษจากความผิดตามมาตรา 220 เป็นมาตรา 225
จำเลยจุดไฟเมื่อเวลาประมาณ10.00นาฬิกาแต่เพลิงได้ลามไปไหม้บ้านบุคคลอื่นซึ่งปลูกอยู่ใกล้เคียงกันตอนบ่าย3โมงระยะเวลาห่างกันหลายชั่วโมง แสดงว่าไม่มีลักษณะที่น่ากลัวจะเป็นอันตรายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่นแต่เป็นเรื่องที่จำเลยตั้งอยู่ในความประมาทไม่คอยควบคุมดูแลให้เพลิงลุกไหม้อยู่ภายในขอบเขตที่จำกัดเพลิงจึงได้ลามเข้าไปยังนาข้างเคียงและก่อให้เกิดความสูญเสียขึ้นเมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามป.อ.มาตรา220ดังกล่าวแล้วก็ไม่อาจลงโทษจำเลยตามมาตรานี้อันเป็นบทหนักได้การกระทำของจำเลยเป็นเรื่องขาดความระมัดระวังจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้อื่นเป็นความผิดตามมาตรา225.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2816/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าหน้าที่และนิติบุคคลต่อความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อในการส่งโทรเลข
ตามพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ที่บัญญัติให้ใช้พระราชบัญญัติโทรเลขและโทรศัพท์ พุทธศักราช 2477 เท่าที่ไม่ขัดหรือแย่งกันนั้น ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติโทรเลขและโทรศัพท์ดังกล่าวบัญญัติว่า "รัฐบาลไม่ต้องรับผิดในการสูญหายหรือเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งหากเกิดขึ้นเพราะเหตุที่เครื่องโทรเลขใช้การไม่สะดวก หรือพนักงานโทรเลขคนใดบกพร่องต่อหน้าที่อันเกี่ยวแก่การรับส่ง หรือการส่งมอบข่าวสารใด ๆ และพนักงานนั้น ๆ ก็ไม่ต้องรับผิดชอบในการสูญหายหรือเสียหายนั้น ๆ เว้นแต่ตนจะก่อให้เกิดขึ้นโดยเจตนาหรือโดยกลฉ้อฉล หรือโดยความประมาทเลินเล่อ"แสดงว่าจำเลยจะไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ก็ต่อเมื่อเป็นการกระทำที่เกิดจากปฏิบัติหน้าที่ตามปกติของจำเลย ข้อยกเว้นความรับผิดดังกล่าวไม่รวมถึงการที่พนักงานโทรเลขก่อให้เกิดขึ้นโดยเจตนาหรือโดยกลฉ้อฉลหรือโดยความประมาทเลินเล่อ เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 1และจำเลยที่ 2 จึงไม่ได้รับยกเว้นความรับผิดตามกฎหมายดังกล่าว
แม้จำเลยที่ 1 จะมิใช่ลูกจ้างหรือตัวแทนของการสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 1 ก็เป็นพนักงานในสังกัดของจำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่การงานตามที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลและเป็นผู้บังคับบัญชาเมื่อจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่การงานโดยประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์ ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 ต้องร่ามรับผิดด้วย
การที่โจทก์ได้รับความเศร้าโศกเสียใจ เนื่องจากได้รับโทรเลขที่จำเลยที่ 1ปรุข้อความผิดเป็นว่าบุตรสาวโจทก์ถึงแก่กรรมแล้วนั้น ความเศร้าโศกเสียใจของโจทก์เป็นเพียงอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อทราบข่าวร้าย ไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติให้สิทธิโจทก์เรียกค่าเสียหายในเรื่องนี้ได้
แม้จำเลยที่ 1 จะมิใช่ลูกจ้างหรือตัวแทนของการสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 1 ก็เป็นพนักงานในสังกัดของจำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่การงานตามที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลและเป็นผู้บังคับบัญชาเมื่อจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่การงานโดยประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์ ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 ต้องร่ามรับผิดด้วย
การที่โจทก์ได้รับความเศร้าโศกเสียใจ เนื่องจากได้รับโทรเลขที่จำเลยที่ 1ปรุข้อความผิดเป็นว่าบุตรสาวโจทก์ถึงแก่กรรมแล้วนั้น ความเศร้าโศกเสียใจของโจทก์เป็นเพียงอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อทราบข่าวร้าย ไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติให้สิทธิโจทก์เรียกค่าเสียหายในเรื่องนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นนอกฟ้อง: ศาลมิอาจวินิจฉัยประเด็นความประมาทเลินเล่อของผู้เลี้ยงดู หากมิได้ยกขึ้นเป็นประเด็นในคำฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า พ. บุตรโจทก์ถูกจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ทำร้ายจนถึงแก่ความตาย ขอให้จำเลยที่ 1ที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ในฐานะบิดามารดาผู้ปกครองจำเลยที่ 3 และในฐานะที่เป็นผู้รับจ้างเลี้ยงดู พ. ไม่ระมัดระวังตามหน้าที่และวิชาชีพปล่อยปละละเลยให้ พ. ถูกทำร้าย ดังนี้ ข้อสำคัญอันเป็นมูลให้โจทก์ฟ้องก็คือจำเลยที่ 3 ทำร้าย พ. เท่านั้นหาได้เลยไปถึงกรณี พ.หกล้มเองไม่ประเด็นที่ว่าพ. หกล้มจนขาหักเป็นเพราะจำเลยที่ 1 ที่ 2 ในฐานะผู้รับจ้างเลี้ยงดูประมาทเลินเล่อหรือไม่จึงไม่มี การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า พ. หกล้มเอง มิใช่ถูกจำเลยที่ 3 ทำร้าย แต่พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์เพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ใช้ความระมัดระวังดูแลรักษา พ. ตามควรแก่หน้าที่ จึง เป็นการพิพากษาในประเด็นที่เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 56/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีละเมิด: เพียงแสดงการกระทำโดยประมาทเลินเล่อก็เพียงพอแล้ว
การฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดอันเกิดจากความประมาทเลินเล่อในคดีแพ่งนั้น ต่างกับการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานกระทำผิดอาญาโดยประมาทซึ่งโจทก์จะต้องบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดโดยแน่ชัด สำหรับคดีแพ่ง เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องแสดงว่าการละเมิดของผู้ทำละเมิดเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก็พอทำให้เข้าใจได้แล้วว่าข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาโจทก์มีอย่างไร
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกเรืออวนลากสูงกว่ากฎหมายกำหนดและด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังในการขับรถ เป็นเหตุให้เรืออวนลากซึ่งบรรทุกอยู่บนรถชนสายโทรศัพท์และเสาโทรศัพท์ของโจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์แล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกเรืออวนลากสูงกว่ากฎหมายกำหนดและด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังในการขับรถ เป็นเหตุให้เรืออวนลากซึ่งบรรทุกอยู่บนรถชนสายโทรศัพท์และเสาโทรศัพท์ของโจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 56/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีละเมิดจากความประมาทเลินเล่อ: เพียงแสดงการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก็เพียงพอแล้ว
การฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดอันเกิดจากความประมาทเลินเล่อในคดีแพ่งนั้น ต่างกับการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานกระทำผิดอาญาโดยประมาทซึ่งโจทก์จะต้องบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดโดยแน่ชัดสำหรับคดีแพ่ง เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องแสดงว่าการละเมิดของผู้ทำละเมิดเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก็พอทำให้เข้าใจได้แล้วว่าข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาโจทก์มีอย่างไร
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกเรืออวนลากสูงกว่ากฎหมายกำหนดและด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังในการขับรถ เป็นเหตุให้เรืออวนลากซึ่งบรรทุกอยู่บนรถชนสายโทรศัพท์และเสาโทรศัพท์ของโจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์แล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกเรืออวนลากสูงกว่ากฎหมายกำหนดและด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังในการขับรถ เป็นเหตุให้เรืออวนลากซึ่งบรรทุกอยู่บนรถชนสายโทรศัพท์และเสาโทรศัพท์ของโจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3489/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหัวหน้าแผนกการเงินต่อการทุจริตของลูกน้อง และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 4 เป็นพนักงานของโจทก์ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกการเงินมีหน้าที่รับผิดชอบในการรับเงินและจ่ายเงินให้ถูกต้อง ตลอดจนการฝากเงิน ถอนเงินธนาคาร และรวบรวมเงินที่คงเหลือทุกวันส่งผู้ช่วยหัวหน้ากองบัญชีและการคลัง ฝ่ายการเงิน เพื่อตรวจสอบและเก็บรักษาไว้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นพนักงานการเงินของโจทก์และเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำเลยที่ 4 ได้ร่วมกันกระทำการทุจริตเงินที่ผ่านเข้ามาในแผนกการเงินตามสายงานหลายครั้งต่อเนื่องกันเป็นเวลาประมาณหนึ่งเดือน ทำให้เงินของโจทก์ขาดหายไปรวม 1,394,049.85 บาท วิธีการทุจริตส่วนใหญ่เป็นเรื่องรับเงินมาแล้วไม่ลงบัญชี ไม่ออกใบรับเงิน ทำหลักฐานว่านำเงินไปฝากธนาคารแต่ความจริงไม่ได้ฝาก พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 เหล่านี้ถ้าหากจำเลยที่ 4 ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามคำสั่งของโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ก็ไม่อาจทุจริตได้ การที่จำเลยที่ 4 ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ตนมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติ จนเป็นเหตุให้เงินของโจทก์ขาดหายไปโดยการทุจริตของผู้ใต้บังคับบัญชาเช่นนี้ เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 4 จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 มาตรา 29 บัญญัติให้ผู้ว่าการเป็นผู้บริหารกิจการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้เป็นไปตามนโยบายที่คณะกรรมการกำหนดและมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานทุกตำแหน่ง มาตรา 30 บัญญัติว่า ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้ผู้ว่าการเป็นผู้กระทำในนามของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และเป็นผู้กระทำการแทนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ส่วนคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนั้นมาตรา 23 บัญญัติให้มีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลกิจการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดังนี้ การบริหารก็คือการปกครองและดำเนินการหรือการจัดการ และการฟ้องคดีในนามของนิติบุคคลก็คือการจัดการหรือการดำเนินการนั่นเอง หาใช่การควบคุมดูแลกิจการของนิติบุคคลไม่ อำนาจฟ้องในนามของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจึงเป็นอำนาจของผู้ว่าการไม่ใช่อำนาจของคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ผู้ว่าการของโจทก์จึงมีอำนาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีในนามของโจทก์ได้
เดิมโจทก์มีคำสั่งจ้างจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างรายวัน ต่อมาจึงได้มีคำสั่งบรรจุและแต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของโจทก์ จำเลยที่ 7ที่ 8 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์เมื่อจำเลยที่ 2 เข้าทำงาน เป็นลูกจ้างรายวัน เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับการบรรจุและ แต่งตั้งเป็นพนักงานประจำแล้วมิได้มีการทำสัญญาค้ำประกันใหม่อีก คดีได้ความว่าลูกจ้างชั่วคราวที่ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานจะต้อง ยื่นใบสมัครและ ทำสัญญาค้ำประกันอีก เช่นนี้ ที่จำเลยที่ 7 ที่ 8 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ไว้นั้น คู่สัญญามีเจตนา ให้จำเลยที่ 7 ที่ 8 ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ในฐานะลูกจ้างรายวันเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานประจำ ไม่ได้มีการทำสัญญาค้ำประกันใหม่อีก และจำเลยที่ 2 ทำละเมิด ต่อโจทก์ในระหว่างเป็นพนักงานประจำ โจทก์จะนำสัญญาค้ำประกัน ดังกล่าวมาเป็นข้ออ้างให้จำเลยที่ 7 ที่ 8 รับผิดต่อโจทก์ในฐานะ ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ไม่ได้
ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 มาตรา 29 บัญญัติให้ผู้ว่าการเป็นผู้บริหารกิจการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้เป็นไปตามนโยบายที่คณะกรรมการกำหนดและมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานทุกตำแหน่ง มาตรา 30 บัญญัติว่า ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้ผู้ว่าการเป็นผู้กระทำในนามของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และเป็นผู้กระทำการแทนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ส่วนคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนั้นมาตรา 23 บัญญัติให้มีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลกิจการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดังนี้ การบริหารก็คือการปกครองและดำเนินการหรือการจัดการ และการฟ้องคดีในนามของนิติบุคคลก็คือการจัดการหรือการดำเนินการนั่นเอง หาใช่การควบคุมดูแลกิจการของนิติบุคคลไม่ อำนาจฟ้องในนามของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจึงเป็นอำนาจของผู้ว่าการไม่ใช่อำนาจของคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ผู้ว่าการของโจทก์จึงมีอำนาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีในนามของโจทก์ได้
เดิมโจทก์มีคำสั่งจ้างจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างรายวัน ต่อมาจึงได้มีคำสั่งบรรจุและแต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของโจทก์ จำเลยที่ 7ที่ 8 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์เมื่อจำเลยที่ 2 เข้าทำงาน เป็นลูกจ้างรายวัน เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับการบรรจุและ แต่งตั้งเป็นพนักงานประจำแล้วมิได้มีการทำสัญญาค้ำประกันใหม่อีก คดีได้ความว่าลูกจ้างชั่วคราวที่ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานจะต้อง ยื่นใบสมัครและ ทำสัญญาค้ำประกันอีก เช่นนี้ ที่จำเลยที่ 7 ที่ 8 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ไว้นั้น คู่สัญญามีเจตนา ให้จำเลยที่ 7 ที่ 8 ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ในฐานะลูกจ้างรายวันเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานประจำ ไม่ได้มีการทำสัญญาค้ำประกันใหม่อีก และจำเลยที่ 2 ทำละเมิด ต่อโจทก์ในระหว่างเป็นพนักงานประจำ โจทก์จะนำสัญญาค้ำประกัน ดังกล่าวมาเป็นข้ออ้างให้จำเลยที่ 7 ที่ 8 รับผิดต่อโจทก์ในฐานะ ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3109-3110/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การประมาทเลินเล่อของผู้จัดการ และภาระภาษีของนายจ้าง
ข้อที่โจทก์อุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางรับฟังพยานหลักฐานไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยรับฟังพยานยังไม่ครบถ้วน ข้อเท็จจริงยังไม่ยุติ ขอให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่ โดยอ้างว่าโจทก์มีทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารสนับสนุน เป็นการอุทธรณ์ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาในศาลแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
บริษัทโจทก์ไม่ได้วางระเบียบในการจัดเก็บรักษากุญแจตู้นิรภัยและการใช้รหัสตู้นิรภัย เมื่อจำเลยดำรงตำแหน่งผู้จัดการภัตตาคารของบริษัทโจทก์แล้วก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้จัดการคนก่อน จำเลยไม่ได้สั่งงดใช้รหัสตู้นิรภัย ภัตตาคารเปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง ส่วนจำเลยและ น. ทำงานเฉพาะเวลาทำงานปกติ หยุดวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดตามประเพณี พนักงานที่ผลัดเปลี่ยนกันทำงานไม่มีวันหยุดคนหนึ่งเคยถูกคนร้ายชิงทรัพย์ แต่บังเอิญมิได้นำกุญแจตู้นิรภัยติดตัวไปด้วย จึงตกลงกันว่าไม่เอากุญแจตู้นิรภัยกลับบ้าน จำเลยสั่งให้เก็บกุญแจตู้นิรภัยไว้ในลิ้นชักโต๊ะของจำเลย นอกจากนี้พนักงานตรวจสอบของบริษัทโจทก์ซึ่งมาตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านการเงินของภัตตาคารก็ไม่ได้ทักท้วงหรือสั่งให้แก้ไขวิธีการในการเก็บรักษาเงินของบริษัทโจทก์ ฉะนั้นการที่จำเลยเก็บกุญแจตู้นิรภัยไว้ในลิ้นชักโต๊ะทำงานของจำเลยโดยไม่ให้ผู้มีหน้าที่เปิดปิดตู้นิรภัยนำกุญแจตู้นิรภัยติดตัวกลับบ้าน จึงเป็นการใช้ความระมัดระวังตามที่วิญญูชนพึงกระทำแล้ว จำเลยไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์
ค่าจ้างหมายถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน แม้จำเลยจะเป็นลูกจ้างรายเดือน แต่เมื่อโจทก์เลิกจ้างจำเลยตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2524 ภายหลังจากวันที่ 15 ตุลาคม 2524 จำเลยถูกเลิกจ้างแล้ว จึงไม่ได้เป็นลูกจ้างของโจทก์อีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีหน้าที่จะต้องจ่ายค่าจ้างให้จำเลยอีก
คู่มือพนักงานของบริษัทโจทก์มีความว่าบริษัทโจทก์จะพิจารณาจ่ายเงินรางวัลประจำปีแก่พนักงานในเดือนธันวาคมของทุกปี แสดงว่าโจทก์จะพิจารณาจ่ายเงินดังกล่าวให้เฉพาะพนักงานที่มีตัวทำงานอยู่ในเดือนธันวาคมเท่านั้น จำเลยถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2524จึงไม่มีสิทธิรับเงินโบนัสหรือเงินรางวัล และเมื่อตามคู่มือพนักงานของบริษัทโจทก์มีข้อความว่า บริษัทจะรับภาระเสียภาษีเงินได้ทั้งหมดที่พนักงานได้รับจากบริษัท โดยบริษัทจะแจ้งยอดเงินการเสียภาษีให้พนักงานได้ทราบภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป ข้อความตอนท้ายที่ว่าบริษัทจะแจ้งยอดการเสียภาษีให้พนักงานทราบภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไปแสดงอยู่ในตัวว่า เงินได้ทั้งหมดที่โจทก์รับภาระจะเสียภาษีให้จำเลยนั้นต้องเป็นยอดรายได้ที่จำเลยได้รับจากโจทก์ทั้งหมดในแต่ละปี เฉพาะในปีที่โจทก์เลิกจ้างจำเลย จำเลยมีสิทธิได้รับเงินจากโจทก์คือค่าจ้างค้างจ่าย ค่าทำงานในวันหยุดโจทก์จึงต้องรับภาระเสียภาษีเงินได้ในเงินจำนวนดังกล่าวให้จำเลย แต่ค่าชดเชย เงินบำเหน็จ และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นผลของการเลิกจ้างไม่ใช่รายได้ที่จำเลยได้รับในแต่ละปี โจทก์จึงไม่ต้องรับภาระเสียภาษีเงินได้ในเงินทั้งสามจำนวน
ในฐานะที่จำเลยเป็นผู้จัดการภัตตาคาร ย่อมมีหน้าที่ปกปักษ์รักษาทรัพย์ของนายจ้าง หากทางปฏิบัติของผู้จัดการคนก่อน ๆ มาไม่รัดกุมพอ มีช่องทางที่จะเกิดความเสียหายขึ้นได้ แม้ความเสียหายยังไม่เกิดขึ้นจำเลยก็มีอำนาจที่จะวางระเบียบในการเก็บรักษาเงินของนายจ้างให้รัดกุม การที่จำเลยเพียงแต่ปฏิบัติตามผู้จัดการคนก่อน ๆไปโดยไม่ปรับปรุงการปฏิบัติงานของตนให้มีประสิทธิภาพจนกระทั่งเกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจเลิกจ้างจำเลยได้ ไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
บริษัทโจทก์ไม่ได้วางระเบียบในการจัดเก็บรักษากุญแจตู้นิรภัยและการใช้รหัสตู้นิรภัย เมื่อจำเลยดำรงตำแหน่งผู้จัดการภัตตาคารของบริษัทโจทก์แล้วก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้จัดการคนก่อน จำเลยไม่ได้สั่งงดใช้รหัสตู้นิรภัย ภัตตาคารเปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง ส่วนจำเลยและ น. ทำงานเฉพาะเวลาทำงานปกติ หยุดวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดตามประเพณี พนักงานที่ผลัดเปลี่ยนกันทำงานไม่มีวันหยุดคนหนึ่งเคยถูกคนร้ายชิงทรัพย์ แต่บังเอิญมิได้นำกุญแจตู้นิรภัยติดตัวไปด้วย จึงตกลงกันว่าไม่เอากุญแจตู้นิรภัยกลับบ้าน จำเลยสั่งให้เก็บกุญแจตู้นิรภัยไว้ในลิ้นชักโต๊ะของจำเลย นอกจากนี้พนักงานตรวจสอบของบริษัทโจทก์ซึ่งมาตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านการเงินของภัตตาคารก็ไม่ได้ทักท้วงหรือสั่งให้แก้ไขวิธีการในการเก็บรักษาเงินของบริษัทโจทก์ ฉะนั้นการที่จำเลยเก็บกุญแจตู้นิรภัยไว้ในลิ้นชักโต๊ะทำงานของจำเลยโดยไม่ให้ผู้มีหน้าที่เปิดปิดตู้นิรภัยนำกุญแจตู้นิรภัยติดตัวกลับบ้าน จึงเป็นการใช้ความระมัดระวังตามที่วิญญูชนพึงกระทำแล้ว จำเลยไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์
ค่าจ้างหมายถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน แม้จำเลยจะเป็นลูกจ้างรายเดือน แต่เมื่อโจทก์เลิกจ้างจำเลยตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2524 ภายหลังจากวันที่ 15 ตุลาคม 2524 จำเลยถูกเลิกจ้างแล้ว จึงไม่ได้เป็นลูกจ้างของโจทก์อีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีหน้าที่จะต้องจ่ายค่าจ้างให้จำเลยอีก
คู่มือพนักงานของบริษัทโจทก์มีความว่าบริษัทโจทก์จะพิจารณาจ่ายเงินรางวัลประจำปีแก่พนักงานในเดือนธันวาคมของทุกปี แสดงว่าโจทก์จะพิจารณาจ่ายเงินดังกล่าวให้เฉพาะพนักงานที่มีตัวทำงานอยู่ในเดือนธันวาคมเท่านั้น จำเลยถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2524จึงไม่มีสิทธิรับเงินโบนัสหรือเงินรางวัล และเมื่อตามคู่มือพนักงานของบริษัทโจทก์มีข้อความว่า บริษัทจะรับภาระเสียภาษีเงินได้ทั้งหมดที่พนักงานได้รับจากบริษัท โดยบริษัทจะแจ้งยอดเงินการเสียภาษีให้พนักงานได้ทราบภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป ข้อความตอนท้ายที่ว่าบริษัทจะแจ้งยอดการเสียภาษีให้พนักงานทราบภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไปแสดงอยู่ในตัวว่า เงินได้ทั้งหมดที่โจทก์รับภาระจะเสียภาษีให้จำเลยนั้นต้องเป็นยอดรายได้ที่จำเลยได้รับจากโจทก์ทั้งหมดในแต่ละปี เฉพาะในปีที่โจทก์เลิกจ้างจำเลย จำเลยมีสิทธิได้รับเงินจากโจทก์คือค่าจ้างค้างจ่าย ค่าทำงานในวันหยุดโจทก์จึงต้องรับภาระเสียภาษีเงินได้ในเงินจำนวนดังกล่าวให้จำเลย แต่ค่าชดเชย เงินบำเหน็จ และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นผลของการเลิกจ้างไม่ใช่รายได้ที่จำเลยได้รับในแต่ละปี โจทก์จึงไม่ต้องรับภาระเสียภาษีเงินได้ในเงินทั้งสามจำนวน
ในฐานะที่จำเลยเป็นผู้จัดการภัตตาคาร ย่อมมีหน้าที่ปกปักษ์รักษาทรัพย์ของนายจ้าง หากทางปฏิบัติของผู้จัดการคนก่อน ๆ มาไม่รัดกุมพอ มีช่องทางที่จะเกิดความเสียหายขึ้นได้ แม้ความเสียหายยังไม่เกิดขึ้นจำเลยก็มีอำนาจที่จะวางระเบียบในการเก็บรักษาเงินของนายจ้างให้รัดกุม การที่จำเลยเพียงแต่ปฏิบัติตามผู้จัดการคนก่อน ๆไปโดยไม่ปรับปรุงการปฏิบัติงานของตนให้มีประสิทธิภาพจนกระทั่งเกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจเลิกจ้างจำเลยได้ ไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3109-3110/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้าง การประมาทเลินเล่อของผู้จัดการ และภาระภาษีของนายจ้าง กรณีความเสียหายจากทรัพย์สินสูญหาย
ข้อที่โจทก์อุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางรับฟังพยานหลักฐานไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยรับฟังพยานยังไม่ครบถ้วน ข้อเท็จจริงยังไม่ยุติ ขอให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่ โดยอ้างว่าโจทก์มีทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารสนับสนุน เป็นการอุทธรณ์ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาในศาลแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
บริษัทโจทก์ไม่ได้วางระเบียบในการจัดเก็บรักษากุญแจตู้นิรภัยและการใช้รหัสตู้นิรภัย เมื่อจำเลยดำรงตำแหน่งผู้จัดการภัตตาคารของบริษัทโจทก์แล้วก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้จัดการคนก่อน จำเลยไม่ได้สั่งงดใช้รหัสตู้นิรภัยภัตตาคารเปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง ส่วนจำเลยและน. ทำงานเฉพาะเวลาทำงานปกติ หยุดวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดตามประเพณี พนักงานที่ผลัดเปลี่ยนกันทำงานไม่มีวันหยุดคนหนึ่งเคยถูกคนร้ายชิงทรัพย์ แต่บังเอิญมิได้นำกุญแจตู้นิรภัยติดตัวไปด้วย จึงตกลงกันว่าไม่เอากุญแจตู้นิรภัยกลับบ้าน จำเลยสั่งให้เก็บกุญแจตู้นิรภัยไว้ในลิ้นชักโต๊ะของจำเลย นอกจากนี้พนักงานตรวจสอบของบริษัทโจทก์ซึ่งมาตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านการเงินของภัตตาคารก็ไม่ได้ทักท้วงหรือสั่งให้แก้ไขวิธีการในการเก็บรักษาเงินของบริษัทโจทก์ ฉะนั้นการที่จำเลยเก็บกุญแจตู้นิรภัยไว้ในลิ้นชักโต๊ะทำงานของจำเลยโดยไม่ให้ผู้มีหน้าที่เปิดปิดตู้นิรภัยนำกุญแจตู้นิรภัยติดตัวกลับบ้าน จึงเป็นการใช้ความระมัดระวังตามที่วิญญูชนพึงกระทำแล้ว จำเลยไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์
ค่าจ้างหมายถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน แม้จำเลยจะเป็นลูกจ้างรายเดือน แต่เมื่อโจทก์เลิกจ้างจำเลยตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2524 ภายหลังจากวันที่ 15 ตุลาคม 2524 จำเลยถูกเลิกจ้างแล้ว จึงไม่ได้เป็นลูกจ้างของโจทก์อีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีหน้าที่จะต้องจ่ายค่าจ้างให้จำเลยอีก
คู่มือพนักงานของบริษัทโจทก์มีความว่าบริษัทโจทก์จะพิจารณาจ่ายเงินรางวัลประจำปีแก่พนักงานในเดือนธันวาคมของทุกปี แสดงว่าโจทก์จะพิจารณาจ่ายเงินดังกล่าวให้เฉพาะพนักงานที่มีตัวทำงานอยู่ในเดือนธันวาคมเท่านั้น จำเลยถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2524 จึงไม่มีสิทธิรับเงินโบนัสหรือเงินรางวัล และเมื่อตามคู่มือพนักงานของบริษัทโจทก์มีข้อความว่า บริษัทจะรับภาระเสียภาษีเงินได้ทั้งหมดที่พนักงานได้รับจากบริษัท โดยบริษัทจะแจ้งยอดเงินการเสียภาษีให้พนักงานได้ทราบภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป ข้อความตอนท้ายที่ว่าบริษัทจะแจ้งยอดการเสียภาษีให้พนักงานทราบภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไปแสดงอยู่ในตัวว่า เงินได้ทั้งหมดที่โจทก์รับภาระจะเสียภาษีให้จำเลยนั้นต้องเป็นยอดรายได้ที่จำเลยได้รับจากโจทก์ทั้งหมดในแต่ละปีเฉพาะในปีที่โจทก์เลิกจ้างจำเลย จำเลยมีสิทธิได้รับเงินจากโจทก์คือค่าจ้างค้างจ่าย ค่าทำงานในวันหยุดโจทก์จึงต้องรับภาระเสียภาษีเงินได้ในเงินจำนวนดังกล่าวให้จำเลย แต่ค่าชดเชย เงินบำเหน็จ และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นผลของการเลิกจ้างไม่ใช่รายได้ที่จำเลยได้รับในแต่ละปี โจทก์จึงไม่ต้องรับภาระเสียภาษีเงินได้ในเงินทั้งสามจำนวน
ในฐานะที่จำเลยเป็นผู้จัดการภัตตาคาร ย่อมมีหน้าที่ปกปักษ์รักษาทรัพย์ของนายจ้าง หากทางปฏิบัติของผู้จัดการคนก่อน ๆ มาไม่รัดกุมพอมีช่องทางที่จะเกิดความเสียหายขึ้นได้ แม้ความเสียหายยังไม่เกิดขึ้นจำเลยก็มีอำนาจที่จะวางระเบียบในการเก็บรักษาเงินของนายจ้างให้รัดกุม การที่จำเลยเพียงแต่ปฏิบัติตามผู้จัดการคนก่อน ๆไปโดยไม่ปรับปรุงการปฏิบัติงานของตนให้มีประสิทธิภาพจนกระทั่งเกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจเลิกจ้างจำเลยได้ ไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
บริษัทโจทก์ไม่ได้วางระเบียบในการจัดเก็บรักษากุญแจตู้นิรภัยและการใช้รหัสตู้นิรภัย เมื่อจำเลยดำรงตำแหน่งผู้จัดการภัตตาคารของบริษัทโจทก์แล้วก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้จัดการคนก่อน จำเลยไม่ได้สั่งงดใช้รหัสตู้นิรภัยภัตตาคารเปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง ส่วนจำเลยและน. ทำงานเฉพาะเวลาทำงานปกติ หยุดวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดตามประเพณี พนักงานที่ผลัดเปลี่ยนกันทำงานไม่มีวันหยุดคนหนึ่งเคยถูกคนร้ายชิงทรัพย์ แต่บังเอิญมิได้นำกุญแจตู้นิรภัยติดตัวไปด้วย จึงตกลงกันว่าไม่เอากุญแจตู้นิรภัยกลับบ้าน จำเลยสั่งให้เก็บกุญแจตู้นิรภัยไว้ในลิ้นชักโต๊ะของจำเลย นอกจากนี้พนักงานตรวจสอบของบริษัทโจทก์ซึ่งมาตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านการเงินของภัตตาคารก็ไม่ได้ทักท้วงหรือสั่งให้แก้ไขวิธีการในการเก็บรักษาเงินของบริษัทโจทก์ ฉะนั้นการที่จำเลยเก็บกุญแจตู้นิรภัยไว้ในลิ้นชักโต๊ะทำงานของจำเลยโดยไม่ให้ผู้มีหน้าที่เปิดปิดตู้นิรภัยนำกุญแจตู้นิรภัยติดตัวกลับบ้าน จึงเป็นการใช้ความระมัดระวังตามที่วิญญูชนพึงกระทำแล้ว จำเลยไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์
ค่าจ้างหมายถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน แม้จำเลยจะเป็นลูกจ้างรายเดือน แต่เมื่อโจทก์เลิกจ้างจำเลยตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2524 ภายหลังจากวันที่ 15 ตุลาคม 2524 จำเลยถูกเลิกจ้างแล้ว จึงไม่ได้เป็นลูกจ้างของโจทก์อีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีหน้าที่จะต้องจ่ายค่าจ้างให้จำเลยอีก
คู่มือพนักงานของบริษัทโจทก์มีความว่าบริษัทโจทก์จะพิจารณาจ่ายเงินรางวัลประจำปีแก่พนักงานในเดือนธันวาคมของทุกปี แสดงว่าโจทก์จะพิจารณาจ่ายเงินดังกล่าวให้เฉพาะพนักงานที่มีตัวทำงานอยู่ในเดือนธันวาคมเท่านั้น จำเลยถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2524 จึงไม่มีสิทธิรับเงินโบนัสหรือเงินรางวัล และเมื่อตามคู่มือพนักงานของบริษัทโจทก์มีข้อความว่า บริษัทจะรับภาระเสียภาษีเงินได้ทั้งหมดที่พนักงานได้รับจากบริษัท โดยบริษัทจะแจ้งยอดเงินการเสียภาษีให้พนักงานได้ทราบภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป ข้อความตอนท้ายที่ว่าบริษัทจะแจ้งยอดการเสียภาษีให้พนักงานทราบภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไปแสดงอยู่ในตัวว่า เงินได้ทั้งหมดที่โจทก์รับภาระจะเสียภาษีให้จำเลยนั้นต้องเป็นยอดรายได้ที่จำเลยได้รับจากโจทก์ทั้งหมดในแต่ละปีเฉพาะในปีที่โจทก์เลิกจ้างจำเลย จำเลยมีสิทธิได้รับเงินจากโจทก์คือค่าจ้างค้างจ่าย ค่าทำงานในวันหยุดโจทก์จึงต้องรับภาระเสียภาษีเงินได้ในเงินจำนวนดังกล่าวให้จำเลย แต่ค่าชดเชย เงินบำเหน็จ และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นผลของการเลิกจ้างไม่ใช่รายได้ที่จำเลยได้รับในแต่ละปี โจทก์จึงไม่ต้องรับภาระเสียภาษีเงินได้ในเงินทั้งสามจำนวน
ในฐานะที่จำเลยเป็นผู้จัดการภัตตาคาร ย่อมมีหน้าที่ปกปักษ์รักษาทรัพย์ของนายจ้าง หากทางปฏิบัติของผู้จัดการคนก่อน ๆ มาไม่รัดกุมพอมีช่องทางที่จะเกิดความเสียหายขึ้นได้ แม้ความเสียหายยังไม่เกิดขึ้นจำเลยก็มีอำนาจที่จะวางระเบียบในการเก็บรักษาเงินของนายจ้างให้รัดกุม การที่จำเลยเพียงแต่ปฏิบัติตามผู้จัดการคนก่อน ๆไปโดยไม่ปรับปรุงการปฏิบัติงานของตนให้มีประสิทธิภาพจนกระทั่งเกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจเลิกจ้างจำเลยได้ ไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม